เข้าใจ Long Tail Keywords ใน 10 นาที เพื่อเพิ่ม Traffic ให้พุ่งกระชูด

การแยกความแตกต่างระหว่าง Head Keyword กับ Long Tail keywords และ Chonky thorax หรือกลุ่มตรงกลางนั้น เป็นไปได้ค่อนข้างยากในโลกของ SEO หากคุณลองถามผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO ว่า เราจะจำแนกได้อย่างไรว่า Keyword ประเภทไหนเป็น Long-Tail Keywords คุณอาจจะได้รับคำตอบที่หลากหลายมากจนไม่สามารถหาข้อสรุปได้

Long Tail Keywords คืออะไร

แต่สิ่งหนึ่งที่มั่นใจได้และผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นตรงกันคือ ข้อมูลการค้นหาใน Google ประเภท Long-Tail Keywords นั้นพุ่งสูงขึ้นอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยในบทความนี้เราจะมาลองศึกษาเรื่องนี้กัน

Long-Tail คืออะไร

การค้นหาแบบ Long-Tail คือ การค้นหา Keyword ที่มีปริมาณการค้นหาเฉลี่ยน้อยมากๆ และมีการแข่งขันน้อย โดย Long-Tail SEO คือ การพยายามทำให้เว็บไซต์ติดอันดับต้นๆ บน Google ด้วยคำหลายพยางค์ แทนที่จะพยายามให้เว็บติดอันดับด้วย Keyword ที่มีปริมาณการค้นหาสูงและคู่แข่งจำนวนมาก

ในบางครั้ง การทำ SEO สำหรับ Keyword ที่มีการแข่งขันสูง เพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับต้นๆใน Google นั้น แทบจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก รวมไปถึงอาจจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ในขณะที่การใช้ Long-Tail SEO นั้น ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณการค้นหาที่น้อยกว่า แต่อาจจะทำให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับบน Google ได้ง่ายกว่า ซึ่งถ้าหากคุณทำ SEO กับ Long-Tail Keywords ในปริมาณมากๆ เว็บไซต์ของคุณก็มีโอกาสที่จะมีปริมาณ Traffic ที่เข้ามาในเว็บไซต์และอาจจะมียอดขายสูงกว่าการทำ SEO ให้กับคีย์เวิร์ดที่มีการแข่งขันสูงได้

Long-Tail Keywords

จากรูปจะเห็นได้ว่า ปริมาณการค้นหาของ Long-Tail Keywords แม้ว่าจะมีน้อยกว่า Head Keyword แต่หากเราเอา Long-Tail Keyword หลายๆ คำมารวมกัน ปริมาณการค้นหาของกลุ่มนี้จะสูงกว่าแบบแรกแน่นอน

Long-Tail Keywords คืออะไร

โดยทั่วไป Long Tail คือ คำที่มีปริมาณการค้นหาน้อย ประกอบไปด้วยคำมากกว่า 2 พยางค์ขึ้นไป ซึ่งในอดีตเป็นสิ่งที่มีคู่แข่งค่อนข้างน้อย แต่ปัจจุบันนั้นได้เปลี่ยนไปแล้ว เพราะเหล่าคนทำ SEO ทั้งหลายเริ่มเห็นถึงคุณภาพของ Long-Tail มากขึ้น เพราะการที่คีย์เวิร์ดมีหลายพยางค์นั้นคือคำที่บ่งบอกถึงความต้องการของการค้นหาได้ชัดเจนกว่า Head Keyword

ยกตัวอย่างเช่น Keyword คำว่า “Widget” ซึ่งเป็น Main Keyword ที่มีการแข่งขันสูง แต่ยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าคนที่กำลังค้นหา Widget นั้นต้องการอะไร แต่ถ้าหากเราเปลี่ยนคีย์เวิร์ดเป็น “Buy blue widget” หรือ “Where to buy Acme Widget LOL-42” แล้วนั้น Keyword เหล่านี้จะสามารถบ่งบอกความต้องการที่ชัดเจนของผู้ค้นหา ซึ่งในอนาคต Long-Tail Keyword เหล่านี้อาจจะมีปริมาณการค้นหาที่สูงขึ้นพร้อมกับการแข่งขันที่มากขึ้น

การเติบโตของ Long-Tail Keywords

Google ได้มีการเปิดเผยข้อมูลว่า 15% ของการค้นหา ที่ Google ได้ทำการเก็บข้อมูลไว้ เป็นการค้นหาด้วยคำใหม่ๆทั้งสิ้น ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะว่าจากหลักการของ NLP (Natural language processing) ที่ทาง Google ใช้กับ Search Engine เพื่อให้ Search Engine เข้าใจภาษาของมนุษย์มากขึ้นนั้น มนุษย์เราจะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะคำพูดอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมาจากหลายปัจจัย เช่น กระแส วัฒนธรรม และยุคสมัย โดยในมุมของคนทำ SEO อาจจะเป็นการยากที่จะปรับวิธีการหา Keyword เพื่อมาทำ SEO ให้ตามทันกับคำพูดของมนุษย์ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะระบบ NLP ของทาง Google ที่มีอยู่ใน Search Engine จะช่วยวิเคราะห์และจำแนกคำใหม่ๆที่เกิดขึ้น และด้วย Algorithm นี้จะทำให้ Search Engine เข้าใจคำแปลกๆที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว อาจจะเป็นเพียงแค่วิธีการพูดแบบใหม่ แต่ยังคงความหมายเดิม

วิธีการจัดการ Long Tail Keywords ของ Google 

หากลองย้อนดูการทำงานของ Google ในสมัยก่อน คุณจะเห็นถึงการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก  ดังตัวอย่างภาพด้านล่าง ซึ่งทาง Moz ได้ลองทำการค้นหาคำว่า “Jon Lewis” ที่ประเทศอังกฤษ บน Google ในปี 2019 ซึ่งจะเห็นได้จากตรง Suggestion ว่า Search Engine มองว่าการค้นหานี้เกิดจากการพิมพ์ผิด และช่วยแนะนำว่า คุณกำลังค้นหา “John Lewis” ใช่หรือไม่?

Long Tail Keywords

อีกตัวอย่างซึ่งเกิดจากการพิมพ์ผิด แต่ Search Engine ยังแสดงผลเกี่ยวกับบุคคลเดิม “John Lewis” ซึ่งเป็นเรื่องแปลก เพราะคำที่พิมพ์ลงไปนั้น ไม่ได้สื่อความหมายถึง John Lewis อยู่เลย แล้ว Google รู้ได้อย่างไรว่า เรากำลังค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ John Lewis อยู่

Search Engine for long tail keywords

คำตอบคือ คุณ John Lewis เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลคนหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในบุคคลที่ถูกค้นหาบน กูเกิ้ล เยอะมาก และแน่นอนว่าจากการค้นหาในปริมาณมากๆจะต้องการพิมพ์ผิดเกิดขึ้นอย่างแน่นอน นั่นหมายความว่า Google นั้นจดจำรูปแบบการค้นหาของผู้ใช้งาน ทุกรูปแบบ ทั้งพิมพ์ถูก สะกดผิด ลืมเปลี่ยนภาษา และอื่นๆ ซึ่งทำให้สามารถแสดงผลลัพธ์ พร้อมทั้งสามารถแนะนำผู้ใช้งานได้ว่ากำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลนี้อยู่หรือเปล่านั่นเอง

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาเพิ่มเติมจากทาง Moz ว่า การค้นหาแบบตั้งคำถามนั้น ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบมากๆ แต่ Google ก็สามารถจัดกลุ่มของคำถามเหล่านี้ และแสดงเว็บไซต์ที่ถูกต้องขึ้นมาเป็นผลลัพธ์ให้กับผู้ค้นหาค่ะ โดยผู้เชี่ยวชาญจากทาง Moz ได้เริ่มต้นจากการใช้คำถาม “Can you reverse a 301-redirect?” แล้วลองเปลี่ยนรูปแบบคำถามหลายๆแบบ ไม่ว่าจะเป็นการตัดคำ การย่อคำ หรือการถามคำถามแบบให้สั้นลง เพื่อลองเช็คการแสดงผลของเว็บไซต์ในกูเกิ้ลซึ่งมีอันดับของการแสดงผลดังภาพด้านล่าง

Long-Tail Keyword

จากภาพจะเห็นได้ว่า จากลักษณะคำถามหรือการลดคำให้สั้นลงใน Google นั้นแทบไม่ส่งผลอะไรเลย เพราะกูเกิ้ลยังสามารถดึงเว็บไซต์ของ Moz มาแสดงได้เหมือนเดิม แต่อาจจะมีการแกว่งของอันดับไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้มีผลมาก ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าระบบ NLP ของ Google นั้นมีการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา แม้เราจะทำการค้นหาโดยใช้คำที่คล้ายๆกัน แต่ Google ยังสามารถนำเว็บไซต์ที่เหมาะสมและตรงกับสิ่งผู้ใช้งานมาแสดงผลได้อย่างปกติ

สรุปว่า การใช้ Long-Tail Keyword ในการทำ SEO นั้นยังจำเป็นอยู่หรือไม่

จากบทความนี้จะเห็นได้ถึงการเกิดขึ้นของ Long-Tail Keyword และวิธีการที่ Google ใช้จัดการกับ Long-Tail Keyword อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นในมุมของผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO เราไม่จำเป็นที่จะต้องเสียเวลาสร้าง Content สำหรับทุก Long-Tail Keyword อีกต่อไป เพราะระบบ NLP ของ Google นั้นเข้ามาช่วยจัดการปัญหาเหล่านี้และช่วยให้คนทำ SEO ทุกคนทำงานได้ง่ายขึ้นมาก

สวัสดี เราชื่อ พีค มีความสนใจเรื่อง SEO มาตั้งแต่ตอนอายุ 20 สมัยเข้ามหาลัยใหม่ๆ เนื่องจากเราเรียนบริหารธุรกิจ จึงได้เรียนเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ และมองว่า SEO คือหนึ่งในศาสตร์และศิลป์ที่มีความอ่อนไหว น่าสนใจ และดูมีอะไรในตัวของมันเองดี คนที่ทำต้องรอคอยเป็น เหมือนฝึกให้เรารู้จักที่จะรอคอยได้ ก็เลยศึกษา ทดลอง มาโดยตลอด มันสนุกมากนะ ได้เห็นกราฟวิ่งขึ้นวิ่งลง เติบโตไปเรื่อยๆ เปรียบเสมือนกับชีวิตที่มีสีสัน มีจังหวะที่คอยสลับไปมานั่นเอง