Canonical Tags แนะนำวิธีทำเบื้องต้นสำหรับมือใหม่สายทำ SEO ห้ามพลาด

สวัสดีค่ะทุกคน หากใครที่กำลังอยากเรียนเกี่ยวกับ Canonical Tags ว่าสิ่งนี้คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรต่อ SEO ต้องเข้ามาอ่านบทความนี้กันได้เลย ถึงแม้ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร ซึ่งแท็กนี้เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2552 แต่ก็ยังเป็นสิ่งใหม่สำหรับผู้ที่กำลังเข้าสู่วงการ SEO เพราะฉะนั้นบทความนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสิ่งนี้ให้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วเข้ามาอ่านกันได้เลย

Google, Microsoft และ Yahoo บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีเป็นผู้ริเริ่มในการสร้าง Canonical Tag ขึ้นมา โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถแก้ปัญหา และป้องกันการมีเนื้อหาที่ซ้ำกันได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ซึ่งในคู่มมือคำแนะนำนี้คุณจะได้เรียนรู้กับสิ่งต่อไปนี้

Canonical Tag คืออะไร

Canonical Tag เป็นส่วนย่อยของโค้ด HTML ที่ใช้ในกำหนดเวอร์ชันสำหรับหน้าเว็บไซต์ที่ซ้ำกัน หรือมีเนื้อหาใกล้เคียงกัน แต่มี URL ที่แตกต่างกัน คุณจะสามารถใช้แท็กนี้เพื่อระบุว่าเวอร์ชันไหนที่เป็นเวิร์ชันหลัก ซึ่งจะถูกจัดทำดัชนีเว็บไซต์จาก Google

Canonical Tags คืออะไร

Canonical Tag มีลักษณะอย่างไร 

สำหรับการใช้งานเเท็กนี้ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่นำ Canonical Tag ไว้ในส่วน <head> ของหน้าเว็บที่ต้องการตรวจสอบเนื้อหาเท่านั้นเอง

ตัวอย่างเช่น

<link rel=“canonical” href=“https://example.com/sample-page/” />

ซึ่งในแต่ละส่วนมีความดังนี้

  1. link rel=“canonical”: เป็นการระบุว่าหน้าเว็บนี้เป็นเวอร์ชันหลัก
  2. href=“https://example.com/sample-page/”: เป็นการระบุว่าสามารถดูเวอร์ชันหลักที่เป็นมาตรฐานได้ที่ URL นี้

Canonical Tag มีความสำคัญอย่างไรต่อการทำ SEO

ทุกคนรู้อยู่แล้วว่า Google ไม่ได้ชอบเนื้อหาอะไรที่มันซ้ำกัน จึงต้องมีระบบตรวจเช็คเพื่อป้องกันการซ้ำของเนื้อหาในแต่ละเว็บไซต์ ซึ่งเนื้อหาที่ซ้ำกันนั้นจะส่งผลให้เปลืองงบประมาณในการรวบรวมข้อมูล และเสียเวลา ดังนั้นจึงมีการตรวจเช็คว่าเว็บไซต์ไหนเป็นต้นฉบับ และจะจัดทำดัชนีเว็บไซต์เพียงเว็บเดียวเท่านั้น 

Why are canonical tags important for SEO?

ซึ่งการที่ทำให้ Google เสียเวลาและงบประมาณจำนวนมากในการรวบรวมข้อมูลที่ซ้ำกันควรเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงอย่างมาก เพราะฉะนั้นคุณควรจัดการเรื่องเนื้อหาภายในเว็บไซต์ให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดกรณีการสร้างคอนเทนต์ที่เหมือน หรือมีความคล้ายคลึงมากเกินไป หากเกิดเหตุเช่นนี้เว็บไซต์จะไม่ถูกจัดทำดัชนี ส่งผลให้อัตราการเข้าชมลดต่ำลงได้ 

ดังนั้น Canonical Tag ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เป็นตัวแปรที่ใช้ในการแจ้งให้ Google ทราบว่าควรจัดทำดัชนีและจัดอันดับหน้าเว็บเวอร์ชันใด หากคุณไม่ระบุ Canonical URL อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่ทาง Google จะไม่เลือกหน้าเว็บของคุณให้เป็นเวอร์ชันหลัก และหันไปเลือกเว็บอื่น ๆ แทน เพราะฉะนั้นเตรียมใจได้เลยว่าเว็บจะไม่ถูกจัดอันดับ และยังมีอัตราการเข้าชมต่ำจากการค้นหาบนกูเกิ้ล

สิ่งที่ควรทราบ

แต่อย่างไรก็ตาม Cononical URL นี้ อาจไม่ได้เป็นตัวแปรสำคัญสำหรับการจัดทำดัชนีเว็บไซต์เสมอไป แต่ก็ยังเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ควรจะทำ เพื่อป้องกันไม่ให้กูเกิ้ลมองเห็นหน้าเว็บเวอร์ชันอื่นที่ไม่ใช่ของคุณเป็นเวอร์ชันหลักแทนเว็บไซต์ที่คุณสร้างมากับมือ 

ทำอย่างไรเพื่อให้ไม่มีเนื้อหาที่ซ้ำกัน

จะมีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า URL เป็นตัวที่ใช้สำหรับการกำหนดพารามิเตอร์เพื่อป้องกันเนื้อหาศ้ำ โดยผู้ตรวจสอบจะใช้จุดนี้ในการวิเคราะห์เนื้อหาว่ามีความคล้ายคลึง หรือมีการก็อปปี้มาหรือไม่ 

ตัวอย่างเช่น

เว็บไซต์อีคอมเมิร์ชที่ทำธุรกิจขายเสื้อผ้า อย่าง Brown Bag Clothing มี URL ที่แยกตามหน้าหมวดหมู่ภายในเว็บ ดังนี้

URL สำหรับหน้าหลัก : https://www.bbclothing.co.uk/en-gb/clothing/shirts.html

แต่หากคุณต้องการดูเพียงแค่เสื้อเชิ้ตไซส์ XL เท่านั้น URL สำหรับหน้านี้จะะมีการระบุคำเพิ่มเพื่อให้รู้หน้านี้มีผลิตภัณฑ์เป็นหมวดหมู่ของเสื้อเชิ้ตไซส์ XL

https://www.bbclothing.co.uk/en-gb/clothing/shirts.html?Size=XL

หรือหาต้องการดูเสื้อเชิ้ตไซส์ XL และมีสีน้ำเงิน URL ก็จะมีคำว่าสีน้ำเงินเพิ่มเติมมา 

https://www.bbclothing.co.uk/en-gb/clothing/shirts.html?Size=XL&color=Blue

การสร้างลิงก์ที่ใช้คำระบุความหมายให้เจาะจงแต่ละหมวดหมู่จะช่วยให้ Google มองเห็นว่าแต่ละหน้าเว็บเพจในไซต์นี้มีความแตกต่างกัน ไม่ได้มีเนื้อหาที่ซ้ำกัน

สาเหตุที่อาจทำให้เกิดเนื้อที่ซ้ำกันได้ในแต่ละเว็บไซต์ 

  • มี URL ที่ใช้สำหรับการกำหนดพารามิเตอร์การค้นหา เช่น example.com?q=search-term  
  • มี URL ที่ใช้สำหรับการกำหนดพารามิเตอร์เซสชัน เช่น https://example.com?sessionid=3 
  • มีหน้าเวอร์ชันที่แยกออกไป เช่น example.com/page และ example.com/print/page 
  • มี URL ที่ใช้โดยเฉพาะสำหรับการโพสต์ในแต่ละหมวดหมู่ เช่น example.com/services/SEO/ และ example.com/specials/SEO/ 
  • มีหน้าสำหรับ Device types ที่แตกต่างกัน เช่น example.com และ m.example.com 
  • มีหน้าเวอร์ชันที่เป็น AMP และไม่ใช่ AMP เช่น example.com/page และ amp.example/page
  • การแสดงเนื้อหาเดียวกันที่ไม่มี www และ www variant เช่น http://example.com และ http://www.example.com 
  • การแสดงเนื้อหาเดียวกันในรูปแบบที่ไม่ใช้ https และ https variant เช่น http://www.example.com และ https://www.example.com 
  • การแสดงเนื้อหาเดียวกันโดยมีและไม่มีเครื่องหมายทับ เช่น https://example.com/page/ และ http://www.example.com/page 
  • การแสดงเนื้อหาเดียวกันในเวอร์ชันเริ่มต้นของหน้า เช่น หน้าดัชนี เช่น
  • การแสดงเนื้อหาเดียวกันโดยมีและไม่มีตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น https://example.com/page/ และ http://www.example.com/Page/  

แน่นอนว่าหากคุณมีลิงก์ลักษณะดังกล่าวข้างต้น การใช้ Canonical Tag จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะป้องกันปัญหาเนื้อหาซ้ำ เมื่อมีหลาย URL ที่แสดงเนื้อหาเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน อาจเกิดปัญหาที่เว็บไซต์จะแบ่งแยกความสำคัญและคลิกเข้าเว็บไซต์ไปยังหน้าที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ตรงกับต้องการของผู้ใช้ จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการค้นหาและการออกแบบเว็บไซต์ได้

การใช้แท็ก Canonical ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้โดยการระบุหน้าที่เป็นหน้าต้นฉบับ โดยใส่แท็ก <link rel=”canonical” href=”URL ของหน้าต้นฉบับ”> ในส่วนหัวของหน้าเว็บ เมื่อเครื่องมือการค้นหาพบแท็กนี้บนหน้าเว็บที่แสดงเนื้อหาซ้ำกัน จะทราบว่าหน้านั้นเป็นหน้าที่ซ้ำซ้อนหรือคล้ายคลึงกัน และสามารถใช้ข้อมูลจากหน้าต้นฉบับเพื่อการจัดอันดับในการค้นหาได้อย่างถูกต้องมากขึ้น

คำแนะนำสำหรับการใช้ Canonical Tag ที่ควรรู้

แท็กนี้ง่ายต่อการใช้งานมาก ๆ แต่อย่างไรก็ตามมีกฏเหล็กที่ต้องทราบสำหรับการใช้เเท็กนี้ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 5 ข้อ ว่าเเต่จะมีกฏอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลยดีกว่า 

กฏข้อที่ 1 URL ที่ใช้ต้องมีความสมบูรณ์

John Mueller ผู้เชี่ยวชาญจาก Google ได้กล่าวไว้ว่า “อย่าใช้ Relative paths เป็นส่วนหนึ่งในองค์ประกอบของลิงค์ rel= canonical”

Suggestion on Twitter : Use Absolute URLs

Absolute URLs คือ URL ที่ระบุที่อยู่เต็มของหน้าเว็บ ซึ่งรวมถึงโพรโตคอล (เช่น https://) และชื่อโดเมน (เช่น www.example.com) รวมถึงเส้นทางของหน้าเว็บที่แนบมา

Relative paths คือเส้นทางที่ไม่ระบุโพรโตคอลและชื่อโดเมน เช่น “/blog/article” หรือ “../blog/article” ซึ่งจะอ้างอิงถึงเส้นทางเพิ่มเติมของหน้าเว็บในเว็บไซต์เดียวกัน

เครื่องมือค้นหาจะต้องใช้ URL ในการระบุหน้าต้นฉบับ ดังนั้น URL ที่ดีควรใช้โครงสร้างต่อไปนี้:

<link rel=“canonical” href=“https://example.com/sample-page/” /> 

โดยโครงสร้างที่ไม่ควรใช้เป็นดังนี้ 

<link rel=“canonical” href=”/sample-page/” /> 

กฏข้อที่ 2 URL จะต้องใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด

การใช้ตัวพิมพ์เล็กจะช่วยลดความสับสนและข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในการป้อน URL และช่วยให้เครื่องมือค้นหามองเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน ซึ่งสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากคู่มือนี้ “force lowercase URLs on your server” 

กฏข้อที่ 3 การใช้เวอร์ชันโดเมนที่ถูกต้อง (https VS. http)

เป็นการใช้ https แทน http เพื่อกำหนด URL ใน Canonical Tag หรือในส่วนอื่น ๆ ของเว็บไซต์ ซึ่งมีความปลอดภัยกว่า เพื่อให้การสื่อสารและการเชื่อมต่อของผู้ใช้งานเว็บไซต์ปลอดภัยสูง และเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น

ตัวอย่าง เช่น 

<link rel=“canonical” href=“https://example.com/sample-page/” />

ซึ่งมีความเหมาะสมและดีกว่าการโครงสร้างในรูปแบบด้านล่างนี้

<link rel=“canonical” href=“http://example.com/sample-page/” />

กฏข้อที่ 4 ต้องใช้ self-referential canonical tags

คุณ John Mueller จาก Google ได้กล่าวว่า “การใช้แท็ก Canonical ที่สามารถอ้างอิงตัวเองได้ ไม่ได้เป็นเรื่องที่บังคับให้ใช้ แต่อยากจะแนะนำให้ใช้ เพราะมันจะทำให้เราเข้าใจได้อย่างชัดเจนว่าคุณต้องการจัดทำดัชนีหน้าไหน หรือให้ทราบว่า URL ที่ควรเป็นต้องมีรูปแบบใดสำหรับการจัดทำดัชนี

ดังนั้นการใช้แท็กในรูปแบบนี้จะสามารถระบุหน้าเว็บมดเป็นหน้าต้นฉบับ และเป็นหน้าที่คุณต้องการให้ Google จัดทำดัชนี พร้อมป้องกันปัญหาเนื้อหาที่ศ้ำศ้อนได้”

ตัวอย่างของ self-referential canonical tags

<link rel=“canonical” href=“https://example.com/sample-page” />

ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ (Content Management System : CMS) จะสามารถเพิ่ม self-referential canonical tags ได้เองโดยอัตโนมัติ แต่จะต้องมีการใช้โค้ดสำหรับการเขียนสร้างระบบนี้ขึ้นมา

กฏข้อที่ 5 ใช้ Canonical Tag หนึ่งแท็กต่อหนึ่งหน้า 

จำไว้ว่าหนึ่งหน้าเว็บควรมีเเท็กนี้เพียงแค่แ็กเดียวเท่านั้น หากมีมากเกินไป Googleจะเพิกเฉยทันที และแน่นอนว่าจะไม่ได้รับการจัดทำดัชนีเว็บไซต์ รวมทั้งถูกมองว่าหน้านี้อาจจะไม่ใช่หน้าต้นฉบับก็ได้

วิธีการใช้งาน Canonical Tag  

การใช้งานแท็กนี้มีหลากหลายวิธี ซึ่งหลัก ๆ จะมีอยู่ 5 วิธี เพื่อใช้ในการระบุ Canonical Tag ได้แก่

1. HTML tag (rel=canonical)

2. HTTP header

3. Sitemap

4. 301 redirect*

5. Internal links

แต่ถ้าหากอยากรู้ข้อมูลลึกกว่านี้ว่าแต่ละวิธีนี้มีข้อดีข้อเสียอย่างไร สามารถคลิกอ่านได้ที่  Google’s official documentation

การตั้งค่าโดยใช้ HTML Tag (rel=“canonical”)

การใช้แท็ก rel=canonical เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ง่ายที่สุดสำหรับการระบุ URL โดยวิธีการใช้งานสามารถเพิ่มโค้ดลงไปในส่วนของ <head> ของหน้าเว็บที่ซ้ำกัน

<link rel=“canonical” href=“https://example.com/canonical-page/” />

ตัวอย่าง

สำหรับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซขายเสื้อยืด ที่มี URL เป็นดังนี้

https://yourstore.com/tshirts/black-tshirts/

คุณสามารถเพิ่มแท็ก Canonical ไ้ด้เลย โดยเพิ่มเข้าไปในส่วนด้านหน้าของ URL

<link rel=“canonical” href=“https://yourstore.com/tshirts/black-tshirts/” />

การตั้งค่า Canonical Tag สำหรับ WordPress

ต้องติดตั้ง Yoast SEO ก่อน จากนั้นแท็กจะเพิ่มเข้ามาโดยอัตโนมัติ แต่คุณสามารถที่จะกำหนดขึ้นมาเองได้ซึ่งเป็นการใช้แท็กในขั้นสูง เพื่อให้มีประสิทะิภาพป้องกันการซ้ำกันของเนื้อหาภายในเว็บไซต์

Canonical Tags Yoast

การตั้งค่า Canonical Tag สำหรับ Shopjfy

สำหรับ Shopify หากต้องการเพิ่มแท็กนี้โดยกำหนดเอง จะต้องเข้าไปแก้ไขไฟล์เทมเพลต (.liquid) ถึงจะสามารถเพิ่ม Canonical URL ได้ แต่ปกติเเล้วจะมีค่าเริ่มต้นที่สามารถเพิ่มแท็กนี้ได้เองโดยอัตโนมัติ

การตั้งค่า Canonical Tag สำหรับ Squarespace

โดยปกติค่าเริ่มต้นของ Squarespace สามารถจะเพิ่มแท็กนี้ได้โดยอัตโนมัติเช่นเดียวกัน แต่หากต้องการเพิ่มโดยกำหนดเองจะต้องเข้าไปแก้ไขดค้ดในระบบ

การตั้งค่า Canonical ในส่วนหัวของ HTTP

ในกรณีเอกสารอย่าง PDF ไม่สามารถจะใส่แท็กนี้ลงไปได้ เนื่องจากว่าไม่มมีส่วน <head> ของ ๊ฑศ เพราะฉะนั้นจะต้องใช้ส่วนหัวของ HTTP เพื่อทำการตั้งค่าให้เป็นมาตรฐานเพื่อให้ใส่แท็กนี้ได้

ให้คุณลองจินตนาการดูว่าหากขณะตอนนี้คุณกำลังสร้างโพสต์บล็อกในรูปแบบของไฟล์ PDF เเละกำหนดโอสต์ของ Subfolder เอาไว้ว่า (ahrefs.com/blog/*) ซึ่งไฟล์ในรูปแบบนี้จะมีลักษณะของ HTTP Header ดังนี้

HTTP/1.1 200 OK
Content-Type: application/pdf
Link: <https://ahrefs.com/blog/canonical-tags/>; rel="canonical"

และนี้เป็นวิธีเพิ่มเติมสำหรับการเพิ่ม Canonical Tag ใน HTTP Header

การตั้งค่าแท็กในเเผนผังของเว็บไซต์ 

Google ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าจะไม่มีการรวบรวมหน้าเว็บไซต์ที่ไม่มี Canonical Tag ใน URL เอาไว้ที่ Sitemap ของเว็บไซต์ เนื่องจากว่าหน้าเว็บที่มีแท็กนี้จะทำให้กูเกิ้ลมองว่าหน้าเชื่อถือ เหมาะสำหรับการจัดทำดัชนี และพิจารณาในเรื่องของการจัดอันดับเว็บไซต์บนหน้าแรกของ Google

การตั้งค่า Canonical ด้วย 301 redirects

การใส่แท็กนี้ในส่วนของ 301 redirects จะช่วยในการเปลี่ยนเส้นทางสำหรับการรับส่งข้อมูลจาก URL ที่ซ้ำกันให้ไปยังเวอร์ชันมาตรฐาน หรือเวอร์ชันที่เป็นต้นฉบับ 

สมมุติว่าหน้าเพจต่าง ๆ ในเว็บไซต์ของคุณมีการกำหนด URL ในลักษณะนี้ : 

  • example.com
  • example.com/index.php
  • example.com/home/

ซึ่งคุณต้องเลือก URL ที่มี Canonical ให้เป็นลิงก์มาตรฐาน และเปลี่ยนเส้นทาง URL อื่น ๆ ให้เข้ามาในส่วนที่ถูกต้องค่าให้เป็นลิงก์หลัก

ในกรณีของการใช้ HTTPS/HTTP และ www/ไม่มี www เเนะนำว่าต้องเลือกใช้ HTTOS เเละ www เพื่อความปลอดภัยของเว็บไซต์ กำหนดให้เป็นเวอร์ชันหลัก และเปลี่ยนเส้นทางในรูปแบบอื่น ๆ ให้ลิงก์มายังเวอร์ชันหลักนี้

เช่น 

เวอร์ชันมาตรฐานของ ahref.com คือ HTTPS non-www URL (https://ahrefs.com) URL ทั้งหมดต่อไปนี้เปลี่ยนเส้นทางมาที่เวอร์ชันมาตรฐาน :

  • http://ahrefs.com/
  • http://www.ahrefs.com/
  • https://www.ahrefs.com/

Internal Link ลิงก์ภายในเว็บไซต์

วิธีการเชื่อมโยงไปยังหน้าอื่น ๆ ของเว็บไซต์ จะต้องมีการสร้าง Internal Link ซึ่งคุณ Jonh Mueller ได้บอกว่าการมีลิงก์ภายในมีความสัมพันธ์กับ Canonical Tag ในเชิง SEO โดยจะส่งผลให้เครื่องมือการค้นหาสามารถระบุได้ง่ายว่า URL ใด ที่เป็นหน้าเว็บต้นฉบับ 

ดังนั้นการใช้งาน internal link ร่วมกับ canonical tag ช่วยให้เว็บไซต์มีโครงสร้างที่เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น การเชื่อมโยงหน้าเว็บภายในทำให้ผู้ใช้งานและเครื่องมือค้นหาเข้าถึงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น ในขณะที่การใช้ canonical tag ช่วยให้เครื่องมือค้นหาเข้าใจและระบุหน้าเว็บไซต์ต้นฉบับได้เพื่อลดความสับสนในการดัชนีเนื้อหาของเว็บไซต์

ทำความรู้จักข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยในการกำหนด Canonical Tag ที่ควรหลีกเลี่ยง

การสร้างแท็กนี้ไม่ได้เป็นเรื่องหมู ๆ ยังคงมีความซับซ้อนที่อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะมีข้อผิดพลาดอะไรบ้างที่พบบ่อยสำหรับการกำหนดแท็กชนิดนี้มาดูกันเลย

ข้อที่ 1 เกิดการบล็อก URL ที่กำหนดผ่าน robots.txt

หากเกิดสถานการณ์แบบนี้ จะป้องกัน Google ไม่ให้เข้าถึงและค้นหาเนื้อหาในหน้าเว็บนั้น ซึ่งส่งผลให้ Google ไม่สามารถเห็นและตรวจสอบ canonical tag บนหน้าเว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถโอนความสัมพันธ์ของลิงก์ (link equity) จากหน้าที่ไม่ใช่ canonical ไปยังหน้า canonical ได้

ข้อที่ 2 การตั้งค่า Canonicalized URL เป็น ‘noindex’

ไม่ควรผสมผสานการใช้งาน noindex และ rel=canonical เข้าด้วยกัน เนื่องจากเป็นคำสั่งที่ขัดแย้งกัน โดย Google มักจะให้ความสำคัญกับแท็ก canonical มากกว่าแท็ก ‘noindex’ ตามที่ John Mueller กล่าวไว้ว่าอย่างไรก็ตามการผสมผสานแท็กเหล่านี้ยังเป็นวิธีที่ไม่ควรทำ หากต้องการใช้งาน noindex และ canonicalize URL ควรใช้การเปลี่ยนเส้นทาง 301 redirect แทน ในกรณีอื่นๆ ก็ควรใช้แท็ก rel=canonical เป็นหลัก 

ข้อที่ 3 การตั้งค่ารหัสสถานะ HTTP 4XX สำหรับ URL ที่ได้รับการ canonicalize

จะมีผลเช่นเดียวกับการใช้แท็ก ‘noindex’ คือ Google จะไม่สามารถเห็นแท็ก canonical และโอนความสัมพันธ์ของลิงก์ (link equity) ไปยังเวอร์ชัน canonical ได้

ข้อที่ 4 การกำหนด Paginated Page ทั้งหมดให้เป็นหน้าหลัก 

หน้าแบ่งหน้าหรือ “paginated page” คือหน้าเว็บที่มีเนื้อหาที่แบ่งออกเป็นหลายส่วนหรือหน้าย่อย เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกดูเนื้อหาที่แยกออกมาเป็นส่วนๆ ได้ ซึ่งหน้ารูปแบบนี้ไม่ควรตั้งให้เป็นหน้าแรก ซึ่งควรใช้หน้าเพจที่ Self-referencing canonicals เป็นหน้าหลักแทน  

ตามที่ John Mueller โพสต์ใน Reddit ว่าควรหลีกเลี่ยงหน้าที่เป็นการกำหนดใช้ rel = canonical ให้เป็นหน้าหลัก หรือหน้าแรกของเว็บไซต์ ซึ่งเป็นการใช้ไม่ถูกต้อง

ซึ่งคุณควรใช้แท็กในรูปแบบนี้ rel=prev/next แทน สำหรับหน้าแบ่งหน้าเป็นสิ่งที่ควรทำ เนื่องจากถึงแม้ Google จะไม่ใช้แท็กเหล่านี้อีกต่อไป แต่ Bing ยังใช้แท็กเหล่านี้อยู่

ข้อที่ 5 ไม่ใช้ canonical tags ร่วมกับ hreflang

แท็ก hreflang ใช้เพื่อระบุภาษาและการเป้าหมายทางภูมิภาคของหน้าเว็บไซต์ ซึ่งทาง Google ระบุว่าเมื่อใช้ hreflang ควร “ระบุหน้า canonical ในภาษาเดียวกัน หรือภาษาทดแทนที่ดีที่สุด หากไม่มีหน้า canonical สำหรับภาษาเดียวกัน”

ข้อที่ 6 มีแท็ก rel = canonical เยอะเกินไป

การมีแท็ก rel=canonical หลายแท็กจะทำให้ Google ไม่สนใจแท็กเหล่านั้น สิ่งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากแท็กถูกแทรกเข้าไปในระบบที่จุดต่างๆ เช่น โดย CMS, ธีม และปลั๊กอิน จึงทำให้ถูกมองข้ามไป ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้ที่มากเกินไป

ปัญหาคือการเพิ่ม canonicals ด้วย JavaScript โดยไม่ระบุ URL ตามรูปแบบการตอบสนองใน HTML แล้วเพิ่มแท็ก rel=canonical ด้วย JavaScript เมื่อ Google แสดงผลหน้าเว็บ ถ้าคุณระบุ canonical ใน HTML และเปลี่ยนเวอร์ชันที่ต้องการด้วย JavaScript นั่นหมายความว่าคุณกำลังส่งสัญญาณที่เกิดจากการใช้งานร่วมกันไปยัง Google ซึ่งอาจสร้างความสับสนในการจัดทำดัชนีและการจัดการเนื้อหา ดังนั้นควรเรียงลำดับให้เข้าใจและปฏิบัติตามหลักที่ถูกต้องของการใช้ canonicals และการจัดการหน้าเว็บเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ Google แนะนำ

ข้อที่ 7 ใช้ Rel = canoniccal ในส่วนของ <body>

Rel=canonical ควรปรากฏใน <head> ของเอกสารเท่านั้น ซึ่ง Canonical Tag จะต้องอยู่ในส่วนของ <body> ของหน้าที่ถูกเพิกเฉย

กรณีนี้อาจกลายเป็นปัญหาเกี่ยวกับการแยกวิเคราะห์เอกสาร แม้ว่าซอร์สโค้ดของเพจอาจมีแท็ก rel=canonical ในตำแหน่งที่ถูกต้อง แต่เมื่อสร้างเพจในเบราว์เซอร์หรือแสดงผลโดยเครื่องมือค้นหาจริง ๆ สิ่งต่าง ๆ มากมาย เช่น แท็กที่ไม่ได้ปิด JavaScript ที่แทรก หรือ <iframes> ในส่วน <head> อาจทำให้ <head> สิ้นสุดก่อนเวลาอันควรขณะแสดงผล ทำให้ Canonical Tag อาจถูกใส่เข้าไปใน <body> ของหน้าที่ไม่สำคัญ จึงถูกมองข้ามจาก Google

วิธีการค้นหาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการกำหนด Canonical Tag ในเว็บไซต์ของคุณ

การตรวจสอบเว็บไซต์เป็นประจำจะช่วยแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับแท็กนี้ได้ ซึ่งจะทำให้คุณสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วที่สุด

Canonical ชี้ไปที่ 4XX

คำเตือนนี้เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อหน้าใดหน้าหนึ่งของเว็บไซต์ถูกบัญญัติเป็น URL 4XX

ส่งผลกระทบอย่างไร 

เครื่องมือค้นหาไม่จัดทำดัชนีหน้า 4XX เนื่องจากใช้งานไม่ได้ ถึงแม้จะมีการใส่แท็กนี้ลงไปก็ตาม ทำให้เกิดการจัดทำหน้าดัชนีอื่น ๆ แทน

วิธีแก้ไข

ทำการตรวจสอบหน้าที่ได้รับผลกระทบ และเปลี่ยนลิงก์ที่เป็น 4xx ที่ใช้งานไม่ได้เเล้ว ไปเป็นลิงก์ที่สามารถใช้งานได้ 

Canonical ชี้ไปที่ 5XX

คำเตือนนี้เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อหน้าใดหน้าหนึ่งของเว็บไซต์ถูกบัญญัติเป็น URL 5XX

ส่งผลกระทบอย่างไร 

รหัสสถานะ HTTP 5XX ระบุถึงปัญหาของเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถเข้าถึงหน้ที่มีการใส่ Canonical Tag ได้ ส่งผลให้ Google ไม่น่าจะจัดทำดัชนีหน้าเว็บที่เข้าถึงไม่ได้ 

วิธีแก้ไข

แทนที่ Canonical URL ที่ผิดพลาดด้วย URL ที่ถูกต้อง ตรวจหาการกำหนดค่าเซิร์ฟเวอร์ที่ไม่ถูกต้องและทำการแก้ไข

Canonical Point เพื่อเปลี่ยนเส้นทาง 

คำเตือนนี้เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อหน้าใดหน้าหนึ่งของเว็บไซต์ถูกบัญญัติเป็น URL ที่เปลี่ยนเส้นทางไปจากเดิม

ส่งผลกระทบอย่างไร 

สำหรับแท็กนี้ ต้องชี้ไปหน้าเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือมากที่สุดเสมอ หากมีการเปลี่ยนเส้นทางไปยังหน้าอื่น ๆ ที่ไม่น่าเชื่อถือ จะทำให้กูเกิ้ลไม่สนใจ และไม่จัดทำดัชนี

วิธีแก้ไข

แทนที่ Canonical link ไปยังหน่าเว็บที่น่าเชื่อถือมากที่สุด เพื่อป้องกันการเปลี่ยนเส้นทางของลิงก์ที่เชื่อมไปยังหน้าเว็บอื่น ๆ 

ทำหน้าเว็บซ้ำโดยไม่ต้องใช้แท็กบัญญัติ

ส่งผลกระทบอย่างไร

หากหน้าเว็บที่มีความซ้ำซ้อนและคล้ายกัน โดยไม่ระบุเวอร์ชันหลักที่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดัชนีและการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ 

วิธีแก้ไข

ในกรณีนี้ ควรระบุเวอร์ชันหลักให้ถูกต้อง เพื่อให้เครื่องมือค้นหาเข้าใจว่าหน้าเว็บเหล่านี้มีความสำคัญและอ้างอิงตามหน้าเว็บหลักนั้นๆ ตลอดจนลดความสับสนในการดัชนีและการแสดงผลหน้าเว็บ

Hreflang เป็น non-canonical 

คำเตือนนี้เกิดขึ้นเมื่อหน้าใดหน้นหนึ่งของเว็บไซต์ มี URL ที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบบัญญัติในคำอธิบายประกอบ hreflang

ส่งผลกระทบอย่างไร

ลิงก์ในแท็ก Hreflang ควรชี้ไปที่ Canonical Page เสมอ การลิงก์ไปยังหน้าเวอร์ชันที่ไม่เป็นที่ยอมรับจากคำอธิบายประกอบของ hreflang อาจทำให้เครื่องมือค้นหาสับสนและทำให้เข้าใจผิดได้ ส่งผลทำให้จัดทำดัชนีที่ผิดพลาด

วิธีแก้ไข

แทนที่ลิงก์ในคำอธิบายประกอบ hreflang ของหน้าที่ได้รับผลกระทบด้วย Canonical URL

Canonical URL ที่ไม่มีการเชื่อมต่อ Internal Link 

คำเตือนนี้จะเกิดขึ้นเมื่อ Canonical URl ของหน้าใดหน้าหนึ่ง ไม่มี Internal Link ภายใน

ส่งผลกระทบอย่างไร

สำหรับ URL นี้ ที่ไม่มีลิงก์ภายใน จะทำให้ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์เข้าถึงไม่ได้ 

วิธีแก้ไข

ต้องเพิ่ม Internal Link ลงไปในหน้าเว็บเพจทุกหน้าของเว็บไซต์

Non-Canonical Page ใน Sitemap

หากมีหน้าใดหน้าหนึ่งที่ไม่มีแท็กบัญญัติอยู่ใน Sitemap จะเกิดคำเตือนให้คุณรับรู้

ส่งผลกระทบอย่างไร

Google ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าไม่ควรรวม URL ที่ไม่มี Canonical Tag เอาไว้ในไซต์แมป เนื่องจากว่าส่วนนี้ของเว็บไซต์จะต้องแสดงหน้าเว็บที่ได้รับมาตรฐานเท่านั้น เเละเป็นหน้าเว็บที่จะต้องจัดทำดัชนี

วิธีแก้ไข

ให้ลบ URL ที่ไม่มีเเท็กนี้ออกไปจาก Sitemap

การระบุหน้าเว็บที่ไม่ใช่เวอร์ชันหลัก ให้เป็นเวอร์ชันหลัก

หากมีหน้าใดหน้าหนึ่งในเว็บระบุ Canonical URL ซ้ำกันในหน้าอื่น จะทำให้เกิด “Canonical Chain” ลำดับของหน้าเว็บที่มีการใช้ canonical tags เชื่อมโยงหน้าเว็บระหว่างกัน โดยลำดับที่กำหนดนี้สร้างขึ้นจากการใช้ canonical tags ระหว่างหน้าเว็บที่มีเนื้อหาที่คล้ายกันหรือซ้ำซ้อนกัน เพื่อระบุหน้าที่เป็นเวอร์ชันหลัก (canonical version) ของเนื้อหานั้นๆ

Non-canonical page specified as canonical one

ส่งผลกระทบอย่างไร

จะสร้างความสับสนให้กับเครื่องมือการค้รหา เกิดการเข้าใจผิดว่าหน้าไหนเป็นหน้าหลัก เเละอาจเกิดการเมินเฉยจนทำให้หน้าเว็บเหล่านั้นไม่ถูกจัดทำดัชนี

วิธีแก้ไข

เพื่อแก้ไขปัญหาในหน้าเว็บที่ได้รับผลกระทบ ควรทำการแทนที่ non-canonical links ลงไปไปยังหน้าเว็บเวอร์ชันหลักที่เกี่ยวข้องกัน ตัวอย่างเช่น หากหน้า A ถูกกำหนดให้เป็นเวอร์ชันหลักของหน้า B และหน้า B ถูกกำหนดให้เป็นเวอร์ชันหลักของหน้า C ให้ทำการแทนที่ลิงก์ canonical ในหน้า A ด้วยลิงก์ไปยังหน้า C

เปิดกราฟ URL ที่ไม่ตรงกับแท็กบัญญัติ

เกิดขึ้นในกรณีที่ Canonical ที่ระบุไว้ ไม่ตรงกับ Open Graph URL ในหน้าใดหน้าหนึ่งของเว็บไซต์

ส่งผลกระทบอย่างไร

หาก Open Graph URL ไม่ตรงกับ Canonical จะมีการแชร์หน้าเวอร์ชันที่ไม่ใช่หน้าต้นฉบับหรือหน้าหลักบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก

วิธีแก่ไข

แทนที่ Open Graph URL ในหน้าที่ได้รับผลกระทบด้วย Canonical URL และตรวจสอบให้แน่ใจว่า URL ทั้งสองนั้นเหมือนกัน

สิ่งที่ควรทราบ

URL ภายในแท็ก Open Graph จะต้องสมบูรณ์และใช้โปรโตคอล http:// หรือ https:// 

เปลี่ยน HTTPS เป็น HTTP

เมื่อมีหน้าเว็บที่เป็นเวอร์ชันปลอดภัย (HTTPS) ถูกเปลี่ยนให้เป็นเวอร์ชันที่ไม่ปลอดภัย (HTTP) และให้เป็นหน้าหลักแทน 

ส่งผลกระทบอย่างไร

HTTPS เป็นหนึ่งปัจจัยที่ใช้ในการจัดอันดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหน้าเว็บนี้มีความปลอดภัย หากมีการเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้อันดับลดลงได้

วิธีแก้ไข

แก้ไขให้ HTTP กลับมาเป็น HTTPS หากไม่สามารถทำได้ ให้เพิ่ม rel=“canonical” จากหน้าเวอร์ชัน HTTP ไปยังหน้า HTTPS

เปลี่ยน HTTP เป็น HTTPS

เมื่อหน้าเว็บที่ไม่ปลอดภัย (HTTP) อย่างน้อยหนึ่งหน้าระบุเวอร์ชันที่ปลอดภัย (HTTPS) เป็นเวอร์ชันหลัก

ส่งผลกระทบอย่างไร

เมื่อหน้าเว็บที่ไม่ปลอดภัยใช้เวอร์ชันที่ปลอดภัยเป็นเวอร์ชันหลัก จะเกิดคำเตือนเกี่ยวกับการใช้เวอร์ชันที่ปลอดภัยเป็นเวอร์ชันหลัก ซึ่งอาจสร้างความสับสนและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงและความสอดคล้องกันของการใช้งาน HTTPS ในหน้าเว็บ 

วิธีแก้ไข

ควรแก้ไขโดยใช้เวอร์ชันที่ไม่ปลอดภัยเป็นเวอร์ชันหลัก (canonical) เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งาน HTTP ในหน้าเว็บนั้นๆ ควรแทนที่ลิงก์ภายในที่เชื่อมโยงไปยังเวอร์ชัน HTTP ของหน้าเว็บด้วยลิงก์ที่เชื่อมโยงโดยตรงไปยังเวอร์ชัน HTTPS นี้ เพื่อให้ผู้ใช้และเครื่องมือค้นหาเข้าถึงและเรียกใช้หน้าเว็บผ่านการเชื่อมโยงที่ปลอดภัย (secure) และสอดคล้องกับการใช้งาน HTTPS ในเว็บไซต์ของคุณ

หน้าเว็บที่ไม่ใช่เวอร์ชันหลัก ได้รับการเข้าชมจากผู้ใช้ที่มาจากการค้นหาออร์แกนิค 

หน้าเว็บที่ไม่ใช่เวอร์ชันหลักอาจถูกเข้าถึงโดยผู้ใช้ผ่านผลการค้นหาที่เชื่อมโยงมายังหน้าเว็บดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการค้นหาที่มีการอ้างถึงหน้าเว็บนี้ 

ส่งผลกระทบอย่างไร

แท็ก Canonical ของคุณ จะถูกตั้งค่าไม่ถูกต้อง หรือทาง Google เลือกที่จะเพิกเฉยต่อ Canonical ที่ระบุเอาไว้ 

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบว่าแท็ก rel=canonical ได้รับการตั้งค่าอย่างถูกต้องในหน้าที่รายงานทั้งหมดหรือไม่ โดยให้ใช้เครื่องมือตรวจสอบ URL ใน Google Search Console เพื่อดูว่าพวกเขาพิจารณา Canonical URL ที่ระบุว่าเป็น Canonical หรือไม่นั่นเอง

สรุป

แท็ก Canonical ไม่ได้ซับซ้อนมากนัก แต่อาจจะเข้าใจยากในตอนแรก จงจำไว้ว่าแท็กนี้ไม่ใช่คำสั่งโดยตรงในการกำหนดหน้าเว็บเวอร์ชันหลัก หรือต้นฉบับ แต่เป็นสัญญาณที่ส่งให้กับเครื่องมือค้นหา เช่น Google เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าหน้าเว็บที่คุณใส่แท็กนี้ไว้นคือหน้าหลักที่ต้องการจัดทำดัชนีเว็บไซต์

อย่างไรก็ตาม เครื่องมือค้นหาอาจเลือกเวอร์ชันหลักที่ไม่ใช่หน้าเพจที่คุณต้องการได้ ซึ่งคุณสามารถใช้เครื่องมือตรวจสอบ URL ใน Google Search Console ว่าหน้าเว็บนี้ได้รับการจัดทำดัชนีเว็บไซต์หรือไม่ เเละมีแท็ก Canonical ที่ถูกต้องตามข้อกำหนดของกูเกิ้ลหรือเปล่า

Google-selected canonical

ข้อมูลต่อไปนี้คิอการจัดประเภทของ Google ที่ใช้ในการรายงานสถานะเกี่ยวกับดัชนีใน Google Search Console ที่เกี่ยวข้องกับ Canonical URL

  • หน้าสำรองที่มีแท็ก Canonical ที่เหมาะสม : หน้าเว็บที่ระบุเวอร์ชันสำรอง พร้อมกับแท็ก Canonical ที่ถูกต้องและเหมาะสม ช่วยให้ผู้ใช้และ Googlr เข้าถึงและแสดงผลหน้าเว็บที่ถูกต้องและเหมาะสมตามการกำหนดเวอร์ชันหลักและเวอร์ชันสำรองที่เกี่ยวข้องกัน

  • มีหน้าเว็บที่ซ้ำซ้อนกันโดยไม่มีการระบุเวอร์ชันหลักที่ผู้ใช้เลือก : เมื่อมีหน้าเว็บหลายเวอร์ชันที่มีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกันหรือซ้ำซ้อนกัน แท็ก Canonical จะใช้เพื่อระบุหน้าเว็บหลักที่ควรที่จะแสดงผล แนะนำว่าควรเพิ่มแท็ก rel = canonical

  • การมีหน้าเว็บที่ซ้ำซ้อนกัน แต่ Google ได้เลือกเวอร์ชันหลักที่แตกต่างจากที่ผู้ใช้เลือก : แท็ก Canonical ถูกใช้เพื่อระบุหน้าเว็บหลักที่ควรที่จะแสดงผลและส่วนแบ่ง “link equity” และการจัดอันดับในผลการค้นหา อย่างไรก็ตาม Google อาจเลือกเวอร์ชันหลักที่แตกต่างจากที่ผู้ใช้เลือกไว้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการวิเคราะห์และการประเมินของ Google ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์และคุณค่าของเนื้อหา

  • การมีหน้าเว็บที่ซ้ำซ้อนกัน แต่ URL ที่ผู้ใช้ส่งเข้ามาไม่ได้ถูกเลือกเป็นเวอร์ชันหลัก : การมีหน้าเว็บที่ซ้ำซ้อนกันและมีการส่ง URL ผ่าน sitemap ให้ Google ตรวจสอบ แต่ Google ไม่ได้เลือก URL ที่ถูกส่งเข้ามาเป็นเวอร์ชันหลัก (canonical) ซึ่งกรณีนี้ Google เชื่อว่า URL อื่น ๆ นอกเหนือจากที่คุณส่งเข้ามาเหมาะสมมากกว่าสำหรับการจัดทำดัชนี 

สวัสดีค่ะทุกคน ชื่อหมูนะคะ เราเป็นอีกคนหนึ่งที่ชื่นชอบงานเขียนมาก ๆ ค่ะ เพราะงานเขียนเปรียบเสมือนกับการสร้างโลกในจินตนาการของเราขึ้นมา โลกใบนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข ความสนุกสนาน เเละความรู้มากมายที่เราสามารถผจญภัยไปได้เเบบไม่มีลิมิต มาท่องโลกของตัวหนังสือไปพร้อมกันนะคะ