เทคนิค SEO ขั้นพื้นฐาน ช่วยให้เว็บไซต์ติดอันดับการค้นหาได้มากยิ่งขึ้น

คงต้องยอมรับว่าในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่มีการค้นหาสิ่งที่น่าสนใจใน Google เป็นหลักมากกว่าช่องทางอื่น ๆ ทำให้หลายบริษัทนิยมทำการตลาดผ่านระบบ SEO กันมากขึ้น และถ้าคุณเป็นผู้ที่สนใจอยากทำ SEO ให้ติดอันดับการค้นหา เราขออาสาเป็นเพื่อนช่วยติวให้ ก่อนอื่นเลยเราจะพาคุณมารู้จักกับ 4 ส่วนที่สำคัญของการทำ SEO  มีดังนี้

ส่วนที่ 1 ปัจจัยพื้นฐานของ SEO

SEO (Search Engine Optimization) คือ กระบวนการเพิ่มยอดชมเว็บไซต์ด้วยวิธีออแกนิค กระบวนการนี้มันจะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับการค้นหาในอันดับต้นๆ เมื่อมีผู้ใช้งานเสิร์ชการค้นหาผ่านระบบ Google และด้วยมันเป็นกระบวนการแบบออแกนิคนี่แหละ ที่จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถขายสินค้าของตนเองผ่านเว็บไซต์ที่ติดอันดับการค้นหาได้ เปรียบคล้ายกับการโฆษณาแฝงไปในตัว และประโยชน์อีกอย่างของการทำ SEO คือ ถ้าเว็บไซต์ของคุณติดอันดับการค้นหาหนึ่งในสามอันดับแรก จะส่งผลให้มีผู้ใช้งานเข้ามาคลิกชมเว็บไซต์ของคุณอย่างสมำ่เสมอ เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ที่ติดอันดับการค้นหาหนึ่งในสามอันดับแรกเท่านั้น ซึ่งมันเป็นกระบวนการทำที่คุ้มค่า มากกว่าการเสียเงินจ่ายไปกับการยิงโฆษณาอย่างต่อเนื่อง

กระบวนการทำ SEO มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้

  1. Keyword: คุณสามารถค้นหาคำ keyword เพื่อมาเขียนในเว็บไซต์ ได้จากโปรแกรม Google Planner โดยการเลือกค้นหาคำที่ผู้คนส่วนใหญ่นิยมเสิร์ช หรือ การค้นหาคำมียอดเสิร์ชที่น่าสนใจใน Google เพื่อนำคำเหล่านี้มาใช้ในกระบวนการทำ SEO
  2. Content Creation: การสร้างสรรค์เนื้อหาภายในเว็บให้มีคุณภาพและตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานที่เข้ามาชม
  3. On-Page SEO: เพิ่มปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์ด้วยกระบวนการ On-Page
  4. Link Building: การเชื่อมโยงเว็บไซต์ไปสู่เว็บที่มีความน่าเชื่อถือ และ ได้รับความนิยมจากเว็บไซต์อื่น
  5. Technical SEO: การใช้เทคนิคทาง SEO มาช่วยให้เว็บไซต์สามารถเข้าถึงระบบ Search Engine เพื่อให้ระบบสามารถรวบรวมข้อมูล สำหรับนำมาพิจารณาการจัดอันดับเว็บไซต์ได้อย่างมีคุณภาพ

ส่วนที่ 2 ตั้งค่าการทำ SEO ให้ประสบความสำเร็จ

       การทำ SEO ให้ประสบความสำเร็จเป็นเรื่องที่ง่ายมาก  ถ้าเว็บไซต์ของคุณมีการตั้งค่าให้เหมาะสมสำหรับการสร้างความสำเร็จให้กับ SEO ซึ่งมีทั้งหมด 7 วิธี ดังนี้

1. ใช้โดเมนที่มีคุณภาพ

ซึ่งองค์ประกอบของโดเมนที่มีคุณภาพมีดังนี้

  • ชื่อโดเมน:  ควรสั้นและน่าจดจำที่สุด คุณไม่ควรใส่อักขระที่ไม่จำเป็นลงไป และ ควรสร้างอักขระพิเศษที่ง่ายต่อการจดจำ
  • ควรเลือกใช้ Top-level domain (TLD): ซึ่งเป็นรหัสโดเมนส่วนท้ายชื่อเว็บไซต์ของคุณ  เช่น .com , .org  เพราะรหัสโดเมนแบบ TLD นี่แหละจะทำให้เว็บไซต์ของคุณได้รับการสืบค้นจากคนทั่วโลก  หากธุรกิจของคุณทำกิจการภายในประเทศเท่านั้น  คุณอาจจะใช้รหัสโดเมนตามประเทศ เช่น co.th (เพื่อเป็นการระบุว่าเว็บไซต์นี้ทำธุรกิจภายในประเทศไทยเท่านั้น)

2. ใช้แพลตฟอร์มเว็บไซต์

แพลตฟอร์มเว็บไซต์จะช่วยให้คุณสร้างสรรค์และจัดการเว็บไซต์ให้ง่ายที่สุด  ซึ่งแพลตฟอร์มจะแบ่งออกเป็น  2 ประเภท ได้แก่

  • Hosted platforms คือ แพลตฟอร์มเว็บไซต์สำเร็จรูปที่ถูกสร้างมาให้คุณได้เป็นเจ้าของโดยเฉพาะ คุณสามารถสร้างสรรค์และแก้ไขเนื้อหาในเว็บไซต์ โดยไม่ต้องแก้ไขโค้ด
  • Self-hosted platforms คือ แพลตฟอร์มเว็บไซต์สำเร็จรูปที่คุณสามารถเข้าไปเพิ่มหรือแก้ไขเนื้อหาได้โดยจำเป็นต้องแก้ไขโค้ด  แต่คุณต้องติดตั้ง Hosted แพลตฟอร์มด้วยตัวเอง

ส่วนใหญ่แล้วนักทำ SEO จะแนะนำว่า คุณควรที่จะใช้วิธี Self-hosted platforms  ผ่านแพลตฟอร์ม Open Source อย่าง WordPress เนื่องจากเหตุผล ดังนี้

  • สามารถปรับแต่งได้ คุณสามารถแก้ไข Code Open Source ได้ตามต้องการ  นอกจากนี้มันยังเป็นแหล่งรวมการพัฒนาแพลตฟอร์มจำนวนมากอีกด้วย
  • มีการรองรับการทำงานที่หลากหลาย และยังมีปลั๊กอินจำนวนหลายล้านรายการที่เป็นฟังก์ชั่นให้กับการทำงานของ SEO

หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งก็ได้ว่า Self-hosted มีฟังก์ชั่นการทำงานที่รองรับการทำ SEO นั่นเอง

3. การใช้เว็บโฮสติ้งที่มีคุณภาพ

    หลักการพิจารณาเว็บโฮสติ้งที่มีคุณภาพ  มีดังนี้

  • พิจารณาด้านความปลอดภัย โดยคุณสามารถขอใบรับรอง SSL/TLS  ได้ฟรี หรือ คุณจะเลือกให้การสนับสนุนองค์กร  Let’s Encrypt ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อรอใบรองความปลอดภัยของเว็บไซต์ได้ฟรีเช่นกัน
  • พิจารณาที่อยู่ของเซิร์ฟเวอร์ คุณควรเลือกเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ภายในประเทศ เนื่องจากว่ามันสามารถให้ความสะดวกรวดเร็วด้านการเชื่อมต่อข้อมูลไปสู่ผู้ใช้งานได้เร็วกว่า
  • พิจารณาบริการให้ความช่วยเหลือ ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งควรมีบริการให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งคุณควรสอบถามผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งก่อนที่จะลงทะเบียนสมัครเข้าใช้งาน

4. สร้างเว็บไซต์ที่มอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน

      Google จะจัดอันดับเว็บไซต์โดยพิจารณาจากคุณภาพของเว็บไซต์ที่ได้สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งานเป็นงาน ซึ่งวิธีการสร้างเว็บไซต์ที่มีคุณภาพตอบโจทย์ประสบการณ์ผู้ใช้งานมีวิธีการทั้งหมดดังนี้

  • ใช้โปรโตคอน HTTPS สำหรับเข้ารหัสด้วย SSL / TLS เพื่อป้องกันเว็บไซต์จาการถูกโจมตีโดยแฮกเกอร์ได้
  • ดีไซน์หน้าเว็บไซต์ให้มีความน่าสนใจ: การดีไซน์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ มันเป็นการสะท้อนภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจของคุณด้วย เพราะมันสะท้อนให้เห็นถึงความใส่ใจและการปรับตัวของธุรกิจให้เข้ากับปัจจุบันตลอดเวลา ซึ่งคุณควรจะดีไซน์หน้าเว็บไซต์ทุก 2 – 3 เดือน
  • ออกแบบเว็บไซต์ให้อยู่ในโหมด Mobile friendly ปัจจุบันมีการค้นหาในมือถือมากกว่า desktop  ดังนั้นคุณควรมีการปรับแต่งเว็บไซต์ให้สามารถแสดงผลได้ในมือถือ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานและเป็นประโยชน์ต่อการจัดอันดับเว็บไซต์ของคุณ
  • ปรับขนาดฟ้อนต์ให้ง่ายต่อการอ่าน คุณควรปรับฟ้อนต์ในเว็บไซต์ให้ผู้ใช้อ่านสามารถอ่านง่าย สบายตา 
  • ปิดกั้นการขึ้นป็อปอัพ และ  โฆษณาที่รบกวน ซึ่งการขึ้นป็อปอัพ และ โฆษณาที่รบกวน อาจทำให้ผู้เข้าใช้งานเกิดความรำคาน และ ส่งผลให้เว็บไซต์คุณไม่ติดอันดับการค้นหา
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ของคุณมีการดาวน์โหลดที่รวดเร็ว ความเร็วของเว็บไซต์เป็นปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับของกระบวนการ SEO คุณควรทำให้เว็บไซต์ของคุณมีการแสดงผลที่รวดเร็วรวมถึงแสดงผลไม่ช้าจนเกินไปทั้งใน Desktop และ มือถือ 

5. สร้างแผนผังเว็บไซต์อย่างเป็นระบบ

            การสร้างแผนผังเว็บไซต์ (Sitemap) อย่างเป็นระบบจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายขึ้น

และนี่คือแผนผังเว็บไซต์จะเชื่อมโยงการค้นหาลิงก์ภายในจากหัวข้อหนึ่งไปสู่อีกหัวข้อหนึ่งในเว็บไซต์ โดยลิงก์ภายใน (Internal Links) มีความสำคัญต่อการทำ UX และ SEO เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ระบบ Search Engine สามารถค้นหาหน้าเพจใหม่ที่ Google ไม่สามารถค้นหาเจอเพื่อนำมาจัดอันดับเว็บไซต์   เมื่อมีการลิงก์ภายในจะทำให้ระบบ Search Engine สามารถเข้าใจเนื้อหาภายในเว็บไซต์ได้มากขึ้น  เพราะมันมีการเชื่อมโยงลิงก์ภายในกันไปมา

6. ใช้การสร้าง URL อย่างเป็นระบบ

ความสำคัญของ URL นอกจากจะทำให้ระบบ Search Engine เข้าใจบริบทหน้าเพจเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งหลายแพลตฟอร์มเว็บไซต์ก็มีระบบ URL ให้คุณได้เลือก และนี่คือ 5 รูปแบบของการตั้งค่า URL ใน WordPress  มีดังนี้

  1. การตั้งค่า URL  แบบเรียบง่าย:  website.com/?p=123
  2. การตั้งค่า URL แบบ วัน และชื่อ: website.com/2021/03/04/seo-basics
  3. การตั้งค่า URL แบบ เดือน และ ชื่อ: website.com/03/04/seo-basics/
  4. การตั้งค่า URL แบบ ตัวเลข: website.com/865/
  5. การตั้งค่า URL  แบบ หลังชื่อ: website.com/seo-basics/
  6. การติดตั้งปลั๊กอิน

แพลตฟอร์มเว็บไซต์เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กระบวนการทำ SEO ประสบความสำเร็จ แต่ถ้าคุณจะใช้ WordPress ในกระบวนการทำ SEO คุณควรใช้ปลั๊กอิน Yost และ Rank Math มาเป็นตัวช่วยเสริม

ส่วนที่ 3 ทำความเข้าใจกับระบบภายในของ Google ที่มีส่วนช่วยในกระบวนการ SEO

การตั้งค่าเว็บไซต์คือความสำเร็จด่านเเรกที่จะช่วยให้ Google จัดอันดับเว็บไซต์ของคุณ แต่เว็บไซต์ของคุณต้องมีการแสดงผลฟีเจอร์ที่รวดเร็ว เพราะจะทำให้ Google สามารถค้นหาเว็บไซต์ของคุณได้แม้ไม่มี Backlink ก็ตาม ซึ่งการตั้งค่าเว็บไซต์มีวิธีดังต่อไปนี้ 

1. สร้างแผนผังเว็บไซต์ (Sitemap)

แผนผังเว็บไซต์มีความสำคัญมาก เพราะมันจะช่วยให้ระบบ Search Engine สามารถจัดอันดับเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายมากขึ้น ถ้าเว็บไซต์ของคุณสร้างแผนผังเว็บไซต์อยู่แล้ว คุณสามารถนำชื่อแผนผังเว็บไซต์มาตั้งต่อท้าย URL ได้เลย ตัวอย่าง

  • site.com/sitemap.xml
  • site.com/sitemap_index.xml

แต่ถ้าคุณไม่สามารถค้นหา URL ได้ คุณต้องคลิกดูที่โปรแกรม robots.txt

แต่ถ้าคุณไม่เจอลิงก์ URL Sitemap คุณจำเป็นต้องสร้างใหม่

2. นำ URL sitemap ของคุณไปที่ระบบ Google Search Console

เมื่อคุณได้ทำ URL sitemap  แล้ว คุณต้องนำมันไปวางไว้ในระบบของ Google Search Console แล้วกด Submitting เพื่อส่งข้อมูล ซึ่งมันใช้เวลาเพียง 2 วินาทีเท่านั้น

ส่วนที่ 4 การติดตามการทำ SEO

 การติดตามการทำ SEO ประกอบไปด้วย 3 วิธี ดังนี้

1. ติดตามยอดจำนวนผู้ชมเว็บไซต์ผ่าน Google Search Console

2. การติดตามคำ Keyword ที่ติดอันดับการค้นหา

 โดยคุณสามารถติดตามคำ Keyword ที่ติดอันดับการค้นหา ผ่านระบบ Google Search Console ได้เช่นกัน

3. การติดตามการพบเห็นของผู้เข้าชมเว็บไซต์

 คุณสามารถติดตามการพบเห็นของผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์ขอคุณผ่านโปรแกรม Rank Tracker

สรุป

SEO คือ กระบวนการเพิ่มยอดชมเว็บไซต์ ผ่านการที่ผู้ใช้งานเสิชร์การค้นหาบน Google  โดยเจ้าของธุรกิจสามารถขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ที่ติดอันดับการค้นหาได้ เปรียบเสมือนเป็นการโฆษณาแฝงไปในตัว โดยการตั้งค่า SEO หลักในการพิจารณามีดังนี้

  1. ใช้โดเมนที่มีคุณภาพ
  2. ใช้ Self-hosted platforms
  3. การเลือกโฮสติ้งที่มีคุณภาพ
  4. สร้างเว็บไซต์ที่มอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน
  5. สร้างแผนผังเว็บไซต์อย่างเป็นระบบ
  6. ใช้การสร้าง URL อย่างเป็นระบบ
  7. การติดตั้งปลั๊กอิน

เมื่อคุณได้สร้างกระบวนการทำ SEO เสร็จเรียบร้อย คุณต้องติดตามผลลัพธ์ของการทำ SEO ผ่านระบบ Google Search Console และ Rank Tracker เพื่อใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาตรวจวัดความสำเร็จในการทำ SEO ของคุณ

สวัสดีค่ะทุกคน ชื่อหมูนะคะ เราเป็นอีกคนหนึ่งที่ชื่นชอบงานเขียนมาก ๆ ค่ะ เพราะงานเขียนเปรียบเสมือนกับการสร้างโลกในจินตนาการของเราขึ้นมา โลกใบนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข ความสนุกสนาน เเละความรู้มากมายที่เราสามารถผจญภัยไปได้เเบบไม่มีลิมิต มาท่องโลกของตัวหนังสือไปพร้อมกันนะคะ