คู่มือเขียนบทความ seo ที่มือใหม่ไม่ควรพลาด

มือใหม่ฟังทางนี้ ! อยากให้เว็บติดอันดับดีขึ้น ต้องอ่านคู่มือ SEO นี้เลย ห้ามพลาดเด็ดขาด

อยากให้หน้าเว็บติดอันดับต้องเริ่มจากสร้างบทความให้โดนใจทั้งผู้อ่าน และโปรแกรมค้นหา หรือ Search Engine กันก่อน มาเริ่มศึกษาได้เลย แล้วจะรู้ว่าทำไมการทำบทความ SEO ถึงสำคัญ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้

  1. พื้นฐานของบทความ SEO
  2. วิธีเขียนบทความ SEO

ส่วนที่ 1 : พื้นฐานของบทความ SEO

บทความ SEO คืออะไร

เนื้อหาที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้เกิดการจัดอันดับบนเครื่องมือค้นหา หรือ Search Engine ซึ่งสามารถทำออกมาในรูปแบบ Blog Post, Landing Page หรือแบบอื่นก็ได้

ทำไมการทำ SEO Content ถึงมีความสำคัญ

เพราะไม่ใช่ทุกอันที่ทำออกมาแล้วจะถูกจัดอันดับ หรือมียอดการเข้าชมที่ดี โดยต้องเป็นเนื้อหาที่จัดทำออกมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ และถูกหลักการประเมินของ Google เท่านั้นถึงจะสามารถไปต่อได้

ส่วนที่ 2 : วิธีเขียนบทความ SEO

การทำบทความ SEO เปรียบเสมือนการเขียนสิ่งที่ผู้คนต้องการรู้ให้ออกมาเป็นเนื้อหาที่กระชับ และเข้าใจง่าย ยิ่งสามารถให้ข้อมูลเชิงลึก หรือบอกความเชี่ยวชาญในหัวข้อที่ทำได้ ก็ยิ่งส่งผลดีต่อบทความของเรามากขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนการทำดังนี้

เลือกหัวข้อ

ควรค้นคว้า หรือวิจัยคีย์เวิร์ดผ่านการวิเคราะห์อัตราการเข้าชม คุณค่าทางธุรกิจ รวมถึงอันดับของคำก่อนทุกครั้ง ซึ่งด้านล่างนี้คือตัวอย่างข้อมูลของคำหลักสำหรับร้านขายอุปกรณ์ทำขนมที่ผ่านการตรวจสอบมาแล้ว

example of keyword information for bakery shop

หากต้องการสำรวจคีย์เวิร์ดบ้างต้องทำอย่างไร มีขั้นตอนดังนี้

  1. พิมพ์ Seed Keyword หรือคำที่เกี่ยวข้องกับสินค้า และเป้าหมายอย่างกว้าง ๆ ลงไปในเครื่องมือ Keyword Explorer ของ Ahrefs
  2. ดูรายงานข้อมูลด้านล่าง Matching Terms
  3. ฟิลเตอร์หาเฉพาะคีย์เวิร์ดที่มีค่า TP หรือยอดเข้าชมเว็บไซต์สูง และค่า KD ที่ต่ำ ซึ่งจะง่ายต่อการติดอันดับมากกว่า
how to do keywords research

รู้หรือไม่ ?

ค่า Keyword Difficulty หรือ KD บน Ahrefs ขึ้นอยู่กับจำนวน Backlink ไปยังหน้าเว็บไซต์ที่ติดอันดับ ซึ่งเป็นวิธีที่มีประโยชน์สำหรับการคัดเลือกคีย์เวิร์ด ดังนั้นก่อนเลือกหัวข้อ ก็ควรมาตรวจสอบค่านี้ก่อนทุกครั้ง

หลังจากนั้นให้ลองตรวจสอบหน้าเว็บที่ติดอันดับ และภาพรวมตัวเลขต่าง ๆ ของเว็บนั้นใน SERPs ซึ่งจะเห็นว่ามีหน้าเว็บอยู่หลายอันที่ยังมี Backlink น้อย หรือไม่มีเลย อีกทั้งยังมาจากแบรนด์ที่ไม่รู้จักด้วย ซึ่งดูมีแนวโน้มสำหรับนำมาทำเป็นคีย์เวิร์ดมากที่สุด เพราะมีการแข่งขันที่น้อย

checking backlink of top websites

วิเคราะห์จุดประสงค์การค้นหา

หากเข้าใจจุดประสงค์ของการค้นหา ก็จะรู้ว่าผู้ใช้งานกำลังมองหาอะไร ซึ่งจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์เนื่องจากโอกาสในการติดอันอาจน้อยลง หากทำคอนเทนต์ออกมาได้ไม่ตรงกับความต้องการ

โดยปกติแล้วคีย์เวิร์ดมักแสดงออกถึงความหมาย และจุดประสงค์ในตัวเองอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น เมื่อค้นหา “เทคนิคการเขียน SEO” ก็ค่อนข้างจะชัดเจนมากว่าอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคการเขียน SEO แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีคีย์เวิร์ดบางประเภทที่คลุมเครืออยู่ ซึ่งวิธีง่าย ๆ คือให้ใช้ตามเว็บไซต์ที่ติดอันดับในเรื่องนั้น ๆ แล้วนั่นเอง

โดยสามารถวิเคราะห์หน้าเว็บที่ติดอันดับตามหลัก 3C ได้แก่

  1. ประเภทคอนเทนต์ (Content type)  ดูว่าคอนเทนต์ออกมาในรูปแบบไหน เช่น Blog Post, หน้าผลิตภัณฑ์, Landing Page หรืออื่น ๆ
  2. รูปแบบคอนเทนต์ (Content format) อาจทำออกมาเป็น Tutorial ให้ความรู้เรื่องต่าง ๆ หรือทำออกมาเป็นคู่มือ, สูตรอาหาร และอื่น ๆ
  3. มุมมองคอนเทนต์ (Content angle) ดูว่าทำเนื้อหาโดยเน้นไปที่มุมมองไหน เช่น เน้นจุดขาย, ราคาถูก หรือความยากง่ายของการใช้งาน

ยกตัวอย่าง เว็บไซต์ที่ติดอันดับของคำค้นหา “แป้งพิซซ่าอิตาลี” ตัวคอนเทนต์ถูกจัดทำออกมาในรูปแบบสูตรอาหารหมดเลย ดังนั้นความถูกต้องของสูตร คือมุมมองคอนเทนต์ที่แต่ละเว็บให้ความสำคัญดังภาพ

example of content format

ดูความเชี่ยวชาญ

Google มีตัวชี้วัดสำหรับแยกแยะคอนเทนต์ด้านความเชี่ยวชาญอยู่ โดยเฉพาะหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ การเงิน ความปลอดภัย และการใช้ชีวิต ที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะทาง และความน่าเชื่อถือ เพราะหากนำเสนอข้อมูลผิดอาจส่งผลต่อชีวิต และความมั่นคงของผู้อ่านได้ ซึ่ง Google จะตั้งชื่อคอนเทนต์เหล่านี้ว่า Your Money or Your Life (YMYL) โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

Non-YMYL topics ผู้เขียนอาจเชี่ยวชาญในเรื่องธรรมดาทั่วไป หรือมีประสบการณ์ชีวิตโดยตรงที่เพียงพอสำหรับหัวข้อที่นำมาเล่าได้

YMYL topics เนื้อหาอาจต้องมาจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง แต่ก็มีบางกรณีที่คนทั่วไปสามารถพูดถึงหัวข้อนี้ได้ ยกตัวอย่างเช่น คนเป็นมะเร็ง อาจให้คำตอบในหัวข้อ “การเป็นมะเร็งรู้สึกอย่างไร” ได้ดีกว่าแพทย์ เป็นต้น

ซึ่งสามารถใช้แผนผังด้านล่างเพื่อการตัดสินใจ และกำหนดทิศทางของหัวข้อได้ดังนี้

how to decide whether to cover a topic

ครอบคลุมหัวข้อให้ครบถ้วน

หลังจากได้เรื่องที่จะเขียนแล้ว จากนี้คือช่วงเวลาสำหรับจัดทำเนื้อหาที่ผู้อ่านต้องการเห็น ซึ่งขั้นตอนวิเคราะห์จุดประสงค์ บอกเลยว่าช่วยขยายกรอบไอเดียได้เยอะมาก แต่ก็ยังถือเป็นเรื่องยากอยู่ดีที่จะเขียนให้ครอบคลุมทุกหัวข้อที่คิดว่าผู้ใช้ต้องการรู้ โดยมีอยู่ 2 วิธีในการค้นหาหัวข้อย่อย และประเด็นสำคัญต่าง ๆ ออกมาให้ครบถ้วน ดังนี้

  1. มองหาจุดที่เหมือนกันของหน้าเว็บติดอันดับ ช่วยให้เราได้ไอเดียหัวข้อย่อยที่ดี
  2. มองหาคีย์เวิร์ดที่ถูกใช้บ่อยในหน้าเว็บลำดับต้น ๆ  ช่วยให้มองประเด็นสำคัญต่าง ๆ  ยิ่งหากหลายเว็บมีการเขียนถึงเยอะ ก็แสดงว่าเป็นเนื้อหาสำคัญที่ควรนำมาเขียนด้วยเช่นกัน

โดยสามารถใช้ Ahrefs เข้ามาช่วยเหลือได้ตามขั้นตอนด้านล่างนี้

  1. ใส่คีย์เวิร์ดลงไปในเครื่องมือ Keyword Explorer บน Ahrefs
  2. เลือกหน้าเว็บติดอันดับที่เกี่ยวข้องมาประมาณ 2 – 3 หน้า
  3. คลิกที่คำว่า “Open in” แล้วเลือก “Content Gap”
few tricks to create a covered content

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากคีย์เวิร์ดหลักของเราคือ “Content audit” หรือการตรวจสอบเนื้อหา เมื่อรวมหน้าเว็บติดอันดับสองถึงสามอันลงใน Content Gap แล้ว จะเห็นว่ามีคีย์เวิร์ดมากมายที่บ่งบอกเกี่ยวกับหัวข้อย่อย

example of content gap

ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ใช้ไม่ได้ต้องการค้นหาเพียงวิธีตรวจสอบเนื้อหาเท่านั้น แต่ยังสนใจเรื่อง Content audit คืออะไร, ทำไมถึงต้องทำ, เทมเพลตต่าง ๆ รวมถึงเครื่องมือที่จำเป็นต่อการใช้งาน อีกด้วย

สร้างคอนเทนต์ที่เป็นเอกลักษณ์

หากตั้งเป้าหมายอยากให้หน้าเว็บติดอันดับหน้าแรก สุดท้ายแล้วก็จะจบลงที่เนื้อหาซ้ำ ๆ ไม่มีอะไรแปลกใหม่ และจมหายไปกับเว็บอื่น ๆ

how seo tools lead to copycat content

ซึ่งจัดว่าเป็นปัญหาสำหรับการทำบทความ SEO อย่างมาก และมีวิธีแก้ไขดังนี้

  1. หาข้อมูลจากการวิจัยจริง เช่น โพลล์ แบบสำรวจ หรือผลการศึกษาต่าง ๆ เป็นต้น
  2. ให้มุมมอง หรือความเห็นที่มีเอกลักษณ์ โดยอาจมาจากความคิดเห็นของผู้เขียนเอง จากคนรู้จัก หรือผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาโดยตรงก็ได้
  3. อธิบายต่อจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว แล้วทำการตีแผ่แนวคิดนั้นแบบเจาะลึก พร้อมนำเสนอข้อมูล หรือทางเลือกอื่น ๆ

หากใช้งานฟังก์ชัน Best by links บน Site Explorer ของ Ahrefs เพื่อดูบล็อกโพสต์ที่มีจำนวน Backlink มากที่สุด จะเห็นเลยว่าหน้าเว็บส่วนใหญ่ที่ได้ Backlink เป็นผลการศึกษาทั้งหมด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าข้อมูลจากการวิจัยมีประสิทธิภาพมากเพียงใด

example of using function best by links

อีกหนึ่งเทคนิค คือการดูว่าทำไมผู้คนถึงทำ Backlink ไปหาหน้าเว็บที่ติดอันดับ ยกตัวอย่างเช่น มีการพบลิงก์ไปยังเว็บคู่แข่งในหัวข้อเกี่ยวกับการเขียนคำโฆษณาด้วยสูตรที่คิดขึ้นเอง หลังจากนั้นจึงได้ลองสร้างขึ้นมาบ้าง โดยตั้งชื่อว่า สูตร ASMR ซึ่งจะเห็นว่าเริ่มได้รับลิงก์กลับมาบ้างแล้วเช่นกัน

do the anchor text

รู้หรือไม่ ?

Google ตระหนักถึงปัญหาคอนเทนต์ลอกเลียนแบบอยู่เสมอ และมีการยื่นจดสิทธิบัตรแล้วในปี 2020 ที่ผ่านมา พร้อมกำหนดแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้ คือ ประเมินค่าตามบริบทการรับข้อมูลจากลิงก์ เป็นวิธีดูหน้าเว็บที่ถูกลิงก์เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลถึงจะได้รับคะแนน ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าข้อมูลจากหน้าเว็บเดียว สามารถนำเสนอให้กับผู้อ่านที่เคยเห็นข้อมูลจากแหล่งอื่นในหัวข้อเดียวกันได้มากน้อยเพียงใด

ทำให้กระชับ

ผู้คนมักเลิกสนใจกับสิ่งที่อ่านแล้วรู้สึกเข้าใจยาก หรือทำให้สับสน ซึ่งเป็นเรื่องไม่ดีเพราะ Google ใช้ข้อมูลการตอบสนองเพื่อประเมินหน้าเว็บไซต์ ดังนั้นหากผู้อ่านเข้ามา แล้วออก หรือเลิกดูคอนเทนต์ของเราไป ก็จะไม่สามารถช่วยเรื่อง SEO ได้เลย

หากต้องการทำเนื้อหาออกมาให้น่าสนใจ สามารถปรับใช้เทคนิคด้านล่างได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้คำ หรือประโยคที่เข้าใจยาก
  • จัดวางให้อ่านง่าย สบายตา โดยใช้ภาพ หรือวิดีโอ คั่นกลางระหว่างตัวหนังสือ
  • ใช้สำนวนภาษาที่เข้าถึงง่าย และโดนใจผู้อ่าน
  • ตรวจสอบการสะกดคำ เพื่อดูว่าเขียนได้ถูกต้อง หรืออ่านแล้วไม่มีจุดไหนสะดุด

ซึ่งหน้าเว็บอย่าง Hemmingway และ Grammarly ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยให้การสะกดคำ และการตรวจสอบความถูกต้องของประโยคเป็นเรื่องง่ายขึ้นได้ แต่หากสงสัยว่าผู้คนส่วนใหญ่ใช้คำพูด หรือคำศัพท์ประมาณไหนกัน สามารถลองทำตามนี้ได้เลย

  1. ใส่คีย์เวิร์ดลงไปบนเครื่องมือ Keyword Explorer ของ Ahrefs
  2. ดูที่รายงานผลของ Related Term
  3. คลิกไปที่ช่อง “Also talk about”
how to find also talk about of keywords

อัปเดตเนื้อหาให้ทันกระแสตลอดเวลา

เพราะทุกคอนเทนต์เมื่อเขียนทิ้งไว้สักพัก ย่อมเริ่มล้าหลัง ซึ่งมีผลกระทบมากหากเราเลือกเขียนในหัวข้อที่ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว ทำให้ต้องอัปเดตอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ผู้อ่าน และ Google เกิดความสนใจ

ยกตัวอย่างกราฟแสดงจำนวนการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของหัวข้อ ‘รายการค้นหายอดนิยมบน Google’ โดยจะเห็นว่ามีทั้งช่วงขาขึ้น และลง

graph show amount of traffic

ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากเรื่องนี้เป็นหัวข้อที่ต้องการความสดใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยผู้ค้นหาคงไม่ต้องการดูรายการค้นหายอดนิยมบน Google ของปีที่ผ่านมาแล้ว ดังนั้นยอดการเยี่ยมชมที่ลดลงจึงเกิดจากเนื้อหาเก่า และมีจำนวนเพิ่มขึ้นหลังได้ทำการอัพเดตเนื้อหาใหม่ลงไปแล้วนั่นเอง

นอกจากนี้หากใช้งาน WordPress ยังสามารถจับตาดูอันดับที่เพิ่ม หรือลดลงได้ จากการใช้ปลั๊กอินฟรี เพียงแค่กำหนดคีย์เวิร์ดเป้าหมายของแต่ละหน้าลงไป จากนั้นจะสามารถบอกได้เลยว่าเนื้อหานั้นมียอดเข้าชมดีขึ้น หรือลดลง ทำให้รู้ว่าควรอัปเดตเนื้อหาในหน้าเว็บไหนบ้างนั่นเอง

example of wordpress plugin

สรุปใจความสำคัญ

  • บทความ SEO คือเนื้อหาที่จัดทำออกมาเพื่อให้ได้รับการจัดอันดับใน Search Engine หรือเครื่องมือค้นหาของ Google
  • เป็นการทำเนื้อหาออกมาให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้อ่าน ครอบคลุม กระชับ และเข้าใจง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • หากไม่ทำตามหลักการ SEO คอนเทนต์ที่ทำออกมาก็จะไม่ได้รับการจัดอันดับ

ใครที่อยากหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ SEO สามารถตามอ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่ : https://thekalling.com/tkl-blog/