เราควรจะทำ Disavow Backlink เมื่อไหร่และอย่างไร

สำหรับบทความนี้ เราจะลงรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นการทำ Disavow Link ด้วยเครื่องมือของ Google รวมไปถึงการดูว่าเมื่อไหร่ที่เราควรทำและไม่ควรทำ และสรุปข้อดีข้อเสียกัน

อันดับแรก จะขอเกริ่นเกี่ยวกับเครื่องมือ Disavow ซึ่งถูกปล่อยออกมาเมื่อปลายปี 2012 สู่โลกของ SEO เป็นครั้งแรก โดยในเวอร์ชั่นแรกนั้นแตกต่างจากเวอร์ชั่นในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง การตรวจจับ Link-Spam ที่เกิดจากการอัพเดท Penguin ของ Search engine นั้นยังเป็นสิ่งที่ใหม่มากๆ รวมไปถึงการทำ Manual Action ด้วย ซึ่งหลังจากการอัพเดท Penguin ของทาง Google นั้น เว็บไซต์หลายเว็บที่ได้ใช้วิธีการทำแบบ Manual Action ได้ถูกหักคะแนนจาก Search Engine และทำให้ตกอันดับไปหรืออาจจะหายไปเลยในบางกรณี

ซึ่งวิธีการแก้ไขที่เร็วที่สุดสำหรับปัญหานี้คือ การนั่งไล่ทำ Disavow Link ที่ไม่มีคุณภาพและในบางครั้งจะต้องประสานงานกับพนักงาน Google เพื่อให้เข้ามาช่วยแก้ไขในเรื่องนี้อีกด้วย

นอกจากนี้หากเว็บไซต์ไหนก็ตามที่โดนเตือนเรื่องลิงก์ไม่มีคุณภาพ จะได้รับข้อความบอกชัดเจนถึงขั้นตอนในการลบลิงก์เหล่านี้ ซึ่งสามารถใช้โปรแกรม Disavow ในการลบลิงก์ที่ไม่มีคุณภาพออกจากเว็บไซต์ได้

แต่ในปัจจุบัน มีโอกาสน้อยมากๆ ที่จะได้รับข้อความแจ้งเตือนพร้อมบอกว่าให้ลบลิงก์ที่ไม่มีคุณภาพออก ดังนั้นถ้าหากอยู่ดีๆเว็บไซต์ของคุณมี Traffic ลดลง คุณจะไม่รู้เลยว่าเกิดจากลิงก์ที่ไม่มีคุณภาพหรือเกิดจากสาเหตุอื่น ในขณะเดียวกัน Traffic ของคุณอาจจะดีดเพิ่มกลับขึ้นมาโดยที่ไม่ต้องแก้ไขอะไรเลย เนื่องจากการอัพเดทในควอเตอร์ถัดไปจาก Google

เราควรจะทำ Disavow หรือไม่ในปี 2023

Traffic การเข้าเว็บไซต์ลดลง

ถ้าหากเว็บไซต์ของคุณเจอปัญหา Traffic ลดลง แต่คุณก็ไม่ได้รับข้อความให้ทำการ Disavow คุณยังควรที่จะทำมันหรีอไม่

มีข้อมูลจากทาง Google ในปี 2020 โดยคุณ John Mueller ว่า ถึงแม้ว่าคุณทำการ Disavow ให้กับเว็บไซต์แล้ว Traffic กลับมา แต่นั่นไม่ได้แปลว่าการทำ Disavow นั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำ โดยคุณ John Mueller กล่าวว่า “อาจจะมีส่วนบ้างแต่ไม่ใช่เหตุผลหลักที่ Traffic ลดลงไป”

ซึ่งทาง Google เชื่อว่า Search Engine นั้นฉลาดพอที่จะมองข้ามลิงก์ที่ไม่มีคุณภาพ หากตรวจพบซึ่งทำให้คุณไม่จำเป็นต้องไปนั่งทำ Manual Action อีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากคุณพบว่า Traffic เว็บไซต์ของคุณลดลง สิ่งแรกที่ควรทำคือการตรวจดู Backlink ต่างๆที่คุณทำมาว่า มีลิงก์ไหนที่น่าสงสัยหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ทุกเว็บไซต์จะต้องมีลิงก์ที่ไม่มีคุณภาพอยู่ในนั้นด้วย แต่คุณควรจะให้ความสนใจกับสิ่งนี้มากน้อยเพียงใด และมันมีผลกับเว็บไซต์ของคุณขนาดไหน สำหรับบทความนี้ ทาง Moz มีตัววัดที่เรียกว่า Spam score ซึ่งค่านี้จะเป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนสำหรับการทำ Disavow มาฝากกัน 

การทำ Disavow แบบเชิงรุก

หากคุณกำลังสงสัยอยู่ว่า เว็บไซต์ของคุณนั้นมีลิงก์ไหนที่คุณต้องกำจัดมันออกหรือไม่ คุณอาจจะเริ่มจากการตรวจเชิงรุก โดยไล่ดูลิงก์ต่างๆได้ แต่อย่าพึ่งไปลบลิงก์ไหนออกไปหากยังไม่ชัวร์ว่าลิงก์นั้นไม่มีคุณภาพจริงหรือไม่ เพราะถ้าหากลบผิดขึ้นมา อาจจะทำให้ Traffic ของคุณอาจจะลดฮวบได้ 

แล้วคุณควรจะ Disavow Link แบบไหนดี

วิดีโอด้านล่างจาก Whiteboard Friday ได้อธิบายไว้อย่างละเอียด

What Links to Target with Google’s Disavow Tool – Whiteboard Friday

สรุปจากวิดีโอเกี่ยวกับวิธีการตรวจคร่าวๆ ดังนี้:

  • สามารถใช้ Spam Score เพื่อตรวจดูลิงก์ที่น่าจะมีปัญหาจริงๆ
  • อาจจะลองเอาลิงก์ทั้งหมดไปใส่ใน Excel แล้วลองตรวจเช็คดูว่า ลิงก์เหล่านี้เชื่อมกับเว็บไซต์ของคุณเกิน 10,000 ครั้งหรือไม่ ซึ่งถ้าหากเจอ คุณอาจจะต้องเริ่มลบลิงก์ที่ขึ้นว่า “No follow”, “Expire”, “404”
  • ลองดูว่า ลิงก์ที่เจอนั้น เจ้าของเว็บไซต์เขาสร้างขึ้นมาเพราะอะไร ถ้าหากเว็บไซต์นั้นเจอปัญหาเรื่องความปลอดภัย คุณควรรีบลบลิงก์เหล่านั้นออกจากเว็บไซต์ทันที

หากคุณได้ลิงก์ที่คุณต้องการที่จะทำ Disavow แล้ว สามารถไป Step ต่อไปได้เลย

วิธีการเช็ค Disavow file

คุณสามารถ Download ไฟล์สำหรับการทำ Disavow ได้ หากคุณมีการติดตั้ง Google Search Console ไว้ในเว็บไซต์  ซึ่งการเข้าไปตรวจเป็นเรื่องที่ควรทำ เพราะจะได้ทราบว่าคุณมีลิงก์อะไรที่ไม่ดีอยู่ในเว็บไซต์ของคุณบ้างหรือไม่ โดยคุณสามารถใช้เครื่องมือตัวนี้ และเลือกเว็บไซต์ของคุณจาก Dropdown ซึ่งจะต้องใส่ชื่อเว็บไซต์เต็ม เช่น https://thekalling.com แทนที่จะใส่แค่ thekalling.com

คุณสามารถลบ Link จาก Disavow ได้หรือไม่

ถ้าหากคุณตรวจเจอเว็บในไฟล์ Disavow แต่มันไม่ควรจะอยู่ในนั้น คุณสามารถลบลิงก์ออกจากไฟล์และอัพโหลดกลับเข้าไปใน Search Console ได้เลย อ้างอิงจากคำตอบใน Twitter ของคุณ John Mueller

คุณจะสร้างไฟล์ Disavow ได้อย่างไร

ไฟล์ Disavow นั้นเป็นไฟล์ Text ธรรมดา ซึ่งเป็นได้ทั้ง .txt และ .csv แต่ในแต่ละบรรทัดจะต้องประกอบได้ด้วยอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  • ลิงก์ที่ต้องการ Disavow เช่น https://example.com/dodgy
  • Disavow domain หรือ ทุกลิงก์จาก Domain นั้นเลย เช่น domain:example.com
  • Comment ซึ่งทาง Google bot จะข้ามสิ่งเหล่านี้ไป เพียงแต่ว่า Comment จะมีประโยชน์ต่อคนอื่นที่เข้ามาทำงานในไฟล์นี้ เช่น #New disavows 2021-02-01

สามารถทำ Disavow ที่ระดับ Subdomain ได้

เช่น domain:blog.example.com

การทำแบบนี้จะเป็นประโยชน์หากคุณมีลิงก์มาจาก Blog ที่น่าสงสัย โดยคุณสามารถทำ Disavow เฉพาะส่วนได้แทนที่จะทำทั้งเว็บไซต์

ไฟล์ Disavow ควรเป็น UTF-8 หรือ 7-bit ASCII

หากคุณสร้างไฟล์ Disavow โดยการนำไปใส่ Excel คุณจะต้องทำการ Save as ให้เป็นไฟล์ที่มี format UTF-8 หรือ 7 bit ASCII เท่านั้น นอกจากนี้ ขนาดไฟล์จะใหญ่ได้ไม่เกิน 2MB หรือ 100,000 บรรทัด

วิธีการนำไฟล์ Disavow ขึ้นระบบ

  1. คุณสามารถไปที่ลิงก์ https://search.google.com/search-console/disavow-links. และทำตามขั้นตอนได้เลย
  2. เลือกเว็บไซต์ที่ต้องการที่จะทำ Disavow (สามารถทำได้กับ Search Console แบบ URL Prefix เท่านั้น)
  3. อัพโหลดไฟล์ Disavow ของคุณเข้าไป หากคุณเคยมีไฟล์อยู่แล้วจะมี Option ให้เลือกว่าจะให้ทับไฟล์เดิมหรือไม่ (หากเคยมีไฟล์เดิม ควรเก็บ Backup ไว้ด้วยเผื่อผิดพลาด)

การใช้ Disavow หลังจากการย้าย Domain

ในทางทฤษฎีแล้ว คุณควรทำการ Disavow สำหรับ Domain ใหม่เท่านั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องกลับไปทำที่ Domain เดิมด้วย เพราะน่าจะมีการทำ 301 redirect รวมไปถึงการทำ Canonical ไว้อยู่แล้ว ดังนั้นหากเว็บเก่าของคุณมีไฟล์ Disavow ที่ทำไว้ดีอยู่แล้ว คุณควรย้ายไฟล์ Disavow จากเว็บเก่าไปที่เว็บใหม่ด้วย

ควรคำนึงถึงข้อดีข้อเสียของการทำ Disavow ด้วย

ข้อเสียของการทำ Disavow คือถ้าหากคุณไปทำกับเว็บไซต์ที่ในความเป็นจริงแล้วส่งผลดีกับเว็บไซต์ของคุณเองอยู่ จะทำให้กระทบกับ Performance ของเว็บไซต์ของคุณอย่างแน่นอน หากคุณทำ SEO ด้วยการทำ Link building เพียงอย่างเดียว การทำ Disavow อาจจะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณเหลือแต่ลิงก์ที่มีคุณภาพมากขึ้น ทางเราอยากให้ทุกคนลองใช้การ Disavow ในการตรวจลิงก์ที่ไม่มีคุณภาพที่ส่งไปที่เว็บไซต์ของคุณ แต่อยากให้ทำด้วยความระมัดระวัง เพราะถ้าหากคุณทำ Disavow ผิดลิงก์ อาจจะทำให้เว็บไซต์ของคุณมี Traffic ลดลงและตกอันดับลงไปได้

สวัสดี เราชื่อ พีค มีความสนใจเรื่อง SEO มาตั้งแต่ตอนอายุ 20 สมัยเข้ามหาลัยใหม่ๆ เนื่องจากเราเรียนบริหารธุรกิจ จึงได้เรียนเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ และมองว่า SEO คือหนึ่งในศาสตร์และศิลป์ที่มีความอ่อนไหว น่าสนใจ และดูมีอะไรในตัวของมันเองดี คนที่ทำต้องรอคอยเป็น เหมือนฝึกให้เรารู้จักที่จะรอคอยได้ ก็เลยศึกษา ทดลอง มาโดยตลอด มันสนุกมากนะ ได้เห็นกราฟวิ่งขึ้นวิ่งลง เติบโตไปเรื่อยๆ เปรียบเสมือนกับชีวิตที่มีสีสัน มีจังหวะที่คอยสลับไปมานั่นเอง