คู่มือ ON-PAGE SEO ฉบับสมบูรณ์

บทความนี้จะเป็นคู่มือเกี่ยวกับการทำ On-Page SEO ฉบับสมบูรณ์สำหรับปี 2023 ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่อัพเดทแล้ว โดยจะมีการพูดถึงเรื่องสำคัญต่างๆ เช่น วิธีการปรับ Content , วิธีการทำ URL ให้ดีต่อ SEO , วิธีการเขียน Meta Title และ Description เป็นต้น

Chapter 1: พื้นฐานการทำ On-Page SEO

On-Page SEO คืออะไร

การทำ On-Page SEO หรือที่เรียกว่า On-site SEO นั้น คือการปรับเว็บไซต์และ Content ให้เหมาะสมกับ Search Engine และผู้ใช้งาน โดยที่การปรับ On-Page SEO หลักรวมไปถึงการปรับ Title Tag, การทำ Content, การทำ Internal link, และการปรับ URL ทั้งหมดนี้จะต่างกับการทำ Off-Page SEO ซึ่งเป็นการทำกับเว็บไซต์อื่นๆ เช่น Backlink

ทำไมการทำ On-Page SEO ถึงสำคัญ

การทำ On-Page SEO ที่ดีนั้นจะสามารถส่งผลให้ SEO ของเว็บไซต์คุณดีขึ้นอย่างแน่นอน อ้างอิงจากข้อมูลจาก Google เรื่องการทำงานของระบบ Search

ถึงแม้ว่า Google จะฉลาดขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อก่อน แต่ Google ยังคงต้องทำงานด้วยหลักการเดิมอยู่ดี ยกตัวอย่างเช่น การเน้น Keyword ที่อยู่ในหน้าเว็บไซต์

ซึ่งทาง The Kalling ได้หาข้อมูลมาเพื่อพิสูจน์สิ่งหลักการนี้ โดยนำตัวเลขการหาข้อมูลกว่า 11ล้าน ผลลัพธ์การแสดงผลบน Google ซึ่งพวกเขาไม่พบความเกี่ยวข้องของ Keyword กับอันดับการแสดงผลดังรูปด้านล่าง

แต่เมื่อพวกเขาลองค้นหาด้วย Keyword ของคู่แข่ง พวกเขาได้เจอการใช้ Keyword เดียวกันใน Title Tag เกือบทุกอัน

ซึ่งนั่นหมายความว่า มีเรื่องอื่นๆที่ส่งผลต่อ SEO มากกว่าการใส่แค่ Keyword เข้าไปในหน้าเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว ถ้าหากคุณต้องการที่จะทำให้เว็บไซต์ติดหน้าแรกในอันดับต้นๆ ของการค้นหา คุณควรจะคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้เพิ่มเติม

  • User Experience หรือประสบการณ์ของผู้ใช้งาน
  • Bounce Rate และ Dwell time
  • Search Intent หรือจุดประสงค์ของ Keyword
  • ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์
  • Click-Through-Rate หรืออัตราการคลิกเข้าเว็บไซต์เทียบกับการแสดงผล

Chapter 2 : การปรับ Content เพื่อ SEO

มาถึงตรงนี้ คุณคงพอจะเข้าใจแล้วว่าทำไม On-Page SEO จึงส่งผลต่อ SEO โดยการปรับ Content ในเว็บไซต์นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ถูกให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน สำหรับในบทนี้ เราจะมาพูดถึงวิธีการปรับเว็บไซต์ให้สามารถเน้น Keyword ที่คุณต้องการได้ ดังนั้นหากใครที่กำลังมีปัญหาในการใส่ Keyword เข้าไปในเว็บไซต์แล้วหล่ะก็ คุณน่าจะชอบเนื้อหาของบทนี้

การใช้ Keyword ที่ต้องการใน 100 คำแรกของเนื้อหา

นี่อาจจะเป็นเทคนิคที่ค่อนข้างเก่า แต่ยังคงถือว่าเป็นเทคนิคที่ได้ผลดีอยู่ โดยสิ่งที่คุณต้องทำคือการใช้ Keyword ที่คุณต้องการใน 100-150 คำแรกของเนื้อหา

ยกตัวอย่างเช่น ทาง Backlinko ต้องการเน้น Keyword คำว่า “Email Marketing” ในเว็บไซต์ของเขาซึ่งได้มีการใช้คำนี้ตั้งแต่แรกหรือแทบจะอยู่ด้านบนสุดเลย

เหตุผลที่เขาใส่ไว้ในส่วนบนสุดเพราะ Google นั้นให้น้ำหนักกับ Keyword ที่อยู่ด้านบนของเว็บไซต์ค่อนข้างมาก

ซึ่งเป็นสิ่งที่ฟังดูมีเหตุผลอย่างมาก เพราะถ้าหากคุณกำลังทำเว็บไซต์เรื่อง Keto Diet แต่คำนี้ดันไปโผล่อยู่ช่วงกลางของเว็บไซต์ อาจจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดได้

การใส่ชื่อ Blog หรือ บทความใน Tag H1 

H1 Tag เป็นเหมือนกับ Mini Title Tag

Google นั้นได้ระบุไว้ว่า การใช้ H1 จะทำให้ Google เข้าใจเนื้อหาในเว็บไซต์มากขึ้น

โดยระบบ CMS ส่วนใหญ่ เช่น WordPress จะทำ Title ของบทความเป็น H1 ให้โดยอัตโนมัติ แต่คุณควรจะทำการตรวจสอบอีกรอบเพื่อให้แน่ใจและถูกต้องอีกครั้งหนึ่งด้วย

การปรับหัวข้อย่อยให้เป็น H2

นำ Keyword ที่ต้องการมาใส่ไว้ในหัวข้อย่อยอย่างน้อยหนึ่งครั้ง โดยหัวข้อย่อยจะอยู่ใน H2 Tag จากการทดลองของทาง Backlinko ทำให้เห็นว่าการใช้หัวข้อย่อยเป็น H2 นั้นช่วยให้ผลลัพธ์ของ SEO ดีขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น Keyword เป้าหมายของพวกเขาคือ “Content marketing tool”

ความถี่ของการใช้ Keyword

จำนวนครั้งที่จะใช้ Keyword ที่คุณต้องการนั้น มีความสำคัญเช่นกัน ถึงแม้ว่า Google จะไม่ได้ออกมายอมรับว่า การใช้ Keyword เดิมซ้ำๆนั้นช่วยในเรื่อง SEO แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่บอกว่าการใช้ Keyword หลายๆ ครั้งนั้นสามารถช่วยเรื่องอันดับการแสดงผลได้

คุณอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องใส่ Keyword ให้มากเกินไป แต่การพูดถึง Keyword ของคุณสักประมาณ 10 ครั้งในเว็บไซต์นั้นก็สามารถช่วยให้ Google เข้าใจเนื้อหาของเว็บไซต์เราได้ดีขึ้น

การใส่ Keyword ที่มากเกินไปนั้น ก็สามารถไม่ส่งผลดีกับ SEO ได้เช่นกัน แต่การใช้ในปริมาณที่พอเหมาะพอดีจะช่วยทำให้ Google เข้าใจเนื้อหาในเว็บไซต์ได้ เช่น จากตัวอย่างของ Keyword “YouTube SEO”

ทาง Backlinko ได้ใช้ Keyword นี้ในบทความที่มีเนื้อหากว่า 3,200 คำ ไปทั้งหมด 6 ครั้ง ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า จริงๆแล้วคุณไม่จำเป็นที่จะต้องเน้นหรือใส่ Keyword มากจนเกินไป

การทำ External Link (Outbound)

การใส่ลิงก์ที่ส่งไปยังเว็บไซต์อื่นนั้นช่วยทำให้ Google เข้าใจเนื้อหาของเว็บไซต์ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังช่วยให้เว็บไซต์ของเราเหมือนแหล่งรวมข้อมูลที่มีประโยชน์ในสายตาของ Search Engine

Reboot Online ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับ External Link ส่งผลต่อ SEO อย่างไร? พวกเขาได้ทำการทดลองสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาทั้งหมด 10 เว็บไซต์ โดยที่ครึ่งหนึ่งของเว็บไซต์ที่สร้างมีการทำลิงก์ส่งไปที่ Oxford University ส่วนอีกครึ่งหนึ่งไม่ได้ทำ

ซึ่งจากรูปด้านล่างจะเห็นได้ว่า เว็บไซต์ที่มี External link นั้นอยู่ในอันดับที่ดีกว่าเว็บไซต์ที่ไม่มี External link

การปรับ URL เพื่อ SEO

โครงสร้างของ URL นั้นเป็นสิ่งที่มักจะถูกมองข้ามสำหรับ SEO ในสมัยก่อน Google ได้ทำการทดลองโดยมีการปรับ URL ให้มีหน้าตาแปลกๆดังรูปด้านล่าง

ถึงแม้ว่าหน้าตาจะประหลาด แต่การใช้ Keyword ใน URL ทำให้ Google นำสิ่งนี้ออกมาแสดง อีกทั้งยังอยู่เหนือ Title Tag อีกด้วย

ทาง Backlinko ได้สรุปว่า URL นั้นเป็นส่วนหนึ่งในคะแนนของการทำ SEO ไปแล้ว ซึ่งหลักการสร้าง URL ที่ดีสำหรับ SEO มีดังนี้

  • ควรทำ URL ให้สั้น
  • ใส่ Keyword เข้าไปในทุก URL

จากตัวอย่างของคู่มือการทำ Link ของ Backlinko จะมีการใช้ Keyword: Link building ใน URL

ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีแค่คำเดียว สามารถใส่คำเพิ่มไปอีก 2-3 คำได้หาก URL นั้นอ่านแล้วเข้าใจ

หรือสามารถใส่ Keyword เข้าไปหลัง Folder ย่อยได้เหมือนกัน

Chapter 3: การปรับ Title และ Description

ในบทนี้ เราจะมาเรียนรู้วิธีการปรับ Title Tag และ Description Tag ให้เหมาะกับ SEO จากข้อมูลของทาง Google การมี Title Tag ที่ดีนั้นช่วยส่งผลดีต่อ SEO ดังนั้นคุณจึงควรให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำ Title Tag ให้ดีที่สุด เช่นเดียวกับการทำ Description Tag เพราะเป็นสิ่งที่มีส่วนช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจเนื้อหาของเว็บไซต์ก่อนที่จะคลิกเข้าไป

Title Tag นั้นเป็นสิ่งที่ขึ้นมาเป็นอันดับแรก

สำหรับทาง Backlinko แล้ว Title Tag ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการทำ SEO เพราะ Title Tag นั้นมีส่วนช่วยให้ Search Engine เข้าใจภาพรวมของเว็บไซต์ว่าเกี่ยวข้องกับอะไร และจากประสบการณ์ของทาง Backlinko การนำ Keyword ขึ้นมาเป็นคำแรกๆใน Title Tag นั้นจะส่งผลดีกับ SEO มากกว่า

นี่คือตัวอย่างของ เครื่องมือในการทำ SEO

แต่ในบางครั้งการนำ Keyword ขึ้นมาเป็นคำแรกเลยอาจจะทำให้ประโยคนั้นอ่านยาก ดังนั้นคุณสามารถขยับออกไปได้ แต่ควรเอาขึ้นมาเป็นคำแรกๆของประโยคจะดีที่สุด

การใช้คำขยาย Title Tag

การใช้คำขยายเสริมเข้าไปใน Keyword โดยมีเป้าหมายที่จะช่วยให้คุณขยายขอบเขตของ Keyword ไปถึง Long-Tail Keyword ได้

จากตัวอย่างบทความ เครื่องมือที่ใช้ได้นอกเหนือจาก Ahrefs  มีการเสริมและขยายความด้วยคำว่า “Free” และ “Paid”

ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณสามารถติดอันดับด้วย Keyword แบบ Long-Tail ได้ หากมีการค้นหาแบบ Long-Tail เช่น “Best Free Ahrefs Alternatives”

หรือจะเสริมด้วยคำว่า “for SEO” แบบรูปด้านล่างก็ได้เช่นกัน 

ถึงแม้ว่าจะเป็นการเสริมคำเข้าไปด้านหลัง แต่การค้นหาด้วยคำว่า “SEO Keyword research tools” ก็สามารถทำให้เว็บไซต์ติดอันดับได้เช่นกัน

การใช้ Keyword ที่เฉพาะเจาะจงมากๆ ใน Description

อ้างอิงจากข้อมูลของ Google ในเรื่องการทำ SEO ฉบับมือใหม่

และที่ทาง Google ได้มีการประกาศเพิ่มเติมในเรื่องของการเขียน Meta Description ด้วยตนเอง

โดยการทำ Meta Description ที่ดีนั้นจะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณแสดงผลได้ดีขึ้นและโดดเด่นมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อ CTR ของเว็บไซต์

และนี่คือ Template หรือรูปแบบการเขียน Meta Description ที่ทาง Backlinko แนะนำ

และอย่าลืมที่จะใส่ Keyword เป้าหมายของคุณลงไปใน Meta Description ด้วย เพราะ Google จะนำคำที่คนค้นหามาเช็คกับ Meta Description ที่คุณเขียนมานั่นเอง ซึ่งหากคุณทำตามนี้ CTR ของคุณจะต้องสูงขึ้นแน่นอน

Chapter 4 : การเขียน Content สำหรับ SEO

สำหรับบทนี้เราจะมาดูเรื่องการเขียน Content กัน ซึ่งการเขียน Content นั้นมีรายละเอียดมากกว่าแค่การใช้ Keyword เป้าหมายของคุณ

การที่จะทำให้ Content ของคุณสามารถติดอันดับได้ในปี 2023 นั้นจะต้อง

  • มีความแตกต่าง
  • มีคุณค่าและให้ข้อมูลที่ดีกับผู้อ่าน
  • มีการปรับให้เหมาะกับความต้องการของการค้นหาจากผู้อ่าน

และในบทนี้ เราจะมาดูวิธีการเขียน Content ให้ผ่านทั้งสามข้อกันนะคะ

บทความควรมีความแตกต่าง

เมื่อพูดถึงบทความที่มีความแตกต่างนั้น มันไม่ใช่การคัดลอกเนื้อหามาจากที่อื่น แต่ยังหมายถึงบทความที่มีความแตกต่างและเป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่มีเว็บไซต์ไหนเคยเขียนขึ้นมาก่อน

ตัวอย่างหัวข้อของบทความที่น่าสนใจคือ

  • เทคนิคหรือกลยุทธ์ใหม่ๆ
  • บทความรวบรวมแหล่งข้อมูลที่น่าสนใจจากที่ต่างๆ
  • มีการออกแบบหน้าเว็บที่ดีและเหมาะกับ UX
  • กรณีศึกษาหรือ Case Study ใหม่ๆ
  • คู่มือการทำหรือวิธีการทำแบบ Step-By-Step

เช่น บทความ SEO Checklist จากทาง Backlinko ที่สามารถแสดงผลพร้อมกับ Featured Snippet จาก Keyword “SEO Checklist”

การที่บทความนี้สามารถติดในหน้าแรกได้นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะการใช้ Keyword เป้าหมายซ้ำๆ เท่านั้น แต่เพราะว่าบทความนี้นั้นแตกต่างจากบทความอื่น

ถึงแม้ว่าบทความเกี่ยวกับวิธีการทำ SEO นั้นสามารถค้นหาได้ทั่วไป

แต่ในบทความของ Backlinko นี้มีเนื้อหาที่แตกต่างจากบทความอื่นอย่างสิ้นเชิง

เขียนบทความที่ให้ข้อมูลที่มีประโยชน์แก่ผู้อ่าน

การเขียนบทความที่ไม่เหมือนใครนั้นเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่คุณต้องทำให้เนื้อหาของคุณสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นอีกด้วย

โดยแนวทางที่คุณสามารถทำให้บทความของคุณนั้นมีข้อมูลที่ผู้อ่านต้องการ ได้แก่

  • การใส่รายละเอียดให้มากขึ้น: รูปประกอบ, รูปรายละเอียดการทำต่างๆ ที่สามารถทำให้ผู้อ่านนั้นนำไปทำตามได้ง่ายๆ
  • การเขียนให้น่าอ่าน: การเขียนบทความที่น่าอ่านนั้น จะทำให้ผู้อ่านสนุกและชอบบทความมากขึ้น
  • การแทรกเนื้อหาและข้อมูลเชิงลึก: วิธีการทำต่างๆ รวมไปถึงการแบ่งวิธีออกเป็น Step 
  • การเขียนโดยผู้เชี่ยวชาญ: บทความส่วนใหญ่มักจะถูกเขียนด้วยคนที่ไม่ได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนั้นมาก่อน แต่ถ้าหาก Content เกิดจากการเขียนโดยผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นจริงๆ เนื้อหาและข้อมูลที่ออกมาจะต้องมีความน่าสนใจมากกว่าการเขียนโดย Freelance ทั่วไปอย่างแน่นอน

จากตัวอย่างเดิมของทาง Bacnklinko บทความ SEO Checklist นั้นถือว่าเป็นบทความที่มีข้อมูลเชิงลึกและมีประโยชน์ เพราะมีข้อมูลที่เฉพาะทาง

มีเนื้อหาที่อ่านง่ายช่วงต้น และเพิ่มระดับความยากมากขึ้นเมื่ออ่านไปเรื่อยๆ 

ซึ่งจากเนื้อหาทั้งหมดนั้น ผู้อ่านจะได้ข้อมูลที่ครบถ้วน

ตัวอย่างการทำที่อัพเดทล่าสุด

และเนื้อหาที่ถูกเขียนจากผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO จริงๆ

การเขียน Content หรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องและตอบโจทย์สิ่งที่ผู้อ่านกำลังค้นหาอยู่

บทความที่มีความแตกต่างและให้ข้อมูลที่มีประโยชน์สามารถทำให้คุณติดหน้าแรกบน Google ได้ แต่ถ้าหากจะให้เว็บไซต์ติดอันดับหนึ่งได้ตลอดเวลานั้น เนื้อหาควรจะต้องสอดคล้องและให้ข้อมูลที่ตรงกับสิ่งที่ผู้อ่านกำลังค้นหาอยู่อีกด้วย

ถ้าคุณไม่ทำการปรับให้ตรงกับสิ่งที่ผู้คนค้นหา อาจส่งผลให้บทความตกลงไปที่หน้าสามหรือมากกว่านั้นได้

ซึ่งนี่คึอสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับทาง Backlinko ซึ่งทาง Backlinko ได้ทำการเช็คการค้นหาของผู้ใช้งาน Search Engine เกี่ยวกับบทความที่พวกเขาได้ลงไปในเว็บไซต์ ซึ่งสิ่งที่พวกเขาเจอนั้น คือการที่เกือบ 100% ของผลลัพธ์การค้นหาจะเกี่ยวข้องกับ Tools หรือเครื่องมือที่แนะนำ

จาก 10 อันดับแรกของการแสดงผลนั้น เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับวิธีการตรวจ Backlink ทั้งหมด และไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับบทความธรรมดาขึ้นมาแสดงผลเลย

ดังนั้นบทความที่พวกเขาได้ทำไปนั้น น่าจะไม่สามารถขึ้นมาในหน้าแรกได้ แต่อย่างไรก็ตามพวกเขายังโชคดีที่สามารถติดด้วย Long-Tail Keyword อย่าง “Best backlink checker” ได้

ซึ่งถ้าพวกเขาได้ใช้เวลาให้มากขึ้นในการค้นหาลักษณะของการค้นหาก่อนที่จะเขียน Content นั้น พวกเขาอาจจะสามารถทำบทความให้ดีและเหมาะสมกว่านี้ได้

Chapter 5: การปรับเพื่อเพิ่ม CTR

CTR จากช่องทาง Organic ถือว่ามีความสำคัญอยู่สองเหตุผล โดยเหตุผลแรกคือ CTR น่าจะเป็นหนึ่งใน Google Factor และเหตุผลที่สองคือ การเพิ่ม CTR นั้นสามารถช่วยเพิ่มจำนวนคนเข้าเว็บไซต์เพิ่มได้ สำหรับในบทนี้ เราจะมาพูดถึง 5 วิธีที่คุณสามารถเพิ่ม CTR ได้ทันที

การใช้ Title Tag ที่เป็นเชิงคำถาม

ทาง Backlinko ได้ทำการทดสอบผลลัพธ์การค้นหาบน Google กว่า 5 ล้านเว็บไซต์ เพื่อหาว่า เว็บไซต์ที่มีคนคลิกเยอะนั้นเกิดจากอะไร

และสิ่งที่พวกเขาค้นพบคือ Title Tag ที่เป็นเชิงคำถามนั้นเกิด CTR สูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด

จากตัวอย่างเพิ่มเติมของ บทความ Nofollow link ของทาง Backlinko ที่ใช้ Title tag เป็นแบบคำถาม

ผู้ใช้งาน Search Engine มักจะใช้การถามคำถามในการค้นหาเพื่อหาคำตอบที่พวกเขาต้องการ โดยเว็บไซต์ Backlinko ที่ใช้ Title Tag แบบคำถามนั้น ทำให้บทความนี้มี CTR มากถึง 27% สำหรับ Keyword “nofollow link”

การเติม Meta Description ที่หายไป

จากในบทแรกที่มีการพูดถึง การเขียน Meta Description นั้นควรเขียนให้กระชับและบอกรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับเว็บไซต์ แต่คุณไม่จำเป็นต้องเขียน Meta Description ที่ดีที่สุดก็ได้ เพียงแค่คุณเขียนให้ครบและไม่ข้ามมันไปก็เพียงพอแล้ว

จากศึกษาพบว่า เว็บไซต์ที่มี Meta Description จะมีโอกาสได้ CTR สูงกว่าเว็บที่ไม่มีกว่า 6% 

ทาง Backlinko แนะนำว่าควรทำ SEO Audit ให้กับเว็บไซต์อยู่เสมอเพื่อค้นหาว่ายังมีหน้าไหนที่ยังไม่มี Meta Description อยู่บ้าง หากพบก็ควรจะใส่ให้ครบถ้วน

การใส่รีวิว หรือ FAQ Schema

การใช้ Schema นั้นอาจจะไม่ได้ช่วยเรื่อง SEO แต่การใช้ Schema บางชนิดจะช่วยให้คุณได้สิ่งที่เรียกว่า Rich Snippet และนี่เป็นสิ่งที่จะทำให้คุณได้คลิ๊กมากกว่าเดิม

Schema สองตัวที่คุณสามารถนำมาใช้ได้เพื่อให้ได้ Rich Snippet คือ รีวิว Schema

กับ FAQ Schema

โดยคุณสามารถเช็คได้ว่า การตั้งค่านั้นถูกต้องหรือไม่ผ่านการใช้ Structured Data Testing

การใส่อารมณ์และความรู้สึกเข้าไปที่ Title Tag

จากการศึกษา CTR ของ Backlinko พบว่า Title Tag ที่มีเรื่องของอารมณ์อยู่ด้วยนั้นจะได้ CTR มากกว่าเดิมประมาณ 7% 

แต่ในขณะเดียวกัน หากเป็น Title Tag ที่มีอารมณ์ที่รุนแรงนั้นอาจทำให้ CTR ลดลงกว่า 12% ได้เช่นกัน

ดังนั้นการใช้คำที่สื่ออารมณ์ใน Title Tag ควรใช้คำที่ให้ความเป็นกลางและไม่รุนแรงจนเกินไป เพราะไม่เช่นนั้นผู้ใช้งานอาจจะมองว่ามันเป็น Click Bait ได้

การใส่ปีปัจจุบัน เข้าไปที่ Title Tag

ตัวอย่างการใส่ปีเข้าไปใน Title Tag

แม้ว่าการใส่ปีเข้าไปอาจจะไม่ได้ช่วยทำให้ CTR ดีขึ้นแบบก้าวกระโดด แต่ก็ยังพอช่วยได้อยู่ เพราะจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าได้รับข้อมูลที่อัพเดทล่าสุด ไม่ใช่ข้อมูลของเดือนที่แล้วหรือปีที่แล้ว

Chapter 6: On-Page UX Signal

ในบทนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการปรับเนื้อหาให้มี สัญญาณ UX ที่ดี

Google นั้นให้ความสำคัญเกี่ยวกับ Dwell time และ Bounce rate นอกจากนี้ ตามหลักการทำงานของ Google การที่ Google จะหาผลลัพธ์ของเว็บไซต์ออกมาให้ตรงกับผู้อ่านมากที่สุดนั้น Search engine ยังคงใช้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะการใช้เว็บไซต์เพื่อนำมาจัดอันดับเว็บไซต์อีกด้วย

โดยในบทนี้ เราจะมีเรียนรู้วิธีการทำให้ UX ของเว็บไซต์ดีขึ้น

การนำ Content ส่วนสำคัญขึ้นมาก่อน

เมื่อผู้คนเข้าเว็บไซต์มาจาก Google ส่วนใหญ่มักจะต้องการคำตอบที่พวกเขากำลังมองหาให้เร็วที่สุด ดังนั้นคุณไม่ควรนำรูปภาพขึ้นมาบังเนื้อหามากจนเกินไป โดยคุณสามารถใส่รูปภาพในช่วงต้นได้ แต่จะต้องไม่ทำให้เนื้อหาเลื่อนลงมากจนเกินไป

แต่คุณควรใส่ Headline ช่วงต้น และส่วน Introduction ในช่วงกลาง 

การแบ่งเนื้อหาเป็นส่วนๆ

คุณไม่สามารถทำให้ทุกคนอ่านทุกตัวอักษรในบทความของคุณได้ ดังนั้นควรจะทำให้เว็บไซต์ของคุณนั้นมีเนื้อหาที่ Skim อ่านได้ง่ายที่สุด

การสร้าง Subheading 

หรือ Bullet 

รวมไปถึงรูปภาพ ที่จะช่วยให้เนื้อหานั้นอ่านง่าย

การโต้ตอบและมีส่วนร่วมของ Community

การเปิดช่องทางให้เกิดการโต้ตอบนั้นเหมือนกับการโกงค่า Bounce Rate เพราะว่าหลังจากที่ผู้ใช้งานได้อ่านบทความที่มีคุณภาพของคุณเสร็จ พวกเขาอาจจะมีการแสดงความเห็น ไม่ว่าจะทั้งติชมและแนะนำ

การแสดงความคิดเห็นหรือนำเสนอแนวทางการทำใหม่ๆ หรือถกเถียงกัน

ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยให้ผู้คนอยู่ในบทความของคุณนานขึ้นนั่นเอง

Chapter 7: เทคนิคขั้นสูงของการทำ On-Page SEO

สำหรับบทสุดท้ายนี้ จะเป็นการรวมเทคนิค On-Page ที่ทาง Backlinko ใช้ ซึ่งหากคุณได้ทำการปรับ H1 และ Title Tag ไปแล้ว เนื้อหาต่อไปนี้จะเป็นส่วนเสริมที่ทำให้ On-Page SEO นั้นดีขึ้นไปอีกขั้น

การใช้รูปภาพของตัวเอง

การใช้ภาพ Stock นั้นอาจจะส่งผลร้ายต่อ SEO ของคุณ โดยคุณ Shai Aharony ได้ทำการทดสอบการใช้ Stock image กับอันดับใน Google

เขาใช้วิธีการสร้างเว็บไซต์ใหม่ขึ้นมา

และเขาได้ทดลองใช้ Stock Image กับบางเว็บไซต์และใช้ภาพจริงกับเว็บไซต์ที่เหลือ

ผลลัพธ์ที่ออกมานั้นชัดเจนว่า เว็บไซต์ที่ใช้ภาพจริงนั้นติดอันดับที่สูงกว่าเว็บไซต์ที่ใช้ภาพ Stock Image

ดังนั้นถ้าคุณกำลังใช้ Stock Image ที่เว็บไซต์ทั่วไปใช้อยู่นั้น คุณควรหันมาใช้ภาพจริงจะดีกว่า ซึ่งทาง Backlinko ได้ใช้รูปภาพของพวกเขาเองเหมือนกัน

การทำ Internal Linking

การทำ Internal Link นั้นส่งผลอย่างมากต่อ SEO โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องการลิงก์จากหน้าที่มี DA สูงในเว็บไซต์ของตัวเอง เช่น หน้า Home เพื่อไปช่วยหน้าใหม่ที่คุณเพิ่งสร้างขึ้น

คุณสามารถทำโดยการใช้ Anchor Text ได้ดังนี้

คุณสามารถเริ่มจากการใช้เครื่องมืออย่าง Ahrefs ในการหาเว็บไซต์ที่มีลิงก์สูง

หลังจากนั้นเริ่มทำการสร้างลิงก์จากหน้าเว็บไซต์เหล่านั้นเข้าสู่หน้าที่คุณต้องการในเว็บไซต์ของคุณ

ตัวอย่างเช่นทาง Backlinko ต้องการทำให้บทความ Press Release นั้นมีอันดับที่ดีขึ้น โดยเขาได้ทำการสร้าง Internal Link เพื่อลิงก์ไปที่เว็บไซต์ของเขา

นอกจากนี้คุณยังสามารถลองดูตัวอย่างการทำ Internal Link ที่ดีได้จากเว็บไซต์ Wikipedia

การเขียน Content ที่เข้าใจง่าย

Google ต้องการแสดงผลข้อมูลที่ครบถ้วนให้กับผู้ใช้งานในหน้าเดียว ดังนั้นถ้าหากเว็บไซต์ของคุณมีเนื้อหาที่ครอบคลุม เว็บไซต์ของคุณจะมีโอกาสติดอันดับที่ดีขึ้น

และวิธีที่คุณสามารถทำได้คือการใช้ LSI Keyword การใช้ LSI Keyword นั้นจะช่วยให้ Google เข้าใจเนื้อหาของเว็บไซต์มากขึ้น ซึ่งคุณสามารถนำ LSI Keyword มาใช้กับเว็บไซต์คุณได้ง่ายๆ โดยการใช้สิ่งที่ Search Engine มีให้คือช่อง “Search Related to…”  ในส่วนล่างสุดของ Search Engine

การเพิ่ม Page Speed หรือความเร็วของเว็บไซต์

Google ได้ประกาศไว้ว่า ความเร็วในการโหลดเว็บไซต์นั้นถือเป็นหนึ่งในสัญญาณของ SEO และกำลังมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ

จากการหาข้อมูลกว่า 5.2 ล้านเว็บไซต์ คุณสามารถเพิ่มความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ได้ด้วยการใช้ Host ที่ดีขึ้น

การลบการใช้ Script ต่างๆ

การลดการใช้ Resource ของเว็บไซต์

การปรับแต่งรูปภาพ

ทุกรูปภาพที่คุณใช้ควรมีการใช้ Image Alt Text และการตั้งชื่อที่อ่านเข้าใจ

นี่เป็นส่วนช่วยให้ Google เข้าใจเนื้อหาของรูปภาพมากขึ้น และควรที่จะทำให้สักรูปมี Alt text จาก Keyword เป้าหมายของคุณ รวมไปถึงการตั้งชื่อรูปภาพด้วย

นอกจากนี้ การปรับรูปภาพยังช่วยเรื่อง SEO อีกด้วย เพราะจะเป็นส่วนเสริมให้ Google เข้าใจเนื้อหาและภาพรวมของเว็บไซต์ของคุณมากขึ้นอีกด้วย

การทำให้เว็บไซต์ติด Featured Snippets

การทำ Featured Snippet นั้นช่วยเพิ่มเรื่อง CTR ให้กับเว็บไซต์ แต่การที่คุณจะได้ใช้ Featured Snippet นั้น คุณจะต้องทำให้เว็บไซต์ของคุณอยู่ในหน้าแรกเท่านั้น

วิธีการหาว่าเว็บไซต์ไหนมี Featured Snippet อยู่นั้น สามารถทำได้โดยการใช้ Ahrefs หรือ SEMrush หรือเครื่องมือต่างๆที่สามารถตรวจสอบได้

เริ่มจากการหาเว็บไซต์ที่อยู่ในหน้าแรกบน Google

หลังจากนั้นทำการ Filter และเลือก Featured snippet 

และลองดู Feature Snippet ว่าสามารถแสดงผลได้จากการค้นหาแบบไหน

เมื่อคุณเข้าใจแล้วคุณจะสามารถปรับเนื้อหาในเว็บไซต์ของคุณเพื่อให้ติด Featured Snippet ได้ ดังนั้นถ้าหากคุณเห็นคำอธิบายสั้นๆเกี่ยวกับบทความใน Featured Snippet คุณควรจะเขียนเนื้อหาให้มีคำอธิบายสั้นๆด้วยเช่นกัน

หรือถ้าเป็น Featured Snippet แบบทีละ Step คุณสามารถเขียนบทความให้แบ่งเนื้อหาเป็น Step ได้เช่นเดียวกัน

การค้นหาด้วยเสียง

การค้นหาด้วยเสียงกำลังเติบโตอย่างมาก และการปรับเนื้อหาให้เหมาะกับการค้นหาด้วยเสียงคือการใช้ FAQ โดยจากการศึกษาของทาง Backlinko พบว่า การค้นหาด้วยเสียงส่วนใหญ่ Google จะดึงเนื้อหาจาก FAQ ออกมาแสดง

สรุป

หวังว่าคุณจะได้ประโยชน์และสามารถนำเทคนิค On-Page SEO ต่างๆไปปรับใช้กับเว็บไซต์ของคุณ เพื่อทำให้ SEO ของเว็บไซต์คุณดึขึ้นกว่าเดิมนะคะ

สวัสดี เราชื่อ พีค มีความสนใจเรื่อง SEO มาตั้งแต่ตอนอายุ 20 สมัยเข้ามหาลัยใหม่ๆ เนื่องจากเราเรียนบริหารธุรกิจ จึงได้เรียนเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ และมองว่า SEO คือหนึ่งในศาสตร์และศิลป์ที่มีความอ่อนไหว น่าสนใจ และดูมีอะไรในตัวของมันเองดี คนที่ทำต้องรอคอยเป็น เหมือนฝึกให้เรารู้จักที่จะรอคอยได้ ก็เลยศึกษา ทดลอง มาโดยตลอด มันสนุกมากนะ ได้เห็นกราฟวิ่งขึ้นวิ่งลง เติบโตไปเรื่อยๆ เปรียบเสมือนกับชีวิตที่มีสีสัน มีจังหวะที่คอยสลับไปมานั่นเอง