people also ask คืออะไร ส่งผลต่อการทำ seo อย่างไร

People Also Ask คืออะไร ส่งผลอย่างไรต่อการทำ SEO

หลายคนอาจยังสงสัยว่ากล่อง People also ask หรือ PAA คืออะไร ทำไมถึงเริ่มใช้งานกันอย่างแพร่หลายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งหากอ้างอิงจากเครื่องมือสำรวจคอนเทนต์ของ Ahrefs จะพบว่า 43% ของคำค้นหาในตอนนี้มีการแสดงผล PAA แล้วนั่นเอง

example of serps show the percent about people also ask box

บทความนี้จะพูดถึงวิธีการใช้กล่อง PAA เข้ามาช่วยเรื่องการจัดอันดับบทความ รวมถึงวิธีปรับใช้ในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อพัฒนา SEO ให้ดีขึ้น ตามหัวข้อด้านล่างนี้

กล่อง People Also Ask หรือ PAA คืออะไร ?

กล่อง People Also Ask หรือ PAA คือหนึ่งใน SERPs Feature ของ Google สำหรับตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับคำที่ผู้ใช้ค้นหา ซึ่งแต่ละคำตอบจะถูกดึงมาจากหน้าเว็บ โดย Google จะใส่ลิงก์เอาไว้ ทำให้สามารถคลิกเข้าไปยังแหล่งที่มาของคำตอบแต่ละข้อได้เลย

example of people also ask box

เพิ่มเติม 4 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ กล่อง People Also Ask

ก่อนจะพูดถึงเรื่องว่าควรทำให้หน้าเว็บติดอันดับใน PAA หรือไม่ และต้องทำอย่างไร ลองตัดมาดูบางสิ่งที่ควรคำนึงถึงกันก่อน

  1. กล่อง PAA สามารถปรากฏในตำแหน่ง SERPs ที่แตกต่างกันได้
  2. คำถามบนกล่อง PAA แสดงผลต่อเรื่อย ๆ ไม่มีจุดสิ้นสุด
  3. คำตอบในกล่อง PAA มีหลายรูปแบบ
  4. คำถามในกล่อง PAA มักให้คำตอบเดียวกัน

กล่อง PAA สามารถปรากฏในตำแหน่ง SERPs ที่แตกต่างกันได้

ไม่เหมือนกับ Feature Snippets ที่มักปรากฏในผลการค้นหาอันดับ 1 หรือ 2 แต่กล่อง PAA สามารถอยู่ได้เกือบทุกที่ ยกตัวอย่างเช่น มีการแสดงผลในอันดับ 2 ของคำค้นหา “อยากเป็นแพทย์ต้องทำอย่างไร”

position of paa box

แต่สำหรับคำค้นหา “เทมเพลตของ Blog Post” กลับไปแสดงผลอยู่ที่การค้นหาอันดับ 6 โดยคำค้นหาบางรายการ กล่อง PAA ก็ไม่แม้แต่จะแสดงอยู่ในหน้าแรกด้วยซ้ำ

another example of paa box position

คำถามบนกล่อง PAA แสดงผลต่อเรื่อย ๆ ไม่มีจุดสิ้นสุด

คำถามจะถูกโหลดเข้ามาเพิ่มเรื่อย ๆ หลังจากที่มีการกดคลิกเพื่อดูส่วนขยาย หรือกดเข้าไปดูคำตอบ

the questions are unlimited

คำตอบในกล่อง PAA มีหลายรูปแบบ

ส่วนนี้จะมีความคล้ายคลึงกับ Feature Snippets ที่จะแสดงผลคำตอบออกมาในหลากหลายรูปแบบ ทั้ง พารากราฟ, ลิสต์รายการ, หรือตาราง ซึ่งบางครั้งก็มีแสดงผลเป็นคลิปวิดีโอด้วย

example format of people also ask

คำถามในกล่อง PAA มักให้คำตอบเดียวกัน

ถึงแม้ว่าคำถามที่เหมือนกันมักปรากฏในกล่อง PAA จากคำค้นหาหลายคำ แต่ Google ก็มักนำข้อมูลจากแหล่งเดียวกันมาเป็นคำตอบเสมอ ยกตัวอย่างเช่น คำถามว่า “อะไรคือสิ่งที่ถูกค้นหามากที่สุดใน Google” ที่ปรากฏในกล่อง PAA สำหรับคำค้นหา “เทรนด์ของ Google” กับ “จำนวนการค้นหาบน Google” ทั้งคู่เป็นคำตอบที่ดึงข้อมูลมาจากแหล่งเดียวกันนั่นเอง

the answer of questions on paa box usually come from same source
another example of the answer of questions on paa box

ซึ่งบทสรุปนี้ได้มาจากการสำรวจก่อนนำมาเขียนบทความ ซึ่งไม่พบเคสไหนเลยที่ไม่เป็นแบบนี้ โดยหาก Google เลือกดึงคำตอบจากหน้าเว็บใดมาครั้งหนึ่งแล้ว Google ก็จะดึงคำตอบจากหน้าเว็บนั้นสำหรับการค้นหาอื่น ๆ ที่แสดงคำถามเหมือนกันด้วย

คุ้มค่าหรือไม่ที่จะทำให้หน้าเว็บติดอันดับใน PAA ?

ค่อนข้างโชคร้ายที่ข้อมูลเกี่ยวกับสถิติการกดคลิก หรือการตอบโต้ของผู้ใช้งานกับกล่อง PAA นั้นมีอยู่น้อยมาก เนื่องจาก Google ไม่แสดงข้อมูลเหล่านี้ใน Google Search Console อีกทั้งยังไม่มีแหล่งข้อมูลอื่นที่น่าเชื่อถือแล้ว

โดยผลการศึกษาที่รู้เพียงอย่างเดียวตอนนี้ คือข้อมูลจากเว็บ Backlinko ที่ระบุไว้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วมีเพียง 3% ของผู้ใช้งานเท่านั้นที่มีการใช้ และโต้ตอบกับกล่อง PAA

information from backlinko

แต่ก็ยังมีข้อสังเกตเรื่องตัวเลขที่ค่อนข้างต่างกันมาก โดยบางคำค้นหาก็มียอดการโต้ตอบสูงถึง 13.6% เลยทีเดียว

percent of google searchers that interact with paa box

นอกจากนี้ต้องอย่าลืมว่าการโต้ตอบนั้น ไม่เหมือนกับการคลิก เพราะการกดดูส่วนขยายคำตอบก็นับเป็นการโต้ตอบ ดังนั้นตัวเลขที่คนกดคลิกเข้าไปที่แหล่งเว็บไซต์จึงอาจน้อยกว่านี้

ที่แย่กว่านั้น คือกล่อง PAA ส่วนมากมักแสดงคำตอบถึง 3 – 4 อันตามค่าเริ่มต้น เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ใช้งาน ทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างเว็บไซต์มากขึ้นนั่นเอง

จากการค้นหาข้อมูลมาทั้งหมด จึงสรุปได้ดังนี้ : 

  • PAA มีค่าการโต้ตอบอยู่ที่ประมาณ 3 %
  • มีเพียง 40 % จากการโต้ตอบทั้งหมด ที่กดคลิกไปยังแหล่งข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์
  • การโต้ตอบจะแบ่งคำถามออกเป็น 4 ข้อเท่า ๆ กัน

เมื่อนำข้อสรุปนี้มาคำนวณ จะเห็นว่ามีเพียง 0.3% ของการค้นหาในกล่อง PAA ที่คนกดคลิกเข้าไปดูข้อมูล พูดอีกแบบหนึ่งคือ หากต้องการได้ยอดการคลิกถึง 100 ครั้ง หน้าเว็บของเราก็จำเป็นต้องปรากฏอยู่ในช่องคำถามของ PAA ที่แสดงในผลการค้นหาต่อเดือนประมาณ 33,000 รอบนั่นเอง

แม้ว่าฟังดูอาจเป็นไปไม่ได้ แต่ก็มีเรื่องที่ควรรู้คร่าว ๆ ดังนี้

Google มักแสดงผลคำถามที่เหมือนกันในการค้นหาเป็นร้อย ๆ แบบ เนื่องจากคำตอบมักดึงข้อมูลมาจากแหล่งเดียวกันเสมอ ดังนั้นการที่หน้าเว็บของเราจะไปแสดงในผลการค้นหาหลักจึงไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด

Google อาจใช้หน้าเว็บของเราในการแสดงผลสำหรับหลายคำตอบ ยกตัวอย่างเช่น หน้าเว็บอาจมีการให้ข้อมูล หรือตอบคำถามทั่วไปได้หลากหลาย หาก Google มีการนำเว็บไซต์ของเราไปแสดงในคำถามบนกล่อง PAA สำหรับการค้นหาหลายประเภท ความประทับใจ และจำนวนการคลิกก็เพิ่มได้ไม่ยากเลย

มีอยู่อีกเรื่องที่ควรคำนึงถึง คือปริมาณการเยี่ยมชมเว็บไซต์ไม่ใช่ทุกอย่าง การได้รับคลิกพิเศษเพียง 50 หรือ 100 ครั้งไปยังหน้าเว็บที่มีอัตรา Conversion หรือมูลค่าต่อผู้เข้าชมสูง ก็ช่วยเพิ่มผลกำไรได้อีกมาก จึงสรุปได้ว่าการทำ PAA บางครั้งก็คุ้มค่า หากสามารถเพิ่มปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์ หรือลิงก์ไปยังหน้าเว็บที่มีมูลค่าสูงได้

วิธีทำให้หน้าเว็บติดอันดับ และแสดงในกล่อง PAA

กระบวนการพื้นฐานนั้นง่ายมาก เพียงค้นหาคำถามที่เกี่ยวข้องบน PAA หลังจากนั้นให้เพิ่มประสิทธิภาพหน้าเว็บ หรือ On-Page เพื่อเพิ่มโอกาสให้ Google นำหน้าเว็บของเราไปใช้เท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตาม การสุ่มเลือกคำถามที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้เป็นวิธีที่ค่อนข้างไร้ประสิทธิภาพ เพราะท้ายที่สุด คำถามที่เลือกมาอาจไปปรากฏอยู่บนผลการค้นหาที่มี Volume ค่อนข้างน้อยเพียงสองสามรายการเท่านั้น ถ้าเป็นกรณีนี้ถึงแม้จะได้รับเลือกให้ไปอยู่บนกล่อง PAA แต่ก็ไม่ช่วยเพิ่มการมองเห็นให้เว็บไซต์ของเราเท่าไหร่เลย ในทางกลับกันควรหาคำถามที่จะไปแสดงอยู่บนคำหลักหลายรายการที่มีปริมาณค้นหาต่อเดือนค่อนข้างสูงจะดีกว่า

ยกตัวอย่างเช่น กล่องคำถาม “5 อันดับของ Search Engine มีอะไรบ้าง” จะแสดงอยู่บน PAA สำหรับคีย์เวิร์ดเหล่านี้ทั้งหมด ซึ่งเมื่อรวมกันแล้ว มีปริมาณค้นหาถึง 157,450 ครั้งต่อเดือนเลยทีเดียว

example of finding topic on paa box

ลองดูว่ามีหน้าเว็บไหนที่มีข้อมูล หรือคำตอบเกี่ยวกับหัวข้อนี้บ้างหรือไม่ ซึ่งนับว่าเป็นคำถามที่ควรค่าแก่การเพิ่มประสิทธิภาพหน้าเว็บไซต์ของเราให้ไปติดอันดับอยู่ใน PAA นั่นเอง

แล้วการหาคำถามที่ได้รับความนิยมควรทำอย่างไร และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับคำถามเหล่านี้ได้อย่างไร มาดูไปพร้อมกัน

  1. ค้นหาหน้าเว็บที่ติดอันดับจากคีย์เวิร์ดจำนวนมาก
  2. เลือกดึงคีย์เวิร์ดที่ติดอันดับออกมา
  3. ค้นหาไอเดียคำถาม
  4. มองหาคำถามยอดนิยม
  5. เช็กแน่ใจว่าเว็บของเรายังไม่ใช่แหล่งที่มาสำหรับคำถามที่เลือก
  6. ตรวจสอบว่าหน้าเว็บของเราสามารถจัดอันดับได้
  7. ปรับปรุงประสิทธิภาพหน้าเว็บ

ค้นหาหน้าเว็บที่ติดอันดับจากคีย์เวิร์ดจำนวนมาก

เป็นไปไม่ได้เลยที่จะค้นหาคีย์เวิร์ดทั้งหมดที่ Google นำไปแสดงเป็นคำถามบนกล่อง PAA ซึ่งสิ่งที่สามารถทำได้คือ การหาคำถามที่แสดงขึ้นบนคำหลักจำนวนมากที่มีปริมาณการค้นหาต่อเดือนสูงนั่นเอง

อย่างแรกจะต้องหาหน้าเว็บที่ได้รับการจัดอันจากการใช้คีย์เวิร์ดจำนวนมากก่อน โดยนำลิงก์โดเมนของเราไปค้นหาในเครื่องมือ Site Explorer บน Ahrefs เริ่มจากไปที่ Top Page Report หลังจากนั้นให้ฟิลเตอร์หน้าที่มีการใช้จากมากไปน้อย

finding web that ranked by using many keywords

เลือกดึงคีย์เวิร์ดที่ติดอันดับออกมา

เลือกหน้าเว็บจากลิสต์ที่ขึ้นมา แล้ววาง URL บน Site Explorer ของ Ahrefs หลังจากนั้นให้ไปที่ผลรีพอร์ต Organic Keyword ซึ่งจะแสดงคีย์เวิร์ดทั้งหมดที่ติดอันดับในหน้าเว็บออกมา หลังจากนั้นให้ใส่ฟิลเตอร์ทั้ง 3 อย่างนี้ลงไป

  • ตั้งค่า Keyword Position น้อยกว่า 20 : โดยคีย์เวิร์ดที่อยู่ต่ำกว่าค่าที่กำหนดไว้ จะไม่คุ้มค่าสำหรับการนำมาใช้
  • ตั้งค่า Keywords with a monthly search volume อย่างน้อย 10 : เนื่องจากเราต้องการเพิ่มประสิทธิภาพคำถามที่อยู่ในกล่อง PAA สำหรับการค้นหายอดนิยม
  • อย่าลืมติ๊กเลือกคีย์เวิร์ดที่มี PAA ในผลลัพธ์
select keyword on paa box

แล้วทำการส่งออกรายการคีย์เวิร์ดที่ผ่านการฟิลเตอร์ทั้งหมดไปที่ CSV หรือไฟล์ข้อความที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลในรูปแบบตารางได้เลย

ค้นหาไอเดียคำถาม

ก่อนจะสามารถปรับปรุงหน้าเว็บได้ จำเป็นต้องรู้ก่อนว่าคำถามไหนจะไปปรากฏอยู่ในกล่อง PAA สำหรับคีย์เวิร์ดที่เลือกมาบ้าง โดยให้นำคีย์เวิร์ด ใน CSV จากขั้นตอนก่อนหน้านี้มา กด Copy แล้ววางลิสต์ทั้งหมดลงใน Keyword Explorer ของ Ahrefs ได้เลย

finding idea on question

หลังจากนั้นกดไปที่ปุ่ม Export แล้วตรวจสอบว่าได้กดเลือก Include SERPs ไว้หรือยัง ถ้ากดแล้วก็นำออกได้เลย

มองหาคำถามยอดนิยม

ดูเหมือนว่า Google จะใช้แหล่งข้อมูลเดียวกันในการตอบคำถามเดิมตลอด จึงทำให้ไปปรากฏอยู่ในคำค้นหาหลายรายการ ดังนั้นขั้นตอนต่อไปคือ การค้นหาคำถามที่พบบ่อยในหน้าเว็บของเรา ซึ่งถ้าหากคำถามเดียวกันไปปรากฏอยู่บนคำค้นหา หรือคีย์เวิร์ดเป็นร้อยเป็นพันอัน ก็จะคุ้มค่าสำหรับการปรับเพิ่มประสิทธิภาพนั่นเอง

วิธีตรวจสอบที่ง่ายที่สุด คือการนำลิสต์คีย์เวิร์ดใน CSV วางลงใน Google Sheet หลังจากนั้นให้สร้างตาราง Pivot ขึ้นมา

creating pivot sheet

สำหรับใครที่ไม่เคยสร้าง หรือใช้งานตัว Pivot มาก่อนไม่ต้องกังวล เพราะโดยพื้นฐานแล้วเป็นเพียงวิธีการดึง และวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้น เพียงตั้งค่าตามภาพด้านล่างก็สามารถใช้งานได้ทันที

setting of pivot sheet

แต่มีข้อควรระวังคือ ฟิลเตอร์ “Showing 1 item” จะใช้การตั้งค่าสำหรับ People Also Ask เท่านั้น

ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นจำนวนครั้งที่คำถามเหล่านี้ปรากฏขึ้นในกล่อง PAA สำหรับทุกคีย์เวิร์ดที่อยู่บนหน้าเว็บ บวกกับผลรวมปริมาณการค้นหาของคีย์เวิร์ดเหล่านั้น

ยกตัวอย่างเช่น คำถาม ‘10 อันดับแรกของเว็บไซต์มีอะไรบ้าง ?’ จะขึ้นแสดงในกล่อง PAA สำหรับคีย์เวิร์ด 212 รายการ และมีผลรวมการค้นหารายเดือนเท่ากับ 61,800 นั่นเอง

example of question

ถ้าหาก Google ใช้หน้าเว็บของเราเป็นแหล่งข้อมูล ก็อาจทำให้มีผู้เยี่ยมชมมากขึ้นหลายร้อยเลยก็ได้

เช็กให้แน่ใจว่าเว็บของเรายังไม่ใช่แหล่งที่มาสำหรับคำถามที่เลือก

ก่อนทำขั้นตอนถัดไป ต้องตัดความเป็นไปได้เพื่อให้แน่ใจก่อนว่า Google ยังไม่เคยดึงคำตอบจากหน้าเว็บของเราไปใช้ ซึ่งตรวจสอบได้โดยการดูจากคีย์เวิร์ดค้นหาที่มีคำถามปรากฏขึ้นในกล่อง PAA จากการใส่เครื่องหมาย + ลงไปที่ลิสต์คำถามได้เลย

how to chect that website have not already been a source

คัดลอก และวางคีย์เวิร์ดลงไปใน Google ทีละอัน หลังจากนั้นจะเห็นกล่อง PAA ปรากฏขึ้นใน SERPs ลองกดขยายคำตอบดู แล้วจะรู้ได้ทันทีว่าหน้าเว็บของเราคือแหล่งที่มาของข้อมูลหรือไม่ หากพบว่าหน้าเว็บถูกใช้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับคำถามนี้อยู่แล้ว ให้ไปต่อที่คำถามถัดไปได้เลย

checking keywords

ตรวจสอบว่าหน้าเว็บของเราสามารถจัดอันดับได้

แหล่งคำตอบส่วนใหญ่ที่ Google เลือกมา จะมาจากหน้าเว็บติดสิบอันดับแรกของคำถามเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น หากค้นหาคำว่า ‘เว็บไซต์ที่มีการเข้าชมบ่อยที่สุด’ คำตอบที่ปรากฏอยู่บนกล่อง PAA ก็จะอ้างอิงมาจากเว็บไซต์ที่มียอดเข้าชมสูงที่สุดนั่นเอง

checking website can rank

โดยหลังจากที่ลองเอาคำถามนั้นไปค้นหาดูใหม่ ก็จะเห็นว่าหน้าเว็บ Ahrefs ที่ติดอันดับอยู่บน PAA คือหน้าเว็บที่อยู่ลำดับ 3 นั่นเอง

make sure website can rank

ดังนั้นเว้นแต่ว่าหน้าเว็บของเราจะติด 1 ใน 10 อันดับแรกสำหรับคำถามนั้นอยู่แล้ว ก็อาจจะไม่ใช่แหล่งคำตอบที่ถูกเลือก หากเป็นเช่นกัน การย้อนกลับไปเลือกคำถามอื่นอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

ปรับปรุงประสิทธิภาพหน้าเว็บ

หากทำมาถึงขั้นตอนนี้แล้ว ลิสต์ที่อยู่ด้านล่างนี้คือสิ่งที่ควรมีพร้อม

  • ได้คำถามยอดนิยมใน PAA
  • หน้าเว็บไม่ได้เป็นแหล่งที่มาสำหรับคำถามไหนเลย
  • หน้าเว็บติด 10 อันดับแรกใน Google สำหรับคำถามที่ต้องการ

ถ้าหากมีองค์ประกอบครบแล้ว ก็สามารถเริ่มปรับปรุงประสิทธิภาพกันได้เลย ซึ่งหลักการปรับก็คล้ายกับของ Featured Snippets ซึ่งมีขั้นตอนพื้นฐานดังนี้

process to modify website

คำตอบที่เกี่ยวข้องกับคำถามมีอยู่ในหน้าเว็บของเราหรือไม่ ?

หากไม่มีคำตอบอยู่บนหน้าเว็บของเรา ก็จำเป็นต้องเพิ่มเข้าไป เพราะท้ายที่สุดแล้วเว็บไซต์จะไม่ถูกเลือก หากไม่ใช่ที่มาของแหล่งคำตอบจริง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้คำที่เหมือนกับคีย์เวิร์ดเป๊ะ ๆ ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ Healthline ซึ่งเป็นที่มาของแหล่งข้อมูล สำหรับคำถามว่า “เครื่องลดความชื้นใช้ทำอะไร” แต่ในหน้าเว็บไม่ได้มีเขียนประโยคนี้ ถึงอย่างนั้น Google ก็ยังไปดึงคำตอบจากคำบรรยายด้านล่าง ของ Heading 1 ที่เขียนว่า “เครื่องลดความชื้นทำอะไรได้บ้าง” มาแทนได้นั่นเอง

make sure that we have an answer on the website
example of healthline source

ถ้าหากเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ไม่ได้มีการจัดรูปแบบตามนี้ ก็อาจจะไม่ได้รับเลือกเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับคำตอบ ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการปรับรูปแบบคอนเทนต์ให้สอดคล้องกับคำถามที่ผู้คนต้องการค้นหา นอกจากนี้ยังช่วยให้คอนเทนต์ของเราอ่านเข้าใจง่ายมากขึ้นอีกด้วย

โครงสร้างเป็นระเบียบหรือไม่ ?

โครงสร้างเนื้อหาที่เละเทะอาจทำให้ Google เกิดความสับสน จึงควรทำออกมาให้เป็นระเบียบเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยระบุ Heading ที่ชัดเจน และลบสิ่งไม่จำเป็นออกไป ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการให้ Google เห็น และดึงคำตอบจากหน้าเว็บไซต์ไปสำหรับคำถาม “จะกลายเป็นนักการตลาด Afiliate ได้อย่างไร ?” ก็อาจจะต้องสรุปประเด็นสำคัญจากทั้ง 7 หัวข้อต่อไปนี้มารวมกัน เพื่อให้ Google เข้าใจง่ายขึ้นนั่นเอง

list of checking web sturcture

นอกจากนี้ยังมีอีกข้อสันนิษฐานหนึ่งว่า การทำเครื่องหมายคำถาม และคำตอบด้วย Schema Markup ช่วยเพิ่มโอกาสติดอันดับในกล่อง PAA ได้ด้วย ซึ่งอาจจะไม่ใช่ข้อกำหนดที่แน่ชัด แต่ก็มีส่วนช่วยอย่างแน่นอน เนื่องจากทำให้ Google สามารถดึงข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องง่ายยิ่งขึ้น

วิธีปรับใช้กล่อง PAA เพื่อพัฒนา SEO ในรูปแบบอื่น ๆ

การติดอันดับในกล่อง PAA ไม่ใช่ทางเดียวที่ช่วยเรื่อง SEO ได้ ต่อไปนี้จะขอแนะนำอีก 2 – 3 วิธีที่สามารถนำปรับใช้ได้เหมือนกัน

  • ทำคอนเทนต์ให้ดีขึ้น
  • หาคีย์เวิร์ดใหม่เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
  • ให้คำตอบที่มีคุณภาพสำหรับคำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์

ทำคอนเทนต์ให้ดีขึ้น

กล่อง PAA มักให้คำตอบเชิงลึกกับสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการค้นหา การรวบรวมข้อมูลที่ครอบคลุมเอาไว้อาจนำไปสู่เนื้อหาที่เจาะลึก ซึ่งจะตรงกับจุดประสงค์ หรือ Searcher intent ของผู้ใช้ทำให้เกิดความพึงพอใจได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง

ยกตัวอย่าง ลองดูในกล่อง People Also Ask ของคำค้นหา “การเขียนบล็อกของผู้เยี่ยมชม”

create better content

สิ่งที่ปรากฏขึ้น คือความเป็นไปได้ทั้งหมดที่ผู้ใช้ต้องการค้นหา และได้รับคำตอบที่สมเหตุสมผลเมื่อคลิกไปดูที่แหล่งข้อมูล ซึ่งหากเว็บไหนไม่ได้ตอบคำถามเหล่านี้ ก็เป็นไปได้ว่าหน้าเว็บจะอยู่ในอันดับต่ำกว่า ถึงแม้จะมีการทำ Backlink ที่ดีกว่าเว็บไซต์ที่ติดอันดับสูง ๆ ก็ตาม

หาคีย์เวิร์ดใหม่เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมาย

คำถามส่วนใหญ่ที่แสดงบนกล่อง PAA มักมีปริมาณค้นหาต่อเดือนที่ไม่สูงเท่าไหร่ อ้างอิงจากคำถามเหล่านี้

find new keyword

ซึ่งหากลองนำไปวางในเครื่องมือ Keyword Explorer ของ Ahrefs จะพบว่า ทั้งหมดมีปริมาณค้นหาที่น้อยมากประมาณ 10 หรือไม่ถึง 10 ครั้งต่อเดือน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าผู้คนจะไม่ได้ค้นหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ในทางอื่น

checking keyword on ahrefs

ยกตัวอย่างเช่น หากลองติดตั้ง Ahrefs’ SEO toolbar แล้วลองค้นหาหนึ่งในคำถามนั้นดูจะพบว่า เว็บไซต์ที่อยู่อันดับบนสุดมีจำนวนการเยี่ยมชมกว่า 4,800 ครั้งต่อเดือนนั่นเอง

example of seo toolbar

นั่นเป็นเพราะว่าหน้าเว็บนี้ได้ Traffic จากคีย์เวิร์ดมากมายที่คล้ายกัน เช่น “Airpod ตัวใหม่” หรือ “Airpod 3” เป็นต้น

example of organic keyword

ในกรณีนี้ คือเราอาจพบคีย์เวิร์ดเหล่านี้ในกระบวนการค้นคว้าคีย์เวิร์ดแล้ว แต่พอขยายเพื่อดูคำถามเพิ่มเติมในกล่อง PAA ไปเรื่อย ๆ จะพบว่ามีคำถามที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ แต่กลับเป็นเรื่องที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อนปรากฏขึ้นมา

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อค้นหาคำว่า “เครื่องมือทำบัญชีที่ดีที่สุด” ก็จะมีคำถามเกี่ยวกับเครื่องมือที่ไม่เคยได้ยินแสดงผลขึ้นมาเต็มไปหมด ซึ่งหากนำไปลองค้นหาใน Keyword Explorer ก็อาจเจอคีย์เวิร์ดนับร้อยที่ไม่เคยเห็นมาก่อนเลยก็ได้

example of more hundred keywords that have not seen

ให้คำตอบที่มีคุณภาพสำหรับคำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์

ข้อความค้นหาที่เกี่ยวกับแบรนด์ หรือระบุถึงตัวสินค้าอาจมีน้อย แต่ผู้คนที่ค้นหาสิ่งเหล่านี้มักอยู่ในส่วนล่างสุดของพีระมิด Marketing Funnel ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่ใกล้จะตัดสินใจซื้อ หรือก่อให้เกิดมูลค่าแล้วนั่นเอง ดังนั้นหากพวกเขาได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด หรือเกิดความเข้าใจผิด ก็อาจทำให้เปลี่ยนใจไม่ซื้อสินค้าได้อย่างง่ายดาย

ยกตัวอย่างเช่น ตัวอย่างคำตอบของคำค้นหา ‘QuickBooks’ หรือโปรแกรมบัญชีออนไลน์อัจฉริยะ

example of answer on quickbooks

จากภาพไม่เพียงเป็นข้อมูลที่มาจากคู่แข่ง แต่ยังพูดถึงเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีผิดกฎหมายในการใช้งาน QuickBooks ฟรีอีกด้วย ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อแบรนด์ของ QuickBooks เป็นอย่างมาก ดังนั้นคำตอบนี้จึงควรได้รับการปรับปรุงโดยด่วน

สรุป

การติดอันดับในกล่อง People Also Ask หรือ PAA จะช่วยเพิ่มตัวเลขการเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้อย่างไม่ต้องสงสัย แต่ถึงอย่างไรก็ตามต้องเลือกคำถามที่ต้องการเพิ่มอัตราการเข้าชมอย่างชาญฉลาด เพราะถ้าเลือกผิดจะไร้ประโยชน์ หากเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์ในคำถามที่มีปริมาณการค้นหาน้อย หรือไม่ได้รับความนิยมจากผู้ค้นหา แต่ถ้าถ่ทว่าคุ้มค่าสำหรับทุกคนหรือไม่ที่จะลงมือทำในส่วนนี้ ? คำตอบคือ อาจจะไม่ เพราะถ้าเว็บไซต์มียอดเข้าชมที่ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ ก็ควรไปโฟกัสในการปรับปรุงด้านอื่นมากกว่าการทำกล่อง PAA นั่นเอง

ใครที่อยากหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ SEO สามารถตามอ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่ : https://thekalling.com/tkl-blog/