การใช้ Keyword ใน YouTube Video เพื่อให้ได้ยอดวิวมากขึ้น

ด้วยการค้นหามากกว่า 3 พันล้านครั้งต่อเดือน YouTube ไม่ใช่เป็นเพียงแพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์กเท่านั้น แต่ยังเป็น Search Engine ที่ใหญ่เป็นอันดับสองบนอินเทอร์เน็ตเลยทีเดียว จากสถิติในปี 2019 มีการอัปโหลดฟุตเทจวิดีโอยาว 500 ชั่วโมงโดยเฉลี่ยไปยัง YouTube ในทุกนาที และตัวเลขดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

YouTube มีผู้ใช้ที่ใช้งานอยู่ 2 พันล้านรายต่อเดือน และเกิดการดูเนื้อหาบนแพลตฟอร์มมากกว่า 1 พันล้านชั่วโมงในแต่ละวัน ด้วยเนื้อหาในปริมาณมหาศาล นั่นหมายถึงว่าจะต้องมีวิดีโอหรือรายการที่ไม่ใช่แค่บุคคลตะโกนท่ามกลางฝูงชนอย่างเดียวแน่นอน และการจะแยกวิดีโอที่มีประโยชน์ออกจากวิดีโอทั้งหมดใน YouTube นั้นอาจเปรียบได้กับการหาเม็ดทรายที่ต้องการจากชายหาด ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เนื่องจากไม่สามารถค้นหาด้วยคำพูดได้

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า นักการตลาดจะไม่สนใจแนวคิดที่ว่า “ถ้าเราสร้างมันขึ้นมาและใช้งานได้จริง จะมีคนเข้ามาค้นหาใน YouTube เอง” ผู้สร้างเนื้อหาและนักการตลาดที่เผยแพร่วิดีโอไปยัง YouTube บางครั้งคิดว่าเนื้อหาที่น่าสนใจที่สุดนั้นได้รับการคัดเลือกโดยอัลกอริทึมของ Google และถูกผลักไปที่หน้าแรก เพื่อรับรางวัลเป็นจำนวนการดูนับล้านด้วยการผสมผสานของเวลา ความโชคดี และบุญที่ทำมา แต่เมื่อพิจารณาจากขนาดเนื้อหาที่มีอยู่บน YouTube แล้ว ปัจจัยสำคัญที่ทำให้วิดีโอใน YouTube ถูกมียอดวิวมากขึ้นไม่จำเป็นต้องพิเศษหรือเป็นคนดัง แต่คือการแท็กเนื้อหาของคุณด้วยข้อมูลที่มีการระบุรายละเอียดจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้สามารถค้นหาได้ในแคตตาล็อกสำหรับผู้ชมที่กำลังมองหาวิดีโอที่ต้องการ

YouTube ถือเป็น Search Engine 

ฟังดูคล้ายกับหลักการ SEO ที่ทำให้เว็บไซต์ติดอันดับบน Google หรือไม่? นั่นเป็นเพราะ YouTube เป็น Search engine สำหรับวิดีโอ ซึ่งหมายความว่า วิดีโอสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ดีขึ้นด้วยการทำให้ค้นหาได้ง่ายขึ้น

บทความนี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีที่ YouTube ทำการแท็ก, จัดทำแค็ตตาล็อก, และแนะนำวิดีโอแก่ผู้ใช้งาน และอธิบายถึงวิธีที่คุณสามารถใช้คุณลักษณะเหล่านี้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยในการตั้งค่าวิดีโอของคุณให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งแน่นอนว่าการเพิ่มจำนวนการดูวิดีโอของคุณจะเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ของคุณ

หลายคนใช้ YouTube เป็นแพลตฟอร์มโฮสต์ที่สะดวกสำหรับการอัปโหลดวิดีโอเพื่อฝังลงในเว็บไซต์ และ Social Media ของตนเอง แต่การดึงดูดผู้ชมบน YouTube ไม่ใช่เรื่องสำคัญสำหรับพวกเขา และนั่นเป็นวิธีที่ถูกกฎหมายอย่างสมบูรณ์ในการใช้แพลตฟอร์ม ในบทความนี้จะมุ่งเน้นไปที่วิธีเพิ่มประสิทธิภาพเนื้อหาวิดีโอที่มีจุดประสงค์เพื่อดึงดูดผู้ชมรายใหม่ ขยายฐานผู้ชมของคุณ และขั้นตอนทางเทคนิคที่จำเป็นที่จะต้องทำ

เลือกกลุ่มเป้าหมายของคุณก่อน

หากคุณต้องการเพิ่มยอดวิววิดีโอ YouTube ของคุณ คุณต้องเริ่มต้นจากการทำให้คนที่มีความสนใจอยู่แล้วหาวิดีโอของคุณเจอได้ง่าย โดยคุณจะสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อคุณรู้ว่ากลุ่มคนเหล่านั้นเป็นใคร และทำไมพวกเขาถึงต้องการเห็นสิ่งที่คุณโพสต์ จากตรงนั้นคุณสามารถย้อนกลับไปเพื่อทำการแท็กวิดีโอของคุณว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับวิดีโอเหล่านั้น

ประโยชน์ของการอัปโหลดวิดีโอไปยังเครือข่ายขนาดใหญ่ เช่น YouTube ก็คือมีผู้ชมอยู่แล้ว โดยที่คุณไม่ต้องสร้างขึ้นมา แต่เนื่องจากมีการนำเสนอเนื้อหาวิดีโอจำนวนมาก การรอให้ผู้ชมค้นหาเนื้อหาของคุณโดยบังเอิญนั้นอาจจะไม่ได้ช่วยการเพิ่มยอดวิวของคุณสักเท่าไร เพื่อให้เนื้อหาวิดีโอของคุณคุ้มค่ากับต้นทุนและความพยายามในการผลิต คุณต้องวางแผนเนื้อหาของคุณในเชิงรุก โพสต์ข้อความให้เกี่ยวกับบุคคลที่คุณต้องการให้เห็น และผลลัพธ์ทางการตลาดที่คุณต้องการบรรลุ

หากคุณเพิ่งเริ่มต้น คุณสามารถดูแหล่งข้อมูลของ Moz เกี่ยวกับการกำหนดกลุ่มเป้าหมายและกลยุทธ์เนื้อหาได้ เมื่อคำนึงถึงผลลัพธ์พื้นฐานเหล่านั้นแล้ว คุณสามารถเริ่มแผนการที่จะกำหนดตัวชี้วัดที่คุณต้องดูเพื่อวัดความสำเร็จของคุณ และวิธีที่คุณจะจัดโครงสร้างเนื้อหาของคุณเพื่อไปถึงจุดนั้น

บททบทวนเรื่อง YouTube Analytics

ก่อนที่จะเจาะลึกลงไปในเรื่อง Keyword ของ YouTube สิ่งสำคัญคือคุณจะต้องกำหนด KPI ต่างๆ ที่ใช้เพื่อวัดความสำเร็จของวิดีโอ พูดง่ายๆคือ สถิติที่ได้จากวิดีโอของคุณจะบอกคุณว่าแผนการตลาดวิดีโอของคุณใช้ได้ผลหรือไม่ ได้แก่

เวลาในการรับชม (Watch Time)

KPI นี้วัดจำนวนนาทีทั้งหมดที่ผู้ชมใช้ในการดูเนื้อหาของคุณ โดยวีดีโอและช่องที่มีเวลาในการรับชมนานขึ้นจะได้รับการยกระดับโดย YouTube ในส่วนของคำแนะนำและผลการค้นหา เวลาในการรับชมเฉลี่ยที่ต่ำอาจบ่งบอกว่าผู้ชมของคุณเริ่มเบื่อหรือวิดีโอของคุณยาวเกินกว่าจะดึงดูดความสนใจจากพวกเขาได้

อัตราการรักษาผู้ชมไว้ (Retention Rate)

นี่คือเปอร์เซ็นต์ของสมาชิกผู้ชมที่ดูวิดีโอจนจบ เทียบกับผู้ที่ออกก่อนวิดีโอจะจบ แพลตฟอร์ม YouTube ชอบวิดีโอที่มีอัตราการรักษาผู้ชมสูง โดยตัดสินว่าเป็นวิดีโอมีความเกี่ยวข้องมากและจะมีการแนะนำให้กับผู้ชมจำนวนมากขึ้น

การมีส่วนร่วม (Engagement)

หมายถึงการกระทำที่ผู้ชมทำมากกว่าเพียงแค่ดูวิดีโอ เช่น สละเวลาแสดงความคิดเห็น, กด Like, กดแชร์, Subscribe, หรือ Bookmark ไว้ การมีส่วนร่วมมักเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุดสำหรับนักการตลาดในการวัดผล เนื่องจากเป็นสิ่งที่จะบอกคุณว่ามีคนสนใจเนื้อหาของคุณมากพอที่จะดำเนินการต่อไปได้มากน้อยเพียงใด โดยความคิดเห็นของผู้ชมนั้นสามารถทำให้เห็นภาพชัดเจนว่าเนื้อหาของคุณส่งผลต่อผู้ชมอย่างไร การแชร์จะวัดว่าผู้ชมให้ความสำคัญกับวิดีโอและแบรนด์ของคุณมากเพียงใด และมีความสำคัญต่อการเพิ่มจำนวนผู้ติดตาม การกด Like และ Dislike สามารถช่วยให้คุณประเมินว่าเนื้อหาใช้ได้ผลหรือไม่ และยังเป็นการระบุให้ YouTube ทราบว่าเนื้อหาใดมีแนวโน้มที่จะมีคุณภาพสูงเมื่อแนะนำวิดีโอในหน้าฟีดของผู้ใช้

ภาพตัวอย่าง (Thumbnails)

ภาพตัวอย่างคือรูปภาพจากวิดีโอของคุณที่จะปรากฏพร้อมกับชื่อในหน้าผลลัพธ์หรือลิงก์ โดยจะแสดงตัวอย่างเนื้อหาที่คุณกำลังแชร์เพื่อช่วยให้ผู้ชมตัดสินใจว่าจะดูหรือไม่ ภาพตัวอย่างที่สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันนั้นง่ายต่อการสร้างผลกระทบในทางที่ดีอย่างมากต่อจำนวนผู้ชมที่จะคลิกเข้าไปชมวิดีโอของคุณ

Keyword ของชื่อเรื่อง (Title Keywords)

Keyword ที่คุณใช้ในชื่อวิดีโอของคุณจะบอก YouTube ว่ามีอะไรอยู่ในนั้น และช่วยนำทางผู้ชมไปยังเนื้อหาของคุณเมื่อพวกเขาค้นหาคำหรือวลีที่คล้ายกัน

การดูซ้ำ (Re-watched)

หน่วยวัดนี้จะวัดจำนวนครั้งที่ผู้ชมดูซ้ำในบางส่วนของวิดีโอของคุณ หากมีอัตราการดูซ้ำสูง อาจหมายถึงว่าผู้ชมสนใจในหัวข้อที่คุณกำลังพูดถึง และอาจต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการวางกลยุทธ์และการวางแผนเนื้อหาในอนาคต

ข้อมูลประชากร (Demographics)

สถิติตัวนี้จะอธิบายถึงผู้ชมประเภทต่างๆ ที่กำลังดูเนื้อหาของคุณ โดยแบ่งกลุ่มตามเพศ อายุ และภูมิศาสตร์

สิ่งสำคัญคือ คุณต้องเข้าใจว่าหน่วยวัดของ YouTube เหล่านี้มีไว้เพื่อวัดผลอย่างไร ทั้งหมดมีส่วนสำคัญในการจัดอันดับวิดีโอของคุณทั้งใน YouTube และ Google ดังนั้นจึงควรใช้แนวทางปฏิบัติขั้นพื้นฐานสำหรับการทำให้วิดีโอติดในการค้นหา อย่างไรก็ตามคุณควรให้ความสำคัญกับเป้าหมายของธุรกิจด้วย ไม่ใช่แค่ไล่ตามสถิติ หน่วยวัดที่ดีจะต้องใช้เป็นตัวชี้วัดความก้าวหน้าของธุรกิจของคุณ

Google เลือกวิดีโอที่จะมาแสดงบน YouTube อย่างไร

ยอดวิวใน YouTube ไม่ได้มาจากผู้ที่เข้าสู่ระบบ YouTube เท่านั้น Google ยังเป็นอีกหนึ่งตัวขับเคลื่อนสำคัญสำหรับวิดีโอบน YouTube ของคุณอีกด้วย Google จึงจำเป็นต้องเข้าใจเนื้อหาในวิดีโอของคุณเพื่อรวมไว้ในผลการค้นหา โดย Google จัดอันดับเนื้อหา YouTube ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • รวบรวมข้อมูลวิดีโอ แยก Preview และภาพตัวอย่างเพื่อแสดงให้ผู้ใช้เห็น
  • แยก Meta tags และข้อความจากคำอธิบายวิดีโอของคุณเพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาของวิดีโอ
  • การวิเคราะห์แผนผังเว็บไซต์วิดีโอหรือข้อมูลที่มีโครงสร้างเพื่อพิจารณาความเกี่ยวข้อง
  • แยกเสียงเพื่อระบุ Keyword เพิ่มเติม

Keyword ไม่ได้ถูกดึงมาจากข้อความที่แนบมากับวิดีโอของคุณในคำอธิบายและแท็กเท่านั้น แต่ยังสามารถดึงออกมาจากเสียงได้อีกด้วย นี่คือเหตุผลที่การรวม Keyword ที่เหมาะสมในสคริปต์วิดีโอของคุณจะช่วยเพิ่มอันดับในการค้นหาบน Google

ควรเลือก Keyword ที่มีความเกี่ยวข้อง ไม่ใช่จากปริมาณการค้นหา

สิ่งนี้ทำให้เกิดคำถามว่า แล้ว Keyword ที่ “ถูกต้อง” คืออะไร แต่คำถามที่ดีกว่า น่าจะเป็น: อะไรทำให้ Keyword นี้เหมาะสม

กลับไปที่การเปรียบเทียบว่า “YouTube เปรียบเสมือนคลังห้องสมุดขนาดมหึมา” หากเพียงใช้เสียงก็สามารถหา Keyword ได้แล้วละก็ แค่การพูดถึง Keyword ที่มีปริมาณการค้นหามากที่สุดเพียงคำเดียว วิดีโอของคุณก็จะสามารถดึงดูดผู้ชมจำนวนมากได้ แต่อย่างที่กล่าวไว้ว่า YouTube เป็นแพลตฟอร์มที่อิ่มตัวเกินกว่าจะพึ่งพาการแพร่กระจายของเนื้อหาหรือคำไวรัลได้ แต่ Search Engine ไม่ได้คิดในแง่ของวิดีโอที่ “ดีที่สุดและแย่ที่สุด” ในการจัดอันดับ เครื่องมือค้นหาได้รับการออกแบบเพื่อระบุว่า “วิดีโอใดดีที่สุดสำหรับผู้ชมรายนี้” ดังนั้นนี่ไม่ใช่ประเด็นเกี่ยวกับปริมาณหรือความนิยม แต่เป็นเรื่องของความเกี่ยวข้อง

การจะทำการตลาดให้มีประสิทธิภาพได้นั้น จะต้องคำนึงถึงผู้ชมด้วยว่าคนเหล่านั้นเป็นใคร ไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะเป็นกลุ่มเป้าหมายของคุณ แคมเปญส่วนใหญ่ควรเจาะจงสำหรับกลุ่มแฟนๆที่มี Engagement สูงแม้จะเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆก็ตาม ซึ่งจะได้ผลดีกว่าผู้ชมทั่วไปที่ไม่ได้สนใจในเนื้อหาของคุณ หากคุณทุ่มเททั้งหมดไปกับการปรับเนื้อหาของคุณให้เหมาะสมสำหรับ Bot ของ Google คุณอาจจะได้การเข้าชมสูง แต่คุณจะได้ Engagement ต่ำ ซึ่งถ้าหากคุณต้องการสร้างฐานแฟนๆที่มีความหมาย คุณต้องสร้างเนื้อหาสำหรับผู้ที่รับชมเหล่านั้น ไม่ใช่แค่สำหรับเครื่องมือค้นหาที่จัดอันดับเนื้อหาเท่านั้น

การตั้งกลุ่มเป้าหมาย

คุณต้องมีไอเดียที่ชัดเจนว่า คุณกำลังพยายามพูดถึงใครในเนื้อหา YouTube ของคุณ หากคุณต้องการทราบว่าจะพูดอะไรกับพวกเขา การกำหนดผู้ชมเป้าหมายของคุณก่อนนั้นจะทำให้กระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพ SEO มีเป้าหมายและเจาะจงมากขึ้น

การระบุและกำหนดผู้ชมเป้าหมายของคุณสามารถเริ่มต้นด้วยแรงจูงใจเบื้องหลังการค้นหาวิดีโอของพวกเขา เช่น

ฉันต้องการทราบ (I want to know) ผู้ใช้ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อเฉพาะที่พวกเขาต้องการ โดยพวกเขามักจะสนใจวิดีโอแนะนำ วิธีการ และวิดีโออธิบาย

ฉันต้องการทำ (I want to do) ผู้ชมมีสิ่งเฉพาะเจาะจงอยู่แล้วในใจที่พวกเขาต้องการจะทำ เช่น การวางแผนการเดินทาง หรือหางานอดิเรกใหม่ ซึ่งพวกเขาอาจจะดูวิดีโอที่เป็นวิดีโอเชิงรุก เช่น Vlogs สำหรับสร้างแรงบันดาลใจ หรือคู่มือการเดินทางสำหรับเคล็ดลับที่นำไปปฏิบัติได้

ฉันต้องการซื้อ (I want to buy) ผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นผู้ชมของคุณกำลังมองหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เฉพาะที่พวกเขาต้องการซื้อ รวมถึงบทวิจารณ์หรือการเปรียบเทียบ โดยพวกเขาอาจมองหาวิดีโอประเภทแกะกล่อง (Unboxing), บทวิจารณ์จาก Influencers หรือการสาธิตการใช้ผลิตภัณฑ์

การทำความเข้าใจผู้ชม, ปัญหาของพวกเขา และแรงผลักดันในการซื้อเป็นกุญแจสำคัญในการระบุว่า Keyword ใดจะสามารถช่วยชี้นำผู้ชมเหล่านั้นไปยังวิดีโอ YouTube ของคุณ โดย Keyword คือภาษาที่ผู้ชมใช้ในการเสิร์ชเนื้อหาเฉพาะจาก Search engine ซึ่งเป็นเหตุผลที่คุณควรเริ่มต้นด้วยความตั้งใจของผู้ชมและเริ่มงานจากตรงนั้น ลองเลือกคำหรือวลีสองสามคำที่ผู้ชมอาจใช้เพื่ออธิบายสิ่งที่พวกเขาต้องการเห็นในวิดีโอของคุณ ลองนึกถึงทั้งหัวข้อเด่นๆ เช่น “สุนัข”, “การแต่งหน้า”, “วงสวิง” หรือรูปแบบ/ประเภท เช่น “บทแนะนำ”, “Vlog”, “มาเล่นกันเถอะ”, “แสดงปฏิกิริยา” และระบุคำกริยาที่เกี่ยวข้อง เช่น “ซื้อ”, “เล่น”, “เรียนรู้”, “อธิบาย”, หรือ “สำรวจ” โดยการสร้าง Word Cloud แบบนี้จะทำให้คุณมีจุดเริ่มต้นสำหรับการวิจัย Keyword ของคุณ

เริ่มทำ Keyword Research ด้วย เครื่องมือ  Autocomplete จากคู่แข่ง

วิธีที่ง่ายที่สุดในการเริ่มต้นกระบวนการหา Keyword คือการใช้เครื่องมือในการ Keyword  ซึ่ง Moz ได้มีเสนอโปรแกรมสำรวจ Keyword ฟรี หรือสามารถใช้ฟังก์ชันการค้นหาบน YouTube และ Google การลองใช้การค้นหาต่างๆที่ผู้ชมของคุณน่าจะทำนั้น สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกแก่คุณว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณกำลังค้นหาอะไรอยู่ พวกเขาสนใจอะไร และคำหรือวลีเฉพาะที่พวกเขาใช้เมื่อพูดถึงเรื่องนี้ทางออนไลน์

ขณะที่คุณพิมพ์ Keyword ที่เป็นไปได้ของคุณลงในช่องค้นหานั้น YouTube จะแนะนำการค้นหายอดนิยมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นคุณสมบัติในการเติมข้อความอัตโนมัติ โดยตัวเครื่องมือ Ubersuggest เป็นอีกตัวเลือกที่ดีในการลองทำ ซึ่งจะเรียงตามตัวอักษรสำหรับอักษรตัวแรกของคำถัดไปในการค้นหาของคุณ

การหาปริมาณค้นหาของ Keyword ใน YouTube

นอกจากนี้คุณควรทราบด้วยว่า Keyword ใดที่ผู้คนค้นหาบ่อยที่สุด โดยการใช้ Google Trend สำหรับการค้นหาของ YouTube จะช่วยให้คุณสามารถเปรียบเทียบ Keyword ที่เป็นไปได้ในวิดีโอของคุณ เพื่อดูว่า Keyword ใดอยู่ในอันดับที่สูงกว่าและปรากฏในการค้นหามากกว่า ซึ่งปริมาณการค้นหาที่สูงขึ้นมักจะหมายถึงการแข่งขันมากขึ้นในอันดับสำหรับคำหรือวลีนั้น อีกทั้งคุณยังสามารถติดตามดู Keyword ที่คู่แข่งของคุณใช้เพื่อเปรียบเทียบกับ Keyword ในวิดีโอของคุณ 

คุณสามารถลองค้นหา Channel สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีผู้ติดตามไม่กี่พันคน แล้วจัดเรียงเนื้อหาโดยใช้ตัวเลือก “ยอดนิยม” คลิกที่วิดีโอที่มีจำนวนการดูสูงสุดและจดคำสำคัญที่ใช้ในชื่อ แท็ก และคำอธิบาย ข้อมูลนี้สามารถแสดงให้คุณเห็นว่า Keyword ใดที่อาจอิ่มตัวในตลาดของคุณด้วยการแข่งขันสูง หรือเผยให้เห็นช่องว่างที่สามารถสร้างเนื้อหาขึ้นมาได้

การใส่ Keyword ในวิดีโอ

เมื่อคุณระบุ Keyword ที่มีมูลค่าสูงได้แล้ว ก็ถึงเวลานำไปใช้งาน ซึ่งต่อไปนี้คือสถานที่ทั้งหมดที่คุณสามารถใช้ Keyword เมื่อโพสต์วิดีโอ YouTube ของคุณเป็นครั้งแรก

ชื่อไฟล์วิดีโอ (Video File Name) การเพิ่มประสิทธิภาพ SEO นั้นเริ่มต้นก่อนที่คุณจะอัปโหลดวิดีโอด้วยซ้ำ ซึ่งคุณควรใช้ Keyword อย่างเด่นชัดในชื่อไฟล์วิดีโอ

ชื่อวิดีโอ (Video Title) ชื่อเรื่องควรกระชับและรัดกุม นึกถึงสิ่งที่คุณต้องการคลิก หลีกเลี่ยงการใช้ชื่อวิดีโอที่มีความยาวเกิน 70 ตัวอักษร เนื่องจากจะถูกตัดออกจากหน้าผลลัพธ์ของเครื่องมือค้นหาและภาพตัวอย่าง โดยพยายามใช้ Keyword ไว้ที่จุดเริ่มต้นของชื่อ

คำอธิบาย (Description) ผู้สร้างเนื้อหาจำนวนมากทำผิดพลาดในการเขียนเพียงสองสามประโยคในคำอธิบายวิดีโอของพวกเขา ซึ่งในความเป็นจริงแล้วยิ่งคำอธิบายของคุณมีจำนวนคำมากเท่าไรก็ยิ่งดีเท่านั้น  YouTube อนุญาตให้ใช้คำอธิบายวิดีโอได้มากถึง 5,000 ตัวอักษร ดังนั้นอย่าลืมใช้ประโยชน์จากพื้นที่นี้ โดยการใช้ Keyword ที่วางไว้อย่างมีกลยุทธ์ ข้อมูลเกี่ยวกับวิดีโอ อาจจะใช้คำให้ดึงดูดและคำที่กระตุ้นการตัดสินใจที่จะเข้ามาดูวิดีโอของคุณ

การถอดเสียง (Transcript) การถอดเสียงจากวิดีโอหรือคำอธิบายภาพเป็นอีกโอกาสในการใช้ Keyword เนื่องจากมีข้อความเพิ่มเติมที่ถูกใช้โดยอัลกอริธึมการจัดอันดับของแพลตฟอร์ม

แท็ก (Tags) เมื่อแท็กวิดีโอของคุณให้ใส่ Keyword ที่เกี่ยวข้องสูงสุด ชื่อแบรนด์ ช่อง Channel และวลี Keyword ที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เก็บแท็กทั้งหมดไว้ไม่เกิน 127 ตัวอักษร ซึ่งยิ่งมากเท่าไรยิ่งดีตราบใดที่มีความเกี่ยวข้องและรัดกุม และหัวข้อที่กว้างเกินไปในแท็กของคุณจะส่งสัญญาณไปยัง YouTube ว่าวิดีโอของคุณไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดเป็นพิเศษเลย

ลองใช้ Keyword แบบเสียง

วิธีพิเศษในการรวม Keyword ในวิดีโอของคุณให้มากขึ้นคือ การพูดคำเหล่านั้นในวิดีโอ เนื่องจาก Google และ YouTube ไม่จำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลการถอดเสียงเพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่คุณพูดอีกต่อไป คุณจึงสามารถใช้ Keyword ที่เป็นเสียงได้ พยายามใส่ Keyword ในสองประโยคแรกที่คุณพูดในวิดีโอเสมอ เพื่อเพิ่มอัตราการรักษาผู้ชมไว้ (Retention Rate)

สรุป

หากคุณยังจับใจความจากบทความนี้ไม่ได้ ให้จำไว้ว่าเครื่องมือค้นหา Search Engine เช่น Google หรือ YouTube ไม่มีแนวคิดว่า “ดีที่สุด” หมายถึงอะไร ไม่สามารถตัดสินวิดีโอด้วยข้อดีได้ และไม่จัดอันดับวิดีโอแต่ละรายการว่ามีค่าควรแก่การดูมากหรือน้อยเพียงใด เฉพาะผู้ชมเท่านั้นที่สามารถตัดสินได้ โดย Search Engine สามารถทำได้เพียงดูจากความเกี่ยวข้องได้เท่านั้น และใช้เฉพาะ Keyword ที่คุณให้เพื่อเทียบกับ Keyword ที่ผู้ใช้ให้มาเมื่อทำการค้นหา

Search Engine รู้เพียงว่าได้ให้วิดีโอที่เหมาะสมสำหรับการค้นหาที่ถูกต้องโดยการตีความการดำเนินการที่ผู้ใช้ทำ หากคุณให้ Keyword จำนวนมากแก่ YouTube และ Google เพื่อแยกวิเคราะห์โดยกรอกคำอธิบาย แท็ก ชื่อ และการถอดเสียงให้ครบถ้วน วิดีโอของคุณจะถูกแสดงผลในการค้นหามากขึ้น หากผู้ชมแสดงความคิดเห็นหรือสมัครรับข้อมูลจากช่องของคุณหลังจากรับชม อัลกอริทึมของ YouTube จะสรุปว่าวิดีโอของคุณมีความเกี่ยวข้องสูง และทำให้วิดีโอของคุณถูกค้นหาที่มากขึ้นกว่าเดิม 

Credit: Link

สวัสดี เราชื่อ พีค มีความสนใจเรื่อง SEO มาตั้งแต่ตอนอายุ 20 สมัยเข้ามหาลัยใหม่ๆ เนื่องจากเราเรียนบริหารธุรกิจ จึงได้เรียนเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ และมองว่า SEO คือหนึ่งในศาสตร์และศิลป์ที่มีความอ่อนไหว น่าสนใจ และดูมีอะไรในตัวของมันเองดี คนที่ทำต้องรอคอยเป็น เหมือนฝึกให้เรารู้จักที่จะรอคอยได้ ก็เลยศึกษา ทดลอง มาโดยตลอด มันสนุกมากนะ ได้เห็นกราฟวิ่งขึ้นวิ่งลง เติบโตไปเรื่อยๆ เปรียบเสมือนกับชีวิตที่มีสีสัน มีจังหวะที่คอยสลับไปมานั่นเอง