all around content audit guide 2023

คู่มือ Content Audit อัปเดตปี 2023 รวมกระบวนการตรวจสอบประสิทธิภาพเนื้อหา พร้อมเทมเพลตใช้งานฟรี

ไม่ใช่ทุกคอนเทนต์ที่เผยแพร่ไปแล้วจะได้ผลตอบรับที่ดี ถึงแม้จะอุทิศทั้งกาย และใจเพื่อสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ดีออกมา แต่ก็เป็นเรื่องปกติที่หลายครั้งคอนเทนต์ก็ไม่ถูกจัดอันดับ หรือไม่ช่วยอะไรกับธุรกิจเลย ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าผิดหวังแบบสุด ๆ

แม้ว่าคอนเทนต์ที่ทำออกมาจะมีข้อผิดพลาด แต่ก็ไม่จำเป็นต้องปล่อยทิ้งเสมอไป และกลับมาดูแลหน้าเหล่านั้นได้ใหม่อีกครั้ง เพื่อตรวจหาจุดผิดพลาดแล้วดำเนินการแก้ไขปรับปรุง ซึ่งบทความนี้จะมาพูดถึงขั้นตอน Content Audit แบบฉบับสรุปเข้าใจง่าย พร้อมเทมเพลตที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ให้ทุกคนได้รู้กัน

สารบัญ

กระบวนการทำ Content Audit

ทั่วไปแล้ว กระบวนการทำ Content Audit ทุกแบบแทบจะเหมือนกันหมด คือการตั้งคำถามว่าอะไรคือ สาเหตุที่ทำให้คอนเทนต์ของเราไม่ได้คุณภาพ และต้องทำอย่างไรให้คอนเทนต์กลับมาดีอีกครั้ง หลังจากนั้นจึงทำการปรับปรุงในส่วนเหล่านั้น

ก่อนเริ่มดำเนินการ จำเป็นต้องมีสองสิ่งนี้ก่อน :

  • รายการคอนเทนต์ที่ต้องตรวจสอบ
  • กระบวนการตรวจสอบคอนเทนต์ที่มีประสิทธิภาพ

ซึ่งดูผลการรายการเพจที่ทำได้ง่าย และใช้งานฟรี ด้วย Ahrefs Webmaster Tools (AWT) เพียงรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ของเราด้วย Site Audit จากนั้นคลิกไปที่แท็บ Bulk export แล้วส่งออกตัว Internal HTML URLs, status code 200 ได้เลย

internal HTML URLs status code 200

จากนั้นสามารถคัดลอก และวางคอลัมน์ URL ลงในเทมเพลต Content Audit นี้ได้เลย

content audit template

อย่างไรก็ตาม หากมีเว็บไซต์อยู่จำนวนมากมายหลายพันหน้า ก็อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีในการตรวจสอบหน้าเว็บเองทั้งหมด จึงขอแนะนำให้ปฏิบัติตามกฎ 80 / 20 โดยเลือกตรวจสอบเพียง 20 % แรกของหน้าเว็บที่ติดอันดับจากยอดเข้าชม และ Backlink ที่เยอะที่สุด ซึ่งจะช่วยให้รู้ผลลัพธ์ของอีก 80 % ที่เหลือได้เช่นเดียวกัน

เราจะเห็นคอลัมน์แสดงจำนวน Backlinks และปริมาณการเยี่ยมชมเว็บไซต์แบบทั่วไปในการส่งออก Site Audit นี้ด้วย เพียงแค่คัดลอก และนำไปวางในเทมเพลต แล้วทำการใส่ตัวกรอง เพื่อฟิลเตอร์หาหน้าเว็บที่มียอด minimum การเยี่ยมชมที่ต้องการ รวมถึงจำนวน Backlinks ได้เลย

 minimum organic traffic and backlink requirements

อยากรู้ตัวเลขการเยี่ยมชมแบบจริง ๆ ใช่หรือไม่ ?

เพียงส่งออกข้อมูลจาก Google Search Console โดยไปที่ Performance > Search results และทำการรวมเข้ากับเทมเพลตได้เลย

Export the data from Google Search Console

ต่อไปจะเป็นตัวอย่างการตรวจสอบคอนเทนต์ โดยกระบวนการตรวจสอบเนื้อหาเชิงโต้ตอบ หรือ Interactive Content Audit Process

นี่คือวิธีใช้งาน :

  1. เปิดชีตขั้นตอนขึ้นมาโดยใช้โหมดมุมมองของผู้นำเสนอ หรือ Presenter View
presenter view window

2. เปิดผ่านขั้นตอนแต่ละหน้า พร้อมตอบว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ ซึ่งจะช่วยบอกว่าควรดำเนินการกับคอนเทนต์อย่างไรบ้างโดยพิจารณาจากคำตอบของเรา (หากไม่แน่ใจว่าต้องตอบอะไร ให้ลองกดที่ how to check ? เพื่อดูคำแนะนำ)

How to check website

3. บันทึกการดำเนินการแก้ไขที่เหมาะสมสำหรับแต่ละหน้า โดยทำเครื่องหมายในช่องเอกสาร ยกตัวอย่างเช่น หากมีคำแนะนำให้เพิ่ม Internal links หรือ Backlinks เพิ่มเติมในหน้าเว็บนี้ก็ให้ทำเครื่องหมายลงในช่องเหล่านั้น

checkboxes in content audit sheet

เมื่อบันทึกข้อมูลเสร็จแล้ว ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเองได้เลย หรือจะส่งต่อให้กับสมาชิก หรือทีมที่เกี่ยวข้องก็ได้ ซึ่งกระบวนการแก้ไขแต่ละรายการจะถูกเชื่อมโยงกับ SOP เมื่อกดเข้าไปจะมีคำแนะนำบอกว่าสิ่งนี้คืออะไร เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจแต่ละขั้นตอน และปรับแก้ได้ง่ายยิ่งขึ้น

items links to an SOP or guide

ซึ่งด้านล่างต่อไปนี้จะเป็นคำถามเกี่ยวกับ Content Audit แต่ละอันที่ควรตรวจสอบ

ต้องการตรวจสอบเนื้อหาเป็นกลุ่มใช่หรือไม่ ?

หากใช้ WordPress ปลั๊กอิน SEO ของ Ahrefs จะสามารถทำขั้นตอนต่าง ๆ ส่วนมากให้โดยอัตโนมัติ แต่อาจไม่ใช่ทั้งหมด หรือไม่อย่างนั้นก็จำเป็นต้องดึงข้อมูลทั้งหมดลงในชีตเอง และสร้างหลักเหตุผลบางอย่างโดยใช้ตารางขั้นตอนการตรวจสอบเนื้อหา ดังนี้

หากกำลังสงสัยว่าทำไมถึงไม่มีเทมเพลตแบบสำเร็จมาเลย นั่นก็เป็นเพราะว่า แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำเทมเพลตออกมาให้สามารถปรับใช้ได้ทุกคน เนื่องจากแต่ละบุคคลมีการตั้งค่าที่แตกต่างกันไปอยู่เล็กน้อยนั่นเอง

นอกจากนี้ การดึงข้อมูลจากหลายแหล่งยังยุ่งวุ่นวาย และเกิดขึ้นเร็วมาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเพียงแค่เล็กน้อยในการส่งออก หรือการจัดรูปแบบ ก็อาจส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาด หรือความเสียหายต่อข้อมูลได้

หน้าเว็บได้รับการเข้าชมแบบออร์แกนิกหรือไม่ ?

เมื่อไปที่รีพอร์ตของ Search results ใน Google Search Console และใส่ตัวกรองในหน้านั้นดู จะเห็นผลลัพธ์จำนวนการคลิกจากผลการค้นหาทั่วไปในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา

Search results report in Google Search Console

แต่ถ้าหากไม่ได้ตั้งค่าใน Google Search Console ไว้ ก็สามารถลิงก์เพจเข้ากับเครื่องมือ Site Explorer ของ Ahrefs หรือเครื่องมือตรวจสอบยอด Traffic ฟรี สำหรับการประเมินผลคร่าว ๆ ได้

free traffic checker for a rough estimate

เว็บไซต์ได้ยอดการเข้าชมจากแหล่งอื่นหรือไม่ ?

หากใช้ Google Analytics ให้ไปที่ Reports > Lifecycle > Engagement > Pages and screens จากนั้นสามารถใส่ฟิลเตอร์ให้หน้าใดหน้าหนึ่งได้ โดยการเพิ่ม Page Path และ Screen Class ซึ่งเป็นการแสดง Path ของ URL ที่มีการเข้าชมหน้าเว็บไซต์ หรือชื่อของ Class ที่มีการกำหนดไว้ใน App นั่นเอง แล้ววางลงใน URL slug ได้เลย

Page path and screen class

โดยข้อมูลนี้จะบอกว่าหน้าเว็บของเราได้รับการเข้าชมจากแหล่งที่มาทั่วไป หรือที่มาอื่น ๆ หรือไม่

หน้าเว็บมียอดการเยี่ยมชมทั่วไปเป็นเป้าหมายหลักหรือไม่ ?

หากจุดประสงค์ของเว็บไซต์ คือการติดอันดับค้นหาใน Search Engine คำตอบของคำถามนี้คือ ใช่ นั่นเอง แต่ถ้าหากการติดอันดับไม่ใช่จุดประสงค์ คำตอบก็อาจจะเป็น ไม่

เว็บไซต์มีประโยชน์สำหรับจุดประสงค์อื่นหรือไม่ ?

ไม่ใช่ทุกเว็บไซต์ที่ต้องการยอดเยี่ยมชมเพื่อพิสูจน์การมีอยู่ของตัวเอง ด้านล่างนี้คือตัวอย่างเว็บไซต์บางประเภทอาจต้องเก็บไว้ ถึงแม้ว่าจะมียอดการเยี่ยมชมที่ดีหรือไม่ก็ตาม

  • Terms of Service (Tos) หรือหน้าเว็บข้อกำหนดการให้บริการ
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ข้อสงวนสิทธิ์
  • หน้าหมวดหมู่ หรือแท็ก
  • หน้า Landing page ที่โยงไปถึงโฆษณา
  • หลักฐานทางสังคม หรือเรื่องราวของผู้ใช้

โดยที่ยกตัวอย่างมานี้ยังไม่ใช่รายการทั้งหมด แต่ก็ช่วยให้สามารถเข้าใจภาพรวมคร่าว ๆ ได้

หน้าเว็บมี Backlinks หรือไม่ ?

วาง URL ของเว็บไซต์ลงใน Site Explorer ของ Ahrefs เพื่อตรวจสอบว่ามีโดเมนอ้างอิง หรือลิงก์เว็บไซต์ทั้งหมดกี่แห่ง

check how many referring domains

จากภาพ หากตัวเลขนี้มีมากกว่า 0 แสดงว่าเว็บไซต์นั้นมี Backlinks นั่นเอง

เครื่องมือค้นหาสามารถตรวจพบ และจัดเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ได้หรือไม่ ?

Google จะไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลเว็บไซต์ที่ไม่สามารถชี้วัดได้ อีกทั้งหน้าเว็บที่ไม่สามารถรวบรวมข้อมูลได้นั้น แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีการจัดทำดัชนีขึ้นมา ซึ่งวิธีง่ายที่สุดในการตรวจสอบทั้งสองอย่างนี้ คือ ใช้เครื่องมือตรวจสอบ URL ใน Google Search Console นั่นเอง

โดยสิ่งที่ต้องดูในแท็บ “Page indexing” จะมีดังนี้

  • อนุญาตให้รวบรวมข้อมูลใช่หรือไม่ เลือก ‘ใช่’
  • อนุญาตให้จัดทำตัวชี้วัดหรือไม่ เลือก ‘ใช่’
  • ดูว่าลิงก์ในช่อง User-daclared canonical ซึ่งเป็นตัวช่วยบอก Search Engine ไม่ให้ชี้วัดข้อมูลเว็บไซต์ของเราผิด เหมือนกับ URL ของหน้า หรือว่างเปล่า
Page indexing

หากตั้งค่าเป็นตามนี้ ก็แสดงว่าหน้าเว็บไซต์สามารถถูกตรวจพบ และทำการชี้วัดได้แล้วนั่นเอง

เว็บไซต์มีช่วงที่ประสบความสำเร็จบ้างไหม ?

ปกติเเล้วเว็บไซต์ต้องใช้เวลา และไม่สามารถติดอันดับได้ในชั่วข้ามคืน หากเผยแพร่หน้าเว็บมาเป็นระยะเวลาไม่ถึง 6 เดือน ถึงแม้ว่าจะมีการดูแล และอัปเดตเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ ก็อาจเป็นไปได้ว่ายังต้องใช้เวลาเพิ่มอีกสักหน่อยจึงจะประสบความสำเร็จ

การจัดอันดับมีความสำคัญหรือไม่ ?

ไม่ว่าใครต่างก็มีทรัพยากร และเงินทุนที่จำกัด จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องจัดลำดับความสำคัญสำหรับหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการให้ติดอันดับก่อน และหน้าไม่สำคัญที่อาจต้องถูกตัดทิ้งไป

อีกทั้งยังไม่มีสูตรสำเร็จที่แน่นอนว่าอันไหนคือสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เนื่องจากขึ้นอยู่กับธุรกิจ และความต้องการของแต่ละบุคคล โดยทั่วไปเรามักตัดสินเว็บไซต์ต่าง ๆ จากศักยภาพทางธุรกิจ และการค้นหา ซึ่งเป็นคะแนนที่กำหนดว่าการนำเสนอสินค้า และบริการของเราบนหน้าเว็บจะง่าย หรือยากขึ้นเพียงใด

นี่คือคู่มือคะแนนศักยภาพธุรกิจที่ใช้ :

business potential

ซึ่งศักยภาพการค้นหานั้นหมายถึง ปริมาณการเข้าชมจากการค้นหาทั่วไปที่หน้าเว็บจะได้รับ หากเว็บไซต์ติดอันดับ 1 โดยสามารถค้นหาตัวชี้วัดนี้ได้ในเครื่องมือ Keyword Explorer ของ Ahrefs ที่จะคำนวณจากภาพรวมจำนวนการค้นหาออร์แกนิกที่ไปยังหน้าเว็บติดอันดับในปัจจุบันนั่นเอง

Traffic Potential

เว็บไซต์สามารถมียอดการเข้าชมทั่วไปเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ ?

ทำการใส่คีย์เวิร์ดที่หน้าเว็บใช้ลงไปบนเครื่องมือ Keyword Explorer ของ Ahrefs แล้วลองตรวจสอบที่ตัวชี้วัด Traffic Potential หรือ TP ดูได้เลย โดยด้านล่างคือตัวอย่างปริมาณการค้นหาทั่วไป หรือการค้นหาออร์แกนิกโดยประมาณของเว็บไซต์ที่ได้อันดับสูงสุดจากคีย์เวิร์ดทั้งหมดที่ถูกจัดอันดับ

check the Traffic Potential (TP) metric

จากภาพ หากตัวเลขนี้สูงกว่าปริมาณการค้นหาหน้าเว็บโดยประมาณของเราในประเทศที่เลือก ก็มีความเป็นไปได้ว่าเราอาจได้รับการเข้าชมที่เพิ่มขึ้น โดยสามารถตรวจสอบได้โดยการใส่ URL เว็บไซต์ของเราลงไปใน Site Explorer บน Ahrefs ได้เลย

plugging page’s URL into Ahrefs

ข้อควรระวังสำหรับการประมาณนี้

สำหรับคีย์เวิร์ดบางคำ เว็บไซต์ที่ได้อันดับสูงสุดก็ไม่ใช่หน้าเว็บที่ดีสำหรับการดึงประสิทธิภาพการเยี่ยมชม

ยกตัวอย่าง ศักยภาพการเยี่ยมชมสำหรับคีย์เวิร์ด Google Search Console คือ 33K แต่เมื่อดูว่าค่าประมาณการเยี่ยมชมมาจากที่ใด จะพบว่าเป็นหน้าทางการของ Google เกี่ยวกับ Search Console นั่นเอง

Traffic Potential for google search console

ซึ่งหมายความว่า เว็บไซต์ของเราไม่น่ามีอันดับที่สูงกว่านี้ได้ ดังนั้นจึงควรมองหาหน้าเว็บที่คล้ายกับของเราในผลการค้นหา และรับโอกาสการเยี่ยมชมจากหน้าเว็บนั้นแทน ในกรณีนี้ ผลลัพธ์ 4 อันดับแรก คือหน้าเว็บทางการของ Google ทั้งหมด ดังนั้นหน้าเว็บลำดับที่ 9 จึงดูมีความน่าจะเป็นที่จะเป็นค่าประมาณที่แท้จริงสำหรับศักยภาพการเยี่ยมชมเว็บไซต์ในหัวข้อนี้มากที่สุด

truer estimate of the topic’s Traffic Potential

หน้าอื่นในเว็บไซต์ของเรามีการจัดอันดับคีย์เวิร์ดเดียวกันหรือไม่ ?

กรอกเว็บไซต์ของเราลงไปบน Site Explorer ของ Ahrefs แล้วไปที่รายงานผลของ Organic Keywords จากนั้นใส่ตัวกรอง “Multiple URLs only” และคีย์เวิร์ดที่เป็นเป้าหมายลงไป หากคีย์เวิร์ดมีการปรากฏขึ้นในรีพอร์ต นั่นแสดงว่ามีหลายหน้าที่กำลังจัดอันดับให้กับคำนั้นอยู่นั่นเอง

Organic keywords report

หน้าเว็บมีความเป็นเอกลักษณ์มากพอที่จะกำหนดคำอื่น ๆ ลงไปหรือไม่ ?

การมีเว็บไซต์หลายหน้าที่กำหนดคีย์เวิร์ดเดียวกันอาจไม่ใช่เรื่องที่แย่เสมอไป หากแต่ละหน้ามีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน และถูกจัดอันดับด้วยหัวข้อย่อยของตัวเอง หน้าเว็บเหล่านี้ก็สามารถทำควบคู่ และอยู่ร่วมกับหน้าอื่น ๆ ได้อย่างไม่มีปัญหา

หากต้องการตรวจสอบคร่าว ๆ ว่าหน้าเว็บแต่ละอันนั้นแตกต่างกันอย่างไร ให้ดูที่ชื่อของเว็บเหล่านั้น ซึ่งทำได้โดยการคลิกที่แถบเมนูแบบเลื่อนลง “SERP” และคลิกเปิด “Target Only”

Target only

ในกรณีนี้จะเห็นว่า หน้าเว็บที่ได้รับการจัดอันดับทั้งสองมีความคล้ายกันมาก ซึ่งทำหัวข้อเกี่ยวกับ คำจำกัดความของตัวชี้วัด URL Rating หากดูจากข้อมูลนี้อาจตัดสินได้เลยว่ายังไม่มีความแตกต่างมากพอที่จะกำหนดคำเป้าหมายอื่นลงไป

อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณีของคำหลัก “Short tail keywords” จะเห็นว่า หน้าเว็บที่ถูกจัดอันดับทั้งสองค่อนข้างมีความแตกต่างกัน เนื่องจากอันแรกเป็นการบอกถึงคำจำกัดความ ขณะที่เว็บที่สอง บอกเล่าถึงการเปรียบเทียบระหว่างคีย์เวิร์ดแบบสั้น และยาว นั่นเอง

comparison of long- and short-tail keywords

หากอ้างอิงตามนี้ ก็ตอบได้ว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีเอกลักษณ์มากพอสำหรับการเพิ่มคำหลักอื่น ๆ ลงไปนั่นเอง

เว็บไซต์ของเราดีกว่าคู่แข่งหรือไม่ ?

มีหลายล้านสิ่งที่ช่วยให้คอนเทนต์ของเราดีขึ้น แต่จุดเริ่มต้นที่ดี คือการถามตัวเองด้วย 2 หัวข้อต่อไปนี้

  • เนื้อหาของเราเขียนออกมาได้ครอบคลุมดีแล้วหรือไม่
  • มีจุดไหนที่รู้สึกว่าพิเศษ หรือแตกต่างจากคนอื่นบ้างไหม

ในการตอบคำถามแรก สามารถใช้เครื่องมือ Competitive Analysis เข้ามาช่วยเหลือได้ เพียงเชื่อมต่อลิงก์เว็บไซต์ของเรา กับหน้าเว็บที่ติดอันดับ 2 – 3 อัน ที่มีการกำหนดเป้าหมายสำหรับการค้นหา หรือ search intent ที่เหมือนกัน แล้วทำการกดที่ปุ่ม “Compare” เพื่อเปรียบเทียบได้เลย

 Ahrefs’ Competitive Analysis tool

หลังจากนี้ ให้ไปที่รายงานผลของ Content Gap แล้วทำการค้นหาหัวข้อย่อยที่เรายังไม่ได้กล่าวถึงในคีย์เวิร์ดต่าง ๆ

ยกตัวอย่างเช่น คีย์เวิร์ด “ตัวอย่างการทำ Affiliate Marketing” ที่ปรากฏขึ้นมา ช่วยให้เราได้ไอเดียมากขึ้นว่ายังไม่ได้เขียนตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ลงไปในหน้าเว็บของตัวเอง ทำให้ครอบคลุมหัวข้อได้ดีขึ้นนั่นเอง

Content Gap report

สำหรับคำถามที่สองในเรื่องของความมีเอกลักษณ์ หรือความพิเศษที่ไม่เหมือนใคร หากแค่อ่านคร่าว ๆ จะทำการแยกแยะข้อมูล หรือมุมมองต่าง ๆ ได้ยากมาก ดังนั้นในส่วนนี้อาจจะยังไม่มีเครื่องมือที่ช่วยปรับปรุงได้อย่างแน่นอน

เว็บไซต์มีการปรับปรุงประสิทธิภาพให้เหมาะสมกับการทำ On-page SEO หรือไม่ ?

ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบองค์ประกอบพื้นฐานของ On-page SEO บนเว็บไซต์ของเรา เช่น Title, Meta Description, SEO Friendly URL, Schema markup และอื่น ๆ โดยสามารถทำออกมาเป็นเช็กลิสต์เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการตรวจสอบแต่ละองค์ประกอบได้เลย

เว็บไซต์มีเชื่อมโยงภายในที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ?

Internal links คือลิงก์จากหน้าเว็บไซต์หนึ่งของเราไปยังอีกหน้าหนึ่ง ซึ่งช่วยส่งเสริมการจัดอันดับให้กับหน้าต่าง ๆ โดยการส่ง PageRank ภายในไปให้ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเนื้อหาในหน้าเว็บของเรามีการทำลิงก์เชื่อมโยงภายในที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้วหรือยัง

หากเว็บไซต์มียอดการค้นหาออร์แกนิกที่เพียงพอแล้ว ยังสามารถใช้เครื่องมือ Internal link opportunities ของฟังก์ชัน Site Audit บน Ahrefs ได้ เพื่อตรวจสอบโอกาสลิงก์ภายในที่อาจพลาดไป เพียงใส่หน้าเว็บที่ต้องการ หรือ “Target Page” ลงใน Page URL แล้วทำการค้นหาการกล่าวถึงคีย์เวิร์ดที่อยู่ในเว็บไซต์ของเราทั้งหมดได้เลย

ยกตัวอย่างเช่น หากลองทำกับหัวข้อ ลิสต์ตัวอย่างของ Content Marketing เครื่องมือนี้จะทำการแนะนำการเชื่อมโยงภายในจากการกล่าวถึง เนื้อหาที่สร้างแรงบันดาลใจ หรือ “inspirational content” เข้ามาในรายการที่เกี่ยวข้องกับ Content Marketing Goals นั่นเอง

Internal link opportunities tool

แต่หากเว็บไซต์ของเราไม่ได้มียอดการเยี่ยมชมที่มากนัก อาจลองใช้เครื่องมือ Page Explorer เพื่อค้นหาการกล่าวถึงคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องด้วยตัวเองได้ดังนี้

  1. ไปยัง Page Explorer
  2. คลิกที่ตัวกรอง “Advanced”
  3. เพิ่มข้อมูลลงในช่อง “Page text” > “Contains” > [คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง]
  4. เพิ่มข้อมูลลงในช่อง “Internal outlinks” > “Not contains” > [URL ของหน้าเว็บที่กำลังตรวจสอบ]
Page Explorer

หากรายงานใดแสดงผลลัพธ์ ก็แสดงว่าอาจยังมีพื้นที่ที่เราสามารถเพิ่ม Internal links ที่เกี่ยวข้องลงไปได้นั่นเอง

Profile Link ของเราเหนือกว่าคู่แข่งหรือไม่ ?

Backlinks คือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการจัดอันดับบน Google ดังนั้นหากมีโปรไฟล์ Backlinks ที่อ่อนแอก็อาจส่งผลให้อันดับตกได้

หากต้องการตรวจสอบโปรไฟล์ของตัวเอง สามารถทำได้โดยการป้อน URL เว็บไซต์ของเราลงไปบน Site Explorer ของ Ahrefs แล้วคลิกไปที่แถบ Backlink Profile จากนั้นคลิกตัวเลือกเพื่อเพิ่มคู่แข่ง และป้อนเว็บไซต์ที่ติดอันดับลงไปประมาณสองถึงสามหน้า

จากนั้นข้อมูลที่ขึ้นมาจะช่วยให้เราสามารถเปรียบเทียบโดเมนอ้างอิง หรือการเชื่อมโยงเว็บไซต์ในแต่ละหน้า และการจัดอันดับ URL ได้

compare each page’s referring domains

จากกรณีในภาพดูเหมือนว่าลิงก์โปรไฟล์ของเราจะมีประสิทธิภาพเหนือกว่า เนื่องจากมีโดเมนอ้างอิง และคะแนน UR สูงกว่าคู่แข่งนั่นเอง

มีหน้าเว็บเก่าที่ถูกลบไปที่สามารถเปลี่ยนเส้นทางได้หรือไม่ ?

หากเรามีหน้าเว็บเก่าที่เคยลบทิ้งไป ซึ่งภายในนั้นมี Backlinks เกี่ยวกับหัวข้อที่คล้ายกับเว็บไซต์ที่ออนไลน์อยู่ ก็อาจคุ้มค่าในการลองเปลี่ยนเส้นทางของเพจเหล่านั้นให้ลิงก์มายังหน้าที่ยังใช้งานได้อยู่แทน

วิธีค้นหาเว็บไซต์ที่ควรเปลี่ยนเส้นทาง มีดังนี้

  • ใส่โดเมนลิงก์ของเราลงไปในเครื่องมือ Site Explorer ของ Ahrefs 
  • ไปหน้ารายงานผลของ Best by links
  • เพิ่มตัวกรองหน้าเว็บที่มี “404 not found” HTTP code ลงไป
  • เพิ่มตัวกรองหน้าเว็บที่มีโดเมนอ้างอิงอย่างน้อย 1 อัน
Best by links report

ยกตัวอย่างเช่น หากกำลังตรวจสอบเนื้อหาเกี่ยวกับ Domain Rating หรือ DR บนหน้าเว็บไซต์ของเรา ก็ค่อนข้างจะสมเหตุสมผลในการเปลี่ยนเส้นทางเว็บเก่าที่เขียนเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิ์ของโดเมน แต่โดนลบไปแล้ว ตามภาพด้านล่างนี้

example of target page

คิดว่าเว็บไซต์จะได้รับ Conversion มากกว่านี้หรือไม่ ?

หากเว็บไซต์ของเรามีจำนวนการเข้าชมที่ยอดเยี่ยมอยู่แล้ว ก็อาจลองคิดไปอีกได้ว่า จะสามารถทำอย่างไรเพื่อต่อยอด และเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจที่ทำอยู่ได้หรือไม่ ซึ่งอาจทำให้ได้รับ Conversion ที่มากขึ้น หรือได้รับการสนับสนุน รวมถึงสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้งานได้

ซึ่งการปรับปรุงในส่วนนี้ อาจต้องเริ่มจากการถามตัวเองด้วย 2 คำถามนี้เสียก่อน

  • สามารถเพิ่ม CTAs หรือ Call to action ที่เกี่ยวข้องลงไปได้หรือไม่
  • สามารถขายสินค้า และบริการต่าง ๆ จากการเขียนลงในเนื้อหาได้ดีขึ้นหรือไม่

ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ Ahrefs มีการเขียนเนื้อหาคำแนะนำเกี่ยวกับการเข้าถึงเนื้อหาของ Google ออกมาใหม่ ซึ่งมีการเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ครั้งแรกไปแล้วตั้งแต่เมื่อปี 2019 แต่การเขียนใหม่ครั้งนี้มีจุดประสงค์เนื่องจากตัวผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปค่อนข้างไกลนับตั้งแต่อดีต อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ดีอีกด้วย จึงอยากจะโปรโมตเพิ่มเติมนั่นเอง

นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่ม CTAs ให้กับเครื่องมือฟรีบางรายการได้ด้วย เช่น เครื่องมือตรวจสอบ Backlinks เป็นต้น

free backlink checker

FAQs คำถามที่พบบ่อย

Content Audit คืออะไร ?

คือการตรวจสอบ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของคอนเทนต์เพื่อมองหาโอกาสในการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น โดยการตรวจสอบประสิทธิภาพเนื้อหาส่วนมากจะเน้นไปที่ประสิทธิภาพของ SEO แต่การตรวจสอบที่ครอบคลุมจริง ๆ จะคำนึงถึงประสิทธิภาพทางธุรกิจ และประโยชน์โดยรวมของเนื้อหาด้วย

ทำไม Content Audit ถึงมีความสำคัญ ?

เพราะเป็นจุดที่ทำให้เข้าใจว่าเว็บไซต์ของเราควรเพิ่มเติมอะไร หรือปรับปรุงส่วนไหนเพื่อประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยจำแนกหน้าเว็บที่ทำงานได้ดี และไม่ดี และรู้สาเหตุเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไปได้

สรุป

Content Audit หรือการตรวจสอบเนื้อหาควรมีการทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะไม่เพียงช่วยให้รู้ว่าควรปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์อย่างไร แต่ยังช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจเพิ่มเติมได้อีกด้วย

เพียงจำไว้ว่า อย่าลบ หรือเปลี่ยนเส้นทางเว็บไซต์ตามใจชอบ เว้นแต่เราจะมั่นใจได้ว่านั่นคือแนวทางแก้ไขที่ดีที่สุด ซึ่งหากเกิดปัญหาแล้วยังไม่แน่ใจว่าควรทำอย่างไร อีกหนึ่งทางออกที่ดีคือ การลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO หรือจ้างนักการตลาดให้มาตรวจสอบเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ของเรานั่นเอง

ใครที่อยากหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ SEO สามารถตามอ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่ : https://thekalling.com/tkl-blog/