เข้าใจเรื่อง Domain Authority สำหรับมือใหม่ 2023

SEO เป็นสิ่งที่อธิบายได้ค่อนข้างยาก เนื่องด้วยรายละเอียดที่เยอะมาก แต่เราอาจมีความจำเป็นที่จะต้องอธิบายเนื้อหาของ SEO ทั้งหมดให้กับลูกค้าหรือเจ้านายของเราให้ได้เข้าใจ ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงหนึ่งในเรื่องที่สำคัญมากในการทำ SEO ซึ่งก็คือเรื่องของ Domain Authority  เพื่อที่จะทำความเข้าใจสำหรับคนที่ยังไม่เคยได้ยินหรือกำลังศึกษาเกี่ยวกับ SEO อยู่ สำหรับใครที่อยากศึกษาเพิ่มเติมก่อนที่จะอ่านรายละเอียด สามารถรับชม VDO สรุปอธิบายเกี่ยวกับ Domain Authority ด้านล่างนี้ก่อนเข้าสู่เนื้อหาได้เลย

How to Explain Domain Authority to a Non-SEO — Whiteboard Friday

ถ้าใครพร้อมแล้ว มาเข้าสู่เนื้อหากันเลย

Search Ranking Factors

เมื่อคุณกำลังต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรสักอย่าง และพิมพ์คำค้นหาลงไปใน Search Engine คุณมักจะได้สิ่งที่คุณกำลังมองหาอยู่ออกมาเป็นผลลัพธ์ ซึ่งสิ่งที่ Search Engine ใช้เลือกเพื่อทำให้คุณเห็นผลลัพธ์ที่ตรงกับสิ่งที่กำลังค้นหาอยู่นั้น จะเรียกว่า Search Ranking

1. ความเกี่ยวข้องของเนื้อหา (Relevance)

Search Engine จะใช้สองปัจจัยหลักในการเลือกเว็บไซต์ที่มีข้อมูลตรงกับที่ผู้ใช้งานกำลังค้นหามากที่สุด ซึ่งปัจจัยแรกก็คือตัวเว็บไซต์ รวมไปถึง ข้อมูล, รูปภาพ, และ Keyword ที่ใช้ ว่าตรงกับสิ่งที่ผู้ใช้งานพิมพ์เข้ามาใน Search Engine หรือไม่ โดยในโลกของ SEO จะเรียกสิ่งนี้ว่า “ความเกี่ยวข้องของเนื้อหา (Relevance)”

โดยความเกี่ยวข้องนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับเว็บไซต์ แต่ยังมีอีกปัจจัยที่สำคัญเป็นอันดับสองสำหรับการที่จะให้เว็บไซต์ติดอันดับได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ Google คิดค้นขึ้นมา และกลายเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการค้นหาทั้งหมด

2. ปริมาณลิงก์ที่อยู่ในเว็บไซต์ (Links)

ปัจจัยที่สองคือเรื่องความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ หรือในโลกของ SEO จะใช้ “ลิงก์” เป็นตัวประเมินคะแนนความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ ลิงก์ดังกล่าวจะคิดจากปริมาณที่เว็บไซต์อื่นลิงก์กลับมาหาเว็บของคุณ ซึ่งทาง Search engine จะเข้าไปตรวจสอบเว็บไซต์อื่นที่ลิงก์กลับมาหาเว็บของคุณด้วยว่า เว็บไซต์นั้นมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ดังนั้นถ้าหากเว็บไซต์ของคุณได้มีลิงก์จากเว็บอื่นที่มีความน่าเชื่อถือมากๆ กลับมาที่เว็บของคุณในจำนวนเยอะ ก็จะทำให้เว็บไซต์ของคุณได้คะแนนความน่าเชื่อถือมากขึ้น โดย Google เรียกสิ่งนี้ว่า “Authority”

3. คุณภาพของลิงก์ (Link quality)

นอกจากปริมาณแล้ว คุณจะต้องคำนึงถึงคุณภาพของลิงก์ที่คุณได้กลับมาด้วย แน่นอนว่าเว็บไซต์อื่นที่ส่งลิงก์กลับมาหาคุณ มักจะมีลิงก์จากเว็บไซต์อื่นมาอีกที ดังนั้นลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์ที่มีคุณภาพสูงและน่าเชื่อถือ ย่อมให้ผลดีกว่าลิงก์อื่นๆ แน่นอน

มีหลายครั้งที่เว็บไซต์ไม่สามารถติดหน้าแรกใน Google ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากปัญหาสองเรื่อง นั่นก็คือ

1. เนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์นั้นยังไม่ดีพอสำหรับการติดหน้าแรก (คะแนน Relevance อาจจะยังน้อย)

2. ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ยังไม่มากพอที่จะทำให้เว็บไซต์ติดหน้าแรกได้ โดยในข้อนี้อาจจะเกิดจากลิงก์ที่ยังมีคุณภาพสูงไม่มากพอ (คะแนนความน่าเชื่อถือยังน้อย)

Page Rank

ในสมัยก่อน Google มีสิ่งที่เรียกว่า Page Rank ซึ่งเป็นการให้คะแนนกับเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือและมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้ใช้งานกำลังค้นหา (ตั้งชื่อตาม Larry Page, Co-founder ของ Google) โดย Page Rank จะมีช่วงคะแนนระหว่าง 1-10 ซึ่งเมื่อก่อนจะแสดงคะแนนขึ้นมาพร้อมกับผลการค้นหาเว็บไซต์

แต่ในปัจจุบัน Google ได้ลบคะแนน Page Rank ออกไปแล้ว ดังนั้นคุณจะไม่สามารถรู้ว่า เว็บไซต์ของคุณนั้นมีคุณภาพขนาดไหนได้อีกต่อไป แต่ไม่ต้องตกใจไปนะคะ เพราะในปัจจุบันยังมีเว็บไซต์ด้าน SEO หลายเว็บไซต์ในตลาดที่น่าเชื่อถือและใช้หลักการของ Google ในการคิดคำนวน Page Rank ของเว็บไซต์ให้กับคุณได้เช่นกัน

Domain Authority

Domain Authority

เว็บไซต์อย่างเช่น Moz ได้ใช้หลักการของ Google เพื่อพยายามคิดคำนวนคุณภาพของเว็บไซต์ออกมา ซึ่งถูกเรียกว่า “Domain Authority (DA)” โดยเว็บไซต์อื่นๆอาจจะมีวิธีการเรียกที่แตกต่างกันไป เช่น SEMRush จะเรียกว่า Authority Score หรือ Ahref จะเรียกว่า Domain Rating แต่ไม่ว่าจะเป็นของเว็บไซต์ไหนก็ตาม คุณสามารถใช้คะแนนจากเว็บไซต์เหล่านี้ในการตรวจเช็คและประเมินความน่าเชื่อถือเว็บไซต์ของคุณได้

จากที่กล่าวไปข้างต้น เราพอจะทราบแล้วว่าลิงก์ประเภทที่มีคุณภาพสูงนั้นส่งผลดีกับเว็บไซต์เรามากกว่าลิงก์ปกติ ซึ่งมากกว่าเป็นเท่าตัวเลย

จากรูปจะเห็นได้ว่า กราฟจะพุ่งขึ้นแบบ Exponential หากเว็บไซต์ได้รับลิงก์จากเว็บที่มีค่า DA สูงมากๆ หรือสามารถแปลความได้ว่า ยิ่งสูงยิ่งเยอะ ดังนั้นถ้าหากคุณได้ลิงก์จากเว็บข่าวมา 1 ลิงก์ อาจจะได้ผลดีมากกว่าลิงก์จาก บทความ 100 ลิงก์ก็เป็นได้ ซึ่งนอกจากนี้คะแนน Domain Authority นั้นยังมีประโยชน์ต่อการหาข้อมูลและตรวจสอบคู่แข่งได้อีกด้วย

หนึ่งในวิธีที่คุณสามารถตรวจสอบเว็บไซต์ของคู่แข่งได้คือ การมองหาเว็บไซต์ที่อยู่ในอันดับต้นๆบน Search Engine ด้วย Keyword ที่คุณทำการค้นหา โดยคุณสามารถนำลิงก์ไปใส่ใน Moz หรือ Ahrefs แล้วลองดูคะแนน DA ที่ออกมาได้

ยกตัวอย่างเช่น ทาง Moz ได้ลองนำ Keyword คำว่า “Baseball Coaching” กับ “Squash Coaching” ไปค้นหาใน Google และนำเว็บไซต์ที่อยู่ในอันดับบนๆไปตรวจหาค่า DA หลังจากนั้นนำทั้งหมดมาหาค่าเฉลี่ย เราจะได้เลขค่า DA เฉลี่ย หรือที่เรียกว่า “ค่า Difficulty”

ค่า Difficulty ของคีย์เวิร์ด

โดยค่า Difficulty นี้สามารถบอกคุณได้ว่า หากคุณต้องการให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับที่สูงกว่าเว็บไซต์ที่แสดงอยู่ในปัจจุบันด้วย Keyword ด้านบน คุณจะต้องทำให้ค่า DA ของเว็บไซต์คุณได้อย่างน้อย 46 สำหรับ “Baseball Coaching”  และ 18 สำหรับ Keyword “Squash Coaching” นั่นเอง

สรุป

Domain Authority คือ มาตรวัดความเชื่อถือของเว็บไซต์โดยอ้างอิงจากการทำงานของ Page Rank และหลักการทำ SEO บน Google ซึ่งคุณสามารถนำค่า DA นี้ไปวิเคราะห์และตรวจสอบคู่แข่งของคุณได้ หากหน้าเว็บไซต์ของคุณยังมีค่า DA ต่ำกว่าเว็บไซต์ของคู่แข่ง คุณจะได้วางแผนการในการหาลิงก์ที่มีคุณภาพสูงเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งจะทำให้เว็บไซต์ของคุณนั้นแสดงผลได้ในอันดับที่ดีขึ้นบน Google ด้วย Keyword ที่คุณต้องการ

สวัสดี เราชื่อ พีค มีความสนใจเรื่อง SEO มาตั้งแต่ตอนอายุ 20 สมัยเข้ามหาลัยใหม่ๆ เนื่องจากเราเรียนบริหารธุรกิจ จึงได้เรียนเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ และมองว่า SEO คือหนึ่งในศาสตร์และศิลป์ที่มีความอ่อนไหว น่าสนใจ และดูมีอะไรในตัวของมันเองดี คนที่ทำต้องรอคอยเป็น เหมือนฝึกให้เรารู้จักที่จะรอคอยได้ ก็เลยศึกษา ทดลอง มาโดยตลอด มันสนุกมากนะ ได้เห็นกราฟวิ่งขึ้นวิ่งลง เติบโตไปเรื่อยๆ เปรียบเสมือนกับชีวิตที่มีสีสัน มีจังหวะที่คอยสลับไปมานั่นเอง