วิธีการคำนวณ ROI จาก SEO ด้วย Google Analytic

คุณอาจจะใช้เวลาหลายชั่วโมงในการเรียนรู้การทำ SEO ที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่มันจะไม่มีประโยชน์เลย หากคุณไม่สามารถวัดผลลัพธ์ได้

การวัดผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on investment – ROI) ของ SEO ประกอบด้วยสองปัจจัย

  • KPI (ตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลัก) 
  • ต้นทุนของการทำ SEO ของคุณ 

การติดตามตัววัดหลักเหล่านี้ทุกเดือนทำให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของคุณได้ รวมทั้งสามารถทำการตัดสินใจในด้านธุรกิจด้วยการดูจากผลลัพธ์จริงที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากเงินหรือเวลาของคุณ คุณอาจเริ่มจากการพิจารณาใช้ Google Analytics (GA) เพื่อคำนวณ ROI ด้วย GA คุณสามารถระบุได้ว่าผู้เข้าชมของคุณมาจากช่องทางไหนบ้าง กำหนดเป้าหมายที่สามารถติดตามผลได้ และรวมคำหลักที่น่าสนใจที่สุดเพื่อช่วยในการจัดอันดับที่ดีขึ้นในเครื่องมือค้นหา

วิธีที่ 1 : Page Value

มูลค่าของหน้าเว็บไซต์ (Page Value) เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเมื่อพูดถึง ROI

มูลค่าของหน้าเว็บไซต์สามารถกำหนดมูลค่าเป็นเงินหรือรายได้โดยเฉลี่ยให้กับทุกหน้าที่อยู่ใน Session ที่เกิดธุรกรรม โดยเฉพาะสำหรับเว็บไซต์ E-Commerce นอกจากนี้ยังช่วยกำหนดมูลค่าให้กับหน้าที่ไม่มีการเกิดธุรกรรม เช่น บทความ และหน้า Landing Page เพราะแม้ว่าบล็อกอาจจะไม่สามารถสร้างรายได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบล็อกดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าในอนาคต ด้วยเว็บไซต์ที่เน้นการลงทะเบียน คุณสามารถกำหนดค่าให้กับเป้าหมายได้ เช่น การส่งแบบฟอร์มการติดต่อ เป็นต้น ดังนั้นคุณจะสามารถวัดผลได้อย่างแม่นยำมากขึ้นว่าคุณกำลังทำในสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่

ด้านล่างนี้เป็นภาพที่แสดงให้เห็นวิธีคำนวณมูลค่าหน้าตาม Google

ในตัวอย่างแรก ผู้ใช้เข้าชมหน้า B หนึ่งครั้งก่อนที่จะไปยังหน้าเป้าหมาย D (ซึ่งได้รับการกำหนดค่าเป็น 10 ดอลลาร์) และหน้าใบเสร็จ E (ซึ่งสร้างรายได้ 100 ดอลลาร์) นั่นหมายถึงการดูหน้าเว็บ B เพียงครั้งเดียว สร้างรายได้ $110 ซึ่งถือเป็นมูลค่าหน้าเว็บไซต์ของคุณ

ในรูปแบบสมการจะมีลักษณะดังนี้:

มูลค่าของหน้า B

= [รายได้จาก E-Commerce ($100) + มูลค่าเป้าหมายรวม ($10)] / จำนวนการเปิดดูหน้าเว็บที่ไม่ซ้ำสำหรับหน้า B (1)

= $110

แต่เพียงการดูหน้าเว็บทั้งหมดไม่ได้ทำให้เกิด Conversion จึงต้องติดตามข้อมูลและคำนวณมูลค่าหน้าเว็บของคุณใหม่เมื่อมีข้อมูลเพิ่มเติม มาดูกันว่ามันทำงานอย่างไรกับตัวอย่างที่สอง

จากภาพจะเห็น 2 Session  แต่มีเพียง 1 Session เท่านั้นที่แปลงเป็นธุรกรรม E-Commerce (Session ที่ 1) ดังนั้นแม้ว่าคุณจะมีการเปิดดูหน้าเว็บที่ไม่ซ้ำกันสองครั้งสำหรับหน้า B รายได้ E-Commerce ก็ยังคงเท่าเดิม จากนั้นเราจะสามารถคำนวณมูลค่าหน้า B ของเราใหม่โดยใช้ข้อมูลเหล่านี้

มูลค่าของหน้า B

= [รายได้จาก E-Commerce ($100) + มูลค่าเป้าหมายทั้งหมด ($10 x 2 Session)] / จำนวนการเปิดดูหน้าเว็บที่ไม่ซ้ำสำหรับหน้า B (2)

= $60

ด้วย Session และข้อมูลที่มากขึ้น คุณจะสามารถเข้าใจได้มากขึ้นว่าหน้าใดมีส่วนสร้างรายได้ให้กับเว็บไซต์ของคุณมากที่สุด

วิธีที่ 2 : E-Commerce Settings

หากคุณไม่ได้จัดการธุรกิจ E-Commerce คุณสามารถข้ามส่วนนี้ไปได้เลย แต่สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจนี้ Google Analytics มีฟังก์ชั่นขั้นสูงที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อคุณ โดยการเปิดการตั้งค่า E-Commerce คุณจะสามารถติดตามยอดขาย จำนวนคำสั่งซื้อ จุดที่เรียกเก็บเงิน หรือแม้แต่มูลค่าการสั่งซื้อโดยเฉลี่ย ด้วยวิธีนี้คุณจะสามารถเปรียบเทียบการใช้งานเว็บไซต์กับข้อมูลการขาย และทำความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นว่าหน้า Landing Page หรือแคมเปญใดทำงานได้ดีที่สุด

วิธีเปิดการทำงาน E-Commerce 

  • ในแผงด้านซ้ายของ Google Analytics ให้คลิกไปที่ ADMIN > ใต้แผง VIEW (แผงขวาสุด) คลิก “การตั้งค่า E-Commerce (E-Commerce Settings)” > เปิดใช้งาน E-Commerce > เปิดใช้งานการรายงาน E-Commerce (Enhanced E-Commerce Reporting)

ในการดำเนินการให้เสร็จสิ้น ให้ไปจุดที่ระบุว่า “Checkout Labelling” ใต้การตั้งค่า Enhanced E-Commerce และพิมพ์คำด้านล่างภายใต้ “Funnel Steps”:

  • Checkout view
  • Billing info
  • Proceed to payment

ด้านล่างนี้เป็นรูปภาพเพื่ออธิบายขั้นตอนที่กล่าวไป:

หากคุณมี Shopify หรือ Woocommerce อย่าลืมตั้งค่าตามระบบเหล่านั้นด้วย เพื่อให้ Google Analytics สามารถสื่อสารและถ่ายทอดข้อมูลสำคัญนี้ให้กับคุณได้

เมื่อคุณมีการตั้งค่าการติดตาม E-Commerce แล้ว คุณจะสามารถเข้าถึงข้อมูลต่อไปนี้ได้:

  • ภาพรวมของรายได้ อัตราการแปลง E-Commerce ธุรกรรม มูลค่าการสั่งซื้อโดยเฉลี่ย และตัวชี้วัดอื่นๆ
  • ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และการขาย
  • พฤติกรรมการช้อปปิ้งและการชำระเงิน

สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณเข้าใจมากขึ้นว่า ลูกค้าของคุณมีการใช้งานเว็บไซต์ของคุณอย่างไรและผลิตภัณฑ์ใดขายได้มากที่สุด ในแง่ของการคำนวณ ROI สำหรับ SEO การรู้ขั้นตอนที่ลูกค้าของคุณทำและหน้าเว็บที่พวกเขาดูก่อนตัดสินใจซื้อ จะช่วยให้คุณวิเคราะห์คุณค่าของหน้าเว็บแต่ละหน้า รวมไปถึงประสิทธิภาพของกลยุทธ์เนื้อหา SEO โดยรวมของคุณได้

วิธีที่ 3 : Sales Performance

วิธีนี้ยังใช้ได้สำหรับธุรกิจ E-Commerce เท่านั้น โดยฟีเจอร์ของประสิทธิภาพการขายจะแสดงยอดขายจากแหล่งที่มาและสื่อทั้งหมด คุณสามารถดูข้อมูลสำหรับการเข้าชมที่เกิดขึ้นเอง (Organic Traffic) เท่านั้น และการระบุรายได้

วิธีดูประสิทธิภาพการขายของคุณ

  • ในแผงด้านซ้ายของ Google Analytics คลิก “Conversion” > “E-commerce” > “Sales Performance”

ข้อมูลนี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของรายได้และรายละเอียดของธุรกรรมแต่ละรายการ การเก็บข้อมูลสิ่งนี้ไปเรื่อยๆจะช่วยให้เห็นแนวโน้มการขาย และสามารถนำไปปรับกลยุทธ์ของคุณได้

จำนวนธุรกรรมเฉลี่ยคือเท่าไหร่ และสามารถบอกอะไรเกี่ยวกับลูกค้าของคุณได้บ้าง? คำโฆษณาที่สามารถส่งเสริมการขายเพิ่มเติมหรือการขายต่อเนื่องมีผลกระทบกับรายได้ต่อการทำธุรกรรมของคุณหรือไม่

ข้อมูลอีกชุดหนึ่งที่ช่วยให้คุณคำนวณ ROI สำหรับ SEO และเพิ่มประสิทธิภาพกลยุทธ์เนื้อหาของคุณได้ คือพฤติกรรมการช้อปปิ้งของลูกค้า (Shopping Behaviour)

วิธีการดู Shopping Behaviors แบบเชิงลึก

  • คลิกไปที่ “Conversion” > “E-Commerce” > “Shopping Behaviour”

โดยสรุป คุณจะเห็นว่ากระบวนการขายของคุณมีประสิทธิภาพเพียงใด มีกี่ Session ที่ดำเนินการต่อจากขั้นตอนหนึ่งไปอีกขั้นตอนหนึ่ง มีกี่คนที่เข้ามาที่เว็บของคุณแต่ไม่ได้ซื้อ หรือมีการเพิ่มในรถเข็นแต่ไม่ได้ชำระเงิน

ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณระบุจุดที่ต้องปรับปรุงจาก SEO ให้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณคาดคะเนได้ว่ารายได้ของคุณจะเพิ่มขึ้นได้มากเพียงใดโดยการปรับคำโฆษณาของคุณให้เหมาะสมและปรับใช้ SEO เพื่อเพิ่มการเข้าชมแบบออร์แกนิก ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับ ROI สำหรับ SEO ของคุณได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น หากมีผู้ใช้จำนวนมากที่เข้าชมหน้าเว็บของคุณแต่ไม่ทำการสั่งซื้อ คุณอาจจำเป็นต้องปรับแต่งคำโฆษณาของคุณเพื่อรวมคำหลักที่ค้นหาได้หรือข้อความที่ตรงใจผู้ชมของคุณมากขึ้น

นอกจากนี้ คุณควรจำไว้ว่าถึงแม้ว่าจะแสดงยอดขายออร์แกนิก แต่คุณไม่สามารถระบุคีย์เวิร์ดที่นำไปสู่การขายนั้นได้ แต่การเข้าชมจากช่องทาง SEO อาจเป็นตัวบ่งชี้ถึงความพยายามทางการตลาดแบบองค์รวมที่ได้ผล ตัวอย่างเช่น การประชาสัมพันธ์อาจเพิ่มการค้นหาแบรนด์บน Google

เคล็ดลับ: คุณสามารถทราบได้ว่าคำหลักใดนำการเข้าชมมายังเว็บไซต์ของคุณได้มากที่สุดด้วย Google Search Console จากนั้นทำตามประวัติการนำทางจาก Google Analytics เพื่อเชื่อมโยงคำหลักเฉพาะกับการขาย

โดยรวมแล้ว ในการวัด ROI ของ SEO ของคุณอย่างแท้จริงนั้น คุณต้องค้นหาว่าคำหลักใดใช้ได้ผลสำหรับธุรกิจของคุณ เพราะแม้ว่าผู้คนอาจสนใจธุรกิจของคุณจากการประชาสัมพันธ์ที่น่าดึงดูด แต่พวกเขาอาจไม่สนใจบริการหรือสินค้าของคุณ หากต้องการมีคนสนใจมากขึ้น ให้เลือกใช้คีย์เวิร์ดที่มีความตั้งใจในการซื้อ ด้วยวิธีนี้ คุณจะสามารถดึงดูดลูกค้าที่เข้าเกณฑ์และพร้อมซื้อสินค้ามาที่เว็บไซต์ของคุณได้มากขึ้น

วิธีที่ 4 : Engagement Event

หากคุณไม่ได้ทำงานบนธุรกิจ E-Commerce แต่เป็นธุรกิจแบบ B2B นี่คือสิ่งที่คุณควรให้ความสนใจ โดยทั้งเว็บไซต์ E-Commerce และเว็บไซต์ที่ใช้เทคนิคการกระตุ้นยอดขายทางการตลาดออนไลน์นั้นสามารถวัดการใช้ Engagement ได้

การร่วมมือกับทีมขายของคุณเพื่อกำหนดมูลค่าให้กับเป้าหมายโดยพิจารณาจากมูลค่าการสั่งซื้อเฉลี่ย จำนวนการลงทะเบียนเฉลี่ย และอัตรา Conversion แม้ว่าจะมีประโยชน์สำหรับ E-Commerce แต่การวิเคราะห์ปัจจัยเหล่านี้จะเป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับเว็บไซต์ที่ใช้เทคนิคการกระตุ้นยอดขายทางการตลาดออนไลน์ ซึ่งมีวงจรการขายและธุรกรรมที่ยาวนานขึ้นนอกเว็บไซต์หรือหลังจากหลาย Session เช่น ธุรกิจแบบ B2B, SaaS, หรือหน่วยงานด้านการตลาด)

ตัวอย่าง Engagement Event ที่สามารถทำได้ ได้แก

  • สมัครรับจดหมายข่าว
  • การส่งแบบฟอร์มการติดต่อ
  • ดาวน์โหลด
  • การหยิบใส่ตะกร้า

วิธีดูข้อมูลการมีส่วนร่วมของแคมเปญ

  • คลิกที่ “Behaviour” > “Events” > “Top Events”

ด้านล่างนี้เป็นภาพเพื่อให้คุณสามารถปฏิบัติตามได้:

การติดตามประเภทนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกมากขึ้นว่า ผู้คนมีการใช้งานส่วนต่างๆของเว็บไซต์คุณอย่างไร และพวกเขามีส่วนร่วมอย่างไรในส่วนต่างๆของการเส้นทางการซื้อขาย โดยคุณสามารถใช้สิ่งนี้เพื่อกำหนดเป้าหมายสำหรับการสร้างกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของคุณ และตรวจสอบว่าความพยายามในการทำ SEO ของคุณได้ผลหรือไม่

สมมติคุณพบว่าเว็บไซต์ของคุณมีการเข้าชมหน้าบริการเป็นจำนวนมาก และผู้เข้าชมเหล่านั้นดาวน์โหลดกรณีศึกษาเป็นจำนวนมาก หมายความว่า พวกเขาสนใจในสิ่งที่คุณนำเสนอและต้องการดูกรณีศึกษาเพิ่มเติมจากคุณ

ใช้การคำนวณ ROI เพื่อช่วยในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่ดีขึ้นสำหรับธุรกิจของคุณ

ในท้ายที่สุด เมื่อใช้ Google Analytics สำหรับ SEO คุณควรพยายามทำให้เป้าหมายธุรกิจสอดคล้องกับ Metric ที่สามารถวัดได้เพื่อให้คุณเก็บข้อมูล และสามารถวางแผนระยะยาวสำหรับการเติบโตอย่างยั่งยืนสำหรับเว็บไซต์ของคุณ

Credit: Link

สวัสดี เราชื่อ พีค มีความสนใจเรื่อง SEO มาตั้งแต่ตอนอายุ 20 สมัยเข้ามหาลัยใหม่ๆ เนื่องจากเราเรียนบริหารธุรกิจ จึงได้เรียนเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ และมองว่า SEO คือหนึ่งในศาสตร์และศิลป์ที่มีความอ่อนไหว น่าสนใจ และดูมีอะไรในตัวของมันเองดี คนที่ทำต้องรอคอยเป็น เหมือนฝึกให้เรารู้จักที่จะรอคอยได้ ก็เลยศึกษา ทดลอง มาโดยตลอด มันสนุกมากนะ ได้เห็นกราฟวิ่งขึ้นวิ่งลง เติบโตไปเรื่อยๆ เปรียบเสมือนกับชีวิตที่มีสีสัน มีจังหวะที่คอยสลับไปมานั่นเอง