มาทำความรู้จักกับ Meta Tag คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อ SEO

Meta tag เป็นส่วนที่ใช้ในการบอกข้อมูลสำคัญของหน้าเว็บไซต์ใก้กับเครื่องมือการค้นหา เพื่อให้ทราบว่าคอนเทนต์โดยรวมเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ซึ่งเเท็กนี้จะเป็นองค์ประกอบที่อยู่ในส่วนของ HTML เท่านั้น เพราะฉะนั้นในคู่มือนี้จะทำให้ทุกคนได้รู้จักกับ Meta Tag มากขึ้น ว่ามีลักษณะอย่างไร พร้อมกับการเรียนรู้วิธีใช้อย่างถูกต้อง

เนื้อหาภายในบทความนี้

Meta title

เป็นชื่อที่ใช้แสดงบนเว็บบราวเซอร์ โดยจะอยู่ในส่วนของด้านบนสุด (Title Bar) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น Headline ที่ถูกเขียนไว้ในรูปแบบ HTML Code เสมือนกับเป็นป้ายประกาศว่าเว็บไซต์ของคุณมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร

Meta-title-tags

Meta title มีความสำคัญอย่างไรต่อการทำ SEO

แน่นอนว่าชื่อมีความสำคัญต่อการให้ข้อมูลเชิงลึกให้กับผู้ที่ค้นหาเรื่องราวต่าง ๆ บนเครื่องมือการค้นหา เช่น Google โดยมีผลต่อการตัดสินใจว่าผู้ค้นหาจะคลิกเข้ามาภายในเว็บไซต์หรือไม่ ดังนั้นการใช้ชื่อที่น่าสนใจ ตรงประเด็น เเละมีประสิทธิภาพ จึงมีผลต่ออัตราการเข้าชม ส่งผลดีสำหรับการทำ SEO ของเว็บไซต์

เขียนอย่างไรให้น่าสนใจดึงดูดผู้คน

  • เขียน title tag ที่มีความเฉพาะเจาะจงในเเต่ละหน้าเพจของเว็บไซต์
  • ต้องสั้น กระชับ เเต่อ่านเเล้วเข้าใจง่าย
  • อย่าเขียนคลุมเครือต้องใช้คำที่สื่อความหมายชัดเจน
  • เเนะนำว่าเขียนเป็นประโยคสั้น ๆ หรือจะเป็นชื่อเฉพาะก็ได้
  • เขียนให้เชิญชวน ให้ผู้ค้นหาอยากคลิกเข้ามาในเว็บไซต์
  • ต้องตรงกับความต้องการในการค้นหาของผู้คนในโลกออนไลน์
  • ต้องมีคีย์เวิร์ดเเทรกอยู่
  • ไม่ควรยาวเกิน 60 ตัวอักษร

และนี่ก็เป็นเทคนิคการเขียน title tag ให้ดูน่าอ่าน ซึ่งหากใครอยากอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถคลิกอ่านได้ที่บทความนี้ “How to Craft the Perfect SEO Title Tag (Our 4‐Step Process)

วิธีเพิ่ม Title tag ในเว็บเพจสามารถทำได้อย่างไร

ซึ่งมีวิธีการที่ง่าย และไม่ยุ่งยาก เพียงแค่วางโค้ดที่ปรากฏด้านล่างนี้ลงในส่วน <head> ของเว็บเพจ

<title>This is the title of the page.</title>

หรือหากคุณกำลังใช้ WordPress ให้ติดตั้ง SEO plugin เช่น Yoast ซึ่งะมีตำแหน่งสำหรับการตั้ง title tag ในหน้าเพจ หรือในส่วนของ Post Editor

Yoast SEO

ซึ่งเครื่องมืออื่น ๆ ที่นอกเหนือจาก WordPress เช่น Squarespace และ Wix ก็มีฟังก์ชันในตัวที่คล้ายกัน

แนะนำวิธีการค้นหาและแก้ไขข้อผิดพลาดทั่วไปที่เกิดจากการใช้ Title tag

โดยส่วนใหญ่จะมีปัญหาหลักที่เกี่ยวกับการใช้แท็กชื่อเรื่อง 4 ประการ ดังนี้

  1. มีความยาวที่ไม่เหมาะสม : อาจจะมีชื่อยาวหรือสั้นไป โดยทาง Google ได้แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงชื่อที่ยาว เเละใช้คำฟุ่มเฟือยโดยไม่จำเป็น ซึ่งจะต้องเขียนให้กระชับและสื่อความหมายได้ดี 
  2. ม่มีเเท็กชื่อครบทุกหน้า : สิ่งสำคัญอย่าลืมใส่ Title tag ให้ครบทุกหน้าเพจของเว็บไซต์
  3. มีแท็กชื่อมากเกินไป : การใส่เเท็กนี้จะต้องมีเพียงแค่ 1 แท็ก ต่อ 1 หน้าเว็บไซต์เท่านั้น เนื่องจากว่าถ้ามีจำนวนมากจะทำให้เครื่องมือการค้นหาเเสดงเเท็กชื่อที่ผิดเพี้ยนไปได้
  4. ชื่อเรื่องที่ซ้ำกันหลายหน้าในหนึ่งเว็บไซต์ : .ในแต่ละหน้าแนะนำว่าควรมีชื่อที่สื่อความหมายจำเพาะ เเละเจาะจงต่อหน้านั้น ๆ เพื่อความชัดเจน ไม่คลุมเครือ

โดยหากคุณต้องการตรวจสอบสองปัญหาแรกที่อาจเกิดขึ้นได้ ต้องนำ URL ไปตรวจเช็คเชื่อมกับเครื่องมือฟรีอย่างเช่น SERPSim เป็นต้น 

หากไม่มีการปรากฏชื่อเรื่อง จะต้องเขียนเพิ่มลงไปใหม่

Title-empty

ซึ่งเมื่อปรากฏ pixel เป็นสีแดง หมายความว่ายาวเกินไป จะต้องย่อให้สั้นลง

Title too long

ถ้าต้องการตรวจสอบแท็กชื่อที่ซ้ำกัน และมีหลายแท็ก ให้รวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ของคุณและตรวจสอบโดบใช้ Ahrefs’ Site Audit จากนั้นไปที่ตรวจสอบ On-Page report เพื่อหาข้อผิดพลาดในส่วนของ “Multiple title tag”

Multiple title tags

การแก้ไขปัญหาแท็กซ้ำนี้สามารถทำได้โดยลบแท็กที่ไม่ต้องการออกไปจากหน้าเว็บนั้น ๆ และไปที่หน้ารายงานเนื้อหาซ้ำ “Duplicate Content Report” และมองหา title tag ที่มีข้อผิดพลาด โดยจะปรากฏคำว่า “Bad duplicate”

Duplicate content

เมื่อทำการลบแท็กซ้ำออกไปเเล้ว ให้เขียนชื่อใหม่ในหน้าเพจที่ได้รับผลกระทบ เพื่อแก้ไขการซ้ำกัน ไม่เพียงเท่านั้นการตรวจเช็ควิธีนี้ยังมีการรายงานในส่วนของเเท็กที่มีชื่อเรื่องยาวเกินไป สั้นเกินไป เเท็กหายไป หรือไม่มีเเท็กชื่อ เพื่อให้คุณเข้าไปแก้ไขให้เรียบร้อย

Title tag missing or empty

Meta description

.ในส่วนนี้เป็นคำอธิบายเมตาที่ใช้ในการสรุปเนื้อหาของเว็บไซต์หรือเพจของคุณว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ซึ่งเครื่องมือการค้นหาจะใช้สำหรับเป็นชุดตัวอย่างข้อมูลแสดงในผลการค้นหาให้กับผู้ใช้งาน

Meta description

Meta description มีความสำคัญอย่างไรต่อการทำ SEO

สำหรับส่วนนี้จะใช้ในการอธิบาย หรือแจ้งสรุปสั้น ๆ ให้ผู้ใช้งานเข้าใจว่าหน้าเพจนี้เกี่ยวข้องกับอะไร เพื่อให้มั่นใจได้ว่าหน้าเว็บนี้จะมีข้อมูลเเละคำตอบที่พวกเขาต้องการเจอ โดยเป็นเหมือนกับข้อความการขายเพื่อเชิญชวนผู้คนคลิกเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณนนั่นเอง

แต่อย่างไรก็ตามทาง Google ได้กล่าวว่าในส่วนของ Meta description นี้ ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักต่อการจัดอันดับของเว็บไซต์ เพียงจะช่วยให้เพิ่มอัตราการเข้าชมได้ก็เท่านั้นเอง

เขียนอย่างไรให้น่าสนใจและดึงดูดผู้คน

  • ในแต่ละหน้าจะต้องมีคำอธิบายที่ไม่ซ้ำกัน
  • สรุปเนื้อหาได้ตรงประเด็น ครบถ้วน ถูกต้อง
  • หลีกเลี่ยงการเขียนคำอธิบายทั่ว ๆ ไป ต้องจำเพาะเจาะจง
  • แนะนำให้เขียนอยู่ในรูปแบบของประโยค
  • เขียนให้ดึงดูด เชิญชวนผู้คนให้คลิกเข้ามาอ่าน
  • ตรงกับความต้องการในการค้นหาของผู้คน
  • ต้องมีคีย์เวิร์ดที่เหมาะสมอยู่ในส่วนของคำอธิบาย
  • แนะนำว่าไม่ควรมีความยาวเกิน 160 ตัวอักษร

ซึ่งนี่ก็เป็นแนวทางในการเขียน Meta description ให้ดูดี อ่านเเล้วเข้าใจง่าย ได้ใจความ แต่หากใครที่อยากศึกษาหลายละเอียดการเขียนเพิ่มเติมสามารถเข้าอ่านได้ที่บทความนี้เลย”How to Efficiently Write the Perfect Meta Description

วิธีเพิ่ม Meta description ในเว็บเพจสามารถทำได้อย่างไร

คุณสามารถเพิ่มได้ง่าย ๆ เพียงแค่นำโค้ดด้านล่างนี้ไปวางในส่วน <head> ของเว็บเพจ

<meta name="description" content="Place the meta description text here.">

หรือหากคุณกำลังใช้ WordPress สามารถเพิ่มได้ง่าย ๆ โดยใช้ Yoast Plugin

Meta description - Yoast plugin SEO

ซึ่งเครื่องมืออื่น ๆ ที่นอกเหนือจาก WordPress เช่น Squarespace และ Wix ก็มีฟังก์ชันในตัวที่คล้ายกัน

แนะนำวิธีการค้นหาและแก้ไขข้อผิดพลาดทั่วไปที่เกิดจากการใช้ Meta description

ปัญหาที่พบบ่อยสำหรับการใช้ Meta description มีทั้งหมด 4 ประการ ซึ่งคล้าย ๆ กับปัญหาที่พบได้ในการใช้ Title tag ดังนี้

  1. มีความยาวที่ไม่เหมาะสม : จริง ๆ แล้ว Google ได้กล่าวว่าไม่มีการกำหนดความยาวของการเขียน Meta description แต่อย่างไรก็ตามการแสดงตัวอย่างข้อมูลผลการค้นหาจะถูกตัดความยาวออก เพื่อให้พอดีกับความกว้างของอุปกรณ์ที่ผู้ค้นหากำลังใช้งานอยู่ เพราะฉะนั้นอย่าเขียนยาวเกินไป
  2. ไม่มีคำอธิบายครบทุกหน้า : ต้องตรวจเช็คให้ละเอียดว่าทุกหน้าเพจในเว็บไซต์ของคุณมีคำอธิบายเมตาครบถ้วน
  3. มีคำอธิบายเมตามากเกินไป : คำอธิบายเมตาหลายรายการในหน้าเดียว มากกว่าหนึ่งแท็กอาจทำให้เครื่องมือค้นหาสับสนได้
  4. มี Meta description ที่ซ้ำกันหลายหน้าในหนึ่งเว็บไซต์ : Google ระบุอย่างชัดเจนว่า “ต้องแยกความแตกต่างของคำอธิบายในแต่ละหน้าให้แตกต่างกันและชัดเจน”

โดยหากคุณต้องการตรวจสอบสองปัญหาในข้อแรกที่อาจเกิดขึ้นได้ สามารถตรวจโดยใช้เครื่องมือฟรีอย่างเช่น SERPSim เป็นต้น หรือใช้ Yoast ก็ได้

ไม่เพียงเท่านั้นยังสามารถรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ และทำการตรวจสอบด้วย  Ahrefs’ Site Audit ไปที่ On-Page report ทำการเช็คข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกหน้าของเว็บไซต์

On page report to check meta description problems

ตรวจสอบการซ้ำกันของ Meta description ของแต่ละหน้า และทำการแก้ไขวิธีเดียวกันกับแท็กชื่อเรื่อง

Meta robots

เป็นแท็กที่ใช้ในการส่งสัญญาณให้กับเครื่องมือค้นหารู้ว่าควรรวบรวมข้อมูลหน้าเว็บของคุณหรือไม่ และต้องรวบรวมอย่างไร

ลักษณะโครงสร้างของแท็กนี้:

<meta name=”robots” content="index, follow">

Meta robots มีความสำคัญอย่างไรต่อการทำ SEO 

การใช้แอตทริบิวต์ที่ไม่ถูกต้องในแท็กนี้ อาจจะส่งผลร้ายแรงต่อการแสดงไซต์ของคุณในผลการค้นหา ดังนั้นบอกเลยว่ามีผลต่อ SEO อย่างมากสำหรับแท็กนี้ ซึ่งมีหน้าที่ดังนี้

  • index : ซึ่งจะส่งสัญญาณให้กับบอทในการจัดทำดัชนีเว็บไซต์
  • noindex : จะแจ้งให้บอทรับรู้ว่าไม่ต้องจัดทำดัชนีหน้าเว็บเพจนี้
  • follow : ใช้ในการบอกให้บอทรวบรวมข้อมูลข้อมูลลิงก์บนหน้าเพจ เเละต้องมีการรับรองด้วย
  • nofollow : ใช้ในการบอกให้บอทไม่ต้องรวบรวมข้อมูลข้อมูลลิงก์บนหน้าเพจ เเละต้องไม่ต้องมีการรับรอง

โดยสามารถใช้โค้ดดังล่างนี้ในการกำหนดแท็ก

<meta name=”robots” content="noindex, nofollow">
<meta name=”robots” content="index, follow">
<meta name=”robots” content="noindex, follow">
<meta name=”robots” content="index, nofollow">

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ <meta name=”robots” content=”none”> ซึ่งมีผลลัพธ์เช่นเดียวกันกับ noindex, nofollow 

วิธีการใช้แท็ก Meta robots ให้ถูกต้องและเหมาะสม

  • จะใช้แท็กนี้เมื่อต้องการจำกัดวิธีการที่ Google จะรวบรวมข้อมูลหน้าเว็บไซต์ของคุณเท่านั้น
  • อย่าบล็อกหน้าเว็บที่มีแท็ก meta robots ในไฟล์ robots.txt คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการไฟล์ robots.txt ซึ่งเป็นไฟล์ที่ใช้ในการควบคุมและแสดงถึงสิทธิ์การเข้าถึงของเครื่องมือการค้นหา และการจัดทำดัชนีเว็บไซต์

ซึ่งหากใครอยากอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการใช้แท็ก Meta robot สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้ Robots Meta Tag & X‑Robots-Tag: Everything You Need to Know

วิธีเพิ่ม Meta robot tag ในเว็บเพจสามารถทำได้อย่างไร

สำหรับแท็กนี้มีวิธีการเพิ่มที่ง่ายแสนง่าย เพียงแค่วางโค้ดที่ให้ไปด้านบนลงในส่วน <head> ของเว็บเพจของคุณ

ส่วนใน WordPress ใช้การตั้งค่าขั้นสูงของ Yoast เพื่อตั้งค่า Meta robot tag ได้เลย

Yoast’s advanced settings to set meta robots tags

และแน่นอนว่า CMS อื่น ๆ นอกเหนือจาก WordPress ก็มีตัวเลือกสำหรับการตั้งค่าแท็กนี้ที่คล้าย ๆ กัน

วิธีการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดทั่วไปสำหรับ Meta robot

ซึ่งข้อผิดพลาดที่พบบ่อย ๆ จะมีสามประการ ดังนี้

  1. หน้า Noindex ถูกบล็อกโดย robots.txt ซึ่งป้องกันไม่ให้ Google เห็นแท็ก noindex robots ดังนั้นจะเกิดความเข้าใจผิดเเละจัดทำดัชนีหน้าเว็บเพจนี้ได้
  2. Rogue meta noindex จะเป็นการป้องกันไม่ให้ Google จัดทำดัชนีหน้าเว็บ เพราะฉะนั้นจะส่งผลต่อการเข้าชมแบบออร์แกนิค
  3. Rogue meta nofollow วิธีนี้จะป้องกันไม่ให้ Google รวบรวมข้อมูลลิงก์ในหน้านั้น ซึ่งอาจขัดขวางการค้นพบและจัดทำดัชนีเนื้อหาที่สำคัญได้

โดยปัญหาเหล่านี้สามารถตรวจสอบได้โดยการใช้ Google Search Console โดยให้ดูที่ “Coverage report” ซึ่งเป็นการรายงานเเบบครอบคลุมของเว็บไซต์

หากต้องการค้นหาหน้าที่จัดทำดัชนีซึ่งอาจตั้งค่าเป็น meta robots noindex ให้กดแท็บ “Valid with warnings” แล้วดูที่คำเตือน “Indexed, though blocked by robots.txt” 

Indexed, though blocked by robots.txt

ต่อมาทำการตรวจสอบแหล่งที่มาของโค้ดในหน้าเหล่านี้ เพื่อหาแท็ก meta robots noindex ลบแท็ก robots.txt block หรือ meta robots noindex 

หากต้องการค้นหา meta robots noindex ให้กดที่ “Excluded” แล้วมองหาหน้าที่เป็น “Excluded by ‘noindex’ tag” 

Excluded by ‘noindex’ tag

จากนั้นให้ทำการเอา meta robot tag ออกจากหน้าเว็บที่ต้องจัดทำดัชนี 

หากต้องการค้นหาหน้าเว็บที่มี meta robots nofollow tags ให้ทำการรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์และตรวจสอบด้วย Ahrefs’ Site Audit และไปที่การรายงานความสามารถในการจัดทำดัชนี (Indexability report) มองหาคำเตือน “Nofollow page” 

Nofollow page

นำแท็กออก แต่หากคุณไม่ต้องการให้เครื่องมือค้นหารวบรวมข้อมูลลิงก์ในหน้านั้น ก็ไม่จำเป็นต้องเอาแท็กออกก็ได้

Meta viewport

สำหรับแท็กนี้ใช้ในการกำหนดพื้นที่ที่มองเห็นได้ของหน้าเว็บไซต์ เพื่อแนะนำให้เบราว์เซอร์เข้าถึงวิธีการแสดงหน้าเว็บให้เหมาะสมบนหน้าจอของอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน เช่น เดสก์ท็อป เเท็บเล็ต และมือถือ เป็นต้น 

Meta viewport มีความสำคัญอย่างไรต่อการทำ SEO

ซึ่ง Google ได้กล่าวว่า “การมีอยู่ของแท็กนี้ จะเป็นการบ่งบอกให้ Google ทราบว่าหน้านี้เหมาะสำหรับกับการแสดงผลบนมือถือ” โดยเรื่องนี้มีความสำคัญมาก เพราะมีการจัดอันดับเว็บไซต์ที่เหมาะสำหรับการใช้งานบนมือถืออักด้วย เนื่องจากปัจจุบันผู้ใช้งานมักค้นหาสิ่งต่าง ๆ บนมือถือมากกว่าอุปกรณ์อื่น ๆ และนี่ก็คือการเปรียบเทียบลักษณะของหน้าเว็บที่มีและไม่มี Meta viewport แสดงผลบนหน้าจอมือถือ 

Meta viewport

จะเห็นได้ว่าหน้าเว็บบนมือถือที่มี Meta viewport จะมีการแสดงผลที่ดีกว่าหลายเท่า ซึ่งผู้ใช้งานหลายคนมักจะกดย้อนกลับทันทีเมื่อโหลดหน้าเว็บที่เป็นเวอร์ชันเดสก์ท็อปบนมือถือ เพราะใช้งานไม่สะดวก อ่านยาก ส่งผลให้ความประทับใจต่อการใช้งานลดต่ำลง  และยังแสดงให้เห็นอีกว่าเว็บมีประสิทธิภาพไม่ดีพอต่อการใช้งาน เนื่องจากมีอัตราการตีกลับที่สูง

สิ่งที่ควรทราบ

Meta viewport ไม่ใช่สิ่งเดียวที่จำเป็นในการสร้างเว็บไซต์ให้เหมาะสำหรับมือถือ แต่ยังต้องมีการตอบสนองที่รวดเร็ว เสถียร เมื่อใช้งานเว็บบนมือถืออีกด้วย

วิธีการใช้ Meta viewport ให้ถูกต้องและเหมาะสม

  • แนะนำว่าควรใช้แท็กนี้บนหน้าเว็บไซต์ทั้งหมด เนื่องจากการผู้คนชอบค้นหาข้อมูลต่าง ๆ บนมือถือ
  • แนะนำว่าควรใช้แท็ก “Standard” สำหรับการสร้างเว็บให้เหมาะสมกับการใช้งานบนมือถือหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่อื่น ๆ 

วิธีเพิ่ม Meta viewport tag ในเว็บเพจสามารถทำได้อย่างไร

การเพิ่มแท็กนี้ไม่ยากเลยเพียงแค่วางโค้ดที่ให้ด้านล่างนี้ลงในส่วน <head> ของเว็บเพจของคุณ

<meta name="viewport" content="width=device-width, initial-scale=1.0">

โปรดทราบว่าแอตทริบิวต์เนื้อหาไม่จำเป็นต้องตั้งค่าเป็น width=device-width, initial-scale=1.0 แต่นี่เป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด และดีที่สุดสำหรับเว็บไซต์

วิธีการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดทั่วไปสำหรับ Meta viewport

เนื่องจาก CMS และธีมส่วนใหญ่ตั้งค่าวิวพอร์ตโดยอัตโนมัติ จึงไม่ค่อยมีปัญหาเกี่ยวกับแท็กนี้ แต่อย่างไรก็ตามคุณสามารถตรวจสอบปัญหาได้โดยใช้  Mobile Usability ใน Google Search Console 

วิธีนี้จะแสดงหน้าเว็บที่มีปัญหาการใช้งานบบนมือถือหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ หากปัญหานี้มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการไม่มีเมตาแท็กวิวพอร์ต ก็จะแสดงข้อผิดพลาด “ไม่ได้ตั้งค่าวิวพอร์ต (Viewport not set)”

Viewport not set

การแก้ปัญหาทำไ้ด้โดยเพิ่มเเท็ก Meta viewport ลงไป เท่านั้น เว็บไซต์ก็จะมีการแสดงผลที่ดี เเละเหมาะสำหรับการใช้งานบนมือถือ

ส่วนสำคัญ

การเพิ่ม Meta viewport จะไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดจากการแสดงผลบนมือถือโดย CSS ที่ไม่ได้เขียนกำหนดความกว้างการแสดงผลจอที่แตกต่างกัน หากการเพิ่มแท็กนี้ลงไปไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ต้องปรึกษานักพัฒนาซอฟต์แวร์

หากไม่ได้ใช้ Google Search Console ต้องทำอย่างไร?

แท็กนี้จะถูกตั้งค่าอยู่ในส่วนของ Site level ของเว็บไซต์ และมักอยู่ในรูปแบบฮาร์ดโค้ดของธีม แนะนำว่าให้ใช้เครื่องมือทดสอบความเหมาะกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ของ Google (Google’s Mobile-Friendly Test tool) เพื่อตรวจสอบแท็กเมตาวิวพอร์ตในหน้าแรกของคุณ

Page is not mobile friendly

หากแท็กนี้ไม่ได้อยู่ในหน้าแรกของคุณ แสดงว่าอาจจะไม่มีในหน้าอื่น ๆ ของเว็บไซต์เช่นเดียวกันก็เป็นไปได้ แต่อย่างไรก็ตามถ้าแนะนำว่าควรใช้ Google Search Console ในการตรวจสอบจะมีประสิทธิภาพกว่า

Meta charset

โดยแท็กนี้จะใช้ในการตั้งค่าการเข้ารหัสอักขระสำหรับหน้าเว็บเพจ พูดง่าย ๆ ว่าแท็กนี้จะส่งสัญญาณให้กับเบราว์เซอร์ว่าข้อความบนหน้าเว็บของคุณควรจะมีการแสดงผลอย่างไร โดยปกติแล้วจะมีชุดอักขระที่แตกต่างกันหลายร้อยชุด แต่จะมีเพียงแค่สองชุดที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด คือ

  • UTF-8 – การเข้ารหัสอักขระสำหรับ Unicode
  • ISO-8859-1 – การเข้ารหัสอักขระสำหรับอักษรละติน

ซึ่งหากคุณอยากดูชุดอักขระทั้งหมดสามารถคลิกดูได้ที่นี่

Meta charset มีความสำคัญอย่างไรต่อการทำ SEO

หากใช้ชุดการเข้ารหัสอักขระที่ไม่ถูกต้อง อาจจะส่งผลให้เกิดการแสดงอักขระที่ผิดเพี้ยนไปในเบราว์เซอร์ ยกตัวอย่างเช่นภาพด้านล่างนี้

Using the wrong character encoding

โดยหากมีอักขระที่แสดงผิดปกติไปจะทำให้ผู้ใช้งานมีประสบการณ์ไม่ดีต่อเว็บไซต์ของคุณ และอาจส่งผลให้เว็บไซต์ถูกมองว่าไม่มีคุณภาพ รวมทั้งยังเกิดปัญหาทางด้าน SEO ตามมาหลายประการ เช่น

  • ผู้คนไม่ต้องการที่จะเข้ามายังเพจของคุณ หรือไม่อยากเชื่อมต่อมายังเพจ
  • มีอัตราตีกลับ (Bounce Rate) สูง เวลาการใช้งานบนหน้าเว็บไซต์ต่ำ 
  • เครื่องมือค้นหา เช่น Google ไม่เข้าใจเนื้อหาในเว็บว่าเกี่ยวข้องกับอะไร

ดังนั้นการเลือกใช้ชุดอักขระจึงมีผลต่อการทำ SEO เป็นอย่างมาก โดยทางกูเกิ้ลได้แนะนำว่าให้ใช้ Unicode/UTF-8 จะมีประสิทธิภาพดีที่สุด ซึ่งถ้าหากเป็นไปได้ควรใช้ชุดนี้

วิธีการใช้แท็ก Meta charset ให้ถูกต้องและเหมาะสม

  • ต้องมีแท็กนี้บนหน้าเว็บไซต์ทุกหน้า
  • แนะนำว่าควรเลือกใช้ UTF-8 จะดีที่สุด
  • ใช้ไวยากรณ์ที่ถูกต้อง และเหมาะสำหรับเวอร์ชันของ HTML

วิธีเพิ่ม Meta charset tag ในเว็บเพจสามารถทำได้อย่างไร

นำโค้ดด้างล่างนี้ ใส่ลงไปในส่วน <head> ของเว็บไซต์ในแต่ละหน้า

<meta charset="UTF-8">

หากคุณกำลังใช้เวอร์ชัน HTML4 หรือเป็นเวอร์ชันที่ต่ำกว่านั้น แนะนำว่าให้ใช้โค้ดนี้แทน

<meta http-equiv="Content-Type" content="text/html;charset=UTF-8">

หรือหากไม่แน่ใจว่ากำลังใช้ HTML เวอร์ชันใด ต้องตรวจสอบก่อน ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบ Source Code โดยถ้ามี <!doctype html> แสดงว่าเป็นเวอร์ชัน HTML5

วิธีการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดทั่วไปสำหรับ Meta charset

เว็บไซต์ส่วนใหญ่จะใช้การเข้ารหัสอักขระ UTF-8 หรือ ISO-8859-1 ดังนั้นคุณต้องตรวจสอบว่าหน้าต่าง ๆ บนเว็บไซต์ของคุณได้ใช้การเข้ารหัสนี้หรือยัง การตรวจสอบใช้ Ahrefs’ Site Audit ไปที่ Page Explorer จากนั้นใช้การตั้งค่าต่อไปนี้

Don’t use UTF-8 encoding

ถ้าเป็นไปได้ ให้เปลี่ยนการเข้ารหัสเป็น UTF-8 โดยเป็นการแก้ไขเบื้องต้น แต่อย่างไรก็ตามแนะนำว่าจะต้องใส่ Meta charset ให้ครบทุกหน้า เพื่อป้องกันปัญหานี้

Meta refresh redirect

สำหรับแท็กนี้จะใช้ในการส่งสัญญาณให้เบราว์เซอร์เปลี่ยนเส้นทางผู้ใช้งานไปยัง URL อื่น ๆ ในระยะเวลาที่กำหนด

Meta refresh redirect มีความสำคัญอย่างไรต่อการทำ SEO

จริง ๆ แล้วแท็กนี้กูเกิ้ลแนะนำว่าไม่ควรใช้เนื่องจากมีเหตุผลหลายประการ เช่น

  • ไม่รองรับการใช้งานทุกเบราว์เซอร์
  • อาจทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสน และข้อกังวลด้านความปลอดภัย เมื่อถูกเปลี่ยนเส้นทาง
  • ต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนปลายทางของหน้าเว็บไซต์

และยังมีปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่ทาง John Mueller ได้ทวีตเอาไว้

Canonical-news-post-on-tweet

วิธีการใช้แท็ก Meta refresh redirect ให้ถูกต้องและเหมาะสม

  • แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยง ถ้าไม่จำเป็นตองใช้แท็กนี้
  • หรือหากต้องใช้ควรใช้เป็น 301 redirect แทน

วิธีเพิ่ม Meta refresh redirect ในเว็บเพจสามารถทำได้อย่างไร

หากจำเป็นต้องการใช้แท็กนี้จริง สามารถนำโค้ดด้านล่างนี้ ไปวางไว้ในส่วน <head> ของเว็บเพจ

<meta http-equiv="refresh" content="5;url="https://example.com/">

ซึ่งการเปลี่ยนเส้นทางนี้หน้าเว็บไซต์จะต้องใช้เวลาสักครู่ เพื่อนำผู้ใช้งานไปยังหน้าเว็บเป้าหมาย

วิธีการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดทั่วไปสำหรับ Meta refresh redirect

อย่างที่กล่าวไปว่าไม่จำเป็นต้องมีแท็กนี้ เนื่องจากไม่ส่งผลดีต่อเว็บไซต์ แนะนำว่าควรลบออกหากเป็นไปได้

ซึ่งเมื่อคุณต้องการค้นหาแม็กนี้ ให้รวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ด้วยการใช้  Ahrefs’ Site Audit เข้าตรวจสอบที่ “Internal page report” ค้นหาข้อผิดพลาด ซึ่งจะปรากฏคำเตือนว่า  “Meta refresh redirect” 

Meta-refresh-redirect-error

เมื่อค้นหาเจอแล้วให้ใช้ 301 หรือ 302 redirects แทน แต่เมื่อตรวจสอบแล้วไม่พบแท็กนี้ให้ตรวจดูว่ามี Canonical tag หรือไม่ ทำการตรวจสอบว่ามีการอ้างอิงของเเท็กบัญญัตินี้ และมีการใช้งานที่ถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่

Meta keyword ควรใช้หรือไม่

สำหรับเมต้าคีย์เวิร์ด Google ได้บอกว่าไม่ได้ใช้สำหรับการจัดอันดับเว็บไซต์ตั้งแต่ปี 2009 เนื่องจากว่ามักจะมีการใช้คีย์เวิร์ดที่ไม่เกี่ยวข้อง และใช้ในทางที่ผิดบ่อยครั้ง จึงส่งผลให้ Google มองว่าเมตาแท็กนี้ไม่ค่อยมีประโยชน์ จึงถูกตัดออกจากการเป็นปัจจัยพิจารณาการจัดอันดับเว็บไซต์

แต่อย่างไรก็ตาม Bing ประกาศในปี 2011 ว่าพวกเขาได้ใช้แท็กนี้เป็น Spam signal ดังนั้นหากเว็บไซต์ของคุณเต็มไปด้วยคีย์เวิร์ดอาจจะส่งผลดีการแสดงผลการค้นหาใน Bing

หากคุณต้องการตรวจสอบว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นมีแท็กนี้หรือไม่ ให้ไปที่การตรวจสอบของ  Ahrefs’ Site Audit และไปที่ “Page Explorer”

Meta keywords sa

ลบ meta keywords tag ออกจากหน้าเพจที่ตรงกัน เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ “Meta Keywords: What Are They and Should You Use Them?

สรุป

สำหรับการใช้งาน Meta tag ไม่ได้มีความซับซ้อน หรือยุ่งยากอะไรมากมาย สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย ซึ่งการศึกษาและนำแท็กเหล่านี้มาใช้งานกับเว็บไซต์ของคุณ จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดทางด้าน SEO เพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ให้สูงขึ้น รวมทั้งยังเพิ่มปริมาณการเข้าชมได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นใครที่กำลังทำเว็บไซต์อยู่แล้วอยากให้เว็บติดอันดับบนหน้าแรกของ Google แนะนำต้องอ่านบทความนี้เลย รับรองว่าผลลัพธ์ทางด้าน SEO จะต้องออกมาดีอย่างแน่นอน

สวัสดีค่ะทุกคน ชื่อหมูนะคะ เราเป็นอีกคนหนึ่งที่ชื่นชอบงานเขียนมาก ๆ ค่ะ เพราะงานเขียนเปรียบเสมือนกับการสร้างโลกในจินตนาการของเราขึ้นมา โลกใบนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข ความสนุกสนาน เเละความรู้มากมายที่เราสามารถผจญภัยไปได้เเบบไม่มีลิมิต มาท่องโลกของตัวหนังสือไปพร้อมกันนะคะ