Google Rankbrain ที่สายทำ SEO ห้ามพลาด

หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่สนใจหรือกำลังจริงจังกับการทำ SEO อยากจะแนะนำเลยว่าสิ่งที่คุณต้องทำก็คือการเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับ RankBrain เพราะว่าอะไรนะหรอ? เนื่องจากว่าทาง Google เพิ่งประกาศว่า RankBrain เป็นสัญญาณการจัดอันดับที่สำคัญมากซึ่งเป็นปัจจัยอันดับที่ 3 ที่ทาง Google เลือกพิจารณาสำหรับการจัดอันดับเว็บไซต์

ดังนั้นในคู่มือนี้ คุณจะได้เรียนรู้ทุกสิ่งที่จำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับอัลกอริทึม RankBrain ของ Google หากพร้อมกันแล้ว ก็ไปเรียนรู้กันได้เลย

เนื้อหาภายในบทความ

บทที่ 1 Google RankBrain คำอธิบายภาพ

Google RankBrain คืออะไร

Rankbrain เป็นอัลกอริทึมการเรียนรู้ของ AI ที่ทาง Google ใช้ในการจัดการเรียงผลการค้นหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ Google ประมวลผลและสามารถเข้าใจข้อความที่ใช้ในการค้นหาได้ 

โดย RankBrain จะเข้ามาช่วยในการจัดอันดับผลลัพธ์ของการค้นหานั่นเอง

ซึ่งในยุคปัจจุบันก็ยังคงมีเหล่าวิศวกรทำงานในส่วนนี้ แต่ Google RankBrain ได้เข้ามาสอดแทรกการทำงานในเบื้องหลัง

สรุปง่าย ๆ คือ RankBrain สามารถที่จะปรับแต่งอัลกอริทึมได้ด้วยตัวเอง ขึ้นอยู่กับคีย์เวิร์ดที่ใช้ และประสิทธิภาพของ RankBrain นั้นจะเพิ่มหรือลดลงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น Backlink, ความสดใหม่ของคอนเทนต์, ความยาวของคอนเทนต์ และ Domain Authority ของเว็บไซต์ 

ไม่เพียงเท่านั้น RankBrain จะตรวจสอบว่าผู้ค้นหาบน Google ชื่นชอบอัลกอริทึมที่ปรับแต่งใหม่หรือไม่ หากผู้คนชื่นชอบทาง RankBrain ก็จะใช้อัลกอริทึมใหม่ เเต่หากพบว่าผู้ค้นหาไม่ชอบ RankBrain จะย้อนกลับไปใช้อัลกอริทึมเดิม

และสิ่งที่น่าเหลือเชื่อก็คือ Google ได้ขอให้วิศวกรกลุ่มหนึ่งระบุหน้าเว็บไซต์ที่ดีที่สุดสำหรับการค้นหาที่กำหนดไว้ แต่วิศวกรไม่สามารถที่จะระบุได้ด้วยตัวเอง พวกเขายังตงต้องถาม RankBrain จึงเห็นได้ชัดว่า RankBrain มีประสิทธิภาพในการทำงานได้ดีกว่าวิศวกรของ Google ได้ถึง 10% เลยทีเดียว

ดังนั้นตอนนี้คุณได้เห็นภาพรวมของ RankBrain กันแล้ว เพราะฉะนั้นเรามาเจาะลึกลงไปกันดีกว่าว่ามันทำงานอย่างไร 

บทที่ 2 วิธีการทำงานของ RankBrain

ในส่วนการทำงานของ RankBrain จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้

  1. การทำความเข้าใจในส่วนคำค้นหา (คีย์เวิร์ด)
  2. การวัดความพึงพอใจของผู้ใช้งานเว็บไซต์ และการโต้ตอบกับเว็บไซต์

RankBrain ทำความเข้าใจคีย์เวิร์ดที่คุณใช้ค้นหาบน Google ได้อย่างไร 

เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา Google พบปัญหาที่ว่า 15% ของคีย์เวิร์ดที่ผู้คนค้นหาใน Google เป็นคำที่แปลกใหม่และไม่เคยเห็นมาก่อนสำหรับ Google ซึ่งทำให้ผู้คนสามารถค้นเจอสิ่งที่ต้องการค้นหาได้น้อย แม้ว่าตัวเลขที่ 15% จะดูเหมือนไม่มาก แต่เมื่อคุณทำการประมวลผลการค้นหาหลายพันครั้งต่อวัน นั่นเท่ากับว่าคีย์เวิร์ด 450 ล้านคำ เป็นคำที่ Google ไม่รู้จัก และไม่สามารถแสดงผลลัพธ์การค้นหาที่ตรงกับคีย์เวิร์ดได้ 

ก่อนใช้ Google RankBrain จะต้องทำการสแกนหน้าต่าง ๆ บนเว็บไซต์ เพื่อดูว่ามีคีย์เวิร์ดตรงกับที่ผู้คนค้นหาหรือไม่ แต่เนื่องจากคีย์เวิร์ดเหล่านี้เป็นคำใหม่ ๆ ที่ Google ไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้ค้นหาต้องการอะไร ดังนั้นจึงเกิดการเดาสุ่ม

ตัวอย่างเช่น

คุณค้นหาคำว่า “คอนโซลสีเทา ที่พัฒนาโดย Sony” ทาง Google จะมองหาหน้าที่มีคำว่า “สีเทา”, “คอนโซล”, “พัฒนาแล้ว” และ “Sony” 

แต่ปัจจุบันมีการใช้ RankBrain เข้ามาช่วข จึงทำให้ Google เข้าใจสิ่งที่คุณถามจริง ๆ ว่าคุณต้องการทราบเกี่ยวกับอะไร พร้อมให้ผลลัพธ์การค้นหาที่แม่นยำถึง 100%

ที่ผ่านมาทาง Google จะพยายามจับคู่คีย์เวิร์ดในข้อความการค้นหาของคุณกับคีย์เวิร์ดที่อยู่ในหน้าเว็บ แต่ตอนนี้อัลกอริทึม RankBrain พยายามค้นหาว่าคีย์เวิร์ดที่คุณค้นหานั้นหมายถึงอะไร ซึ่ง RankBrain จะจับคู่คีย์เวิร์ดที่ไม่เคยเห็นมาก่อนกับคีย์เวิร์ดที่ Google นั้นเคยเห็นมาก่อน

ตัวอย่างเช่น

RankBrain อาจสังเกตเห็นว่าผู้คนจำนวนมากค้นหาคำว่า “คอนโซลสีเทาที่พัฒนาโดย Nintendo” และ RankBrain สามารถทำความเข้าใใจได้ว่าการหานี้ผู้ค้นหาต้องการดูชุดผลลัพธ์ที่เกี่ยวกับคอนโซลเกม 

ดังนั้นเมื่อมีคนค้นหา “คอนโซลสีเทาที่พัฒนาโดย Sony” ทาง RankBrain ก็จะแสดงผลลัพธ์ที่คล้ายกันกับคีย์เวิร์ดที่รู้จักอยู้แล้ว ซึ่งก็คือคำที่ค้นหาด้านบนอย่าง “คอนโซลสีเทาที่พัฒนาโดย Nintendo” 

ตัวอย่างเช่น 

การค้นหาเกี่ยวกับคอนโซลเกม ซึ่งแสดงผลลัพธ์เป็น PlayStation 

เมื่อไม่นานมานี้ Google ได้เผยแพร่โพสต์บล็อกเกี่ยวกับวิธีที่พวกเขาใช้ในการเรียนรู้ของเครื่องมือ ที่ใช้ในการทำความเข้าใจเจตนาของผู้ค้นหาให้ดียิ่งขึ้น

ซึ่งโพสต์ที่เผยแพร่นี้ พวกเขาได้อธิบายทางด้านเทคโนโลยีที่เรียกว่า “Word2vec” ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนคีย์เวิร์ดให้เป็นคอนเซปต์

ตัวอย่างเช่น

Google กล่าวว่าเทคโนโยลีนี้ เข้าใจคำว่า “ปารีส” และ “ฝรั่งเศส” มีความเกี่ยวข้องกันในลักษณะเดียวกันกับคำว่า “เบอร์ลิน” และ “เยอรมันนี” ซึ่งเป็นเมืองหลวงและประเทศ โดยจะแตกต่างกับคำว่า “มาดริด” และ “อิตาลี” เพราะไม่ได้มีความสัมพันธ์เป็นเมืองหลวง และประเทศซึ่งกันและกันนั่นเอง

แม้ว่าโพสต์นนี้จะไม่ได้พูดถึง RankBrain โดยเฉพาะ แต่ก็น่าจะเป็นเทคโนโลยีที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน

พูดง่าย ๆ ได้ว่า Google RankBrain เป็นมากกว่าการจับคู่ของคีย์เวิร์ดทั่วไป แต่สามารถเปลี่ยนคีย์เวิร์ดที่ใช้ค้นหานั้นให้กลายเป็นคอนเซปต์ได้ และจะพยายามค้นหาหน้าเว็บไซต์ที่ครอบคลุมคอนเซปต์นั้น ๆ 

RankBrain สามารถวัดความพึงพอใจของผู้ใช้งานได้อย่างไร

แน่นอนว่า RankBrain สามารถทำความเข้าใจกับคีย์เวิร์ดใหม่ ๆ ได้ และยังสามารถปรับแต่งอัลกอริทึมได้ด้วยตัวของมันเองแต่ยังมีคำถามที่มักพบบ่อยคือ เมื่อ RankBrain แสดงชุดผลลัพธ์ จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นผลลัพธ์การค้นหาที่ดีจริงหรือไม่ ซึ่งสามารถสังเกตได้ตามขั้นตอนดังภาพด้านล่างนี้

กล่าวอักนัยหนึ่งว่า RankBrain จะแสดงชุดผลการค้นหาที่คิดว่าคุณน่าจะชอบ และพึ่งพอใจ หากมีคนจำนวนมากชอยหน้าใดหน้าหนึ่งในผลลัพธ์ RankBrain จะเพิ้มอันดับให้กับหน้าเว็บไซต์นั้น ๆ 

และถ้าผู้คนไม่ชอบล่ะ จะเกิดอะไรขึ้นกับหน้าเว็บไซต์นั้น RankBrain จะทิ้งหน้านั้นไป และแทนที่ด้วยหน้าอื่นเเทน ซึ่งในครั้งต่อไปเมื่อมีคนค้นหาคียเวิร์ดเดิม หรือคำที่คล้ายกัน ก็จะพบผลลัพธ์ของการค้นหาเป็นหน้าเว็บใหม่

ซึ่งสิ่งที่ RankBrain ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก มีดังนี้

โดยสิ่งเหล่านี้คือ User Experience sihnal (UX signal)

ตัวอย่างเช่น

คุณเกร็งกล้ามแนื้อหลังขณะที่เล่นแทนนิส เพราะฉะนั้นคุณจึงค้นหาคำว่า “ดึงกล้ามเนื้อหลัง” ใน Google

หากคุณคลิกเข้ามาเว็บไซต์แรกที่เป็นผลลัพธ์การค้นหาของ Google ปรากฏว่าเนื้อหาไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งที่คุณต้องการ ดังนั้นคุณต้องกดปุ่มย้อนกลับ และดูที่เว็บไซต์ผลลัพธ์ที่ 2

แต่เมื่อเข้าไปดูในเว็บไซต์ที่ 2 ปรากฏว่าเนื้อหามีแต่คำแนะนำทั่ว ๆ ไป เกี่ยวกับการดึงกล้ามเนื้อหลัง หรือการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ คุณจำเป็นต้องย้อนกลับไปที่หน้าผลลัพธ์การค้นหาของ Google และคลิกไปที่เว็บไซต์อันดับ 3

ว้าว! คุณเจอผลลัพธ์การค้นหาที่ตรงใจแล้วสินะ ดังนั้นคุณไม่จำเป็นคลิกที่ปุ่มย้อนกลับอีกแล้ว สามารถอ่านเนื้อหาต่าง ๆ ในเว็บไซต์นี้ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นวิธีกายภาพบำบัด วิิธีการสร้างกล้ามเนื้อ วิธีการคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น 

หาก Google สังเกตเห็นว่าผู้คนกดออกจากหน้าเว็บอย่างรวดเร็ว เพื่อคลิกผลการค้นหาอื่น ๆ ที่มีเนื้อหาคอนเทนต์ตรงกับคีย์เวิร์ดที่ผู้ค้นหาต้องการแทน สื่อได้ว่าเว็บไซต์ที่ถูกกดออกทันทีนั้นไม่ควรถูกจัดอันดับอยู่ในหน้าแรกสำหรับคีย์เวิร์ดการค้นหานั้น ๆ 

และหาก Google สังเกตว่าผู้ค้นหาจำนวนมากใช้เวลาอยู่กับเว็บไซต์ที่เป็นผลลัพธ์การค้นหาเป็นเวลานาน แสดงว่าเว็บไซต์นั้น ๆ ตอบโจทย์ต่อการค้นหา เพราะฉะนั้นจะดันให้เว็บไซต์นี้ติดหน้าแรก เพื่อให้ค้นหาได้ง่ายขึ้น 

บทที่ 3 การค้นหาคีย์เวิร์ดในโลกของ RankBrain

อย่างที่คุณเห็นในตอนนี้ว่า google สามารถเข้าใจ INTENT ที่อยู่เบื้องหลังคีย์เวิร์ดได้แล้ว นั่นหมายความว่า Keyword Research แบบเดิม ๆ นั้นไม่จำเป็นเเล้วหรือเปล่า บอกเลยว่าไม่ใช่ ยังคงจำเป็นอยู่มาก

เพียงเเค่คุณต้องปรับเปลี่ยนวิธีการค้นหาคีย์เวิร์ดให้เหมาะสมกับการทำงานของ RankBrain มากขึ้น ซึ่งมีวิธีดังต่อไปนี้ 

หลีกเลี่ยงคีย์เวิร์ดที่ยาว (Long Tail Keyword) เพราะมันล้าสมัยแล้ว

ในอดีตที่ผ่านมานั้นการสร้างหน้าเว็บที่แตกต่างกันหลายร้อยหน้านั้นเหมาะสมเเล้ว…แต่ละหน้าจะได้รับการปรับให้เหมาะสมกับคีย์เวิร์ดหลักที่แตกต่างกัน 

ตัวอย่างสำหรับคีย์เวิร์ดที่ยาว จากการค้นหาบน Google ในอดีต เช่นคำว่า “best keyword research tool” กับ “best tool for keyword research”

แต่ปัจจุบัน RankBrain สามารถทำความเข้าใจได้ว่าคีย์เวิร์ฺดดังกล่าว เป็นคีย์เวิร์ดที่เป็นเรื่องเดียวกัน ดังนั้นจึงแสดงผลการค้นหสที่เกือบจะเหมือนกันทั้งหมด

ดังนั้นถ้าอยากให้ RankBrain จัดอันดับเว็บคุณให้ติดหน้าแรกบน Google พยายามอย่าใช้คีย์เวิร์ดที่เป็นคำยาว ๆ มากเกินไป

เพิ่มประสิทธิภาพของคีย์เวิร์ดที่มีความยาวปานกลาง (Medium Tail Keyword)

แทนที่จะใช้คีย์เวิร์ดเป็นคำยาว ๆ แนะนำว่าให้เปลี่ยนมาใช้คีย์เวิร์ดที่มีความยาวไม่สั้นไม่ยาวเกินไปจะดีกว่า ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาได้ คีย์เวิร์ดที่มีความยาวระดับกลางมีปริมาณการค้นหามากกว่าคีย์เวิร์ดที่ยาวมากเกินไป

และนี่เป็นตัวอย่างของคีย์เวิร์ดความยาวปานกลาง ที่ใช้ในการค้นหาสำหรับหัวข้อเรื่อง “Paleo Diet” จะเห็นได้ว่าปริมาณการค้นหาในกรอบแดงสูงกว่าคีย์เวิร์ดที่เป็นคำยาว ๆ แต่ยังมีปริมาณการค้นหาต่ำกว่าคีย์เวิร์ดสั้น ๆ 

เมื่อคุณเพิ่มประสิทธิภาพเพจโดยการใช้คีย์เวิร์ดที่มีความยาวปานกลาง จะทำให้เพจนั้นยอดเยี่ยมไปเลย และที่สำคัญ RankBrain จะจัดอันดับเว็บไซต์ของคุณให้ดีขึ้นจากคีย์เวิร์ดที่ได้รับความนิยมในการค้นหา

ตัวอย่างของ Keyword Research และ On-Page SEO ในโลกของ RankBrain

ก่อนหน้านี้ทางเราได้ตัดสินใจเขียนรีวิวเกี่ยวกับเครื่องมือ SEO ที่เคยใช้ทั้งหมด และจัดทำเป็นคู่มือเครื่องมือ SEO ฉบับสมบูรณ์ 

และปรากฏว่าคู่มือเครื่องมือ SEO ฉบับสมบูรณ์นี้ สามารถติดหน้าแรกบน Google ได้โดยที่ลำดับที่ 5 

ไม่เพียงเท่านั้น RankBrain ยังสามารถเข้าใจได้ว่าหน้าเพจที่เราสร้างขึ้นนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับคีย์เวิร์ดหเหล่านี้ “เครื่องมือ SEO”, “ ซอฟต์แวร์ SEO” และ “Keyword Research Tool” เป็นต้น จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้หน้าเพจของเราถูกจัดอันดับสำหรับคีย์เวิร์ดหลักที่แตกต่างกันถึง 1,800 คำ (อ้างอิงจาก SEMrush)

และนี่ก็คือพลังของการเพิ่มประสิทธิภาพเนื้อหาคอนเทนต์ที่น่าทึ่ง เพียงแค่ใช้คีย์เวิร์ดที่มีความยาวปานกลาง (Medium Tail Keyword) เพียงคำเดียว

บทที่ 4 วิธีเพิ่มประสิทธิภาพชื่อเรื่อง (Title) และ Description Tag สำหรับ Click Through Rate (CTR)

จากบทที่ 1 ที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว คุณจะเห็นได้ว่า Organic CTR เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ RankBrain ใช้ในการพิจารณาและจัดอันดับเว็บไซต์

แต่คำถามก็คือคุณจะทำอย่างไรให้ผู้คนคลิกเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ให้ได้มากที่สุด โดยบทนี้จะมาบอกกลยุทธ์สำคัญที่เพิ่มอัตราการคลิกเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สร้าง Title tags ของคุณด้วยการใส่อารมณ์ลงไป

ชื่อเรื่อง หรือหัวข้อจะต้องสื่ออารมณ์ให้ได้ รับรองว่าการคลิกเข้าชมต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งเทคนิคนี้เป็นสิ่งที่นักเขียนโฆษณารู้จักกันมาหลายปีแล้ว โดยทาง CoSchedule พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างหัวข้อข่าวที่สื่ออารมณ์ได้สูง จะได้รับการเเชร์ในโซเชียลเยอะกว่าหัวข้อข่าวธรรมดา ๆ ที่ไม่ได้มีการใส่อารมณ์ความรู้สึกลงไป

ใส่วงเล็บให้กับ Title ของคุณ

เคล็ดลับง่าย ๆ ที่ได้จากการศึกษาที่ HubSpot และ Outbrain ซึ่งพวกเขาได้วิเคราะห์ว่าหัวข้อข่าว หรือ Title กว่า 3.3 ล้านฉบับ ที่ทำการวิเคราะห์ปรากฏว่าหัวข้อที่ได้ใส่วงเล็บนั้นมีประสิทธิภาพดีกว่าไม่มีวงเล็บมากถึง 33% 

ไม่น่าเชื่อเลยใช่ไหมว่ากลวิธีเล็ก ๆ น้อย ๆ แบบนี้จะได้ผล ดังนั้นแนะนำว่าคุณควรจะใส่วงเล็บให้กับชื่อเรื่องในคอนเทนต์ของคุณ

และนี่ก็คือตัวอย่างของวงเล็บที่คุณสามารถใช้ได้

(2018) [Infographic] (New Data) [Report] (Case Study) (Proven Tips)

ต้องเพิ่มตัวเลขลงในคอนเทนต์

ข้อมูลจากหลายแหล่ง รวมถึง BuzzSumo ได้กล่าวว่าตัวเลขช่วยปรับปรุง CTR ได้จริง และคุณสามารถเพิ่มตัวเลขได้ตรงส่วนไหนถึงจะดีที่สุด คำตอบก็คือคุณสามารถใช้ตัวเลขในส่วนของ Title ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขที่เป็นร้อยละ หรือตัวเลขที่เป็นตำนวนก็ได้ ยกตัวอย่างเช่นภาพด้านล่างนี้

จะเห็นได้ว่าชื่อเรื่องของกรณีศึกษานี้มีตัวเลขถึงสองตัวเลยทีเดียว

อย่าลืมเพิ่มประสิทธิภาพของ Description Tag

ในส่วนของ Description Tag ที่ถูกปรับให้เหมาะสมสามารถเพิ่ม CTR ได้อย่างมาก ซึ่งวิธีสร้าง Descriptipn Tag เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีมีดังนี้

  • ขั้นที่ 1 ให้สร้างอารมณ์ลงไป 

ต้องสามารถเขียนให้สื่ออารมณ์ได้อย่างชัดเจน นี่คือตัวอย่างที่น่าสนใจ

  • ขั้นที่ 2 ต้องเขียนโน้นน้าวให้เหตุผลว่าทำไมผู้คนควรคลิกเข้ามาที่เว็บไซต์ของคุณ

โปรโมทความโดดเด่นของเว็บไซต์คุณออกมา ทางด้านเนื้อหามีความครอบคลุม มีงานวิจัยศึกษาที่สนับสนุนเสริมความน่าเชื่อถือ ใส่สิ่งเหล่านี้ลงไปใน Description Tag

  • ขั้นที่ 3 ใช้คำ เเละวลี (Adwords) สำหรับโฆษณาที่เสียค่าใช้จ่าย 

ยกตัวอย่างเช่นการค้นหาคำว่า “น้ำซุปกะดูก (ิbone broth)” จะเห็นวลีนี้ปรากฏในโฆษณาจำนวน 2 รายการ บน Google

และยังสังเกตเห็นได้ว่าจะมีวลี ”Grass-fed” ปรากฏอยู่ในส่วนของ Meta Description

  • ขั้นที่ 4 ใส่คีย์เวิร์ดที่เป็นเป้าหมายของคุณลงไป

ในส่วนของคีย์เวิร์ดเป้าหมายนี้ Google จะทำให้เป็นตัวหนา เมื่อคุณเขียนลงไปใน Description Tag ช่วยเสริมให้ผลลัพธ์ของการค้นหาสูงขึ้น

บทที่ 5 วิธีเพิ่มประสิทธิภาพคอนเทนต์ สำหรับการเพิ่ม Bounce Rate และ Dwell Time ให้ดียิ่งขึ้น

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ คุณต้องแสดงให้ Google เห็นว่าผลลัพธ์ของคุณนั้นทำให้ผู้เข้าเยี่ยมชมมีความสุข และชื่นชอบในคอนเทนต์ของคุณ แต่ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้เข้าเยี่ยมชมชื่นชอบและประทับใจต่อการใช้เว็บไซต์ของคุณ มีวิธีแนะนำดังต่อไปนี้

Google ใช้ Dwell Time ได้จริงหรือไม่ 

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับคำว่า Dwell Time กันก่อนเลย ซึ่งก็คือระยะเวลาที่ใช้ตั้งแต่การคลิกที่หน้าค้นหาบน Google และเข้าสู่หน้าเว็บไซต์จนกระทั่งการคลิกที่ปุ่ม Back กลัยไปที่หน้าค้นหาเหมือนเดิม

ดังนั้นเห็นได้ชัดว่ายิ่งมีคนใช้เวลาบนหน้าเว็บไซต์ของคุณนานเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้จะบอก Google ว่าเว็บไซต์ของคุณเป็นที่ชื่นชอบของผู้คน แต่หากผู้ที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์แล้วกดออกจากหน้าเว็บของคุณภายใน 2 วินาที แสดงว่าเว็บไซต์ของคุณไม่น่าประทับใจ และไม่ตอบโจทย์ของผู้ค้นหา เพราะฉะนั้น Dwell Time เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญไม่เเพ้กับปับปัจจัยอื่น ๆ ที่ใช้ในการจัดอันดับเว็บไซต์ 

เมื่อทำการวิเคราะห์ชุดผลการค้นหาจอง Google จำนวนมาก พบความสัมพัธ์ระหว่างการจัดอันดับและ Bounce Rate ซึ่งหากเว็บไซต์ที่มีการจัดอันดับสูง จะมีค่า Bounce Rate ที่ต่ำ โดยค่า Bounce Rate นี้ คือ อัตราของผู้ที่คลิกเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์เพียงหน้าเดียว และกดปิดโดยไม่มีส่วนร่วมใด ๆ ไม่คลิกไปหน้าเพจอื่น ๆ ของเว็บไซต์ ซึ่งไม่ดีต่อผลการพิจารณาการจัดอันดับเว็บไซต์   

วิธีการลดค่า Bounce Rate และเพิ่ม Dwell Time

ถ้าหากคุณอยากให้เว็บไซต์ติดอันดับหน้าแรก สิ่งที่ต้องทำก็คือลด Bounce Rate ให้ต่ำที่สุด และเพิ่ม Dwell Time ซึ่ง Google จะมองเห็นว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คน และผู้คนหาชื่นชอบที่จะอยู่ในเว็บไซต์ของคุณเป็นเวลานาน โดยวิธีการลด Bounce Rate และ Dwell Time มีดังนี้

  • ขั้นที่ 1 เอาเนื้อหาคอนเทนต์ของคุณไว้ส่วนด้านบนของหน้าเว็บเพจ

เมื่อผู้คนคลิกเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ พวกเขาต้องการที่จะพบกับคำตอบในทันที ไม่ต้องการเลื่อนลงเพื่อหาคำตอบ หรือคลิกเข้าไปที่หน้าเว็บเพจอื่น ๆ เพื่ออ่านเนื้อหาของคุณ เพราะฉะนั้นเนื้อหาคอนเทนต์ควรจะอยู่ส่วนด้านบนของหน้าเว็บเพจ เพื่อที่จะผู้คนสามารถค้นพบเจอได้ง่าย

วิธีนี้จะช่วยดึงดูดผู้เยี่ยมชมให้ใช้เวลาในเว็บไซต์ของคุณนานขึ้น เพิ่ม Dwell Time ให้มากขึ้นได้

  • ขั้นที่ 2 เขียนบทนำให้สั้น ๆ อย่าเขียนยาวมากเกินไป

สำหรับบทนำนั้นไม่ควรเกิน 5-10 ประโยค ซึ่งในส่วนนี้จะมีผู้คนเข้ามาอ่านเนื้อหาโดยรวมที่บทนำก่อนส่วนอื่น ๆ ในเว็บไซต์ โดยผู้อ่านมากถึง 90% จะตัดสินใจได้ว่าควรจะอยู่ในเว็บไซต์นี้ต่อไปหรือไม่จากการอ่านบทนำ และจากการตรวจสอบพบว่าบทนำของเว็บไซต์ที่เขียนสั้น ๆ จะดีกว่าที่เขียนยาวเกินไป ทำให้ผู้คนรู้สึกไม่อยากอ่าน ดังนั้นแนะนำว่าการเขียนบทนำควรกระชับ ครอบคลุม อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย 

และนี่คือตัวอย่างของการเขียนบทนำที่ดี กระชับ และได้ใจความ

  • ขั้นที่ 3 เผยแพร่คอนเทนต์ที่ยาว และเจาะลึก

แม้ว่าการเขียนบทนำต้องสั้น และกระชัย แต่สำหรับเนื้อหาคอนเทนต์ควรเป็นเนื้อหาที่ยาว และเจาะลึก ซึ่งจะเพิ่ม Dwell Time ได้เป็นอย่างดี ซึ่งผู้คนจะใช้เวลาในการอ่านเนื้อหาของคุณ เพื่อทำความเข้าใจ และคลายข้อสงสัยของพวกเขาจากเนื้อหาที่คุณได้เขียนบนเว็บไซต์

ตัวอย่างเช่น 

สมมติคุณค้นหาคำว่า “วิธีการวิ่งมาราธอน”

ผลลัพธ์แรกที่คุณคลิกเข้าไปเยี่ยมชม ปรากฏว่าเป็นโพสต์บล็อกที่มีความยาว 300 คำ ซึ่งก็อาจจะตอบคำถามที่คุณสงสัยได้ แต่ไม่หมด

เพราะฉะนั้นเมื่อเนื้อหาไม่ครอบคลุม คุณก็จะคลิกที่ปุ่มย้อนกลับ เพื่อกลับไปที่หน้าค้นหาหลักของ Google และคลิกเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์อื่น ๆ ที่มีเนื้อหาที่ยาว เจาะลึก มีข้อมูลรายละเอียดครบถ้วน และตอบโจทย์คุณมากกว่า (ซึ่งสิ่งนี้ Google จะเรียกว่า “Pogo-sticking”)

  • ขั้นที่ 4 แบ่งคอนเทนต์ออกเป็นหัวข้อย่อย เพื่อการอ่านที่ง่ายกว่า

การอ่านเนื้อหาที่ยาว ๆ มากกว่า 2000 คำ เป็นเรื่องที่ยาก และน่าเบื่อมาก ดังนั้นแนะนำว่าถ้าไม่อยากให้ผู้อ่านรู้สึกว่าบทความของคุณยาวเกินไป คุณจะต้องแบ่งเนื้อหาเป็นหัวข้อย่อย ๆ และเเต่ละหัวข้อจะต้องไม่เขียนติดกันยาวเกินไป เพื่อให้อ่านได้ง่ายขึ้น 

ไม่เพียงเท่านั้นหัวข้อย่อยของคุณอาจจะมีหัวข้อย่อย ๆ ที่รองลงไปอีก เพื่อให้ผู้อ่านเรียงลำดับเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น เช่น การสร้าง Step1, Step2, Step3 และ Step4 เป็นต้น โดยเทคนิคนี้จะช่วยเพิ่ม Dwell Time ได้อีกด้วย

โดยแต่ละหัวข้อย่อยควรมีความยาวของคำที่ประมาณ 200 คำ 

เคล็ดลับสำหรับมือโปร

การสร้างหัวข้อย่อยต้องเขียนกระตุ้นผู้อ่าน โดยการใส่อารมณ์ของคำลงไป อ่านแล้วต้องเข้าใจได้ง่าย ว่าหัวข้อต่อไปนี้จะกล่าวถึงเรื่องอะไรบ้าง

บทที่ 6 กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพ RankBrain และกรณีศึกษา (Case Studies)

ในบทนี้เราจะมากล่าวถึงกลยุทธ์สีั้น ๆ เพื่อใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์ สำหรับการตรวจสอบของ RankBrain จนทำให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับหน้าแรกบน Google ได้ 

เพิ่ม Brand Awareness และปรับปรุง CTR

จากบทที่ผ่านมา คุณจะเห็นแล้วว่าการใช้ตัวเลข อารมณ์ และคำที่มีพลัง จะช่วยปรับปรุง CTR ได้ แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ไม่ใช่เป็นตัวแปรทั้งหมด ซึ่งสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในการเพิ่ม CTR ก็คือ Brand Awareness 

Brand Awareness คือ การสร้างการรับรู้ของแบรนด์ เพื่อให้ผู้คนสามารถจดจำสินค้าของคุณได้ว่ามีภาพลักษณ์เป็นอย่างไร เป็นสินค้ากลุ่มไหน รวมทั้งการสร้างความน่าเชื่อถือของแบรนด์อีกด้วย

หากมีผู้คนจำนวนมากรู้จักแบรนด์ของคุณ แน่นอนว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะคลิกเข้ามาเยี่ยมเว็บไซต์ของคุณได้ ซึ่งจากข้อมูลของ WordStream พบว่า Brand Awareness สามารถเพิ่ม CTR ได้มากถึง 342% เลยทีเดียว

และนี่ตัวอย่างของผลการค้นหา

จากภาพดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเว็บไซต์ที่มีแนวโน้มได้รับอัตราการคลิกเข้าชมมากที่สุดก็คือ NYTimes.com และ Simple Recipes เนื่องจากมีผู้คนรู้จักจำนวนมาก ดังนั้นกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าการสร้าง Brand Awareness จะช่วยเพิ่มอัตราการคลิกเข้าชมสูงขึ้นได้อย่างแน่นอน

ต่อไปนี้จะเป็นวิธีสำหรับการสร้าง Brand Awareness ที่คุณควรทราบ

  • ขั้นที่ 1 ให้ลองใช้โฆษณาบน Facebook

การทำโฆษณาบน Facebook จะทำให้แบรนด์ของคุณเป็นที่รู้จักของผู้คนบนโลกออนไลน์ แม้ว่าผู้คนอาจจะไม่ได้สนใจ หรือคลิกเข้ามาเยี่ยมชม แต่อย่างน้อยพวกเขาก็เคยเห็นแบรนด์ของคุณผ่าน ๆ ตา และอาจจะจดจำได้

แต่ถ้าหากมีกลุ่มเป้าหมาย หรือลูกค้าที่สนใจในสินค้าและบริการของคุณเจอโฆษณาบน Facebook โอกาสที่จะคลิกเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และซื้อสินค้าก็จะเพิ่มสูงขึ้น

  • ขั้นที่ 2 ส่งข่าวสารเกี่ยวกับแบรนด์ของคุณผ่านทางอีเมล

การตลาดออนไลน์ที่สำคัญคือการสร้างการรับรู้ถึงแบรนด์ ดังนั้นคุณสามารถใช้อีเมลในการส่งข้อความ โปรโมชั่น หรือนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับแบรนด์ของคุณให้กับกลุ่มเป้าหมายผ่านทางอีเมลได้ โดยค้นพบว่าผู้คนส่วนใหญ่ยังคงเปิดเข้าไปอ่านอีเมลในกล่องข้อความมากถึง 46.2% และมีอัตราการคลิกเข้าชมเว็บไซต์จากอีเมลที่ 8.1%

  • ขั้นที่ 3 ทำ “Content Blitz”

“Content Blitz” เป็นที่ที่คุณเผยแพร่เนื้อหาจำนวนมากในระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งพบว่าวิธีนี้มีประสิทธิภาพมากกว่าการเผยแพร่เนื้อหาทิ้งไว้ตลอดทั้งปี

การเขียนคอนเทนต์ใน Podcasts

ฉันยังร่วมเขียนคู่มือกับ Neil Patel

เปลี่ยนเว็บเพจที่ไร้ประสิทธิภาพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

หากคุณมีหน้าเว็บเพจในเว็บไซต์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ แนะนำว่าต้องรีบเข้าไปแก้ไข ซึ่งจะช่วยให้ RankBrain พิจารณาอันดับเว็บไซต์ของคุณให้สูงขึ้น

ตัวอย่างเช่น 

Sean นักเขียนจาก Provencom เขามีคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับเว็บไซต์ ซึ่งเขียนได้ดี แต่ไม่ได้อยู่ในอันดับที่เขาต้องการ

เขาจึงพบว่าอาจเกิดจาก Title Tag ของบทความนั้นไม่น่าสนใจ และไม่กระตุ้นผู้คนคลิกเข้ามาเยี่ยมชมงานเขียนของเขา

ดังนั้นเขาจึงได้เพิ่มตัวเลข และคำกระตุ้นที่มีพลังลงไป รวมทั้งเพิ่มวงเล็บใน Title Tag

ผลลัพธ์จากการปรับปรุง Title Tag ปรากฎว่าเขาสามารถเพิ่ม Organic Traffic ของเว็บไซต์ได้มากถึง 128%

และที่สำคัญ RankBrain สังเกตเห็นว่า CTR ของเว็บไซต์นั้นเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นมันจะดันหน้าเพจของ Sean ให้มีอันดับที่สูงขึ้น 

ใช้ LSI Keyword เพื่อเติมในส่วนของ “Content Gaps”

LSI Keyword คือ คำและวลีที่เกี่ยวข้องกับหัวหลักของคอนเทนต์ โดยความสำคัญของ LSI Keyword คือ ทำให้ RankBrain สามารถเข้าใจได้ว่าเว็บไซต์ของคุณคืออะไร มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร 

ตัวอย่างเช่น

สมมติว่าคุณกำลังเขียนคำแนะนำเกี่ยวกับการสร้างลิงก์ ดังนั้น LSI Keyword ที่ควรใช้ คือ

  • Backlinks
  • Domain Authority
  • Email outreach
  • Anchor text

เมื่อ RankBrain มองเห็นว่าคุณมีเนื้อหาที่ครอบคลุม LSI Keyword ที่กล่าวมาข้างต้น ทาง RankBrain จะรู้ทันทีว่าเว็บเพจของคุณมีเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างลิงก์ นั่นหมายความว่าคุณมีแนวโน้มที่จะได้รับการจัดอันดับสำหรับคีย์เวิร์ดที่เีก่วข้องกับหัวบข้อนั้น

และคุณสามารถค้นหา LSI Keyword จาก Watson Natural Language Understanding Tool ซึ่งเครื่องมือนี้จะช่วยวิเคราะห์เนื้อหาที่คุณป้อนลงไปว่าควรมีคอนเซปต์แบบไหน และอยู่หมวดหมู่ใด รวมทั้งเข้าใจว่าเนื้อหาของคุณเกี่ยวกับอะไร

ตัวอย่างเช่นภาพด้านล่างนี้

และเมื่อคุณใส่ LSI Keyword ลงไปในเนื้อหาของคุณ ก็จะเป็นการคอนเฟิร์มกับ RankBrain ว่าคอนเทนต์ของคุณมีเนื้อหาที่ครอบคลุม ครบสมบูรณ์

สรุป

ตอนนี้ก็ถึงเวลาของคุณแล้ว ลงมือทำตามคู่มือนี้ได้เลย คุณสามารถมุ่งเน้นไปที่การเพิ่ม CTR ให้กับเว็บไซต์ การเลือกใช้ LSI Keyword หรือการปรับปรุง Dwell Time ก็ได้แล้วแต่ความถนัดของคุณ หรือถ้าจะให้ดีแนะนำว่าควรทำทุกเทคนิค เพื่อให้ Google RankBrain มองเห็นว่าเว็บไซต์ของคุณเป็นที่นิยมต่อผู้ค้นหา และเหมาะสมที่จะได้รับการจัดอันดับให้ติดหน้าแรกบน Google

สวัสดีค่ะทุกคน ชื่อหมูนะคะ เราเป็นอีกคนหนึ่งที่ชื่นชอบงานเขียนมาก ๆ ค่ะ เพราะงานเขียนเปรียบเสมือนกับการสร้างโลกในจินตนาการของเราขึ้นมา โลกใบนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข ความสนุกสนาน เเละความรู้มากมายที่เราสามารถผจญภัยไปได้เเบบไม่มีลิมิต มาท่องโลกของตัวหนังสือไปพร้อมกันนะคะ