การทดลองเกี่ยวกับความสำคัญของ H1 โดย Moz.com

ในช่วงสมัยก่อน เรามักจะได้ยินแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการทำ SEO สองข้อที่ถูกทำซ้ำๆกันหลายครั้งจนฝังอยู่ในสมองของเรา คือ

  1. ใช้ชื่อหน้าเว็บไซต์ของคุณในแท็ก H1
  2. ใช้ H1 เพียงแท็กเดียว — และเพียงแท็กเดียวต่อหน้าเท่านั้น

ซึ่งคำแนะนำเหล่านี้ปรากฏในการตรวจสอบด้วยเครื่องมือสำหรับ SEO และเป็นที่มาของการถกเถียงกันอย่างต่อเนื่อง ของเหล่าผู้ดูแลด้าน SEO แต่เมื่อเวลาผ่านไป SEO เริ่มละทิ้งแนวคิดเหล่านี้ และการมี H1 เพียงตัวเดียวในหน้าเว็บไซต์ก็ถูกแทนที่ด้วย “ข้อความขนาดใหญ่บริเวณด้านบนสุดของหน้า”

ระบบของ Google ได้พัฒนาและเติบโตขึ้นในด้านการวิเคราะห์เนื้อหา รวมถึงทำความเข้าใจว่าแต่ละส่วนของเนื้อหาหน้านั้นเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ แม้ว่าคนทำเว็บไซต์จะใช้มาร์คอัพ HTML ผิดก็ตาม โดยคุณ John Muller ได้ตั้งคำถามขึ้นในที่ประชุม Google Webmaster ว่า “คุณสามารถใช้แท็ก H1 ได้บ่อยเท่าที่คุณต้องการบนหน้าเว็บไซต์ ไม่มีการจำกัด — และไม่มีขอบเขตบนหรือล่าง

H1 คือวิธีที่ยอดเยี่ยมในการทำโครงสร้างให้กับหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้และเครื่องมือค้นหาสามารถเข้าใจได้ว่าส่วนใดของหน้าอยู่ภายใต้หัวข้อที่แตกต่างกัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ HTML5 การมีองค์ประกอบ H1 หลายรายการในหน้านั้นถือเป็นเรื่องปกติ และเป็นสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

ดังนั้นจึงไม่ใช่สิ่งที่คุณจะต้องกังวล และเครื่องมือ SEO บางตัวที่ฟ้องว่านี่เป็นปัญหาพร้อมบอกว่า ‘โอ้ คุณไม่มีแท็ก H1 เลย’ หรือ ‘คุณมีแท็ก H1 สองแท็ก’ นั่นไม่ใช่ปัญหาที่สำคัญจากมุมมองของเรา แต่จากมุมมองของการใช้งาน มันอาจจะสมเหตุสมผลที่จะปรับปรุงสิ่งนั้น ดังนั้น ไม่ใช่ว่าฉันจะเพิกเฉยต่อคำแนะนำเหล่านั้น แต่ฉันจะไม่มองว่านี่เป็นปัญหาสำคัญ เว็บไซต์ของคุณสามารถทำงานได้โดยไม่มีแท็ก H1 หรือมีแท็ก H1 ห้าแท็ก”

แม้จะมีการยืนยันจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือที่สุดรายหนึ่งของ Google แต่การทำงานของ SEO นั้นยังคงเป็นคำถามที่หลายๆคนสงสัยและต้องการการยืนยันมากกว่าการเชื่อถือ

ทาง Moz จึงได้ตัดสินใจทำการทดสอบ… ด้วยวิทยาศาสตร์!

คุณ Craig Bradford จาก Distilled สังเกตว่า Moz Blog อันนี้ ใช้ H2s สำหรับหัวข้อข่าวแทน H1

ทาง Moz ได้คิดค้นการทดสอบโดยแบ่งส่วน 50/50 สำหรับชื่อของพวกเขา โดยใช้ SearchPilot ที่เพิ่งสร้างแบรนด์ใหม่ (ของเดิมชื่อ DistilledODN) ครึ่งหนึ่งของชื่อบล็อก พวกเขาจะใช้ H1 และอีกครึ่งหนึ่งจะใช้ H2 จากนั้นพวกเขาจะใช้การวัดจำนวนคนที่เข้าเว็บไซต์มาเปรียบเทียบกัน

หลังจากแปดสัปดาห์ ผลลัพธ์คือ:

โดยคุณ Rida Abidi ได้สรุปข้อมูลจากภาพด้านบนไว้ว่า จากการตรวจสอบนั้น ยังไม่สามารถสรุปได้ หรือยังไม่มีนัยสำคัญมากพอในเชิงสถิติที่จะยืนยันได้ว่า เกิดความแตกต่างจริงระหว่าง H1 กับ H2

เพื่อยืนยันคำพูดของพวกเขา อัลกอริธึมของ Google ดูเหมือนจะไม่สนใจว่า คุณจะใช้ H1 หรือ H2 สำหรับชื่อบทความของคุณ ซึ่งนั่นอาจหมายถึงว่า คุณจะเห็นผลแบบเดียวกันหากคุณใช้ H3, H4 หรือไม่มีแท็กหัวเรื่องเลย

อย่างไรก็ตามชื่อบทความของคุณยังควรที่จะ

  • ใช้ฟอนต์ขนาดใหญ่
  • อยู่บนสุดของแต่ละบทความ
  • มีความชัดเจนและมีแนวโน้มว่า Google จะเข้าใจได้ง่าย

ควรสังเกตว่าแม้ว่าการทดสอบนี้จะไม่ได้พิสูจน์ออกมาได้อย่างแน่นอนว่า H1 ไม่ใช่ปัจจัยในการจัดอันดับ แต่ก็แสดงให้เห็นว่า ไม่พบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างการใช้ H1 และ H2

สิ่งนี้ยุติการอภิปรายหรือไม่ SEO ควรละทิ้งคำแนะนำ H1 ทั้งหมดหรือไม่

ตอบ: ไม่ ไม่ใช่ทั้งหมด…

ทำไมเราถึงยังควรใช้ H1

แม้ว่าที่จริงแล้ว Google ดูเหมือนว่าจะสามารถค้นหาชื่อส่วนใหญ่ได้ แต่ก็มีเหตุผลที่ดีหลายประการที่คุณควรจะใช้ H1 เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับ SEO ต่อไป

คุณ Georgy Nguyen ได้ให้คะแนนที่ยอดเยี่ยมในบทความของ Search Engine Land โดยมีข้อสรุปสำคัญดังนี้

1. H1 ช่วยเรื่องการเข้าถึงเนื้อหา

การอ่านเนื้อหาต่างๆผ่านแต่ละอุปกรณ์นั้นจะดีขึ้น ถ้ามี H1 เพราะจะช่วยนำทางผู้อ่านสู่เนื้อหาของคุณ ทั้งในการแสดงผลและความสามารถในการค้นหา

2. Google อาจใช้ H1 แทนแท็กชื่อบทความ

ถ้า Google ไม่พบหรือไม่สามารถประมวลผลแท็กชื่อบทความของคุณในอนาคต พวกเขาอาจเลือกที่จะดึงชื่อจากองค์ประกอบอื่นๆ ของหน้าเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งสิ่งแรกที่ Google จะดึงมาก็คือ H1

3. การใช้หัวเรื่องสัมพันธ์กับอันดับที่สูงขึ้น

เกือบทุกการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง Heading กับ SEO ที่คุณอาจเคยเห็นจะมีความเกี่ยวข้องกัน เช่น การศึกษาล่าสุดจาก SEMrush ซึ่งพิจารณาที่ H2 และ H3

แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานว่า ปัจจัยในการจัดอันดับของ Google มาจาก Heading แต่ Heading คือ ข้อมูลที่มีโครงสร้าง ซึ่งช่วยเพิ่มบริบทและความหมายให้กับหน้าเว็บไซต์ของคุณได้

ตามที่คุณ John Mueller กล่าวใน Twitter:

จากรูปมีความหมายว่า แม้ว่าการปฏิบัติตามแนวทางการใช้ H1 จะเป็นความคิดที่ดีด้วยเหตุผลหลายประการ แต่จากการทดลองของ Moz แสดงให้เห็นว่า หากคุณไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ H1 ที่เข้มงวด Google ก็มีความสามารถที่จะเข้าใจเนื้อหาโดยไม่ต้องมี H1 ก็ได้

ถึงแม้ผลทดสอบจะยังไม่ชัด แต่สิ่งที่คุณควรจะทำสำหรับเว็บไซต์และบทความของคุณคือ:

  • จัดระเบียบเนื้อหาของคุณด้วยหัวเรื่องแบบลำดับขั้น เช่น H1, H2, H3 เป็นต้น
  • ใช้พาดหัวแบบอักษรขนาดใหญ่ที่ด้านบนสุดของเนื้อหาของคุณ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทำให้ Google, โปรแกรมอ่านหน้าจอ (Screen readers), และเครื่องมืออื่นๆ หรือผู้ที่อ่านเนื้อหาของคุณเข้าใจพาดหัวข่าวได้ง่ายขึ้น
  • หากคุณมี CMS หรือข้อจำกัดทางเทคนิคที่ทำให้คุณไม่สามารถใช้ H1 และ SEO ที่เข้มงวดได้ ให้พยายามอย่างเต็มที่ และอย่ากังวลกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ

SEO ในโลกแห่งความเป็นจริงค่อนข้างจะเป็นเรื่องที่วุ่นวาย ไม่ว่าจะดีขึ้นหรือแย่ลง แต่ยังโชคดีที่มันสามารถยืดหยุ่นได้

สวัสดี เราชื่อ พีค มีความสนใจเรื่อง SEO มาตั้งแต่ตอนอายุ 20 สมัยเข้ามหาลัยใหม่ๆ เนื่องจากเราเรียนบริหารธุรกิจ จึงได้เรียนเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ และมองว่า SEO คือหนึ่งในศาสตร์และศิลป์ที่มีความอ่อนไหว น่าสนใจ และดูมีอะไรในตัวของมันเองดี คนที่ทำต้องรอคอยเป็น เหมือนฝึกให้เรารู้จักที่จะรอคอยได้ ก็เลยศึกษา ทดลอง มาโดยตลอด มันสนุกมากนะ ได้เห็นกราฟวิ่งขึ้นวิ่งลง เติบโตไปเรื่อยๆ เปรียบเสมือนกับชีวิตที่มีสีสัน มีจังหวะที่คอยสลับไปมานั่นเอง