แนะนำ 10 วิธี ให้ Google จัดทำดัชนีเว็บไซต์ อัพเดตใหม่ล่าสุด 2023

หากว่า Google ไม่จัดทำดัชนีเว็บไซต์ให้กับเว็บของคุณ ซึ่งหมายความว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นแทบจะไม่สามารถมองเห็นได้จากผู้ค้นหา โดยทาง Google จะไม่แสดงผลลัพธ์หน้าเว็บไซต์ของคุณสำหรับการค้นหาที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นแสดงว่าอัตราการเข้าชม (Organic Traffic) มีค่าต่ำอย่างแน่นอน และไม่เพียงเท่านั้นเว็บไซต์ของคุณอาจจะไม่มีโอกาสติดอันดับหน้าแรกบน Google ได้เลย

ดังนั้นบทความนี้จะมาแบ่งปันวิธีง่าย ๆ 10 วิธี ที่จะช่วยให้ Google จัดทำดัชนีเว็บไซต์ให้กับคุณ โดยปัญหาที่มักพบเจอบ่อย ๆ ในเรื่องของการจัดทำดัชนีเว็บไซต์ มีอยู่ 3 ประการดังนี้

  1. หน้าเว็บเพจทั้งหมดไม่ได้รับการจัดทำดัชนีเลย
  2. มีเพียงหน้าเว็บเพจบางหน้าเท่านั้นที่ได้รับการจัดทำดัชนี
  3. หน้าเพจของเว็บไซต์ที่ได้เผยเเพร่ไปแล้ว แต่ได้รับการจัดทำดัชนีที่ช้ามากจาก Google ส่งผลให้อัตราการคลิกเข้าชมต่ำ

ซึ่งปัญหาเหล่านี้ต้องได้รับการแก้ไข เพื่อให้ทุกหน้าเพจในเว็บไซต์ได้รับการจัดทำดัชนีจาก Google ดังนั้นมาติดตามกันเลยว่า 10 วิธี กระตุ้น Google Index จะต้องทำอะไรบ้าง

การรวบรวมข้อมูล (Crawling) และการทำดัชนี (Index) คืออะไร

Google จะสามารถค้นพบหน้าเว็บใหม่ ๆ จากการรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ (Crawling) และจากนั้นจะทำการเพิ่มหน้าที่ค้นพบใหม่ในแต่ละเว็บไซต์ลงในดัชนี (Index) ซึ่งการเข้าสู่เว็บไซต์และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลที่อัพเดตใหม่นั้นจะใช้ Googlebot ในการรวบรวมข้อมูลและเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ Google Cache เพื่อที่จัดทำดัชนีข้อมูลเหล่านี้ ก่อนจะใช้ข้อมูลที่ได้รวบรวมมาแสดงผลลัพธ์การค้นหาจากผู้ค้นหาบนหน้า Google 

ซึ่งสามารถให้คำจำกัดความเกี่ยวกับคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องสำหรับการทำดัชนีเว็บไซต์ของทาง Google ดังนี้

  • การรวบรวมข้อมูล (Crawling) คือ กระบวนการตรวจสอบ และติดตาม Hyperlinks บนเว็บไซต์ เพื่อค้นหาเนื้อหาคอนเทนต์ที่มีการอัพเดตใหม่
  • การทำดัชนี (Index) คือ กระบวนการจัดเก็บหน้าเว็บไซต์ทุกหน้า ในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของ Google (Google Cache)
  • เว็บสไปเดอร์ (Web spider) คือ ซอฟต์แวร์ที่ถูกออกแบบมาใช้งานในกระบวนการรวบรวมข้อมูลตามขนาดจากทาง Google ซึ่งจะใช้เครื่องมือนี้เข้าถึงเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ ๆ จากทางเว็บไซต์
  • Googlebot คือ เว็บสไปเดอร์ของ Google ที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล

ซึ่งการทำดัชนีหน้าเว็บไซต์จากทาง Google นั้นจะส่งผลให้เว็บไซต์ของคุณสามารถเข้าถึงผู้ค้นหาได้มาก และยังผลักดันให้เว็บไซต์ได้รับความนิยม จนสามารถติดอันดับหน้าแรกบน Google ได้

วิธีการตรวจสอบเว็บไซต์ว่ามีการจัดทำดัชนีโดย Google หรือไม่

หากคุณอยากทราบว่าเว็บไซต์ของคุณถูกจัดทำดัชนีแล้วหรือยัง มีวิธีการตรวจสอบโดยไปที่ Google แล้วค้นหา “site:yourwebsite.com”

ซึ่งตัวเลขในภาพ ที่มีลูกศรชี้นี้ จะแสดงให้เห็นคร่าว ๆ ว่า Google จัดทำดัชนีเว็็บไซต์ของคุณไว้กี่หน้า หากคุณต้องการตรวจสอบสถานะดัชนีของ URL สามารถใช้ “site:yourwebsite.com/web-page-slug” ในการตรวจสอบได้

ซึ่งหากหน้าเพจใดที่ไม่ได้รับการจัดทำดัชนี จะไม่มีแสดงผลลัพธ์บนหน้าการค้นหา

ไม่เพียงเท่านั้นในการตรวจสอบดัชนีสามารถใช้เครื่องมือฟรีอย่าง Google Search Console ซึ่งจะช่วยให้ตรวจข้อมูลเชิงลึกได้แม่นยำเกี่ยวกับสถานะดัชนีเว็บไซต์ของคุณ 

ซึ่งต้องเข้าไปที่ Google Search Console > Index > Coverage

ซึ่งคุณต้องเข้าไปดูที่หน้า valid page สังเกตดูว่ามีค่า หรือไม่มีค่าที่ระบุในส่วนการเตือน (Valid with warning) หรือไม่

หากตัวเลขสองตัวในภาพนี้มีผลรวมเป็นศูนย์ แสดงว่าทาง Google ได้จัดทำดัชนีหน้าเพจบางหน้าในเว็บไซต์ไปบ้างแล้ว แต่ทว่าหากมีการขึ้นเตือนเป็นตัวเลขที่ไม่ใช่ศูนย์นั่นแสดงว่าเว็บไซต์ของคุณยังไม่ได้ถูกจัดทำดัชนี

ไม่เพียงเท่านั้นการใช้ Google Search Console สามารถใช้ในการตรวจสอบว่ามีการจัดทำดัชนีหน้าเว็บเพจ หน้าใดหน้าหนึ่งหรือไม่ ซึ่งการตรวจสอบสามารถวาง URL หน้าเพจที่ต้องการทราบลงในเครื่องมือตรวจสอบ URL และหากมีการจัดทำดัชนีหน้าเพจแล้ว จะปรากฏข้อความว่า “URL is on Google”

แต่ถ้าหน้าเพจที่ทำการตรวจสอบนั้นไม่ได้รับการจัดทำดัชนี จะปรากฏข้อความว่า “URL is not on Google”

แนะนำวิธีทำให้เว็บไซต์ได้รับการจัดทำดัชนีจากทาง Google

ก่อนจะมาดูวิธีการทำให้เว็บไซต์ของคุณได้รับการจัดทำดัชนีโดย Google ต้องมีการตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นได้รับการจัดทำดัชนีไปแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่มีจะต้องมีการร้องขอให้ Google จัดทำดัชนีเว็บไซต์ให้คุณ ซึ่งสามารถทำตามขั้นตอนดังนี้

  1. ไปที่ Google Search Console
  2. ไปที่ URL inspection tool ซึ่งเป็นการตรวจสอบ URL
  3. วาง URL เว็บเพจที่ต้องการตรวจสอบลงไป ในแถบค้นหา
  4. รอสักครู่เพื่อให้ Google ทำการตรวจสอบ
  5. คลิกปุ่ม “Request indexing” ซึ่งจะเป็นการร้องขอไปทาง Google ให้จัดทำดัชนีเว็บไซต์ให้กับคุณ

ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะหากคุณได้เผยแพร่โพสต์ หรือหน้าเว็บเพจใหม่ ๆ ในเว็บไซต์ คุณจะต้องแจ้งให้ Google ทราบว่าคุณได้ทำการเพิ่มข้อมูลใหม่นี้ลงในไซต์ หลังจากนั้นทาง Google จะเข้ามาตรวจสอบข้อมูล และจัดทำดัชนีให้กับเว็บเพจใหม่ของคุณ แต่อย่างไรก็ตามขั้นตอนการร้องขอการจัดทำดัชนีโดย Google นี้ ไม่เหมาะสมกับหน้าเว็บเพจเก่า ๆ ที่ยังไม่ได้จัดทำดัชนี ส่งผลให้ Google ไม่สามารถทำตามที่คุณร้องขอได้ แล้วจะทำอย่างไรในการแก้ไขปัญหานี้  อย่าพึ่งกังวลใจยังมีวิธีการแก้ไขอีกมากมายที่คุณต้องเรียนรู้จากบทความนี้ 

และนี่ก็คือกลยุทธ์ 10 วิธี สำหรับการแก้ไขปัญหาให้ Google สามารถจัดทำดัชนีหน้าเว็บเพจให้กับคุณได้

  1. ลบ crawl blocks ในไฟล์ robot.txt ของคุณ
  2. ลบ noindex tags ที่ไม่ดีออก
  3. รวบรวมเพจไว้ใน Sitemap
  4. ลบ Canonical tags ที่ไม่น่าเชื่อถือออกจากเว็บไซต์
  5. ตรวจสอบว่าหน้าเพจไหนในเว็บไซต์เป็น Orphan page
  6. แก้ไขในส่วนของ Internal links ที่มีแท็ก Nofollow
  7. เพิ่ม Internal links ที่มีประสิทธิภาพสูง
  8. ตรวจสอบว่าเพจของคุณมีคุณค่า และเนื้อหาแปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร
  9. ลบหน้าเพจในเว็บไซต์ที่มีคุณภาพต่ำออก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ “Crawl budget”
  10. สร้าง Backlinks ที่มีคุณภาพสูง

และนี่คือ 10 วิธีสำหรับการทำให้ Google จดจำและจัดทำดัชนีเว็บไซต์ของคุณ ต่อมาจะพาทุกท่านมาเจาะลึกในแต่ละวิธีว่ามีวิธีการทำอย่างไร เพื่อจะได้นำไปใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น 

1. ลบ Crawl Blocks ในไฟล์ robot.txt ของคุณ

หากคุณพบว่า Google ไม่ได้จัดทำดัชนีเว็บไซต์ของคุณทั้งหมด อาจเป็นเพราะว่า Crawl blocks ที่เรียกว่าไฟล์ robots.txt ก็เป็นไปได้ ซึ่ง Crawl blocks ก็คือ บล็อกการรวบรวมข้อมูลภายในเว็บไซต์นั่นเอง โดยหากคุณต้องการตรวจสอบว่าข้อมูลในเว็บไซต์มีการเก็บรวบรมในไฟล์เเบบ robots.txt สามารถตรวจสอบได้ง่าย ๆ ดังนี้

ไปที่ yourdomain.com/robots.txt และสำรวจหาโค้ดเหล่านี้

โค้ดที่ปรากฏนี้จะบอก Googlebot ว่าไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ารวบรวมข้อมูลหน้าเว็บเพจต่าง ๆ ในเว็บไซต์ของคุณ หากต้องการแก้ไขปัญหา ต้องมีการลบไฟล์ที่เป็น robots.txt ออก ซึ่งหากคุณต้องการตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเป็นเหตุผลนี้หรือไม่ที่ทำให้เว็บไซต์ไม่ถูกจัดทำดัชนี สามารถตรวจสอบได้โดยวาง URL ลงในเครื่องมือตรวจสอบ Google Search Console และคลิกที่ “Coverage block” เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม จากนั้นมองหาข้อความที่เขียนไว้ว่า “Crawl allowed? No: blocked by robots.txt” ซึ่งจะบ่งชี้ได้ว่าหน้านี้ถูกบล็อกด้วย robots.txt

หากเป็นกรณีแบบนี้ ให้ตรวจสอบไฟล์ robots.txt อีกครั้งหนึ่งว่าปรากฏข้อความ “disallow” หรือไม่

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องลบไฟล์รูปแบบนี้ออกไป เพื่อให้ Googlebot สามารถเข้ารวบรวมข้อมูลในเว็บเพจ และนำไปจัดทำดัชนีเว็บไซต์

2. ลบ noindex tags ที่ไม่ดีออก

Google จะไม่จัดทำดัชนีหน้าเว็บเพจหากคุณไม่อนุญาต ซึ่งถ้าคุณต้องการให้มีการจัดทำดัชนีเว็บไซต์ สามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่

  • Meta tag

หน้าเพจที่มี Meta tag ในรูปของ <head> จะไม่ได้รับการจัดทำดัชนีโดย Google

นี่คือ meta robot tag ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกให้ Google ทราบว่าหน้าเพจนี้ไม่สามารถจัดทำดัชนนีหน้าเว็บได้

สิ่งที่ควรทราบ

ส่วนสำคัญคือค่า “noindex” หากคุณพบว่าหนัาเพจใด หน้าเพจหนึ่งบนเว็บไซต์ถูกตั้งค่าเป็น noindex แสดงว่าหน้านั้นจะไม่ถูกจัดทำดัชนี เพราะฉะนั้นจึงต้องลบออก โดยการตรวขสอบสามารถใช้ Ahrefs’ Site Audit ได้ จากนั้นเข้าไปที่ “Indexabillity report” มองหาคำว่า “Noindex page”

คลิกเข้าไปในหน้าที่มี noindex meta tag และลบแท็กเหล่านี้ออกให้หมด

  • X-Robots-Tag

X-Robots-Tag เป็นองค์ประกอบที่มีการตอบสนองต่อส่วนหัว HTTP สำหรับ URL ของเว็บไซต์ ซึ่งคุณสามารถระบุการตตั้งค่าสำหรับหน้าเว็บด้วยการใส่ meta tag ไว้ในส่วนหัวของ HTTP ซึ่งคุณสามารถบล็อกโปรแกรมรวบรวมข้อมูลไม่ให้เข้ามายังเว็บไซต์ของคุณได้ โดยใส่คำสั่งลงไปในส่วนหัว HTTP เช่น <meta name=”AdsBot-Google” content=”noindex”> โดยจะส่งผลให้ Google ไม่สามารถเข้ารวบรวมข้อมูลในเว็บไซต์ของคุณได้ และเว็บไซต์จะไม่ถูกจัดทำดัชนี

แต่หากคุณไม่แน่ใจว่าเว็บไซต์ได้มีการตั้งค่า HTTP ให้บล็อกโปรแกรมรวบรวมข้อมูลจาก Google หรือไม่ สามารถตรวจสอบโดยใช้เครื่อง Search Console และทำการตรวจสอบ URL เพียงป้อน URL ลงไป และมองหาประโยค “Indexing allowed? No: ‘noindex’ detected in ‘X-Robots-Tag’ http header” ถ้าปรากฏข้อความแบบนี้แสดงว่า Googlebot ถูกบล็อกไม่ให้เข้าถึงข้อมูลในเว็บไซต์ ดังนั้นต้องทำการแก้ไขในส่วนหัวของ HTTP

แต่การตรวจสอบด้วย Search Console จะเป็นการตรวจสอบทีละหน้า เพราะฉนั้นหากต้องการตรวจสอบทั้งเว็บไซต์ จะต้องใช้เครื่องมือของ Ahrefs’t Site Audit และเข้าไปที่ “Robots information in HTTP header” ในส่วนของ Page Explorer

3. รวบรวมเพจไว้ใน Sitemap

Sitemap จะเป็นส่วนที่ใช้รายงาน Google ว่าหน้าใดในเว็บไซต์ของคุณมีความสำคัญ และไม่สำคัญ นอกจากนั้นยังยังเป็นส่วนที่บ่งชี้ว่า Google ควรรวบรวมข้อมูลในหน้าเพจนั้นบ่อยแค่ไหนอีกด้วย

Google ควรจะสามารถเข้าถึงหน้าเว็บเพจของคุณได้ทุกหน้าถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้รวบรวมหน้าเพจเหล่านั้นเอาไว้ที่ Sitemap แต่อย่างไรก็ตามแนะนำว่าควรรวบรวมไว้ใน Sitemap เลยจะดีกว่า เพราะจะทำให้ Google สามารถเข้าถึงข้อมูลในแต่ละหน้าเพจได้ง่ายมากขึ้น

หากคุณต้องการทราบว่าหน้าเว็บได้รวบรวมเอาไว้ใน Sitemap แล้วหรือยัง สามารถตรวจสอบได้ด้วย Google Search Console โดยเลือกใช้ฟังก์ชั่นตรวจสอบ URL หลังจากการตรวจสอบปรากฏข้อความว่า “URL is not on Google” และ “Sitemap: N/A” แสดงว่าหน้าเว็บยังไม่ถูกรวบรวมเอาไว้ใน Sitemap รวมทั้งอาจจะยังไม่ได้รับการจัดทำดัชนีอีกด้วย

หรือหากไม่ใช้ Search Console สามารถตรวจสอบได้โดยไปที่ yourdomain.com/sitemap.xml และค้นหาหน้าที่ยังไม่มีการรวบรวมเอาไว้ใน Sitemap

หรือหากต้องการตรวจสอบหน้าเว็บที่ยังไม่ได้รวมไว้ใน Sitemap แต่ได้รับการรวบรวมข้อมูล และจัดทำดัชนีไปแล้วว่ามีหน้าไหนบ้าง สามารถใช้เครื่องมือ Ahrefs’ Site Audit และไปที่ Page Explorer

ซึ่งหน้าเหล่านี้ควรอยู่ใน Sitemap ของคุณ ดังนั้นให้เพิ่มหน้าเพจทั้งหมดนี้ลงไปใน Sitemap จากนั้นทำการแจ้งให้ Google ทราบว่าคุณได้อัปเดต Sitemap เรียบร้อยแล้ว โดยการส่ง Ping ไปยัง URL ข้างล่างนี้ 

http://www.google.com/ping?sitemap=http://yourwebsite.com/sitemap_url.xml

แทนที่ส่วนสุดท้ายของ Sitemap ด้วย URL ของคุณ และจะปรากฏข้อความดังภาพข้างล่างนี้

ซึ่งวิธีนี้จะช่วยเร่งให้ Google จัดทำดัชนีเว็บไซต์คุณรวดเร็วมากขึ้น

4. ลบ Canonical tags ที่ไม่น่าเชื่อถือออกจากเว็บไซต์

Canonical tags หรือ <link rel=”canonical” href=”URL” /> จะเป็นส่วนที่บอก Google ได้ว่าหน้าใดเป็นเวอร์ชั่นที่ต้องการ เพื่อให้ Google มีการจดจำและจัดทำดัชนีหน้าเว็บนั้น ๆ 

หน้าส่วนใหญ่จะไม่มี Canonical tag หรือเรียกว่า Self-referencing canonocal tag ซึ่งเป็นการบ่งบอก Google ว่าหน้าเว็บเหล่านี้เป็นเวิร์ชั่นที่ต้องการให้จัดทำดัชนี แต่ทว่าหากหน้าเพจใดมี Canonical tag ที่หลอกลวง จะไม่มีทางเลยที่ Google จะเข้ามาจัดทำดัชนีให้กับหน้าเว็บไซต์ของคุณ 

หากต้องการตรวจสอบ Canonical tag ให้ใช้เครื่องมือตรวจสอบ URL ของ Google (Google’s URL inspection tool) โดยเป็นการตรวจสอบว่าหน้าเว็บของคุณมี Canonical tag ที่เหมาะสมหรือไม่

หากตรวจสอบพบ Canonical tag ที่ไม่ดีหรือหลอกลวง คุณจะต้องนำแท็กนั้นออก

สิ่งที่ควรทราบ

Canonical tag ไม่ได้ดูแย่เสมอไป หน้าเว็บส่วนใหญ่ที่มีแท็กเหล่านี้เพื่อใช้ในการบอก Google ว่าหน้าเว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่นที่พวกเขาต้องการ และอาจจะไม่จำเป็นต้องจัดทำดัชนีหน้าเว็บดังกล่าวอีกด้วย เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นต้องลบ Canonical tag ออก

หากคุณต้องการวิธีที่รวดเร็วในการค้นหา Canonical tag ที่หลอกลวง หรือไม่เหมาะสมจากทุกหน้าเพจบนเว็บไซต์ ให้ใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลของ Ahrefs’ Site Audit และไปที่หน้า Explorer ดังภาพด้านล่างนี้

ซึ่งเครื่องมือนี้จะเข้าไปค้นหาในส่วน Sitemap ของคุณ โดยเป็นการตรวจสอบหา non-self-referencing canonical tags ซึ่งหากพบเเท็กที่ไม่เหมาะสมหรือไม่น่าเชื่อถือต้องนำออกจากหน้าเพจต่าง ๆ ที่ถูกรวบรวมไว้ใน Sitemap ของคุณ

5. ตรวจสอบว่าหน้าเพจไหนในเว็บไซต์เป็น Orphan Page

Orphan Page สามารถแปลเป็นภาษาไทยว่า “หน้ากำพร้า” ซึ่งหมายถึงหน้าเว็บที่ไม่มีลิงก์เชื่อมโยงมาจากหน้าอื่น ๆ เลย เรียกได้ว่าเป็นหน้าที่ไม่มีความน่าสนใจ และไม่ได้รับความนิยม

เนื่องจากทาง Google มีการรวบรวมข้อมูลเนื้อหาที่อัปเดตใหม่ ๆ จากการเข้าตรวจสอบรวบรวมข้อมูลในหน้าเว็บต่าง ๆ แต่หากเป็นหน้าเว็บ Orphan Page จะทำให้ Google ไม่สามารถค้นพบหน้าเว็บนี้ได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีการจัดทำดัชนีเว็บไซต์ ส่งผลให้หน้าเว็บ Orphan Page จะไม่ปรากฏให้ผู้ค้นหาพบเห็นอีกด้วย

หากต้องการตรวจสอบหน้าเว็บ Orphan Page หรือหน้าเว็บที่ไม่มีการใช้งานใด ๆ และไม่มีการเชื่อมโยงไปยังหน้าเพจอื่น ๆ ให้รวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ของคุณด้วยการใช้เครื่องมือ Ahrefs’ Site Audit ในการตรวจสอบลิงก์ หากเป็นหน้าที่ไม่มีลิงก์เชื่อมโยงใด ๆ หรือหน้าเว็บกำพร้า จะปรากฏข้อความว่า Orphan page (has no incoming internal links)”

และนี่จะแสดงข้อมูลทั้งหมดสำหรับหน้าเว็บที่สามารถจัดทำดัชนีได้ และมีการแสดงอยู่ใน Sitemap แต่ทว่าเป็นหน้าเพจที่ไม่มี internal links หรือลิงก์เชื่อมโยงจากหน้าเพจต่าง ๆ มาที่หน้าเพจเหล่านี้ 

สิ่งที่ควรทราบ

ขั้นตอนการตรวจสอบที่กล่าวมานี้ สามารถใช้ได้เพียงแค่ 2 กรณีเท่านั้น ได้แก่ 

  1. หน้าเพจทั้งหมดของคุณต้องการจัดทำดัชนีเว็บไซต์ ซึ่งต้องเป็นหน้าเพจที่รวบรวมไว้ใน Sitemap
  2. คุณต้องทำเครื่องหมายเช็คถูก เพื่อเลือกหน้าเพจใน Sitemap ที่ต้องการให้มีการรวบรวมข้อมูลในการจัดทำดัชนีเว็บไซต์ ซึ่งสามารถใช้เครื่องมือตรวจสอบหน้าเพจโดย Ahrefs’ Site Audit

ถ้าหากคุณไม่มั่นใจว่าหน้าเว็บทั้งหมดที่คุณต้องการจัดทำดัชนี ถูกรวบรวมเอาไว้ที่ Sitemap หรือยัง สามารถตรวจสอบได้ดังนี้

  1. ดาวน์โหลดรายการหน้าเพจทั้งหมดบนเว็บไซต์ของคุณ โดยดาวน์โหลดผ่าน CMS
  2. รวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ ซึ่งสามารถใช้เครื่องมือ เช่น Ahrefs’t Site Audit
  3. ใช้อ้างอิงแบบ Cross-reference แบบ URL ในการตรวจสอบ

URL ใด ที่ไม่พบในระหว่างการรวบรวมข้อมูล แสดงว่าหน้านั้นไม่ได้อยู่ใน Sitemap

และหากคุณต้องการแก้ไขหน้า Orphan Page สามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้

  1. หากหน้านั้นไม่ได้มีความสำคัญให้ลบออกจากเว็บไซต์
  2. แต่หากเป็นหน้าที่มีความสำคัญให้เพิ่ม Internal Link ลงไปในหน้าเว็บนั้น ๆ 

Nofollow internal links คือ ลิงก์ที่มีแท็ก rel=”nofollow” ใน HTML Link ซึ่งเป็นแท็กที่ใช้ในการป้องกันการถ่ายโอน PageRank ไปยัง URL โดย Google ยังไม่ได้ทำการรวบรวมข้อมูล nofollow links เหล่านี้

6. แก้ไขในส่วนของ Internal Links ที่มีแท็ก Nofollow

Nofollow link จะใช้เพื่อบอกให้ Googlebot ไม่ต้องตามไปเก็บข้อมูลในหน้าเว็บปลายทาง และยังเป็นการป้องกันไม่ให้มีการส่งค่าคะแนนทาง SEO ของเว็บไซต์อีกด้วย โดยลิงก์เหล่านี้ สามารถตรวจสอบได้โดยการใช้ Ahrefs’ Site Audit ในการตรวจสอบลิงก์ภายในเว็บไซต์ว่าไม่มีหรือมีแท็ก nofollow

หากพบลิงก์ภายในที่มีแท็ก nofollow ให้ลบแท็กออก เพื่อให้ Google สามารถเข้ารวบรวมข้อมูล และจัดทำดัชนีเว็บไซต์ได้

7. เพิ่ม Internal Links ที่มีคุณภาพสูง

Google ค้นพบเนื้อหาใหม่โดยการรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ของคุณ หากคุณละเลย Internal Links อาจจะทำให้ Google ไม่สามารถค้นพบหน้าเว็บไซต์เหล่านั้นได้ ซึ่งก็มีวิธีการแก้ไขปัญหาง่าย ๆ โดยการเพิ่ม Internal Links ลงไปในหน้าเว็บนั้น และที่สำคัญต้องเป็นลิงก์ที่มีคุณภาพสูง เพื่อให้ Google สามารถจัดทำดัชนีเว็บไซต์ได้รวดเร็วขึ้น

การใช้ Internal Links ที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูง จะช่วยให้ Google มองเห็นว่าหน้าเพจนี้มีความสำคัญจึงรวบรวมข้อมูลหน้าดังกล่าวได้เร็วกว่าหน้าเว็บเพจที่มีความสำคัญน้อยกว่า ในการตรวจเช็คลิงก์ภายในที่มีคุณภาพสูงสามารถทำได้ดังนี้

ไปที่ Ahrefs’ Site Explorer > ป้อนโดนเมนเว็บไซต์ลงไป > เข้าสู่รายงาน Best by links

เครื่องมือนี้จะแสดงหน้าทั้งหมดบนเว็บไซต์ของคุณ โดยจัดเรียงตาม URL Rating (UR) ซึ่งพุดง่าย ๆ ว่าจะเรียงอันดับเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือขึ้นมาก่อนเป็นอันดับต้น ๆ 

เมื่อตรวจสอบลิงก์ภายในที่มีคุณภาพสูงแล้วต้องมองหาหน้าเว็บที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มลิงก์ภายในเข้าไปยังหน้าเว็บไซต์ที่เป็นปัญหา ยกต้วอย่างเช่น หากคุณต้องการเพิ่มลิงก์ภายในไปในหน้าเพจของ “คู่มือสำหรับนักท่องเที่ยว” จะต้องมีการสร้างลิงก์ภายในที่เกี่ยวกับสถานที่ และเชื่อมโยงไปยังหน้าเพจที่มีความหน้าเชื่อถือ หรือมีคะแนน URL Rating สูง ๆ จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ได้

8. ตรวจสอบว่าเพจของคุณมีคุณค่า และเนื้อหาแปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร

Google จะมองข้ามการจัดทำดัชนีเว็บไซต์สำหรับเว็บที่มีคุณภาพต่ำ และมองว่าไม่มีประโยชน์ต่อผู้ค้นหา ซึ่ง John Mueller ผู้เชี่ยวชาญจากทาง Google กล่าวถึงการจัดทำดัชนีเว็บไซต์ในปี 2018 ดังภาพด้านล่างนี้

ดังนั้นอีกปัจจัยหนึ่งของการจัดทำดัชนีเว็บไซต์ Google ต้องมองเห็นว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นยอดเยี่ยม สดใหม่ไม่เหมือนใคร และมีประโยชน์ต่อผู้ค้นหา เพราะฉะนั้นคุณต้องปรับเปลี่ยนเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ต้องเพิ่มคุณค่าให้กับคอนเทนต์ภายในเว็บไซต์ให้มีคุณภาพที่ดีมากขึ้น

แต่หากคุณไม่ทราบว่าหน้าเพจใดในเว็บไซต์ที่มีคุณภาพต่ำ และต้องปรับปรุง สามารถใช้เครื่องมือ Ahrefs’ Site Audit ในการตรวจสอบคุณภาพหน้าเว็บเพจตามภาพด้านล่างนี้

และทำการส่งออกรายงานข้อมูลนี้ จากนั้นวาง URL ทั้งหมดลงในเครื่องมือ URL Profiler และเรียกใช้การตรวจสอบการจัดทำดัชนีของ Google (Google Indexation)

สิ่งที่ควรทราบ

ถ้าหากคุณมีการตรวจสอบหลาย ๆ หน้า เช่น มากกว่า 100 หน้า แนะนำให้ใช้ proxies เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ IP ของคุณจะถูกแบนโดย Google หรือหากไม่สะดวกวิธีนี้ สามารถเข้าไปที่หน้า Google พิมพ์ว่า “Free bulk Google indexation checker” แต่การใช้งานส่วนใหญ่ของเครื่องมือฟรี มักจะจำกัดจำนวนครั้งในการใช้งาน

เมื่อพบปัญหาเว็บไซต์ที่มีคุณภาพต่ำ หรือเนื้อหาคอนเทนต์ซ้ำกัน คุณต้องรีบทำการแก้ไขในทันที เนื่องจากว่าหาก Google พบว่ามีเนื้อหาที่ซ้ำกับเว็บไซต์อื่น ๆ หรือซ้ำในหน้าเพจอื่นบนเว็บไซต์ของคุณเองทาง Google จะไม่จัดทำดัชนีหน้าที่ซ้ำกัน หรือมีความคล้ายคลึงกัน ดังนั้นคุณต้องใช้การรายงาน Duplicate content ในเครื่องมือ Site Audit ในการตรวจสอบให้แน่ใจว่าเนื้อหาไม่มีซ้ำกัน

9. ลบหน้าเพจในเว็บไซต์ที่มีคุณภาพต่ำออก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ “Crawl budget”

หากเว็บไซต์ของคุณมีหน้าเว็บเพจที่มีคุณภาพต่ำมากเกินไป จะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณสำหรับการรวบรวมข้อมูล (Crawl budget) ดังนั้นแนะนำว่าควรลบออกจะดีกว่า

ซึ่งทาง Google ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า 

“การสูญเสียทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์สำหรับหน้าเว็บไซต์ที่มีคุณภาพต่ำ จะทำให้การรวบรวมข้อมูลเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลานาน และเกิดประโยชน์ได้น้อย ส่งผลให้สามาถค้นหาเนื้อหาที่มีคุณภาพสูงในเว็บไซต์ได้อย่างล่าช้า”

พูดง่าย ๆ ว่ายิ่งหากมีหน้าเว็บเพจเยอะมากเท่าไหร่ Google ก็ต้องยิ่งใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลในเว็บไซต์นานขึ้น ยิ่งถ้ามีมากเกินไปจะส่งผลให้ Google ไม่สามารถจัดทำดัชนีหน้าเว็บเพจในเว็บไซต์ได้ทั้งหมด ดังนั้นแนะนำว่าหน้าเว็บเพจใดที่ไม่มีคุณภาพ หรือไม่ได้มีการใช้งานใด ๆ ให้ลบออกจากเว็บไซต์จะดีกว่าเก็บเอาไว้ ซึ่งหากคุฯไม่ทราบว่าหน้าเว็บเพจใดที่มีคุณภาพต่ำ สามารถเข้าตรวจสอบได้ที่ Content Audit ซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจสอบเนื้อหาว่ามีคุณภาพมากน้อยเพียงใดนั่นเอง 

10. สร้าง Backlink ที่มีคุณภาพสูง

ฺBlacklinks เป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถทำให้ Google ทราบได้ว่าเว็บไซต์มีความสำคัญ โดยตรวจสอบดูได้จากการเชื่อมโยงลิงก์มาจากแหล่งอื่น ๆ ดังนั้นเมื่อ Google มองเห็นถึงความสำคัญและมองว่าเว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือจะจัดทำดัชนี้ให้กับคุณ

ซึ่ง Google ไม่ได้เลือกทำดัชนีให้กับเว็บไซต์ที่มี Backlinks เท่านั้น แต่การที่มี Backlinks คุณภาพสูงจะส่งผลให้มีแนวโน้มการจัดทำดัชนีเว็บไซต์ที่เร็วกว่าหน้าเพจเว็บที่ไม่มี Backlinks ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามเป็นอันเด็ดขาด

การจัดทำดัชนี ไม่ใช่การจัดอันดับเว็บไซต์

การจัดทำดัชนีเว็บไซต์ หรือหน้าเว็บของคุณนั้นไม่ใช่การจัดอันดับเว็บไซต์จากการเข้าชมแต่อย่างใด ซึ่งมีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ โดยการจัดทำดัชนี หมายถึง Google จะเข้ามารวบรวมข้อมูลภายในเว็บไซต์โดยใช้ Googlebot จากนั้นจะทำการจัดเรียงในฐานข้อมูลเพื่อเอาไว้ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ให้กับผู้ค้นหาที่เข้ามาใช้งานในส่วนของ Google Search ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำหรับการทำ SEO ที่สำคัญ

ส่วนการจัดอันดับเว็บไซต์เป็นการตรวจสอบว่าเว็บไซต์นั้นมีคุณภาพสูงและมีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่ ซึ่งการตรวจสอบนั้นจะดูทั้งเนื้อหาภายในเว็บไซต์ ความเร็วในการโหลดของเว็บไซต์ ปริมาณการชม และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย โดยทาง Google จะมีการประเมิน และให้คะแนนเว็บไซต์ (DR) หากเว็บไซต์ใดที่ได้รับคะแนนสูง ก็จะสามารถติดอันดับหน้าแรกบน Google ได้

สรุป

สาเหตุหลังของการที่ Google ไม่จัดทำดัชนีเว็บไซต์หรือหน้าเว็บของคุณ จะมีเพียง 2 ประการเท่านั้น ได้แก่ ปัญหาทางด้านเทคนิคที่บล็อกไม่ให้ Google เข้าไปรวบรวมข้อมูล เช่น ไฟล์ข้อมูลในเว็บไซต์ที่เป็น Robots.txt เป็นต้น และสาเหตุต่อมา คือ Google มองว่าเว็บไซต์หรือหน้าเพจของคุณมีคุณภาพต่ำ และไม่ค่อยเป็นประโยชน์สำหรับผู้ค้นหา แต่อย่างไรก็ตามสาเหตุเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ เพียงทำตาม 10 วิธีแก้ไขปัญหาง่าย ๆ ที่แนะนำในวันนี้เท่านั้น รับรองว่า Google จะต้องเข้ามาจัดทำดัชนีเว็บไซต์ให้กับคุณอย่างแน่นอน ส่งผลทำให้เว็บไซต์ของคุณมีอัตราการเข้าชมที่สูงขึ้นได้ 

สวัสดีค่ะทุกคน ชื่อหมูนะคะ เราเป็นอีกคนหนึ่งที่ชื่นชอบงานเขียนมาก ๆ ค่ะ เพราะงานเขียนเปรียบเสมือนกับการสร้างโลกในจินตนาการของเราขึ้นมา โลกใบนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข ความสนุกสนาน เเละความรู้มากมายที่เราสามารถผจญภัยไปได้เเบบไม่มีลิมิต มาท่องโลกของตัวหนังสือไปพร้อมกันนะคะ