คุณอาจทราบแล้วว่า Google ใช้ปัจจัยในการจัดอันดับมากกว่า 200 รายการในอัลกอริทึม แล้วจริงๆ ปัจจัยเหล่านี้มันคืออะไรบ้าง เราได้ทำการรวบรวมลิสต์ทั้งหมดมาให้แล้ว โดยบางปัจจัยสามารถใช้งานได้จริง แต่บางปัจจัยยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และบางอย่างเป็นการคาดเดาของเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO ถึงแม้ว่ายังมีความไม่แน่ใจ เราก็ได้รวบรวมปัจจัยทั้งหมดสำหรับปี 2023 ไว้ให้แล้ว
ไปดูกันได้เลย
- Domain Factors
- Page-Level Factors
- Site-Level Factors
- Backlink Factors
- User Interaction
- Special Google Algorithm Rules
- Brand Signals
- On-Site WebSpam Factors
- Off-Site WebSpam Factors
Domain Factors
1. Domain Age: คนทำ SEO ส่วนใหญ่เชื่อว่า Google เชื่อถือในโดเมนที่เก่าแก่ แต่คุณ John Mueller ของ Google กล่าวว่า “อายุโดเมนไม่ได้ส่งผลอะไร“
2. Keyword Appears in Top Level Domain: การมี Keyword ในชื่อโดเมนของคุณนั้นไม่ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของ SEO แบบที่เคยเป็นมา แต่ยังคงมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่บ้าง
3. Domain registration length: สิทธิบัตรของ Google ระบุไว้ว่า:

“โดเมนที่มีคุณค่า (ถูกกฎหมาย) มักจะมีการจ่ายล่วงหน้าหลายปี ในขณะที่โดเมนที่ผิดกฎหมายนั้นมักไม่ค่อยถูกใช้งานมานานกว่าหนึ่งปี ดังนั้นวันหมดอายุของโดเมนในอนาคตจึงสามารถนำมาใช้เป็นปัจจัยในการคาดการณ์ความชอบธรรมของโดเมนได้”
4. Keyword in Subdomain: กลุ่มผู้เชี่ยวชาญของ Moz มีความเห็นว่า Keyword ที่ปรากฏในโดเมนย่อยสามารถช่วยเพิ่มอันดับได้

5. Domain History: เว็บไซต์ที่มีการเปลี่ยนเจ้าของบ่อยอาจทำให้ Google รีเซ็ตประวัติของเว็บไซต์ ซึ่งจะเกิดการลบลิ้งก์ที่ไปยังโดเมน หรือในบางกรณีจะส่งผลเสียและคะแนนด้านลบไปยังเจ้าของใหม่ได้
6. Exact Match Domain: โดเมนที่ตรงกันทั้งหมดอาจมีประโยชน์ต่อ SEO แค่เพียงเล็กน้อยหรืออาจไม่มีเลย แต่ถ้า EMD ของคุณเป็นเว็บไซต์คุณภาพต่ำ แสดงว่ามีความเสี่ยงต่อการอัปเดต EMD

7. Public vs. Private WhoIs: หากข้อมูล WhoIs ถูกตั้งเป็นส่วนตัว อาจเป็นสัญญาณว่ามีสิ่งที่ซ่อนอยู่ โดย คุณ Matt Cutts ของ Googler กล่าวไว้ว่า

“เมื่อทำการตรวจสอบข้อมูล Whois ของพวกเขา จะพบว่ามีบริการป้องกันความเป็นส่วนตัว Whois อยู่ และนั่นค่อนข้างผิดปกติ การเปิดใช้งานความเป็นส่วนตัวของ Whois นั้นไม่ได้แย่ไปทั้งหมด แต่หากคุณรวมปัจจัยเหล่านี้เข้าด้วยกันแล้ว คุณมักจะพูดถึงประเภทของเว็บมาสเตอร์ที่แตกต่างกัน มากกว่าคนที่มีเว็บไซต์เพียงเว็บไซต์เดียว”
8. Penalized Whois Owner: หาก Google สามารถระบุบุคคลใดบุคคลหนึ่งว่าเป็นนักส่งสแปม (Spammer) พวกเขาจะตรวจสอบเว็บไซต์อื่นๆ ที่เป็นของบุคคลนั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล
9. Country TLD extension: ในบางครั้งการมีโดเมนระดับบนสุดของรหัสประเทศ (.cn, .pt, .ca) สามารถช่วยอันดับเว็บไซต์ของประเทศนั้นๆได้ แต่มันอาจจำกัดความสามารถของเว็บไซต์ในการจัดอันดับระดับโลกได้
Page-Level Factors
10. Keyword in Title Tag: แม้ว่าจะไม่สำคัญเท่าเมื่อก่อน แต่ Title tag ของคุณยังคงเป็นสัญญาณของ On-page SEO ที่สำคัญ

11. Title Tag Starts with Keyword: Moz กล่าวไว้ว่า Title Tag ที่ขึ้นต้นด้วย Keyword มักจะทำงานได้ดีกว่า Title Tag ที่มี Keyword ปรากฏที่ส่วนท้าย
12. Keyword in Description Tag: Google ไม่ได้ใช้ Meta Description เป็นสัญญาณการจัดอันดับโดยตรง อย่างไรก็ตาม Description Tag ของคุณอาจส่งผลต่ออัตราการคลิกต่อจำนวนการมองเห็น (Click-through-rate) ซึ่งเป็นปัจจัยในการจัดอันดับที่สำคัญ
13. Keyword Appears in H1 Tag: แท็ก H1 ถือเป็น “Title Tag อันที่สอง” โดยจากผลลัพธ์จากการศึกษาความสัมพันธ์ Google ใช้แท็ก H1 ร่วมกับ Title tag ของคุณเป็นสัญญาณความเกี่ยวข้อง

14. TF-IDF: “คำบางคำจะปรากฏในเอกสารบ่อยแค่ไหน” ยิ่งคำนั้นปรากฏบนหน้าบ่อยเท่าใด หน้าเพจนั้นก็จะยิ่งมีความเกี่ยวข้องกับคำนั้นมากขึ้นเท่านั้น โดย Google มีแนวโน้มที่จะใช้ TF-IDF เวอร์ชั่นที่ซับซ้อน
15. Content Length: Content ที่มีคำมากกว่าจะสามารถครอบคลุมได้กว้างกว่าและมีแนวโน้มว่าจะถูกใจอัลกอริทึมมากกว่าเมื่อเทียบกับ Content ที่สั้น โดยการศึกษาปัจจัยการจัดอันดับในอุตสาหกรรมเมื่อเร็วๆ นี้พบว่า ผลการค้นหาหน้าแรกโดยเฉลี่ยของ Google มีความยาวประมาณ 1,400 คำ

16. Table of Contents: การใช้สารบัญที่เชื่อมโยงเนื้อหาได้ จะช่วยให้ Google เข้าใจเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ของคุณได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถส่งผลต่อไซต์ลิ้งก์ได้อีกด้วย โดยมีเทคนิคดังนี้

17. Latent Semantic Indexing Keywords in Content (LSI): Keyword ของ LSI ช่วยให้ Search Engine แยกความหมายจากคำที่มีความหมายมากกว่าหนึ่งความหมาย (เช่น Apple ที่เป็นบริษัท vs. Apple ที่เป็นผลไม้) โดยการมีหรือไม่มี LSI อาจส่งผลต่อคุณภาพของ Content เช่นกัน
18. LSI Keywords in Title and Description Tags: เช่นเดียวกับ Content ในหน้าเว็บไซต์ Keyword ของ LSI ใน Meta tag ของหน้าเพจอาจช่วยให้ Google แยกแยะคำที่มีความหมายเป็นไปได้หลายอย่าง และอาจทำหน้าที่เป็นสัญญาณที่เกี่ยวข้อง
19. Page Covers Topic In-Depth: มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างความครอบคลุมของหัวข้อและการจัดอันดับของ Google ดังนั้นหน้าเพจที่มีการครอบคลุมเนื่อหาทั้งหมดจึงดีกว่าหน้าเพจที่ครอบคลุมเนื้อหาเฉพาะหัวข้อบางส่วนเท่านั้น

20. Page Loading Speed via HTML: ทั้ง Google และ Bing ใช้ความเร็วของหน้า (Page speed) เป็นปัจจัยในการจัดอันดับ ในขณะนี้ Google ใช้ข้อมูลผู้ใช้ Chrome ตามจริง เพื่อประเมินความเร็วในการดาวน์โหลด

21. Use of AMP: แม้ว่าจะไม่ใช่ปัจจัยการจัดอันดับโดยตรงของ Google แต่ AMP อาจเป็นข้อกำหนดในการจัดอันดับใน Google News Carousel เวอร์ชั่นมือถือ
22. Entity Match: Content ของหน้าเพจตรงกับ Entity ที่ผู้ใช้กำลังค้นหาหรือไม่? หากเป็นเช่นนั้น หน้าเพจนั้นอาจได้รับการจัดอันดับเพิ่มขึ้นสำหรับ Keyword นั้น
23. Google Hummingbird: การเปลี่ยนแปลงอัลกอริทึมนี้ช่วยให้ Google ก้าวไปไกลกว่า Keyword ต้องขอบคุณ Hummingbird ที่ทำให้ตอนนี้ Google สามารถเข้าใจหัวข้อของหน้าเว็บไซต์ได้ดีขึ้น
24. Duplicate Content: Content ที่เหมือนกันในเว็บไซต์เดียวกันอาจส่งผลเสียต่อการมองเห็นของเครื่องมือค้นหาของเว็บไซต์
25. Rel=Canonical: เมื่อใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง การใช้แท็กนี้อาจจะช่วยป้องกันไม่ให้ Google ลงโทษเว็บไซต์ของคุณสำหรับเนื้อหาที่ซ้ำกัน
26. Image Optimization: รูปภาพส่งสัญญาณความเกี่ยวข้องที่สำคัญของเครื่องมือ Search Engine ผ่านชื่อไฟล์ ข้อความที่แสดง ชื่อ คำอธิบาย และคำอธิบายของภาพ
27. Content Recency: การอัปเดต Google Caffeine ช่วยสนับสนุนเนื้อหาที่เพิ่งเผยแพร่หรืออัปเดตโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการค้นหาที่คำนึงถึงเวลา โดย Google จะแสดงวันที่อัปเดตล่าสุดของหน้าสำหรับบางหน้า

28. Magnitude of Content Updates: ความสำคัญของการแก้ไขและการเปลี่ยนแปลงยังทำหน้าที่เป็นปัจจัยใหม่อีกด้วย การเพิ่มหรือลบเนื้อหาทั้งหมดมีความสำคัญมากกว่าการเปลี่ยนลำดับของคำสองสามคำหรือแก้ไขการสะกดผิด
29. Historical Page Updates: หน้าเพจได้รับการอัปเดตบ่อยเพียงใด ทุกวัน หรือทุกห้าปี ความถี่ของการอัปเดตหน้าก็มีบทบาทเช่นกัน
30. Keyword Prominence: การมี Keyword ปรากฏใน 100 คำแรกของเนื้อหาในหน้าเพจนั้น มีความสัมพันธ์กับการจัดอันดับของ Google
31. Keyword in H2, H3 Tags: การมี Keyword ของคุณปรากฏเป็นหัวข้อย่อยในรูปแบบ H2 หรือ H3 อาจเป็นสัญญาณความเกี่ยวข้องที่อ่อนแอ John Mueller กล่าวว่า “แท็กเหล่านี้ใน HTML จะช่วยให้เราเข้าใจในโครงสร้างของหน้าเว็บไซต์”

32. Outbound Link Quality: ผู้เชี่ยวชาญ SEO หลายคนคิดว่าการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ที่มีอิทธิพลจะช่วยส่งสัญญาณความน่าเชื่อถือไปยัง Google และแนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนแล้ว
33. Outbound Link Theme: The Hilltop Algorithm กล่าวว่า Google อาจใช้ Content ของหน้าเว็บเพจที่คุณลิ้งก์ไปเป็นสัญญาณที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น หากคุณมีหน้าเว็บเกี่ยวกับรถยนต์ที่ลิ้งก์ไปยังหน้าที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ ส่วนนี้อาจบอกกับ Google ว่าหน้าเว็บของคุณเกี่ยวกับภาพยนตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับรถยนต์ ไม่ใช่หน้าเว็บเกี่ยวกับรถยนต์โดยตรง
34. Grammar and Spelling: ไวยากรณ์และการสะกดคำที่ถูกต้องเป็นสัญญาณที่บอกถึงคุณภาพของเว็บไซต์คุณ
35. Syndicated Content: Content ในหน้าเพจนั้นเป็นต้นฉบับหรือไม่? หากมีการคัดลอกมาจากหน้าเว็บไซต์ที่ถูกจัดอันดับอยู่แล้ส จะทำให้ไม่สามารถถูกจัดอันดับได้หรืออาจไม่ได้รับการจัดทำเช่นกัน
36. Mobile-Friendly Update: มักเรียกกันว่า Mobilegeddon การอัปเดตนี้ให้รางวัลกับหน้าเพจที่ได้รับการปรับให้เหมาะสมสำหรับอุปกรณ์มือถือ
37. Mobile Usability: เว็บไซต์ที่ผู้ใช้อุปกรณ์พกพาสามารถใช้งานได้ง่ายอาจมีส่วนได้เปรียบในดัชนีเพื่ออุปกรณ์เคลื่อนที่เป็นอันดับแรกของ Google
38. “Hidden” Content on Mobile: Content ที่มีส่วนถูกซ่อนอยู่ในการดูผ่านอุปกรณ์มือถืออาจไม่ได้รับการจัดทำดัชนีเทียบกับ Content ที่สามารถมองเห็นได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม Googler เพิ่งระบุว่าเนื้อหาที่ซ่อนอยู่นั้นใช้ได้ และยังบอกอีกว่า หากเป็นเนื้อหาที่สำคัญควรจะมองเห็นได้นั่นเอง
39. Helpful “Supplementary Content”: ตามเอกสารแนวทางปฏิบัติของผู้ประเมิน Google (Google Rater Guidelines) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน กล่าวว่า Content เสริมที่เป็นประโยชน์จะเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของหน้าเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น เครื่องแปลงสกุลเงิน เครื่องคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้ และสูตรแบบโต้ตอบ
40. Content Hidden Behind Tabs: ผู้ใช้จำเป็นต้องคลิกที่แท็บเพื่อแสดงเนื้อหาบางส่วนในหน้าของคุณหรือไม่? หากเป็นเช่นนั้น Google ได้กล่าวว่า เนื้อหานี้อาจไม่ได้รับการจัดทำดัชนี
41. Number of Outbound Links: การมี OBL ของ DoFollow จำนวนมากเกินไปมีผลต่อ PageRank ได้ ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่ออันดับของเพจนั้น
42. Multimedia: รูปภาพ วิดีโอ และองค์ประกอบมัลติมีเดียอื่นๆ อาจทำหน้าที่เป็นสัญญาณคุณภาพสำหรับ Content
43. Number of Internal Links Pointing to Page: จำนวนลิ้งก์ Internal Link ที่ไปยังหน้าเพจ บ่งชี้ถึงความสำคัญที่สัมพันธ์กับหน้าอื่นๆในเว็บไซต์
44. Quality of Internal Links Pointing to Page: Internal link จากเพจที่เชื่อถือได้ในโดเมนมีผลดีกว่าจากเพจที่ไม่มี PageRank หรือมีน้อย
45. Broken Links: การมีลิ้งก์เสียบนหน้ามากเกินไปอาจเป็นสัญญาณของเว็บไซต์ที่ถูกละเลย โดยเอกสารแนวทางปฏิบัติของผู้ประเมินของ Google (Google Rater Guideline) ที่ใช้ลิ้งก์ในการประเมินคุณภาพของหน้าแรก
46. Reading Level: ไม่ต้องสงสัยเลยว่า Google ประมาณการระดับการอ่านของหน้าเว็บไซต์ โดยอันที่จริงแล้ว Google เคยให้สถิติระดับการอ่าน

แต่สิ่งที่พวกเขาทำกับข้อมูลนั้นยังเป็นสิ่งที่มีการอภิปรายกันอยู่ บางคนบอกว่าระดับการอ่านขั้นพื้นฐานจะช่วยให้คุณมีอันดับที่ดีขึ้นเพราะจะดึงดูดผู้คนจำนวนมาก แต่คนอื่นๆเชื่อมระดับการอ่านขั้นพื้นฐานกับ Content mills เช่น บทความของ Ezine
47. Affiliate Links: ลิ้งก์แบบ Affiliate อาจจะไม่ทำให้อันดับของคุณเสียหาย แต่ถ้าคุณมีมากเกินไป อัลกอริทึมของ Google อาจให้ความสำคัญกับสัญญาณคุณภาพอื่นๆอย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์คุณไม่ใช่เว็บไซต์ที่มี Affiliate ปลอม
48. HTML errors/W3C validation: ข้อผิดพลาด HTML จำนวนมากหรือการเขียนโค้ดที่ไม่มีคุณภาพอาจส่งสัญญาณว่าเป็นเว็บไซต์คุณภาพต่ำ แม้ว่าจะมีข้อโต้แย้งจากหลายคนใน SEO ซึ่งคิดว่า เว็บไซต์ที่เขียนโค้ดได้ดีถูกใช้เป็นสัญญาณที่มีคุณภาพ
49. Domain Authority: หน้าเพจในโดเมนที่มีความเชื่อถือได้นั้นจะมีอันดับสูงกว่าหน้าเพจในโดเมนที่มีความน่าเชื่อถือน้อยกว่า

50. Page’s PageRank: อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องมากนัก แต่หน้าเพจที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่ามักจะอยู่เหนือหน้าเพจที่มีลิ้งก์ที่น่าเชื่อถือเชื่อมอยู่น้อยกว่า
51. URL Length: URL ที่ยาวเกินไปอาจส่งผลเสียต่อการมองเห็นของเครื่องมือค้นหา อันที่จริงการศึกษาในอุตสาหกรรมหลายชิ้นพบว่า URL แบบสั้นมักจะมีความได้เปรียบเล็กน้อยในผลการค้นหาของ Google

52. URL Path: หน้าเพจที่ใกล้กับหน้า Homepage อาจได้รับอำนาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับหน้าเพจที่ฝังลึกลงไปในโครงสร้างของเว็บไซต์
53. Human Editors: Google ได้ยื่นจดสิทธิบัตรสำหรับระบบที่ช่วยให้บรรณาธิการที่เป็นมนุษย์มีอิทธิพลต่อ SERP แต่ยังไม่มีการยืนยันในเรื่องนี้
54. Page Category: หมวดหมู่ที่ปรากฎบนหน้าเพจเป็นสัญญาณที่เกี่ยวข้อง โดยหน้าเพจที่เป็นส่วนหนึ่งของหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดอาจมีความเกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับหน้าเพจที่จัดอยู่ในประเภทที่ไม่เกี่ยวข้อง
55. Keyword in URL: เป็นสัญญาณความเกี่ยวข้องอีกหนึ่งอัน โดยตัวแทนของ Google เรียกสิ่งนี้ว่า ปัจจัยการจัดอันดับที่เล็กมาก แต่ยังคงเป็นหนึ่งในปัจจัยการจัดอันดับ
56. URL String: Google จะอ่านหมวดหมู่ที่อยู่ใน URL String และอาจให้สัญญาณเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าเว็บไซต์

57. References and Sources: การอ้างถึงแหล่งอ้างอิงและแหล่งที่มา เช่น เอกสารการวิจัย อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงคุณภาพ หลักเกณฑ์ด้านคุณภาพของ Google (Google Quality Guideline) ระบุว่า ผู้ตรวจสอบควรจับตาดูแหล่งข้อมูลเมื่อดูหน้าเพจ อย่างไรก็ตาม Google ได้ปฏิเสธว่าพวกเขาไม่ได้ใช้ External link ในการเป็นปัจจัยสำหรับ SEO
58. Bullets and Numbered Lists: สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยและรายการลำดับเลขช่วยแบ่งเนื้อหาสำหรับผู้อ่าน ทำให้เป็นมิตรกับผู้ใช้งานมากขึ้น โดย Google น่าจะเห็นด้วยและอาจชอบเนื้อหาที่มีสัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยและตัวเลข
59. Priority of Page in Sitemap: ลำดับความสำคัญของหน้าเพจที่ได้รับผ่านไฟล์ Sitemap.xml อาจส่งผลต่อการจัดอันดับ
60. Too Many Outbound Links: จากเอกสารผู้ประเมินคุณภาพกล่าวไว้ว่า “บางเว็บไซต์นั้นมีลิ้งก์มากจนเกินไป ทำให้บดบังและเบี่ยงเบนความสนใจจาก Content หลักได้”

61. UX Signals From Other Keywords Page Ranks For: หากหน้าเพจมีอันดับสำหรับ Keyword อื่นๆ หลายคำ อาจทำให้ Google รับรู้ได้ถึงสัญญาณที่มีคุณภาพ อันที่จริงรายงาน “How Search Works” ล่าสุดของ Google ระบุว่า “ เรามองหาเว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานจำนวนมากเห็นคุณค่าสำหรับการค้นหาข้อความที่คล้ายกัน”

62. Page Age: แม้ว่า Google จะชอบ Content ที่มีเนื้อหาสดใหม่ แต่หน้า Content เก่าที่อัปเดตเป็นประจำอาจมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าหน้าใหม่กว่า
63. User Friendly Layout: อ้างอิงจากเอกสารแนวทางปฏิบัติของผู้ประเมินของ Google (Google Rater Guideline) ว่า “แผนผังของหน้าเว็บไซต์ที่มีคุณภาพสูง จะทำให้มองเห็นหน้า Content หลักได้อย่างชัดเจน”

64. Parked Domains: การอัปเดตของ Google ในเดือนธันวาคม 2011 ลดการมองเห็นการค้นหา การฝากแปะโดเมนที่ยังไม่มีพื้นที่เว็บไซต์ไว้กับโดเมนที่มีพื้นที่เว็บไซต์แล้ว (Parked domain)
65. Useful Content: ตามที่คุณ Jared Carrizales ผู้อ่าน Backlinko ชี้ให้เห็นว่า Google อาจแยกความแตกต่างระหว่าง Content ทีมีเนื้อหาที่มีคุณภาพ และ มีประโยชน์
Site-Level Factors
66. Content Provides Value and Unique Insights: Google ระบุว่าพวกเขาจะลงโทษเว็บไซต์ที่ไม่นำสิ่งใหม่หรือมีประโยชน์มาสู่ระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเว็บไซต์ Affiliate ที่มีเนื้อหาน้อย
67. Contact Us Page: หลักเกณฑ์ด้านคุณภาพของ Google (Google Quality Guideline) ระบุว่าพวกเขาต้องการเว็บไซต์ที่มีข้อมูลติดต่อในปริมาณที่มากพอ ดังนั้นควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลการติดต่อของคุณตรงกับข้อมูล Whois ของคุณ
68. Domain Trust/TrustRank: SEO หลายคนเชื่อว่า TrustRank เป็นปัจจัยในการจัดอันดับที่สำคัญอย่างมาก และสิทธิบัตรของ Google ที่มีชื่อว่า “Search result ranking based on trust” ได้สนับสนุนความเห็นนี้

69. Site Architecture: สถาปัตยกรรมของเว็บไซต์ที่มีการรวมกันเป็นอย่างดี เช่น Silo structure จะช่วยให้ Google จัดระเบียบเนื้อหา Content ของคุณตามธีมได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้ Googlebot เข้าถึงและจัดทำดัชนีหน้าเว็บไซต์ทั้งหมดของคุณได้
70. Site Updates: SEO จำนวนมากเชื่อว่าการอัปเดตเว็บไซต์เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยเพิ่มความสดใหม่ให้กับเว็บไซต์ โดยเฉพาะเมื่อมีการเพิ่ม Content ใหม่ลงในเว็บไซต์ แม้ว่า Google จะปฏิเสธเมื่อเร็วๆนี้ว่าพวกเขาใช้ความถี่ในการเผยแพร่ในอัลกอริทึม
71. Presence of Sitemap: แผนผังเว็บไซต์ช่วยให้เครื่องมือค้นหาจัดทำดัชนีหน้าเว็บของคุณได้ง่ายขึ้นและทั่วถึง อย่างไรก็ตาม Google เพิ่งระบุว่าแผนผังเว็บไซต์ HTML ไม่มีประโยชน์สำหรับ SEO
72. Site Uptime: การหยุดทำงานเป็นเวลานานจากการบำรุงรักษาเว็บไซต์หรือปัญหาเซิร์ฟเวอร์อาจส่งผลกระทบต่ออันดับของคุณ และอาจส่งผลให้ดัชนีไม่ได้รับการแก้ไข
73. Server Location: ตำแหน่งเซิร์ฟเวอร์มีอิทธิพลต่อตำแหน่งที่เว็บไซต์ของคุณในอันดับทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน ซึ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการค้นหาเฉพาะทางภูมิศาสตร์
74. SSL Certificate: Google ได้ยืนยันว่าใช้ HTTPS เป็นสัญญาณของการจัดอันดับ

ตามที่ Google กล่าวว่า HTTPS ทำหน้าที่เป็น Tiebreaker เท่านั้น
75. E-A-T: ย่อมาจาก Expertise, Authoritativeness และ Trustworthiness Google ให้คะแนนกับเว็บไซต์ที่มี E-A-T ในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเว็บไซต์ที่เผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพ
76. Duplicate Meta Information On-Site: ข้อมูล Meta Data ที่ซ้ำกันในเว็บไซต์ของคุณอาจทำให้การมองเห็นหน้าเพจทั้งหมดของคุณลดลง
77. Breadcrumb Navigation: นี่คือรูปแบบของสถาปัตยกรรมเว็บไซต์ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งาน และ Search Engine รู้ว่าพวกเขาอยู่ตรงไหนของเว็บไซต์

โดย Google ระบุว่า “Google Search ใช้ Breadcrumb markup ในเนื้อหาของหน้าเว็บไซต์เพื่อจัดหมวดหมู่ข้อมูลจากหน้าเพจในผลการค้นหา”
78. Mobile Optimized: เพราะการค้นหามากกว่าครึ่งจากอุปกรณ์มือถือ ทาง Google จึงต้องการเห็นว่าเว็บไซต์ของคุณได้รับการปรับให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานผ่านมือถือ อันที่จริงตอนนี้ทาง Google ได้มีการลงโทษเว็บไซต์ที่ไม่ปรับหน้าเพจให้เหมาะสมกับอุปกรณ์แบบพกพาแล้ว
79. YouTube: ไม่ต้องสงสัยเลยว่าวิดีโอ YouTube จะได้รับสิทธิพิเศษใน SERP อาจเป็นเพราะ Google เป็นเจ้าของ

อันที่จริง Search Engine Land พบว่าการเข้าชม YouTube.com เพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากมีโครงสร้างอัลกอริทึม Google Panda
80. Site Usability: เว็บไซต์ที่ใช้งานหรือนำทางได้ยากอาจส่งผลเสียต่อการจัดอันดับทางอ้อมโดยการลดเวลาบนหน้าเว็บไซต์ หน้าที่ดู และ Bounce rate (การวัดผลจากทาง RankBrain)
81. Use of Google Analytics and Google Search Console: บางคนคิดว่าการติดตั้งทั้ง 2 โปรแกรมนี้บนเว็บไซต์ของคุณสามารถปรับปรุงการจัดทำดัชนีหน้าเว็บของคุณได้ นอกจากนี้ยังอาจส่งผลโดยตรงต่อการจัดอันดับโดยให้ข้อมูลแก่ Google ในการทำงานมากขึ้น เช่น อัตรา Bounce rate ที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าคุณจะได้รับการอ้างอิงจาก Backlink หรือไม่ ซึ่งทาง Google ไม่ได้มีการยืนยันในข้อนี้
82. User reviews/Site reputation: ชื่อเสียงของเว็บไซต์ เช่น Yelp.com มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทสำคัญในอัลกอริทึมของ Google อีกทั้ง Google ยังได้มีการทำสรุปเกี่ยวกับวิธีที่พวกเขาใช้บทวิจารณ์ออนไลน์หลังจากเว็บไซต์หนึ่งถูกจับได้ว่าลอกเลียนลูกค้าเพื่อพยายามที่จะรับสื่อและลิ้งก์
83. Core Web Vitals: Core Web Vitals มีความสำคัญมากในแง่ของผลกระทบต่อการจัดอันดับ
Backlink Factors
84. Linking Domain Age: Backlink จากโดเมนที่มีอายุมากอาจมีประสิทธิภาพมากกว่าโดเมนใหม่
85. # of Linking Root Domains: จำนวนโดเมนที่อ้างอิงเป็นหนึ่งในปัจจัยการจัดอันดับที่สำคัญที่สุดในอัลกอริทึมของ Google ดังที่คุณเห็นจากการศึกษาด้านล่างเกี่ยวกับผลการค้นหาของ Google 11.8 ล้านรายการ

86. # of Links from Separate C-Class IPs: ลิ้งก์จากที่อยู่ IP ที่แยกจากกันจะแนะนำเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงถึงคุณในวงกว้าง ซึ่งสามารถช่วยในการจัดอันดับได้
87. # of Linking Pages: จำนวนหน้าเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงกันทั้งหมดอาจส่งผลต่อการจัดอันดับ แม้จะมาจากโดเมนเดียวกัน
88. Backlink Anchor Text: ดังที่ระบุไว้ในคำอธิบายอัลกอริทึมดั้งเดิมของ Google ว่า “ประการแรก Anchor มักจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับหน้าเว็บเพจได้ถูกต้องมากกว่าหน้าเว็บเพจนั้นๆ”

ถึงแม้จะเห็นได้ชัดว่า Anchor Text มีความสำคัญน้อยลงกว่าเมื่อก่อน แต่ Anchor text ที่มี Keyword จำนวนมากยังคงส่งสัญญาณความเป็น Spam มากกว่าอยู่ดี
89. Alt Tag (for Image Links): Alt text ทำหน้าที่เป็น Anchor text สำหรับรูปภาพ
90. Links from .edu or .gov Domains: คุณ Matt Cutts ระบุว่า TLD ไม่ได้คำนึงถึงความสำคัญของเว็บไซต์ และ Google ได้กล่าวว่า พวกเขาละเว้นลิ้งก์ Edu จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้หยุดความคิดของผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO ทั้งหลายว่า มีความพิเศษในอัลกอริทึมสำหรับ .gov และ .edu TLD
91. Authority of Linking Page: อำนาจหน้าที่ (PageRank) ของหน้าเพจอ้างอิงเป็นปัจจัยในการจัดอันดับที่สำคัญอย่างยิ่งตั้งแต่ Google ในยุคแรก ๆ และยังคงเป็นอยู่ในปัจจุบัน

92. Authority of Linking Domain: อำนาจของโดเมนที่อ้างอิงอาจมีบทบาทอิสระในคุณค่าของลิงก์
93. Links From Competitors: ลิงก์จากหน้าเพจอื่นๆที่จัดอยู่ใน SERP เดียวกันอาจมีคุณค่ามากกว่าการจัดอันดับหน้าเพจสำหรับ Keyword นั้นๆ เนื่องจากเป็นหน้าเพจที่มีความเกี่ยวข้องสูง
94. Links from “Expected” Websites: แม้ว่าจะเป็นเพียงการคาดเดา แต่ผู้เชี่ยวชาญ SEO บางส่วนเชื่อว่า Google จะไม่เชื่อถือเว็บไซต์ของคุณอย่างเต็มที่จนกว่าคุณจะได้รับการเชื่อมโยงจากเว็บไซต์ที่ถูกคาดหวังในอุตสาหกรรมของคุณ
95. Links from Bad Neighborhoods: ลิงก์จากสิ่งที่เรียกว่า Bad Neighborhoods หรือละแวกใกล้เคียงที่ไม่ดีอาจทำร้ายเว็บไซต์ของคุณได้
96. Guest Posts: แม้ว่าลิ้งก์จากโพสต์ของผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ (Guest) จะยังมีคุณค่า แต่มีแนวโน้มว่าจะไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับ Editorial links รวมทั้งการโพสต์ของ Guest จำนวนมากอาจทำให้เว็บไซต์ของคุณมีปัญหาได้
97. Links From Ads: Google กล่าวว่า ลิ้งก์จากโฆษณาควรเป็น Nofollow หรือใช้ rel=Sponsored Attribute อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มว่า Google สามารถระบุและกรองลิ้งก์ที่ติดตามออกจากโฆษณาได้
98. Homepage Authority: ลิ้งก์ไปยังโฮมเพจของหน้าเพจอ้างอิงอาจมีความสำคัญเป็นพิเศษในการประเมินความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์และลิ้งก์
99. Nofollow Links: นี่เป็นหนึ่งในหัวข้อที่มีการถกเถียงกันมากที่สุดใน SEO โดย Google บอกเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “โดยทั่วไปแล้ว เราไม่ได้ติดตามสิ่งนี้”

ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการมีลิ้งก์ Nofollow ในบางกรณีนั้นอาจมีส่วนในการบ่งบอกถึงโปรไฟล์ลิ้งก์ที่เป็นธรรมชาติและผิดปกติได้
100. Diversity of Link Types: การมีลิ้งก์ที่ผิดปกติจำนวนมากซึ่งมาจากแหล่งเดียว เช่น โปรไฟล์ของฟอรัม และความคิดเห็นของบล็อก อาจเป็นสัญญาณของเว็บสแปม ในทางกลับกันลิ้งก์จากแหล่งที่หลากหลายเป็นสัญลักษณ์ของโปรไฟล์ลิ้งก์ที่เป็นธรรมชาติมากกว่า
101. “Sponsored” or “UGC” Tags: ลิ้งก์ที่แท็กเป็น rel=sponsored หรือ rel=UGC จะถือว่าแตกต่างจากลิ้งก์ Followed หรือ rel=nofollow ปกติ
102. Contextual Links: ลิ้งก์ที่ฝังอยู่ภายในเนื้อหา Content ของหน้าเว็บไซต์จะถือว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าลิ้งก์ในหน้าว่างหรือตรงส่วนอื่นของหน้า

103. Excessive 301 Redirects to Page: ตามข้อมูลจาก วิดีโอช่วยเหลือของผู้ดูแลเว็บ กล่าวไว้ว่า Backlink ที่มาจาก 301 redirects จะทำให้ PageRank ลดลง
104. Internal Link Anchor Text: Internal link anchor text เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถูกกล่าวไว้ว่า Internal link มีแนวโน้มที่จะมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่า Anchor text ที่มาจากเว็บไซต์ภายนอก
105. Link Title Attribution: ชื่อลิ้งก์อาจถูกนำมาใช้เป็นสัญญาณความเกี่ยวข้องแต่ไม่ได้สำคัญขนาดนั้น
106. Country TLD of Referring Domain: การรับลิ้งก์จากส่วนขยายโดเมนระดับบนสุดเฉพาะประเทศ (.de, .cn, .co.uk) อาจช่วยให้คุณมีอันดับที่ดีขึ้นในประเทศนั้นๆ
107. Link Location In Content: ลิ้งก์ในตอนต้นของ Content อาจมีความน่าเชื่อถือมากกว่าลิ้งก์ที่อยู่ส่วนท้ายของ Content

108. Link Location on Page: ตำแหน่งที่ลิงก์ปรากฏบนหน้าเพจนั้นมีความสำคัญ โดยทั่วไปลิงก์ที่ฝังอยู่ใน Content ของหน้าเพจจะมีประสิทธิภาพมากกว่าลิงก์ในส่วนท้ายหรือบริเวณแถบด้านข้าง
109. Linking Domain Relevancy: ลิงก์จากเว็บไซต์ที่คล้ายกันจะมีประสิทธิภาพมากกว่าลิงก์จากเว็บไซต์ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยสิ้นเชิง
110. Page-Level Relevancy: ลิงก์จากหน้าที่เกี่ยวข้องจะส่งผ่านคุณค่าที่มากขึ้นด้วย
111. Keyword in Title: Google จะให้ความสำคัญกับลิงก์จากหน้าเพจที่มี Keyword ของเพจอยู่ในชื่อด้วย
112. Positive Link Velocity: เว็บไซต์ที่มีความเร็วลิงก์เชิงบวกมักจะได้รับ SERP ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากแสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์ของคุณได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น

113. Negative Link Velocity: ในทางกลับกัน ความเร็วของลิงก์เชิงลบสามารถส่งผลให้ถูกลดอันดับลงได้อย่างมาก เนื่องจากเป็นสัญญาณของความนิยมที่ลดลง
114. Links from “Hub” Pages: Hilltop อัลกอริทึม แนะนำว่า การได้รับลิงก์จากหน้าเว็บไซต์ที่ถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลชั้นนำหรือเป็นฮับ ในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
115. Link from Authority Sites: ลิงก์จากเว็บไซต์ที่เป็นเว็บไซต์ของหน่วยงานนั้นมีแนวโน้มที่จะส่งสัญญาณเชิงบวกมากกว่าลิงก์จากเว็บไซต์เล็กๆที่ไม่เป็นที่รู้จัก
116. Linked to as Wikipedia Source: Google ได้กล่าวว่า การได้รับลิงก์จาก Wikipedia ไม่จะส่งผลต่อความไว้วางใจและการเพิ่มอำนาจในสายตาของเครื่องมือค้นหา
117. Co-Occurrences: คำที่มักจะปรากฏรอบๆ Backlink ของคุณจะช่วยบอก Google ว่าหน้าเพจนั้นเกี่ยวกับอะไร

118. Backlink Age: ตามสิทธิบัตรของ Google ลิงก์ที่เก่ากว่าจะมีอำนาจในการจัดอันดับมากกว่า Backlink ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่
119. Links from Real Sites vs. “Splogs”: เนื่องจากเครือข่ายบล็อกมีจำนวนมากขึ้น Google จึงอาจให้น้ำหนักแก่ลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์จริงมากกว่าจากบล็อกปลอม โดยพวกเขามักจะใช้แบรนด์และการโต้ตอบกับผู้ใช้งานเพื่อแยกความแตกต่างระหว่างทั้งสอง
120. Natural Link Profile: เว็บไซต์ที่มีโปรไฟล์ลิงก์ที่เป็นธรรมชาติ จะอยู่ในอันดับที่สูง และทนทานต่อการอัปเดตมากกว่าเว็บไซต์ที่ใช้กลยุทธ์ Black hat ในการสร้างลิงก์อย่างชัดเจน
121. Reciprocal Links: หน้า Link Schemes ของ Google จะแสดงรายการการแลกเปลี่ยนลิงก์ที่มากเกินไป ซึ่งเป็นรูปแบบลิงก์ที่ควรหลีกเลี่ยง
122. User Generated Content Links: Google สามารถระบุ UGC กับเนื้อหาที่เผยแพร่โดยเจ้าของเว็บไซต์จริงได้
123. Links from 301: ลิงก์จากการ 301 redirect อาจสูญเสียเครดิตเล็กน้อยเมื่อเทียบกับลิงก์โดยตรง อย่างไรก็ตามคุณ Matt Cutts กล่าวว่า 301s มีความคล้ายคลึงกับลิงก์โดยตรง
124. Schema.org Usage: หน้าเพจที่รองรับ Microformat อาจอยู่เหนือหน้าเพจที่ไม่มี นี่อาจส่งผลต่อการเพิ่มอันดับโดยตรง และเป็นความจริงที่ว่าหน้าเว็บไซต์ที่มี Microformat มี SERP CTR ที่สูงกว่า

125. TrustRank of Linking Site: ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงถึงคุณเป็นตัวกำหนดว่า TrustRank จะถูกส่งต่อถึงคุณมากน้อยเพียงใด
126. Number of Outbound Links on Page: PageRank มีขีดจำกัด เพราะฉะนั้นลิงก์บนหน้าเพจที่มี External link หลายร้อยลิงก์นั้นจะส่งผ่าน PageRank ได้น้อยกว่าหน้าเพจที่มีลิงก์ออกไปภายนอกเพียงจำนวนหนึ่ง
127. Forum Links: เนื่องจากมีสแปมระดับอุตสาหกรรม Google อาจลดคุณค่าของลิงก์จากฟอรัมลงอย่างมาก
128. Word Count of Linking Content: ลิงก์จากโพสต์ที่มี 1,000 คำมักจะมีค่ามากกว่าลิงก์ภายในตัวอย่างข้อมูลที่มีเพียง 25 คำ
129. Quality of Linking Content: ลิงก์จากเนื้อหาที่มีการเขียนที่ไม่ดีจะไม่มีคุณค่ามากเท่ากับลิงก์ที่มีเนื้อหาที่เขียนอย่างดี
130. Sitewide Links: คุณ Matt Cutts ยืนยันว่า ลิงก์ทั่วทั้งเว็บไซต์จะถูกนำมารวมกัน เพื่อให้นับเป็นลิงก์เดียว
User Interaction
131. RankBrain: RankBrain คืออัลกอริทึม AI ของ Google ซึ่งหลายคนเชื่อว่าจุดประสงค์หลักของมันคือ เพื่อวัดว่าผู้ใช้งานโต้ตอบกับผลการค้นหาอย่างไร และจัดอันดับผลลัพธ์ตามลำดับ
132. Organic Click Through Rate for a Keyword: จากข้อมูลของ Google หน้าเว็บไซต์ที่ได้รับการคลิกมากขึ้นใน CTR อาจได้รับ SERP เพิ่มขึ้นสำหรับ Keyword นั้น

133. Organic CTR for All Keywords: CTR โดยทั่วไปของเว็บไซต์สำหรับ Keyword ทั้งหมดที่อยู่ในอันดับอาจเป็นสัญญาณการโต้ตอบของผู้ใช้ที่อ้างอิงจากมนุษย์ (หรือ Quality score สำหรับ Organic results)
134. Bounce Rate: ไม่ใช่ทุกคนในวงการ SEO ที่เห็นด้วยในเรื่องของ Bounce Rate แต่อาจเป็นหนึ่งในวิธีที่ Google ใช้ผู้ใช้งานของตนเป็นผู้ทดสอบคุณภาพ เพราะว่าหน้าเว็บไซต์ที่มีอัตรา Bounce rate สูงอาจไม่ใช่ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมสำหรับ Keyword นั้น นอกจากนี้การศึกษาขนาดใหญ่โดย SEMRush ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างอัตรา Bounce Rate และการจัดอันดับของ Google

135. Direct Traffic: ได้รับการยืนยันแล้วว่า Google ใช้ข้อมูลจาก Google Chrome เพื่อดูจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และความถี่ในการเข้าชม ซึ่งเว็บไซต์ที่มีการเข้าชมโดยตรงจำนวนมากมักจะเป็นเว็บไซต์ที่มีคุณภาพสูง หากเทียบกับเว็บไซต์ที่มีการเข้าชมโดยตรงเพียงเล็กน้อย การศึกษา SEMRush ที่เพิ่งอ้างถึงไปนั้นพบว่า มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างการเข้าชมโดยตรงและการจัดอันดับของ Google
136. Repeat Traffic: เว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมซ้ำอาจได้รับการจัดอันดับของ Google ที่ดีขึ้น
137. Pogosticking: Pogosticking เป็นการ Bounce แบบพิเศษ ในกรณีนี้คือผู้ใช้งานทำการคลิกที่ผลการค้นหาอื่นๆ เพื่อพยายามหาคำตอบสำหรับคำถามของตน

ผลลัพธ์ที่ผู้คน Pogostick อาจได้รับการจัดอันดับลดลงอย่างมาก
138. Blocked Sites: Google ได้ยุติฟีเจอร์นี้ใน Chrome แล้ว อย่างไรก็ตาม Panda เคยใช้ฟีเจอร์นี้สำหรับสัญญาณคุณภาพ ดังนั้น Google อาจจะยังคงใช้รูปแบบอื่น
139. Chrome Bookmarks: เรารู้ว่า Google รวบรวมข้อมูลการใช้งานเบราว์เซอร์ Chrome โดยหน้าเพจที่ได้รับการ Bookmark ใน Chrome อาจจะได้รับการส่งเสริมมากขึ้น
140. Number of Comments: หน้าเพจที่มีความคิดเห็นจำนวนมากอาจเป็นสัญญาณของการโต้ตอบกับผู้ใช้งานและคุณภาพที่ดี ซึ่งอันที่จริงแล้ว Googler คนหนึ่งกล่าวว่า ความคิดเห็นสามารถช่วยได้มากในการจัดอันดับ

141. Dwell Time: Google ให้ความสำคัญอย่างมากกับเวลาที่ผู้คนใช้เวลาบนหน้าเพจของคุณเมื่อมาจากการค้นหาผ่าน Google ซึ่งบางครั้งเรียกว่า Long Clicks vs Short Clicks พูดสั้นๆคือ Google วัดระยะเวลาที่ผู้ค้นหาของ Google ใช้ในเพจของคุณ ยิ่งใช้เวลานานยิ่งดี
Special Google Algorithm Rules
142. Query Deserves Freshness: Google ให้หน้าเว็บไซต์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นสำหรับการค้นหาบางอย่าง
143. Query Deserves Diversity: Google อาจเพิ่มความหลากหลายให้กับ SERP สำหรับ Keyword ที่คลุมเครือ เช่น “Ted”, “WWF” หรือ “Ruby”
144. User Browsing History: คุณอาจสังเกตเห็นสิ่งนี้ได้ด้วยตัวเองว่าเว็บไซต์ที่คุณเข้าชมบ่อยครั้งจะได้รับอันดับบน SERP เพิ่มขึ้นสำหรับการค้นหาของคุณ
145. User Search History: การค้นหาที่ติดต่อกันจะมีผลต่อผลการค้นหาสำหรับการค้นหาในภายหลัง ตัวอย่างเช่น หากคุณค้นหาบทวิจารณ์ จากนั้นค้นหาเครื่องปิ้งขนมปัง ทาง Google มีแนวโน้มที่จะจัดอันดับเว็บไซต์ที่มีบทวิจารณ์รีวิวเครื่องปิ้งขนมปังให้สูงขึ้นใน SERP
146. Featured Snippets: จากการศึกษาของ SEMRush Google เลือกเนื้อหาตัวอย่างข้อมูลโดยพิจารณาจากความยาวของเนื้อหา, การจัดรูปแบบ, สิทธิ์ของหน้า, และการใช้ HTTP
147. Geo Targeting: Google ให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ที่มี IP เซิร์ฟเวอร์ในพื้นที่และนามสกุลโดเมนเฉพาะประเทศ
148. Safe Search: ผลการค้นหาที่มีคำสาปแช่งหรือเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่จะไม่ปรากฏสำหรับผู้ที่เปิดใช้ Safe Search
149. “YMYL” Keywords: Google มีมาตรฐานคุณภาพเนื้อหาที่สูงขึ้นสำหรับ Keyword ประเภท “Your Money or Your Life”
150. DMCA Complaints: Google จะทำการลดอันดับหน้าที่มีการร้องเรียน DMCA ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
151. Domain Diversity: ที่เรียกว่า Bigfoot Update น่าจะมีการเพิ่มโดเมนมากขึ้นในแต่ละหน้า SERP
152. Transactional Searches: บางครั้ง Google จะแสดงผลลัพธ์ที่แตกต่างกันสำหรับ Keyword ที่เกี่ยวข้องกับการช็อปปิ้ง เช่น การค้นหาเที่ยวบิน

153. Local Searches: สำหรับการค้นหาแบบท้องถิ่น ทาง Google มักจะวางผลลัพธ์ไว้เหนือ SERP ปกติทั่วไป

154. Top Stories box: Keyword บางคำจะมี Top Stories Box ปรากฎขึ้นมาด้วย

155. Big Brand Preference: หลังจากมี Vince Update ทาง Google ได้เริ่มให้การสนับสนุนแบรนด์ใหญ่ๆ สำหรับ Keyword บางคำ
156. Shopping Results: บางครั้ง Google จะแสดงผลลัพธ์ของ Google Shopping ใน Organic SERPs

157. Image Results: บางครั้งรูปภาพของ Google ปรากฏในผลการค้นหาทั่วไปตามปกติ
158. Easter Egg Results: Google มีผลลัพธ์มากมาย หรือมีการซ่อนการแสดงผลแบบพิเศษเอาไว้ ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณค้นหา Atari Breakout ในการค้นหารูปภาพของ Google ผลการค้นหาจะกลายเป็นเกมส์ที่สามารถเล่นได้ (Credit โดยคุณ Victor Pan)
159. Single Site Results for Brands: โดเมนหรือ Keyword ที่เน้นแบรนด์แสดงผลลัพธ์หลายรายการจากเว็บไซต์เดียวกัน
160. Payday Loans Update: นี่เป็นอัลกอริทึมพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อล้างข้อความค้นหาที่เป็นสแปม
Brand Signals
161. Brand Name Anchor Text: Branded Anchor Text เป็นสัญญาณแบรนด์ที่ดูเรียบง่ายแต่มั่นคง

162. Branded Searches: หากมีคนค้นหาแบรนด์ของคุณใน Google จะแสดงให้ Google เห็นว่าเว็บไซต์ของคุณเป็นแบรนด์ที่มีอยู่จริง
163. Brand + Keyword Searches: ผู้คนค้นหา Keyword พร้อมกับแบรนด์ของคุณหรือไม่? หากเป็นเช่นนั้น Google อาจเพิ่มอันดับให้คุณเมื่อมีผู้ค้นหา Keyword เหล่านั้นใน Google
164. Site Has Facebook Page and Likes: แบรนด์มักจะมีเพจ Facebook ที่มียอดไลค์มากมาย
165. Site has Twitter Profile with Followers: โปรไฟล์ Twitter ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากส่งสัญญาณถึงความเป็นแบรนด์ยอดนิยม
166. Official Linkedin Company Page: ธุรกิจที่มีอยู่จริงส่วนใหญ่จะมีเพจ Linkedin ของบริษัท
167. Known Authorship: ในเดือนกุมภาพันธ์ 2013 คุณ Eric Schmidt ซีอีโอของ Google กล่าวว่า ข้อมูลที่ได้รับการยืนยันว่าเชื่อมโยงกับโปรไฟล์ออนไลน์จะได้รับการจัดอันดับที่สูงกว่าเนื้อหาที่ไม่มีการยืนยัน ซึ่งจะถูกคลิกโดยผู้ใช้งานโดยธรรมชาติ”

168. Legitimacy of Social Media Accounts: บัญชีโซเชียลมีเดียที่มีผู้ติดตาม 10,000 คนและมีโพสต์เพียง 2 โพสต์ สามารถมีการตีความที่แตกต่างจากบัญชีที่มีผู้ติดตาม 10,000 คนและมีการโต้ตอบมากมาย อันที่จริง Google ได้ยื่นสิทธิบัตรเพื่อพิจารณาว่าบัญชีโซเชียลมีเดียเหล่านั้นเป็นของจริงหรือของปลอม
169. Brand Mentions on Top Stories: แบรนด์ใหญ่ๆมักถูกกล่าวถึงในเว็บไซต์ดังๆตลอดเวลา อันที่จริงบางแบรนด์ยังมีหน้าฟีดข่าวจากเว็บไซต์ของตนเองในหน้าแรกของการค้นหาอีกด้วย

170. Unlinked Brand Mentions: แบรนด์ต่างๆที่ได้รับการกล่าวถึงโดยไม่ได้เชื่อมโยงลิ้งก์ ซึ่ง Google มีแนวคิดว่า การกล่าวถึงแบรนด์แบบไม่มีลิ้งก์นั้นถือเป็นสัญญาณที่ดีของแบรนด์
171. Brick and Mortar Location: เป็นไปได้ที่ Google จะค้นหาข้อมูลตำแหน่งของบริษัท เพื่อตัดสินว่าเว็บไซต์นั้นเป็นแบรนด์ใหญ่หรือไม่
On-Site WebSpam Factors
172. Panda Penalty: เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาคุณภาพต่ำจะไม่ปรากฏให้เห็นในการค้นหาหลังจากโดนลงโทษ โดย Panda
173. Links to Bad Neighborhoods: การเชื่อมโยงลิ้งก์ไปยังละแวกใกล้เคียงที่ไม่ดี เช่น ร้านขายยาที่เป็นสแปมหรือเว็บไซต์สินเชื่อเงินด่วน อาจกระทบต่อการมองเห็นการค้นหาของคุณ
174. Redirects: การทำ Redirect นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ หากถูกจับได้ ไม่เพียงจะสามารถทำให้เว็บไซต์ถูกลงโทษเท่านั้น แต่จะถูกยกเลิกการจัดทำดัชนีอีกด้วย
175. Popups or “Distracting Ads”: เอกสารแนวทางปฏิบัติของผู้ประเมิน Google (Google Rater Guidelines) ระบุว่าป๊อปอัปและโฆษณาที่ขึ้นมารบกวนเป็นสัญญาณของเว็บไซต์ที่มีคุณภาพต่ำ
176. Interstitial Popups: Google อาจลงโทษเว็บไซต์ที่แสดงป๊อปอัปโฆษณาคั่นระหว่างหน้าแบบเต็มหน้าแก่ผู้ใช้งานผ่านมือถือ

177. Site Over-Optimization: Google จะลงโทษผู้คนสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ของตนมากเกินไป ซึ่งรวมถึงการใส่ Keyword ซ้ำๆ, การใส่ Header Tag, และการตกแต่งคำสำคัญที่มากเกินไป
178. Gibberish Content: สิทธิบัตรของ Google ระบุว่า Google สามารถระบุเนื้อหาที่ดูไม่เข้าใจได้ซึ่งนี่เป็นประโยชน์ในการกรองเนื้อหาที่ปั่นหรือสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติออกจากดัชนีอย่างมาก
179. Doorway Pages: Google ต้องการให้หน้าเพจที่คุณแสดงต่อ Google นั้นเป็นหน้าเพจที่ผู้ใช้งานได้เห็น หากหน้าเพจของคุณมีการ Redirect ไปยังหน้าเพจอื่นหลายครั้ง จะถือเป็น “Doorway Pages” ซึ่ง Google นั้นไม่ชอบเว็บไซต์ประเภทนี้
180. Ads Above the Fold: อัลกอริทึมสำหรับหน้าเว็บไซต์จะลงโทษเว็บไซต์ที่มีโฆษณาจำนวนมากเกินไป แต่มีเนื้อหาเพียงเล็กน้อย

181. Hiding Affiliate Links: การพยายามซ่อนลิ้งก์ Affiliate โดยเฉพาะการซ่อนลิ้งก์มากเกินไปอาจทำให้ได้รับการลงโทษ
182. Fred: เป็นชื่อเล่นสำหรับชุดการอัปเดตของ Google ที่เริ่มในปี 2560 โดยจากข้อมูลของ Search Engine Land Fred กำหนดเป้าหมายเว็บไซต์เนื้อหาที่มีมูลค่าต่ำซึ่งโฟกัสที่รายได้มากกว่าการช่วยเหลือผู้ใช้งาน
183. Affiliate Sites: Google ไม่ใช่แฟนตัวยงของ Affiliate และหลายคนคิดว่าเว็บไซต์ที่สร้างรายได้ด้วยโปรแกรม Affiliate นั้นจะต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน
184. Autogenerated Content: Google เกลียด Content ที่สร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ หากพวกเขาสงสัยว่าเว็บไซต์ของคุณส่งเนื้อหาที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์ออกไป อาจส่งผลให้มีการลงโทษหรือยกเลิกการจัดทำดัชนีได้
185. Excess PageRank Sculpting: การทำ PageRank มากเกินไปโดยการหลบการใช้ Nofollow link สำหรับลิ้งก์ออกทั้งหมด อาจเป็นสัญญาณของการวุ่นวายกับระบบ
186. IP Address Flagged as Spam: หากที่อยู่ IP ของเซิร์ฟเวอร์ของคุณถูกตั้งค่าสถานะว่าเป็นสแปม อาจส่งผลต่อเว็บไซต์ทั้งหมดบนเซิร์ฟเวอร์นั้น
187. Meta Tag Spamming: การบรรจุ Keyword สามารถเกิดขึ้นได้ใน Meta Tag หาก Google คิดว่าคุณกำลังเพิ่ม Keyword ลงใน Title tag และคำอธิบายของคุณเพื่อพยายามเล่นเกมส์กับอัลกอริทึม พวกเขาอาจลงโทษเว็บไซต์ของคุณ
Off-Site WebSpam Factors
188. Hacked Site: หากเว็บไซต์ของคุณถูกแฮ็ก เว็บไซต์อาจถูกลบออกจากผลการค้นหา ในความเป็นจริงนั้น หลังจากที่ Google คิดว่าถูกแฮ็ก Search Engine จะทำการยกเลิกการจัดทำดัชนีเรียบร้อย

189. Unnatural Influx of Links: ลิงก์ที่ไหลเข้ามาอย่างกะทันหันและดูผิดปกติ เป็นสัญญาณที่ชัดเจนของลิงก์ปลอม
190. Penguin Penalty: เว็บไซต์ที่ถูกโจมตีโดย Google Penguin นั้นจะถูกมองเห็นได้น้อยลงในการค้นหา ถึงแม้ว่าตอนนี้ Penguin จะเน้นไปที่การกรองลิ้งก์ที่ไม่ดีออกไปแทน
191. Link Profile with High % of Low Quality Links: ลิงก์จำนวนมากจากแหล่งที่ Black Hat SEOs มักใช้งาน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเล่นเกมส์ของระบบ เช่น ความคิดเห็นในบล็อกและโปรไฟล์ฟอรัม
192. Links From Unrelated Websites: Backlink จำนวนมากจากเว็บไซต์เฉพาะที่ไม่เกี่ยวข้องสามารถเพิ่มโอกาสการโดนลงโทษจาก Google ได้
193. Unnatural Links Warning: Google ได้ส่งข้อความแจ้งเตือน Google Search Console เกี่ยวกับลิงก์ที่ผิดปกติที่ตรวจพบหลายพันรายการ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นก่อนอันดับลดลง แม้ว่าจะไม่เป็นแบบนี้ 100% ก็ตาม
194. Low-Quality Directory Links: จากข้อมูลของ Google Backlink จาก Directory ที่มีคุณภาพต่ำอาจนำไปสู่การถูกลงโทษได้
195. Widget Links: Google มีการตรวจเข้มกับลิงก์ที่สร้างขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อผู้ใช้ฝัง Widget บนเว็บไซต์ของตน
196. Links from the Same Class C IP: การได้รับลิงก์จำนวนมากผิดปกติจากเว็บไซต์บน IP เซิร์ฟเวอร์เดียวกันอาจช่วยให้ Google ระบุได้ว่าลิงก์ของคุณมาจากเครือข่ายบล็อก
197. “Poison” Anchor Text: การมี Anchor text ที่ไม่เป็นไปตามหลักชี้ไปที่เว็บไซต์ของคุณอาจเป็นสัญญาณของสแปมหรือเว็บไซต์ที่ถูกแฮ็ก ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดอาจส่งผลเสียต่อการจัดอันดับเว็บไซต์ของคุณได้
198. Unnatural Link Spike: สิทธิบัตรของ Google ปี 2013 ได้อธิบายไว้ว่า Google สามารถระบุได้อย่างไรว่าการไหลเข้าของลิงก์ไปยังหน้าเว็บนั้นถูกต้องตามกฎหมาย โดยลิ้งก์ที่ดูผิดปกติอาจถูกลดคุณค่าลง
199. Links From Article Directories and Press Releases: Directory ของบทความ และข่าวประชาสัมพันธ์ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดจนถึงขั้นที่ Google ถือว่ากลยุทธ์การสร้างลิงก์ทั้งสองนี้เป็น Link Scheme ในหลายกรณี
200. Manual Actions: มีหลายประเภทที่เกี่ยวข้อง แต่ส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับการสร้าง Black Hat link
201. Selling Links: การถูกจับได้ว่าขายลิงก์จะส่งผลเสียต่อการมองเห็นการค้นหาของคุณ
202. Google Sandbox: ในบางครั้งเว็บไซต์ใหม่ที่มีลิงก์หลั่งไหลเข้ามาอย่างกะทันหันอาจจะถูกใส่ไปใน Google Sandbox ซึ่งจำกัดการมองเห็นในการค้นหาชั่วคราว
203. Google Dance: Google Dance สามารถส่งผลต่อการจัดอันดับได้ชั่วคราว โดยสิทธิบัตรของ Google กล่าวว่านี่อาจเป็นวิธีสำหรับพวกเขาในการพิจารณาว่าเว็บไซต์กำลังพยายามเล่นเกมส์กับอัลกอริทึมหรือไม่

204. Disavow Tool: การใช้เครื่องมือ Disavow Tool อาจช่วยลดบทลงโทษด้วยตนเองหรืออัลกอริทึมสำหรับเว็บไซต์ที่ตกเป็นเหยื่อของ SEO เชิงลบได้
205. Reconsideration Request: คำร้องขอให้พิจารณาใหม่สามารถยกโทษให้ได้
206. Temporary Link Schemes: Google จับคนที่สร้างสแปมและลบลิงก์เหล่านั้นออกอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงลิงก์แบบชั่วคราว
Conclusion
โดยสรุป นี่คือปัจจัยการจัดอันดับที่สำคัญที่สุดของ Google ในปี 2023
- Referring Domains
- Organic Click-Through-Rate
- Domain Authority
- Mobile Usability
- Dwell Time
- Total Number of Backlinks
- Content Quality
- On-Page SEO