Techniques SEO for website

เทคนิค SEO พื้นฐาน อัปเดตใหม่ล่าสุด 2023 ที่มือใหม่สายคอนเทนต์ต้องเรียนรู้

หากใครที่กำลังจะสร้างเว็บไซต์ แนะนำว่าควรทำความรู้จัก และเรียนรู้เทคนิค SEO ให้ดีเสียก่อน เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณประสบความสำเร็จได้ ดังนั้นวันนี้เรามาเรียนรู้เทคนิคพื้นฐานง่าย ๆ ไปพร้อมกันเลยดีกว่า

สารบัญเนื้อหา

ดังนั้นอย่าได้รอช้า เราไปเรียนรู้กันเลยดีกว่า ว่าจะมีเทคนิคอะไรบ้างที่ควรทราบ และน่าสนใจ ช่วยทำให้การทำเว็บไซต์ติดอันดับบนหน้าแรก Google และมีอัตราการเยี่ยมชมสูงได้ไม่ยาก

Part 1 : เทคนิค SEO พื้นฐานที่มือใหม่หัดทำเว็บต้องเรียนรู้

เทคนิค SEO คืออะไร

คือ กระบวนการหรือขั้นตอนวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์ให้สูงขึ้น เพื่อให้เครื่องมือค้นหา เช่น Google สามารถค้นหา รวบรวมข้อมูล และทำความเข้าใจเนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อนำไปจัดทำดัชนี (Google indexing) และจะส่งผลให้เว็บไซต์บรรลุวัตถุประสงค์มีอัตราการค้นหาเพิ่มสูงขึ้น และอันดับที่ดีขึ้นได้

เทคนิค SEO มีความซับซ้อน หรือความยากง่ายมากน้อยเพียงใด

ถ้าพูดโดยรวมแล้ว นับว่าเป็นเทคนิคขั้นพื้นฐาน ที่มือใหม่สามารถเรียนรู้ และลงมือทำได้ด้วยตนเอง แต่อย่างไรก็ตามเทคนิคบางประการยังคงซับซ้อน และทำความเข้าใจยาก ซึ่งหากใครอยากเรียนรู้เชื่อมั่นได้เลยว่าไม่มีอะไรยากเกินกว่าความพยายามและความตั้งใจของเรา

Part 2 : มาทำเข้าใจกับ Crawling (การเก็บข้อมูล) ต้องทำอย่างไรบ้าง

ในส่วนนี้จะมาทำความเข้าใจและเรียนรู้วิธีการตรวจสอบว่าเครื่องมือค้นหาสามารถรวบรวมข้อมูลเนื้อหาภายในเว็บไซต์ของคุณได้อย่างยอดเยี่ยม และมีประสิทธิภาพ

การรวบรวมข้อมูลของเครื่องมือค้นหาทำงานได้อย่างไร

วิธีการสำหรับการรวบรวม เครื่องมือค้นหาจะดึงเนื้อหาจากหน้าต่าง ๆ และใช้ลิงก์ในหน้าต่าง ๆ เพื่อค้นหาหน้าเพจอื่นในเว็บไซต์เพิ่มเติม ซึ่งคุณสามารถควบคุมว่าจะให้เครื่องมือค้นหารวบรวมข้อมูล หรือไม่รวบรวมข้อมูลในส่วนใดบ้าง ซึ่งสามารถใช้เครื่องมือ ดังต่อไปนี้ได้

Robots.txt

สำหรับไฟล์ robots.txt จะเป็นตัวบ่งชี้ให้เครื่องมือค้นหาทราบว่าสามารถที่จะเข้ารวบรวมหรือไม่สามารถเข้ารวบรวมข้อมูลเนื้อหาส่วนใดส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ ซึ่งหน้าเพจที่มีการติดแท็กนี้ไว้จะทำให้ Google อาจไม่สามารถจัดทำดัชนีเว็บไซต์หน้าที่ไม่ได้รวบรวมข้อมูลนั่นเอง

Crawl rate

จะใช้ในการช่วยกำหนดความถี่ในการรวบรวมข้อมูลหน้าเว็บได้ ซึ่งใช้ร่วมกับโปรแกรมรวบรวมข้อมูลหลายตัวได้ แต่อย่างไรก็ตามสำหรับ Google สิ่งนี้จะใช้ไม่ได้ผล ซึ่งหากต้องการกำหนดช่วงเวลาความถี่ในการรวบรวมข้อมูลของกูเกิ้ลต้องไปกำหนดที่เครื่องมือ Google Search Console

Access restrictions

หากคุณต้องการกำหนดผู้เข้าใช้งาน โดยที่ไม่ใช่เครื่องมือค้นหา สำหรับการเข้าไปใช้งานในหน้าเพจใดเพจหนึ่งในเว็บไซต์ จะต้องเลือกใช้เทคนิคบางประการนี้เข้าช่วย ได้แก่

  • ระบบล็อกอินเข้าสู่ระบบบางประเภท ที่จำเพาะเจาะจง
  • การใช้ HTTP authentication ซึ่งต้องมีรหัสผ่านการเข้าถึง จึงจะเข้าใช้งานได้
  • การใช้ IP whitelisting โดยจะอนุญาตให้เฉพาะ IP Address ที่ระบุเท่านั้นในการเข้าถึงเพจ

จะเป็นเสมือนการกำหนดว่าใครที่จะเข้าถึงเพจได้ ซึ่งจะกำหนดไม่ให้เครื่องมือค้นหาเข้าถึงเพจได้ และไม่จัดทำดัชนีในหน้าเว็บนั้น ๆ 

วิธีติดตามการรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ของเครื่องมือค้นหา

สามารถใช้เครื่องมือฟรีอย่าง Google Search Console ได้ โดยให้ไปที่ “Crawl stats” report ในรายงานส่วนนี้จะมีข้อมูลเพิ่มเติมเกียวกับวิธีที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล โดยหากคุณต้องการติดตามส่วนนี้ และโฮสติ้งมี Control Panel อย่างเช่น cPanel คุณจะต้องมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลทุกส่วนภายในเว็บไซต์

การปรับเปลี่ยนและการรวบรวมข้อมูล

เชื่อไหมว่าแต่ละเว็บไซต์จะมีงบประมาณสำหรับรวบรวมข้อมูลแตกต่างกันไป ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างความถี่ในการรวบรวมข้อมูลไซต์จาก Google และจำนวนข้อมูลที่คุณอนุญาตให้เข้าถึงได้ ซึ่งหน้าเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นหรือมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยจะถูกรวบรวมข้อมูลถี่ขึ้น และหน้าที่ดูเหมือนจะไม่ได้รับความนิยมหรือมีการเชื่อมโยงที่ดีอยู่แล้วจะถูกรวบรวมข้อมูลถี่น้อยลง เมื่อรวบรวมเสร็จแล้ว จะมีการส่งผลเพื่อนำไปจัดทำดัชนีเว็บไซต์นั่นเอง

Part 3 :Google index คืออะไร มีผลอย่างไรต่อเว็บไซต์

ในส่วนที่สามนี้ จะกล่าวถึงวิธีการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจได้ว่าหน้าเว็บไซต์ของคุณได้รับการจัดทำดัชนีแล้ว และตรวจสอบว่ามีการจัดทำดัชนีอย่างไรบ้าง

Robots directives

สำหรับ Robot meta tag คือ ข้อมูลโค้ด HTML ที่ใช้บอกเครื่องมือค้นหาว่าจะให้เข้ารวบรวมข้อมูลหรือจัดทำดัชนีหน้าเว็บไหนบ้าง และทำอย่างไร ซึ่งโค้ดนี้จะถูกวางเอาไว้ในส่วนของ <head> โดยมีลักษณะดังนี้

<meta name=”robots” content=”noindex” />

การกำหนดมาตรฐาน (Canonicalization)

หากหน้าเว็บใดเว็บหนึ่งมีหลากหลายเวอร์ชั่น ทาง Google จะเลือกเพียงแค่หนึ่งเวอร์ชั่นเท่านั้นเพื่อนำไปจัดเก็บในดัชนี โดยกระบวนการนี้เรียกว่า canonicalization ซึ่งจะมีการกำหนด URL ที่เลือกให้เป็น Canonical หรือเรียกว่า Canonical URL ซึ่งปัจจัยในการเลือกเวอร์ชั่นมีดังนี้

แต่วิธีการเลือกที่ง่ายสุด ๆ คือให้ดูว่า Google จัดทำดัชนีหน้าเว็บอย่างไรบ้าง สามารถใช้เครื่องมือตรวจสอบ URL ใน Google Search Console ซึ่งจะแสดง URL ตามรูปแบบบัญญัติที่ทาง Google เลือกไว้

Google Search Console - Page indexing

Part 4 : วิธีการใช้เทคนิค SEO อย่างไรให้ประสบความสำเร็จได้รวดเร็วทันใจ

สิ่งที่ยากอีกประการสำหรับการทำ SEO คือ การจัดลำดับความสำคัญว่าส่วนไหนในเว็บไซต์ที่จะต้องจัดการแก้ไขก่อนนั่นเอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในเว็บไซต์บางประการย่อมมีผลกระทบต่อการจัดอันดับและการเข้าชมอย่างแน่นอน ดังนั้นมาดูลำดับความสำคัญว่าคุณจะต้องทำสิ่งใดเป็นสิ่งแรก และสิ่งสุดท้ายในการปรับปรุงด้าน SEO ของเว็บไซต์

ตรวจสอบการจัดทำดัชนี

แนะนำว่าสิ่งแรกที่ควรทำคือการตรวจสอบให้มั่นใจว่าหน้าเว็บที่คุณต้องการให้ผู้คนค้นหาเข้าถึงนั้น สามารถจัดทำดัชนีได้ใน Google โดยใช้เครื่องมือฟรีอย่าง Ahrefs Webmaster Tools เพื่อเข้าถึง Site Audit และดูว่าเพราะเหตึผลอะไรที่ทำให้หน้าเว็บบางหน้าไม่สามารถจัดทำดัชนีได้

Site Audit - Indexability

เรียกคืนลิงก์ที่สูญหายไปให้กลับมา

คุณรู้ไหมว่าเว็บไซต์มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยน URL ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีกรณีที่ URL เก่า ๆ ได้รับลิงก์จากเว็บไซต์อื่น ๆ ซึ่งหากไม่ได้เปลี่ยนเส้นทางไปยังหน้าปัจจุบันของเว็บไซต์ ลิงก์เหล่านั้นจะหายไป ซึ่งเป็นลิงก์ที่ควรมีในเว็บไซต์ ดังนั้นแนะนำว่าควรเรียกให้กลับคืนมา โดยมีวิธีการง่าย ๆ เพียงใช้เครื่องมือ Ahrefs’ Site Explorer ป้อนโดเมนเว็บไซต์ลงไป และไปที่รายงาน Best by Links จากนั้นเพิ่มตัวกรองสำหรับ HTTP เรียกว่า 404 not found และจัดเรียงลำดับตาม “Referring Domains”

ตัวอย่าง

นี่เป็นลักษณะของ 1800flowers.com:

The Best Pages by Incoming Links

เมื่อสังเกตที่ URL อันดับแรกใน archive.org จะพบว่านี่คือหน้าเพจที่มาก่อนหน้าเพจวันแม่ ซึ่งการเปลี่ยนเส้นทางหน้านั้นไปเป็นเวอร์ชั่นปัจจุบันทำให้ลิงก์หายไป โดยคุณสามารถเรียกลิงก์คืนได้มากถึง 225 ลิงก์ จากเว็บไซต์ต่าง ๆ 59 แหล่ง ให้กลับมาเหมือนเดิม

คุณจะต้องใช้ 301 redirect สำหรับเปลี่ยนเส้นทางของ URL เดิม ๆ ไปยังตำแหน่งปัจจุบัน เพื่อเรียกคืนลิงก์ที่หายไป ซึ่งการเปลี่ยนเส้นทางรูปแบบนี้จะเป็นแบบถาวี ลิงก์ใด ๆ ที่ชี้ไปยัง URL เดิม จะถูกเปลี่ยนเส้นทางไปยัง URL ใหม่ ที่ Google เห็นว่าเหมาะสม

เพิ่มลิงก์ภายใน หรือ Internal links 

สำหรับลิงก์ภายใน คือ ลิงก์ที่เขื่อมโยงหน้าเพจต่าง ๆ ในเว็บไซต์ให้สามารถคลิกเข้าถึงกันได้ โดยช่วยให้ค้นพบหน้าเว็บที่เกี่ยวข้องหรือมีเนื้อหาในเรื่องเดียวกัน ไม่เพียงเท่านั้นยังช่วยให้หน้าเว็บไซต์มีอันดับที่ดีขึ้นได้ด้วย ซึ่งคุณสามารถใช้เครื่องมือ Internal Link Opportunitie สำหรับตรวจสอบและเชื่อมลิงก์ภายใน

เครื่องมือนี้ทำงานโดยค้นหาการกล่าวถึงคีย์เวิร์ดที่จัดอันดับไว้แล้วในเว็บไซต์ จากนั้นจะแนะนำให้เชื่อมโยงลิงก์ที่ตรงตามบริบทของคีย์เวิร์ด 

ตัวอย่างเช่น

เครื่องมือนี้ได้กล่าวถึง “faceted navigation” ซึ่งหากหน้าเว็บใดก็ตามที่มีสิ่งนี้อยู่แนะนำให้เพิ่มลิงก์ภายในลงไป

faceted navigation

เพิ่มมาร์กอัปสคีมา

Schema markup คือ โค้ดที่ช่วยให้เครื่องมือค้นหาเข้าใจว่าเนื้อหาของคุณได้ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นแล้ว นอกจากนั้นยังเพิ่มฟีเจอร์ต่าง ๆ มากมายที่จะช่วยให้เว็บไซต์มีความโดดเด่นในหน้าผลการค้นหาของ Google

Part 5 : มาดูเทคนิค SEO เพิ่มเติมกันเถอะ

ต่อมาจะพาทุกคนมาดูสิ่งที่ต้องทำเพิ่มเติมเพื่อให้เว็บไซต์ของคุณประสบความสำเร็จทางด้าน SEO มากขึ้น ซึ่งจะมีอะไรบ้างมาดูเลย

ประสบการณ์ของผู้ใช้งานเว็บไซต์

เชื่อไหมว่าประสบการณ์ผู้ใช้งานเว็บไซต์ (UX) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการจัดอันดับ ซึ่งอาจไม่ได้มีความสำคัญเท่าไหร่ แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย

Google's Search Signals for Page Experience

Core Web Vitals

คือ เมตริกที่ใช้ในการวัดความเร็วของเว็บไซต์ ซึ่ง Google ให้ความสำคัญ และใช้ในการจัดอันดับ โดยจะประกอบไปด้วยหน่วยเมตริกวัดการโหลดภาพด้วย Largest Contentful Paint (LCP) ความเสถียรของภาพด้วย  Cumulative Layout Shift (CLS) และการโต้ตอบกับ  First Input Delay (FID) ซึ่งหากเว็บมีความเร็วสูง จะทำให้ผู้ใช้งานประทับใจได้

HTTPS

ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการรักษาความลับ และการรับรองความถูกต้องแก่การรับส่งข้อมูล ซึ่ง WWW ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีการโหลดผ่าน HTTPS ไม่ใช่ HTTP

ซึ่งจะสังเกตได้ที่ไอคอน “ล็อค” ในแถบด้านบน แปลว่า เว็บไซต์กำลังใช้งาน HTTPS อยู่

HTTPS-ahrefs.com

ความเหมาะสมต่อการใช้งานบนมือถือ 

Mobile-friendly คือ การตรวจสอบว่าหน้าเว็บสามารถใช้งานได้ดี และมีประสิทธิภาพสูงในการแสดงผลบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ

การตรวจสอบสามารถใช้เครื่องมือ Google Search Console และไปที่รายงาน “Mobile Usability”

Google Search Console - Mobile Usability

ภายในรายงานนี้จะบอกว่าหน้าเว็บใดไม่เหมาะสมต่อการใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ซึ่งเมื่อทราบแล้วแนะนำว่าควรรีบแก้ไขให้เร็วที่สุด เนื่องจากปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่มักใช้โทรศัพท์มือถือในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ บนเครื่องมือค้นหา เช่น Google

โฆษณาคั่นระหว่างหน้า

Interstitials หรือ โฆษณาคั่นระหว่างหน้าจะบล็อกเนื้อหาไม่ให้ปรากฏ เรียกง่าย ๆ ว่าเป็นป๊อปอัปที่ครอบคลุมเนื้อหาหลักและผู้ใช้งานอาจจะต้องมีการคลิกโต้ตอบโฆษณาเหล่านี้ เพื่อให้มันหายไปออกจากหน้าเว็บ ซึ่งส่วนนี้จะลดความประทับใจในการใช้งานของผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์

ใช้แท็ก Hreflang สำหรับเว็บไซต์ที่มีหลายภาษา

สำหรับ Hreflang นี้ เป็นส่วนหนึางของแอตทริบิวต์ของ HTML ที่สามารถใช้ระบุภาษาและกำหนดเป้าหมายทางภูมิประเทศของหน้าเว็บไซต์ เพื่อใช้ในการกำหนดภาษาสำหรับการใช้งานเว็บไซต์ในแต่ละพื้นที่ แต่ละประเทศที่มีการใช้ภาษาแตกต่างกันไป โดยแท็กนี้จะช่วยบอกเครื่องมือค้นหา เช่น Google ว่าควรแสดงภาษาอะไรให้กับผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์นั่นเอง

การบำรุงรักษาทั่วไป และสุขภาพของเว็บไซต์

ส่วนนี้อาจจะไม่ได้กระทบต่อการจัดอันดับมากนัก แต่อย่างไรก็ตามหากพบปัญหาต้องรีบแก้ไขทันที เนื่องจากส่งผลต่อประสบการ์ใช้งานของผู้ใช้

Broken links

ลิงก์เหล่านี้ ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว ซึ่งอาจจะนำพาผู้ใช้งานไปยังแหล่งข้อมูลที่ไม่มีอยู่จริง หรือข้อมูลที่ผิดพลาด เพราะฉะนั้นต้องรีบลบออกจากเว็บไซต์ทันที

การค้นหาลิงก์เสียนี้สามารถทำได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ Ahrefs Webmaster Tools และไปที่รายงาน Links

How to check broken internal

Redirect chains

คือ ชุดของการเปลี่ยนเส้นทางที่เกิดขึ้นระหว่าง URL เริ่มต้นไปยังปลายทาง ซึ่งสามารถค้นหากลุ่มการเปลี่ยนเส้นทางบนเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็วด้วยการตรวขสอบไซต์ในรายงานการเปลี่ยนเส้นทาง Redirects ในเครื่องมือฟรี Ahrefs Wenmaster Tools

Redirect chains

Part 6 : เครื่องมือสำหรับการทำเทคนิค SEO ที่ไม่ควรพลาด

เครื่องมือเหล่านี้ จะช่วยให้คุณปรับปรุงด้านเทคนิคของเว็บไซต์ให้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีเครื่องมืออะไรบ้าง เรามาเช็คลิสต์กันเลย

Google Search Console

Google Search Console - Performance

เดิมเรียกว่า Google Webmaster Tools เป็นบริการฟรีจาก Google ที่ช่วยให้ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาลักษณะที่ปรากฏของเว็บไซต์ในผลการค้นหา เครื่องมือนี้ใช้แก้ไขข้อผิดพลาดทางเทคนิค ส่งแผนผังเว็บไซต์ รวมทั้งดูปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างข้อมูล และอื่น ๆ 

Bing  และ Yandex มีเวอร์ชันของตัวเอง และ Ahrefs ก็เป็นเช่นเดียวกัน ซึ่ง Ahrefs Webmaster Tools เป็นเครื่องมือฟรีที่จะช่วยคุณปรับปรุงประสิทธิภาพ SEO ของเว็บไซต์ ซึ่งจะช่วยดังนี้

  • ตรวจสอบสุขภาพ SEO ของเว็บไซต์ของคุณ
  • ตรวจสอบปัญหา SEO มากกว่า 100 รายการ
  • ดูลิงก์ย้อนกลับ (Backlinks) ทั้งหมดของคุณ
  • ดูคีย์เวิร์ดทั้งหมดที่คุณจัดอันดับ
  • ค้นหาว่าเพจของคุณได้รับการเข้าชมมากเพียงใด
  • ค้นหาโอกาสในการเชื่อมโยงภายใน (Internal links)

ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นข้อจำกัดของ Google Search Console ที่ไม่สามารถทำได้

Google’s Mobile-Friendly Test

Mobile-Friendly Test

เป็นเครื่องมือสำหรับการทดสอบความเหมาะสมสำหรับการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ และยังสามารถระบุปัญหาการใช้งานบนโทรศัพท์ได้โดยเฉพาะ เช่น ข้อความแสดงเล็กเกินไป อ่านยาก เป็นต้น

Chrome DevTools

Chrome DevTools

เป็นเครื่องมือแก้ไขข้อบกพร้องหน้าเว็บไซต์ที่มีอยู่ใน Chrome ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาความเร็วของหน้าเว็บ และปรับปรุงประสิทธิภาพการแสดงหน้าเว็บให้ดีมากขึ้น

Ahrefs’ SEO Toolbar

Ahrefs' SEO Toolbar

แถบเครื่องมือ SEO ของ Ahrefs เป็นส่วนขยายฟรีสำหรับ Chrome และ Firefox ที่ให้ข้อมูล SEO ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับหน้าเว็บและเว็บไซต์ที่คุณเยี่ยมชม

คุณสมบัติฟรีของเครื่องมือที่ใช้งานได้

  • On-page SEO report
  • Redirect tracer with HTTP headers
  • Broken link checker
  • Link highlighter
  • SERP positions

นอกจากนั้นสิ่งที่คุณจะได้รับมีดังนี้

  • ตัวชี้วัด SEO สำหรับทุกเว็บไซต์และหน้าเว็บที่คุณเยี่ยมชม รวมทั้งผลการค้นหาของ Google
  • ตัวชี้วัดคีย์เวิร์ด เช่น ปริมาณการค้นหา และความยากของคำ (KD) โดยตรงใน SERP
  • การส่งออกผลลัพธ์ของ SERP

PageSpeed Insights

PageSpeed Insights

เครื่องมือนี้ใช้ในการวิเคราะห์ความเร็วการโหลดหน้าเว็บของคุณนอกจากคะแนนประสิทธิภาพแล้ว ยังแสดงคำแนะนำที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ เพื่อทำให้หน้าเว็บโหลดได้เร็วขึ้น

สรุป

หากเว็บไซต์ของคุณมีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือต่ำ จะทำให้ไม่ได้รับการจัดทำดัชนี ดังนั้นก็จะไม่พบเนื้อหาของหน้าเว็บนั้น  ๆ บนผลลัพธ์ของเครื่องมือค้นหา และแน่นอนว่าปริมาณการค้นหาจะลดลงอย่างน่าตกใจ เพราะฉะนั้นจะต้องรีบแก้ไขให้เร่งด่วนด้วยการใช้เทคนิค SEO รวมทั้งเครื่องมือต่าง ๆ ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ดีขึ้น เพื่อส่งผลให้เว็บไซต์ได้รับการจัดทำดัชนี และอันดับที่เพิ่มขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นยังมีผลดีต่อประสบการณ์ของผู้ใช้งานเว็บไซต์อีกด้วย

สวัสดีค่ะทุกคน ชื่อหมูนะคะ เราเป็นอีกคนหนึ่งที่ชื่นชอบงานเขียนมาก ๆ ค่ะ เพราะงานเขียนเปรียบเสมือนกับการสร้างโลกในจินตนาการของเราขึ้นมา โลกใบนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข ความสนุกสนาน เเละความรู้มากมายที่เราสามารถผจญภัยไปได้เเบบไม่มีลิมิต มาท่องโลกของตัวหนังสือไปพร้อมกันนะคะ