6 วิธีง่ายๆในการจัดระเบียบเว็บไซต์เพื่อการทำ SEO

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีเว็บไซต์ คุณอาจจะพบว่า Traffic เว็บไซต์ของคุณจะเติบโตไปพร้อมกับธุรกิจของคุณในอัตราที่เท่าๆกัน ซึ่ง Traffic ในที่นี้จะรวมไปถึง หน้าบทความ , หน้าสินค้า , หน้าติดต่อเรา – ทั้งหมดรวมกัน และในขณะที่เว็บไซต์ของคุณมีหน้าเว็บไซต์ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเหตุทำให้คุณจะต้องเตรียมการทำ SEO ให้กับจำนวนหน้าเว็บที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน

ด้วยหน้าเว็บไซต์ที่มากขึ้น ทำให้คุณมีโอกาสที่จะเจอปัญหามากมายในการบริหารเว็บไซต์ รวมไปถึงความผิดพลาดต่างๆ เช่น การทำลิงก์ผิด , วางโครงสร้างเว็บไซต์ผิดพลาด , Content มีการจัดเรียงที่ไม่ดี ซึ่งปัญหาและข้อผิดพลาดเหล่านี้จะส่งผลให้ประสบการณ์การใช้เว็บไซต์ของผู้เข้าชมแย่ลง และอาจส่งผลกระทบต่อยอดขาย และเพิ่ม Bounce Rate ได้ ดังนั้นการจัดระเบียบเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณนั้นมีคุณภาพและมีเนื้อหาที่อัพเดทอยู่ตลอดเวลา

สำหรับบทความนี้ เราจะมาอธิบายถึงวิธีที่คุณสามารถดูแลจัดระเบียบเว็บไซต์ของคุณให้ดี และถูกหลักของ SEO เพื่อทำให้เว็บไซต์ของคุณสามารถติดอันดับของ Google ต่อไปได้

6 วิธีในการจัดการ SEO ให้กับเว็บไซต์

ก่อนที่จะลงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีในการทำ SEO ต่างๆ คุณจะต้องทำความเข้าใจภาพรวมของเว็บไซต์คุณก่อนว่า เว็บไซต์ของคุณมีโครงสร้างอย่างไร โดยการทำ Site Audit จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าเว็บไซต์ของคุณมีคุณภาพในสายตาของ Google หรือไม่

นอกจากนี้ การทำ Site Audit จะช่วยให้คุณเข้าใจว่า Search Engine เข้ามาตรวจสอบ อ่านข้อมูล รวมไปถึงการทำ Indexing ของ Google จากเว็บไซต์ของคุณอย่างไร โดยการทำ Site Audit ยังสามารถช่วยให้คุณเห็นจุดอื่นๆที่อาจจะถูกมองข้ามไป เช่น การทำ Meta Description ซ้ำๆ หรือลิงก์เสียที่เกิดขึ้นภายในเว็บไซต์

1. การจัดระเบียบเรื่อง Site Structure หรือ โครงสร้างเว็บไซต์

โครงสร้างเว็บไซต์ที่ดีนั้นส่งผลอย่างมากต่อ Search Engine ในการนำเว็บไซต์ไปจัดอันด้บ และช่วยทำให้ลูกค้าใช้งานเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น

Site Menu หรือ โครงสร้างของเว็บไซต์

สิ่งแรกที่คุณควรทำและปรับโครงสร้างคือ Site Menu หรือเมนูในเว็บไซต์ โดย Site Menu ที่ดีควรจะรวมหรือทำการจัดกลุ่มของเนื้อหาและสินค้าเข้าด้วยกันเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ที่เข้ามาในเว็บไซต์เป็นครั้งแรกเข้าใจและเข้าถึงเนื้อหาที่เขาต้องการได้อย่างรวดเร็ว

Content หรือ เนื้อหา

เนื้อหาในเว็บไซต์เป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งคุณจะต้องดูว่าเนื้อหาในเว็บไซต์นั้นตรงกับเป้าหมายธุรกิจของคุณหรือไม่? และผู้คนสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้หรือไม่

การแบ่งโครงสร้างของเนื้อหาจะช่วยให้คุณเข้าใจถึงลำดับความสำคัญของเนื้อหาในเว็บไซต์ ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้คุณสามารถแบ่งแยกประเภทของเนื้อหาออกจากกันได้ เช่น การแยกระหว่างบทความและหน้าสินค้าออกจากกัน  โดยการจัดและแบ่งประเภทของเนื้อหานั้นยังส่งผลดีต่อ SEO และช่วยให้ Google เข้าถึงเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายยิ่งขึ้น

นอกจากนี้คุณยังควรอัพเดทเนื้อหาในเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ โดยการหาข้อมูลใหม่ๆ หรือใช้ Feedback ต่างๆที่คุณได้รับมาเพื่อเพิ่มเนื้อหาที่มีประโยชน์ให้กับเว็บไซต์ของคุณ

การเก็บข้อมูลในเว็บไซต์จะช่วยบอกจุดที่คุณต้องพัฒนาเพิ่ม

การทำการตลาดแบบ Data-Driven ช่วยให้คุณเห็นข้อมูลที่มีประโยชน์จากการใช้งานของเว็บไซต์ ซึ่งหากคุณมีการเก็บข้อมูลที่ดี คุณจะทราบได้ว่า Traffic เว็บไซต์ของคุณเกิดขึ้นที่หน้าไหนมากที่สุด และมาจากช่องทางไหนบ้าง

หากคุณพบว่า ผู้ใช้งานเว็บไซต์นั้นเข้ามาจากหน้า Homepage มากที่สุด คุณสามารถติดตั้ง Tracking ต่างๆในเว็บไซต์เพิ่มเติมเพื่อให้คุณเข้าใจการใช้งานของผู้เข้าใช้ได้มากยิ่งขึ้น เช่น เวลาที่ใช้งาน , Bounce Rate และการกดปุ่มติดต่อต่างๆในเว็บไซต์ 

ใช้ข้อมูลที่ได้มาในการปรับเนื้อหา

หลังจากที่คุณได้ข้อมูลทั้งหมดและวิเคราะห์ครบแล้ว คุณต้องเริ่มทำการปรับเนื้อหาตามข้อมูลที่คุณได้มา โดยที่คุณสามารถเริ่มจากการขยับเนื้อหาที่สำคัญขึ้นมาก่อน เช่น หมวดหมู่สินค้ายอดฮิต โดยคุณสามารถเลื่อนบทความหรือหน้าเว็บที่คนเข้ามาอ่านเยอะขึ้นมาก่อน เพื่อให้ผู้คนเข้าถึงเนื้อหาเหล่านี้ได้รวดเร็วและง่ายมากขึ้น

นอกจากนี้คุณสามารถนำข้อมูลที่คุณได้มานั้น เพื่อเพิ่มเนื้อหาที่คุณยังขาดอยู่ เช่น จาก Feedback ที่ได้มา หรือคำถามที่ถูกถามบ่อยๆในช่องทางแชทหรือในไลน์ คุณนำคำถามเหล่านี้มาทำ FAQ หรือ Infographic เพื่อช่วยให้ข้อมูลกับผู้ใช้งานได้

ปัจจุบันมีเว็บไซต์ต่างๆมากมายอยู่ในตลาดและบน Google ดังนั้นคุณควรทำให้เนื้อหาของคุณมีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น มีเนื้อหาที่จำเป็น เตรียมข้อมูลที่คนสนใจและอยากรู้เท่านั้น ซึ่งการทำแบบนี้จะเป็นการช่วยเสริม SEO ให้กับเว็บไซต์ ทำให้เว็บไซต์ของคุณมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

2. การตรวจสอบและลบลิงก์ที่ไม่มีคุณภาพออกจากเว็บไซต์

ลิงก์ที่ไม่ดี ไม่มีคุณภาพ (Bad Links) คืออะไร

ลิงก์ที่ไม่มีคุณภาพ หมายถึง ลิงก์ที่เกิดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อพยายามเพิ่ม PageRank ให้กับเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว และอาจจะมาจากการสร้างลิงก์ขึ้นมาเองโดยไม่ใช่ลิงก์จากธรรมชาติ ซึ่งรวมไปถึงลิงก์ที่เข้าและออกจากเว็บไซต์ด้วย หากอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น ก็คือลิงก์ที่ทำผิดกฎของ Google นั่นเอง ลิงก์ที่ไม่ดีนั้นจะส่งผลทำให้เกิดการหักคะแนน PageRank จากเว็บไซต์ ซึ่งจะมีผลโดยตรงกับ Traffic ของเว็บไซต์ และอันดับการแสดงผลใน Google

เมื่อคุณทำ Link Building สิ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ ประเภทของลิงก์ว่าลิงก์ไหนคือลิงก์ที่มีคุณภาพ และลิงก์ไหนที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งลิงก์ที่ไม่มีคุณภาพอาจจะส่งผลกระทบต่อเว็บไซต์ของคุณได้โดยตรง  เช่น ลิงก์จาก PBN หรือ Blog แบบ Private รวมไปถึงการฟาร์มลิงก์ต่างๆ ในขณะเดียวกัน ลิงก์ที่ดี จะช่วยเรื่อง SEO ของเว็บไซต์และเพิ่ม Website Authority ได้อีกด้วย ตัวอย่างลิงก์ที่มีคุณภาพ เช่น ลิงก์จากเว็บไซต์ที่มี Ranking สูง หรือลิงก์จากเว็บไซต์ที่จัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกับเว็บไซต์ของคุณ

ปัจจุบันมีทั้งลิงก์ที่ดีและลิงก์ไม่ดีอยู่มากมาย แต่สิ่งที่สำคัญกว่าจำนวนลิงก์ที่ได้ หรือประโยชน์ต่อ SEO นั่นก็คือ การที่คุณทำให้เว็บไซต์มีคุณภาพและให้ข้อมูลที่มีประโยชน์กับผู้ใช้งานมากที่สุด

วิธีการลบลิงก์ที่ไม่ดี

เมื่อคุณสามารถจำแนกลิงก์ที่ไม่ดีได้แล้ว มาดูวิธีในการกำจัดลิงก์เหล่านี้กัน

  • อันดับแรก คุณควรเริ่มจากการค้นหาข้อมูลของเจ้าของเว็บที่เป็นลิงก์ที่ไม่ดีเหล่านี้ และติดต่อเข้าไปเพื่อให้เจ้าของเว็บช่วยลบลิงก์เหล่านี้ออกให้ โดยหากคุณไม่ได้รับการตอบกลับ ให้ไปดูข้อถัดไปได้เลย
  • คุณสามารถใช้วิธี Disavow ลิงก์ต่างๆเหล่านี้ที่กำลังลิงก์กลับมาที่เว็บไซต์ของคุณ โดยการทำ Disavow คือการที่คุณส่งคำขอไปที่ Google เพื่อให้มองผ่านลิงก์เหล่านี้ที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของคุณ และหากคำขอของคุณได้รับการอนุมัติ ลิงก์เหล่านี้จะไม่ถูกนับ และจะทำให้เว็บไซต์ของคุณไม่ถูกหักคะแนนนั่นเอง

วิธีการทำ Disavow Link

  1. เข้าไปที่ Google Disavow Tool
  2. เตรียม List ที่คุณต้องการทำ Disavow
  3. สร้าง List รายการลิงก์ที่ต้องการทำ Disavow โดยที่ใส่บรรทัดละ 1 ลิงก์
  4. Upload file นี้เข้าไปที่ Google’s Disavow Tool

หมายเหตุ การทำ Disavow นั้นควรทำเมื่อคุณมั่นใจ 100% แล้วว่าลิงก์ที่คุณมีอยู่นั้นเป็นลิงก์ที่ไม่ดี เพราะการทำ Disavow กับลิงก์ปกติ หรือลิงก์ที่มีคุณภาพไปนั้น จะส่งผลกระทบกับอันดับการแสดงผลใน Google ได้ทันที

3. การลบหรือการทำ Redirect สำหรับลิงก์ที่เสียไปแล้ว

ลิงก์เสียหมายถึง ลิงก์ในเว็บไซต์ของคุณที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือคุณได้ทำการลบไปแล้ว ซึ่งถ้าหากผู้ใช้งานเข้าไปที่ลิงก์เหล่านี้สิ่งที่พวกเขาจะเจอคือ Error 404 เช่นเดียวกับรูปด้านล่าง

หากคุณได้ทำ Site Audit ไปแล้ว คุณอาจจะพบว่า ลิงก์ในเว็บไซต์บางอันของคุณอาจจะเป็นลิงก์เสีย โดยคุณสามารถเช็คได้จาก Google Search Console หรือสามารถใช้เครื่องมือ Moz Pro ก็ได้เหมือนกัน (Moz Pro อาจจะมีค่าใช้จ่าย)

ลิงก์เสียที่คุณเจอนั้น อาจจะมีสาเหตุมาจากหลายเหตุผล เช่น

  • ใส่ URL ผิด
  • ลิงก์ที่กำลังจะเข้าถึงนั้นได้ถูกลบไปแล้ว
  • ลิงก์ที่เว็บไซต์ของคุณส่งออกไปที่เว็บไซต์อื่นซึ่งอาจจะถูกลบไปแล้ว
  • เกิดปัญหา Firewall ซึ่งปิดกั้นการเข้าถึงเนื้อหาในลิงก์นั้น

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ลิงก์เสียที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้ส่งผลดีต่อเว็บไซต์ของคุณแต่อย่างใด ดังนั้นคุณควรทำการแก้ไขหรือลบลิงก์เหล่านี้ออกจากเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งสามารถทำได้ไม่ยากด้วยวิธีเหล่านี้:

  • ลบ Anchor link ที่ผูกไว้กับข้อความ
  • แก้ไขจากลิงก์เดิมเป็นลิงก์ใหม่ที่ใช้งานได้
  • ทำการ Redirect จากลิงก์เก่าไปที่ลิงก์ใหม่ ดังนั้นหากมีผู้ใช้งานเข้าไปยังลิงก์เก่าที่ถูกลบไปแล้ว ผู้ใช้งานจะถูกส่งไปยังลิงก์ใหม่ทีมีการอัพเดทและสามารถเข้าถึงได้ทันที

4. การปรับปรุงรูปภาพ

การที่จะดึงดูดผู้ใช้งานให้ชอบเว็บไซต์ของคุณนั้น รูปภาพเป็นส่วนที่มีความสำคัญค่อนข้างมาก เพราะรูปภาพจะช่วยให้เข้าเนื้อหาและเห็นภาพได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งรูปเหล่านี้ยังช่วยในเรื่อง SEO อีกด้วย โดยหากมีการนำลิงก์ไปเผยแพร่หรือแชร์ต่อในโซเชียลมีเดีย คุณภาพของรูปที่คุณลงไปในเว็บไซต์นั้นสำคัญมาก

คุณควรทำการบีบอัดรูปให้มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากเพื่อเพิ่มความเร็วในการโหลดรูปภาพในเว็บไซต์ หากเว็บไซต์ไหนที่ใช้เวลาในการโหลดนานเพราะรูปภาพมีขนาดใหญ่อาจจะทำให้ผู้ใช้งานตัดสินใจเปลี่ยนไปเข้าเว็บไซต์อื่นที่โหลดได้เร็วกว่าแทน ซึ่งจากข้อมูลของ Google เรื่องนี้มีโอกาสเกิดขึ้นถึง 32% เลยทีเดียว

เว็บไซต์ที่ใช้เวลาในการโหลดรูปภาพนานนั้นมีโอกาสที่จะทำให้ Bounce Rate สูงขึ้น และมีผลอย่างมากกับผู้ที่ใช้งานผ่านมือถือ ดังนั้นควรทำให้เว็บไซต์โหลดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

สำหรับเว็บไซต์ที่ทำจาก WordPress จะมีปลั๊กอินหลายตัวที่ช่วยในเรื่องของการโหลดรูปภาพ ซึ่งจะทำให้เว็บไซต์โหลดเร็วขึ้นในภาพรวม

หลังจากปรับเรื่องความเร็วในการโหลดรูปแล้ว สิ่งที่ควรทำถัดมาคือการปรับ Image Alt Text ซึ่ง Alt Text จะช่วยในเรื่องการนำ Keyword ใส่เข้าไปในเว็บไซต์มากขึ้นและส่งผลดีกับ SEO อีกด้วย หากเว็บไซต์ของคุณเป็น Shopify ที่เน้นการดูแลและจัดการร้านค้าและสินค้า คุณสามารถใส่ Alt Text เข้าไปที่รูปสินค้าหรือรูปอื่นๆ ที่มีอยู่บนเว็บไซต์ได้เลย

5. การลบ Metadata ที่ซ้ำกัน

ทุก Title Tag และ Meta Description ไม่ควรจะซ้ำกัน เพราะนี่คือข้อความที่จะไปแสดงใน Google ยิ่งเว็บไซต์ของคุณมีหลายหน้าและหลายบทความ อาจมีโอกาสที่คุณจะตั้ง Meta Data ผิดพลาดและซ้ำกับลิงก์เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้คุณภาพของเว็บไซต์ลดลง

เมื่อคุณเข้ามาจัดการ SEO ของเว็บไซต์ การลบ Title และ Description ที่ซ้ำกันออกจากเว็บไซต์นั้นจะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับใน Google ได้ง่ายขึ้น 

คุณอาจจะใช้ Excel หรือ Google Sheet ในการใส่รายละเอียดลิงก์ที่มี Meta Data ซ้ำ ซึ่งคุณสามารถหาลิงก์เหล่านี้ได้จากการทำ Site Audit หลังจากนั้นอาจจะใช้เวลาสักหน่อยในการเข้ามาปรับและเปลี่ยนให้ Meta Data ไม่ซ้ำกัน แต่สิ่งที่ได้มานั้นคุ้มค่าสำหรับ SEO อย่างแน่นอน

Title Tag นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดสำหรับ On-Page SEO ดังนั้นคุณควรให้ความสนใจและพยายามทำ Title ให้ดีและไม่ซ้ำกัน พยายามใช้คำให้ครบ 65 ตัวอักษร และควรเริ่มจาก Keyword ที่คุณต้องการให้ติดอันดับขึ้นมาก่อนแล้วจบท้ายด้วยชื่อ Brand ของคุณ

Meta Description นั้นอาจจะไม่ได้ส่งผลมากนักต่ออันดับใน Google แต่มีผลกับค่า CTR ของหน้าเหล่านั้น เพราะเป็นเหมือนสรุปถึงสิ่งที่ผู้อ่านจะได้รับหากคลิกเข้ามาในเว็บไซต์ โดยการทำ Meta Description ที่ดีควรใช้ตัวอักษรประมาณ 155 ตัวอักษร และความสอดคล้องกับ Keyword ที่ใช้ใน Title Tag

6. การตรวจเช็คว่าสิ่งที่คุณทำไปทั้งหมดนั้นได้ผล

คุณควรหมั่นตรวจเช็คคุณภาพของเว็บไซต์อยู่เสมอ หากบางส่วนในเว็บไซต์ของคุณทำงานไม่มีประสิทธิภาพ อาจจะส่งผลทำให้ Bounce Rate นั้นสูงขึ้น เนื่องจากผู้ใช้งานออกจากเว็บไซต์ไปก่อนที่จะได้อ่านเนื้อหา และยังกระทบถึงอันดับการแสดงผลใน Google อีกด้วย

ดังนั้นคุณควรไล่ตรวจไปทีละหน้าของเว็บไซต์ว่ายังทำงานได้ดี  มีการตรวจเช็ค UX ต่างๆ ซึ่งอาจจะให้คนรู้จัก เพื่อน หรือลูกค้าเก่าช่วยเช็คว่ามีตรงไหนบกพร่องหรือไม่ โดยการทำแบบนี้จะช่วยให่คุณแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น

สรุป

คุณสามารถมองเว็บไซต์เหมือนบ้านหลังหนึ่ง หากคุณไม่ทำความสะอาดบ้านเลย รับรองว่าบ้านของคุณจะต้องโทรมลงแน่ๆ เว็บไซต์ของคุณก็เช่นกัน เว็บไซต์ที่ดีควรมีการปรับเปลี่ยนตามความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา โดยคุณสามารถใช้เครื่องมืออย่าง Google Analytic หรือ Moz เพื่อช่วยในการตรวจประสิทธิภาพของเว็บไซต์ให้อยู่ในสภาพที่ดีเสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เว็บไซต์ติดอันดับใน Google ได้ดียิ่งขึ้นในระยะยาว

สวัสดี เราชื่อ พีค มีความสนใจเรื่อง SEO มาตั้งแต่ตอนอายุ 20 สมัยเข้ามหาลัยใหม่ๆ เนื่องจากเราเรียนบริหารธุรกิจ จึงได้เรียนเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ และมองว่า SEO คือหนึ่งในศาสตร์และศิลป์ที่มีความอ่อนไหว น่าสนใจ และดูมีอะไรในตัวของมันเองดี คนที่ทำต้องรอคอยเป็น เหมือนฝึกให้เรารู้จักที่จะรอคอยได้ ก็เลยศึกษา ทดลอง มาโดยตลอด มันสนุกมากนะ ได้เห็นกราฟวิ่งขึ้นวิ่งลง เติบโตไปเรื่อยๆ เปรียบเสมือนกับชีวิตที่มีสีสัน มีจังหวะที่คอยสลับไปมานั่นเอง