how to choose between 301 vs 302 redirects

รู้ไว้อันดับไม่ตก ! 301 vs 302 Redirects ควรเลือกใช้แบบไหนในการทำ SEO

ข้อแตกต่างของ 301 vs 302 redirects นั่นคือ ตัว 301 คือการเปลี่ยนเส้นทางแบบถาวร ขณะที่ 302 เป็นการเปลี่ยนเพียงชั่วคราวนั่นเอง โดยจำเป็นต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดปัญหา SEO ตามมา

มาดูรายละเอียดให้ลึกยิ่งขึ้นกันว่า redirects หรือตัวเปลี่ยนเส้นทางเหล่านี้ทำงานอย่างไร และควรใช้เมื่อไหร่ บทความนี้มีคำตอบ

สารบัญ

301 redirect คืออะไร ?

คือ เส้นทางที่เปลี่ยนแบบถาวร โดยการนำผู้เยี่ยมชมไปยัง URL ใหม่ และส่งสัญญาณไปยังเครื่องมือค้นหาเพื่อบอกถึงการย้ายอย่างถาวร

ควรใช้การเปลี่ยนเส้นทางแบบ 301 เมื่อต้องการ :

  • เปลี่ยนเส้นทาง URL ของเว็บไซต์อย่างถาวร
  • ย้ายไปยังโดเมนใหม่อย่างถาวร
  • เปลี่ยนจาก HTTP เป็น HTTPS
  • แก้ไขปัญหาเนื้อหาซ้ำจากการใส่ www / และไม่ใส่ www 
  • รวมหน้า หรือเว็บไซต์ตั้งแต่สองหน้าขึ้นไปอย่างถาวร
  • เปลี่ยนโครงสร้าง URL ของเว็บไซต์อย่างถาวร

302 redirect คืออะไร ?

คือ การเปลี่ยนเส้นทางแบบชั่วคราว โดยจะนำทางผู้เยี่ยมชมไปยัง URL และส่งสัญญาณการย้ายไปยังเครื่องมือค้นหาแบบชั่วคราว

ควรใช้การเปลี่ยนเส้นทางแบบ 302 เมื่อต้องการ :

  • เปลี่ยนเส้นทางของผู้ใช้งานไปยังเว็บไซต์ที่เหมาะสม และถูกต้องสำหรับคนเหล่านั้น เช่น สถานที่ตั้ง หรือภาษา
  • ต้องการทดสอบ A/B แยกระหว่างฟังก์ชันการทำงาน หรือดีไซน์หน้าเว็บ
  • ต้องการเก็บฟีดแบคเกี่ยวกับหน้าเว็บใหม่โดยไม่อยากกระทบต่ออันดับของเว็บเก่า
  • มีการจัดทำโปรโมชัน และต้องการเปลี่ยนเส้นทางผู้เยี่ยมชมไปยังหน้าการขายชั่วคราว

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ควรใช้ 302 redirect เมื่อใดก็ตามที่วางแผนว่าจะมีการนำหน้าเว็บเก่ากลับมาหลังจากผ่านไปสักระยะหนึ่งนั่นเอง

301 vs 302 redirects ส่งผลต่อการทำ SEO อย่างไร

การเปลี่ยนเส้นทางส่งผลกระทบต่ออันดับเว็บไซต์ในผลการค้นหา เนื่องจากหากทำการเปลี่ยนเส้นทางจาก URL หนึ่งไปยังอีก URL หนึ่ง Google จะจัดทำดัชนีตัวชี้วัด และแสดงผล URL เพียงอันเดียวเท่านั้น นอกจากนี้สัญญาณจากลิงก์ URL ทั้งสองรายการยังมักรวมกันเป็นหนึ่งเดียวในการจัดทำดัชนีด้วย

301 redirect ส่งผลการต่อการทำ SEO อย่างไร

การเปลี่ยนเส้นทางแบบ 301 จะแจ้งให้ Google รู้ว่าหน้าเว็บนั้นถูกเคลื่อนย้ายไปอย่างถาวร ดังนั้นจึงมักมีการจัดทำดัชนี และแสดง URL ใหม่ในผลการค้นหา เนื่องจากไม่มีเหตุผลที่จะเก็บรักษา URL เก่าไว้ หากไม่มีการย้อนกลับมาใช้หน้าเว็บนั้นแล้ว

How 301 redirects impact SEO

โดยสัญญาณลิงก์ต่าง ๆ มักถูกรวม และ “ส่งต่อ” ไปยัง URL ใหม่

Link signals consolidate forward to the new URL

ยกตัวอย่างเช่น สมมุติมีการเปลี่ยนเส้นทางจากหน้าเว็บ site1.com/x  ไปยัง site2.com/x โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่อยู่ภายใน สัญญาณลิงก์ต่าง ๆ จะถูกรวมไปที่หน้า site2.com/x พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ หากเว็บไซต์ site1.com/x มี Backlinks ทั้งหมด 10 แห่ง หน้าเว็บ site2.com/x ก็จะได้รับประโยชน์จากลิงก์เหล่านั้นด้วยราวกับได้รับลิงก์มาโดยตรงนั่นเอง

แต่จำไว้ว่าสัญญาณลิงก์เหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น ในกรณีที่เราเปลี่ยนเส้นทางไปยังเว็บที่ไม่เกี่ยวข้องกัน เนื่องจาก Google จะมองว่าการ redirect ที่ไม่เกี่ยวข้องนั้น เป็น soft404 นั่นเอง

ยกตัวอย่างเช่น มีการเปลี่ยนเส้นทางจากหน้าบล็อกโพสต์ไปยังหน้าโฮมเพจ ซึ่ง Google อาจไม่ทำการรวมสัญญาณลิงก์ให้ เนื่องจากทั้งสองเว็บนี้มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

คำแนะนำ

หากกำลังสงสัยว่า Google นั้นจัดการกับ redirect 301 อย่างไร ให้ลองตรวจสอบดูว่าลิงก์มีการรวมเข้ากับ URL ใหม่หรือไม่ ใน Google Search Console โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. เปิด Google Search Console
  2. ไปที่ Links > External Links > Top linked pages
  3. ค้นหา URL ในหน้ารีพอร์ต แล้วคลิกเข้าไป (สามารถใช้ตัวกรอง “Target page” เพื่อช่วยค้นหา)
  4. เพิ่มตัวกรอง “Site” เข้าไป แล้วนำไปวางในโดเมนอ้างอิงไปยังหน้าเว็บเก่าทีละหน้า  (โดยสามารถค้นหาโดเมนเหล่านี้ได้ในฟังก์ชัน Referring Domains ใน Site Explorer ของ Ahrefs)

หากไม่เจอโดเมนอ้างอิงที่เข้าคู่กันเลย ก็มีความเสี่ยงสูงว่า Google จะมองว่าเส้นทางลิงก์เหล่านั้นเป็น soft 404 ได้ และจะไม่ทำการนับรวม Backlinks จากเว็บเก่ามายัง URL ใหม่ให้

แต่ถ้าหากมีส่วนที่เข้าคู่กันอยู่ ให้คลิกลงไปบนเว็บไซต์เพื่อดูลิงก์จริง หากเห็นว่ามีรายการ URL เก่าอยู่ในคอลัมน์ “Target URL” ก็แสดงว่า Google ได้ทำการรวมลิงก์มายัง URL ใหม่ให้แล้วนั่นเอง

Google consolidate links at the new URL

302 redirect ส่งผลการต่อการทำ SEO อย่างไร

การเปลี่ยนเส้นทาง 302 จะแจ้งให้ Google ทราบว่ามีการย้ายเพจเพียงชั่วคราว ซึ่งปกติจะมีการเก็บค่าดัชนีตัวชี้วัดเก่าไว้ และนำออกมาแสดงในผลการค้นหา เพราะสุดท้ายแล้วการลบ URL เก่าแล้วสร้างดัชนีของ URL ใหม่นั้นแทบไม่มีประโยชน์เลย หากจะมีการกลับมาใช้หน้าเว็บเก่าในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งแตกต่างจาก redirect 301 อย่างสิ้นเชิง

How 302 redirects impact SEO

โดยสัญญาณลิงก์ต่าง ๆ จะรวมและ “ย้อนกลับ” ไปหา URL เก่า

Link signals consolidate backward to the old URL

ซึ่งการรวมสัญญาณลิงก์จะไม่เกิดขึ้น เฉพาะกรณีที่ Google เห็นว่าเรามีการใช้ 302 redirect แบบผิดจุดประสงค์เพื่อเปลี่ยนเส้นทางถาวร เพราะถือว่าเป็นการเปลี่ยนเส้นทางแบบ 301 ซึ่งหมายความว่าจะมีการจัดทำดัชนีตัวชี้วัดของ URL ใหม่ และสัญญาณลิงก์ต่าง ๆ จะถูกส่งต่อไปที่นั่น

โดยไม่มีใครรู้ว่าต้องใช้ระยะเวลานานเท่าใดก่อนที่ Google จะเริ่มมองว่าเป็นการ redirect 301 แทน ปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณสองถึงสามสัปดาห์ หรือสองถึงสามเดือน แต่ไม่แน่ว่าอาจเป็นวัน สัปดาห์ หรือเดือนก็ได้

แต่ในบางสถานการณ์ก็ดูเหมือนว่า Google จะมองว่า 302 เป็น 301 ตั้งแต่เริ่มต้น

ยกตัวอย่างเช่น เว็บข้อมูลนักเขียน Patrick Stox ที่ได้มีการทดลองเปลี่ยนเส้นทางแบบ 302 จากเว็บที่จัดตั้งไปยังอีกเว็บไซต์หนึ่ง แต่เมื่อ Google เห็นเส้นทางการเปลี่ยนแปลงนี้ ก็ทำการลบโดเมนเก่าออกจากผลการค้นหา และเปลี่ยนไปใช้โดเมนใหม่ในทันที

ดังนั้นหากไม่แน่ใจว่า Google จัดการกับ redirect 302 ของเราอย่างไร ให้ลองวาง URL ที่มีการทดสอบเปลี่ยนเส้นทางลงบน URL Inspection tool ใน Search Console ซึ่งจะแสดงคำเตือนขึ้นมาหาก URL นั้นไม่ได้อยู่ใน Google โดยจะถือว่าเป็นการเปลี่ยนเส้นทางแบบถาวร (301) แต่ถ้าหากมีแสดงอยู่บน Google นั่นก็แสดงว่าเป็นการ redirect 302 แบบชั่วคราวนั่นเอง

example of url inspection that url is not on google

เพียงมีข้อควรระวังคือ อย่าลืมตรวจสอบวันที่รวบรวมข้อมูลทุกครั้ง หากวันที่เป็นหลังจากที่ได้ทำการ redirect ไป ให้ส่งคำขอจัดทำดัชนีใหม่ (Request Indexing) แล้วค่อยกลับมาดูอีกครั้ง

ต้องทำการเปลี่ยน redirect 302 ที่ผิดพลาดเป็น 301 ทุกครั้งหรือไม่

สิ่งนี้ขึ้นอยู่กับว่า Google มองการเปลี่ยนเส้นทางเหล่านั้นเป็นอย่างไร

หากหลังจากตรวจสอบแล้วพบว่า redirect 302 ที่เกิดจากความผิดพลาดกลายเป็นแบบ 301 ก็ไม่ส่งผลกระทบอะไร แต่กับเส้นทางที่ยังไม่รับการตรวจสอบ และยืนยัน การเปลี่ยน redirect จาก 302 เป็น 301 ไว้ ก็นับว่าเป็นแนวทางจัดการที่ดีที่สุด

โดยสามารถใช้เครื่องมือตรวจสอบ URL บน Google Search Console เพื่อดูได้ว่า Google ปฏิบัติต่อ redirect แต่ละรายการเป็นอย่างไร แต่ก็อาจจำเป็นต้องใช้เวลานานหากมีการทำ redirect ไว้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีวิธีการที่ทำได้รวดเร็วกว่านั่นคือ ให้มองหาการ redirect แบบ 302 ที่ได้รับการเข้าชมแบบออร์แกนิก ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว นั่นเป็นสัญญาณที่บอกว่า Google มองเป็นการเปลี่ยนเส้นทางแบบชั่วคราวนั่นเอง

ซึ่งทำได้โดยการรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ของตัวเองด้วยฟังก์ชัน Site Audit บน Ahrefs และตรวจสอบรายงาน Redirect หลังจากนั้นไปยังคำเตือน “302 redirects”

checking the Redirects report for the 302 redirects warning

ถ้าหากมีข้อมูล ให้คลิกเข้าไปเพื่อดู URL ที่ได้รับผลกระทบ โดยให้จัดเรียงตาม “Organic traffic” จากมากไปน้อย

Organic traffic from high to low

ข้อมูลนี้เป็นเพียงการประมาณเท่านั้น จึงคุ้มค่าที่จะลองตรวจสอบ URL ที่มีการเปลี่ยนเส้นทาง และมียอดการเข้าชมในเครื่องมือตรวจสอบ URL ของ Google Search Console อีกครั้ง

หาก canonical หรือ Tag ที่บอกว่า URL ที่อยู่ในนั้นเป็นหน้าหลัก จากผู้ใช้ และ Google เข้าคู่กันก็จะถือว่าการ redirect 302 นั้นเป็นการเปลี่ยนเส้นทางแบบถาวร

แต่หากไม่เป็นเช่นนั้น หน้าที่มีการเปลี่ยนเส้นทางก็จะยังได้ยอดการเข้าชมปกติต่อไป เนื่องจากยังคงได้รับการ index อยู่ โดย Google จะถือว่าเป็นการเข้าชมแบบชั่วคราว แต่อาจไม่เป็นการดีหากมีการทำ redirect 302 โดยไม่ตั้งใจเพื่อเปลี่ยนเส้นทางแบบถาวร แต่โชคดีที่ดูเหมือนการเปลี่ยน redirect จาก 302 มาเป็น 301 จะแก้ไขปัญหานี้ได้

วิธีเปลี่ยนเส้นทาง หรือเพิ่ม redirect

เราสามารถสร้าง redirect 301 และ 302 ได้หลายวิธี โดยการแก้ไขไฟล์ .htaccess ของเว็บไซต์ คือวิธีที่ใช้บ่อยที่สุด และสามารถพบไฟล์นี้ได้ที่ไดเรคทอรีหลักที่รวบรวมไดเรคทอรีทั้งหมด (root directory)

editing a website’s .htaccess file

หากใช้งาน WordPress ก็จะมีตัวเลือกที่เสี่ยงน้อยกว่าคือ การใช้ปลั๊กอิน SEO ฟรี เพื่อเปลี่ยนเส้นทาง โดยใน RankMath ก็มีฟังก์ชันนี้เช่นเดียวกัน แต่ปลั๊กอินตัวนี้ก็ยังคงทำงานอยู่ดี

วิธีสร้าง redirect 301

หากต้องการทำ redirect 301 จาก URL หนึ่งไปยังอีก URL หนึ่ง ให้ทำการเพิ่มสิ่งนี้ลงในไฟล์ .htaccess

Redirect 301 /old-page.html /new-page.html

ซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้ RankMath หรือปลั๊กอิน Redirections โดยเลือกประเภทการเปลี่ยนเส้นทางที่ต้องการ จากนั้นให้เพิ่ม URL ต้นทาง และปลายทางเข้าไป

How to create a 301 redirect

แต่หากต้องการเปลี่ยนเส้นทางทั้งเว็บไซต์ ก็ให้ทำการเพิ่มสิ่งนี้ลงไปที่ไฟล์ .htaccess

RewriteEngine on

RewriteCond %{HTTP_HOST} ^oldsite.com [NC,OR]

RewriteCond %{HTTP_HOST} ^www.oldsite.com [NC]

RewriteRule ^(.*)$ https://newsite.com/$1 [L,R=301,NC]

แต่ควรจำไว้ว่าจำเป็นต้องเปิดใช้งานเว็บไซต์เก่าต่อไปเพื่อเปลี่ยนเส้นทางเว็บไซต์ด้วย .htaccess ซึ่งอาจมีราคาแพง ดังนั้นการเปลี่ยนเส้นทางผ่าน DNS อาจจะดีกว่า เพราะผู้รับลงทะเบียนส่วนใหญ่จะอนุญาตให้เลือกเปลี่ยนเส้นทางทั้งแบบ 301 และ 302 ได้ หากใช้งานผ่าน Google Search Console ก็เพียงเข้าไปที่ Website > Add a forwarding address แล้วทำการกรอกโดเมนใหม่ลงไป และเลือก “Permanent redirect”

how to redirect google domains

นอกจากนี้ยังสามารถเรียนรู้การสร้าง redirect 301 ในแบบอื่น ๆ ได้ เช่น ในกรณีที่อยากเปลี่ยนจาก no www ไปใช้ www หรือจาก HTTP เป็น HTTPS ได้จากคู่มือนี้ our full guide to 301 redirects

วิธีสร้าง redirect 302

หากต้องการสร้าง redirect 302 ขึ้นมา ให้เพิ่มสิ่งนี้ลงในไฟล์ .htaccess

Redirect 302 /old-page.html /new-page.html

ซึ่งสามารถทำผ่าน RankMath หรือปลั๊กอิน Redirection ใน WordPress ได้เช่นเดียวกัน

How to create a 302 redirect

แต่ถ้าหากต้องการเปลี่ยนเส้นทางของทั้งเว็บไซต์ให้ใช้โค้ดตัวนี้

Rewrite Engine on

RewriteCond %{HTTP_HOST} ^oldsite.com [NC,OR]

RewriteCond %{HTTP_HOST} ^www.oldsite.com [NC]

RewriteRule ^(.*)$ https://newsite.com/$1 [L,R=302,NC]

โดยมีข้อควรรู้คือ อาจไม่จำเป็นต้องทำ redirect 302 เพื่อทำการลิงก์ URL จากเว็บไซต์หนึ่งไปยังอีกเว็บหนึ่งก็ได้ เพราะโดเมนส่วนใหญ่มักเปลี่ยนแปลงแบบถาวรอยู่แล้ว ดังนั้นการใช้ 301 สำหรับการเปลี่ยนเส้นทางจาก HTTP ไปยัง HTTPS หรือจาก no www ไปยัง www จึงได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกันนั่นเอง

สรุป

ความจริงแล้ว ระหว่าง 301 vs 302 redirects หรือการเปลี่ยนเส้นทางไม่ใช่เรื่องที่ซับซ้อนขนาดนั้น หากต้องการย้ายคอนเทนต์ที่มีอยู่ตอนนี้ไปยังหน้าใหม่แบบถาวรก็ให้ใช้ redirect 301 แต่ถ้าเป็นแค่การเปลี่ยนแปลงแบบชั่วคราวก็ให้ใช้ redirect 302 เท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะสามารถมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าหากมีการเลือกเปลี่ยนเส้นทางผิดประเภท Google จะยังสามารถรับรู้ในสิ่งที่เราต้องการสื่อได้ไม่ช้าก็เร็ว แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะ Google ไม่ได้ฉลาดถึงขั้นสามารถเข้าใจสิ่งที่เราต้องการได้ทุกครั้ง ดังนั้นจึงควรตรวจสอบ และเลือกใช้ redirect ให้ถูกต้องมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ใครที่อยากหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ SEO สามารถตามอ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่ : https://thekalling.com/tkl-blog/