Google ให้ความสำคัญกับการใช้ URL ที่เรียบง่าย และเป็นมิตร (Friendly URLs) สำหรับการทำ SEO บนเว็บไต์ ดังนั้นวันนี้จะพาทุกคนมาเรียนรู้เทคนิคการสร้าง SEO-Friendly URLs ว่ามีวิธีการอย่างไรต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อนมือใหม่หัดทำเว็บไซต์ก็สามารถทำตามได้ เพราะฉะนั้นอย่าได้รอช้าเราไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลย
โครงสร้างของ URLs มีอะไรบ้าง

URLs มีองค์ประกอบหลายส่วน ซึ่งประกอบด้วย 6 ส่วน ดังต่อนี้
- Protocol
- Subdomain
- Domain
- Top-Level Domain (TLD)
- Subfolder
- Slug
สำหรับการทำ SEO ส่วนที่สำคัญมากสุดคือ Slug ซึ่งต้องมีทุกครั้งในการสร้างเพจหรือโพสต์ ดังนั้นมาดูกันเลยว่าวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการสำหรับการสร้าง URL ที่เป็นมิตรต่อ SEO ต้องทำอย่างไรบ้าง
วิธีการสร้าง SEO-friendly URLs slug
การสร้าง URLs รูปแบบนี้ สามารถทำตามขั้นตอนตามลำดับต่อไปนี้
- เริ่มต้นด้วย Page title
- ต้องลบอักขระพิเศษออก
- แนะนำว่าให้ลบตัวเลข
- ลบข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกไป
- ต้องมีคีย์เวิร์ดหลักร่วมอยู่ด้วย
- เพิ่มตัวแก้ไขคีย์เวิร์ด
- ต้องสร้าง URLs ให้สามารถอ่านได้ (แต่ไม่จำเป็นต้องทำก็ได้)
- ต้องใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็ก
- แทนที่ช่องว่าด้วยยัติภังค์ (เครื่องหมายขีด)
เริ่มต้นด้วย Page Title
ชื่อเพจส่วนใหญ่จะสร้าง URL ที่มีความเหมาะสมอย่างสมบูรณ์แบบด้วยการปรับเปลี่ยนเล็กน้อย ดังนั้นเรามาเริ่มดำเนินตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้ได้ URL slug ที่เพอร์เฟคมากที่สุดสำหรับการทำ SEO อย่างเช่น บทความนี้ได้ตั้งชื่อตรงกับจุดประสงค์ที่ต้องการสื่อให้กับผู้เข้าอ่าน โดยตั้งชื่อแท็กว่า
How to Craft the Perfect SEO Title Tag (Our 4-Step Process)
ต้องลบอักขระพิเศษออก
คุณเคยเห็น URL ที่มีเครื่องหมาย () และ [] ไหม ซึ่งเป็นไปได้ยากมากที่จะมีเครื่องหมายเหล่านี้อยู่ เนื่องจากว่าอักขระเหล่านี้ไม่ปลอดภัย เพราะฉะนั้นแนะนำว่าควรลบออกไป รวมทั้งอักขระพิเศษอื่น ๆ เช่น เครื่องหมายจุลภาค ทวิภาค เครื่องหมายอัฒภาค เป็นต้น
คุณ John Mueller ผู้เชี่ยวชาญจาก Google พูดเกี่ยวกับอักขระเหล่านี้ว่า “โดยทั่วไปแนะนำให้หลีกเลี่ยงอักขระพิเศษ เช่น เครื่องหมายจุลภาค เครื่องหมายอัฒภาค ทวิภาค ช่องว่าง เครื่องหมายคำพูด ฯลฯ ใน URL เพื่อช่วยให้ทุกอย่างง่ายขึ้น URL เนื่องจากถ้ามีจะทำให้การเชื่อมโยงอัตโนมัติยากขึ้น ทั้งยังยากต่อการจดจำ”
ดังนั้นเรามาลบอักขระเหล่านี้ออกให้หมดกันเถอะ เพื่อให้ได้ URLs ที่ดีและเหมาะสมสำหรับเว็บไซต์ของคุณ
How to Craft the Perfect SEO Title Tag Our 4 Step Process
เห็นไหมว่าเครื่องหมายวงเล็บได้หายไปแล้ว
แนะนำว่าให้ลบตัวเลข
การที่มีตัวเลขอยู่จะทำให้ยุ่งยากต่อการอัพเดตข้อมูล เช่น วัน เวลา หรือตัวเลขต่าง ๆ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลง

เนื่องจากคุณจะต้องเปลี่ยนเส้นทางไปยัง URL ใหม่ทุกครั้งที่ต้องเปลี่ยนจำนวนรายการในหน้าเว็บหรือโพสต์ให้เป็นปัจจุบัน
การเปลี่ยนเส้นทางหน้าเว็บไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับ WordPress เรื่องจากว่าสามารถทำได้โดยอัตโนมัติ แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดข้อผิดพลาดได้ เช่น ลืมอัพเดตหมายเลข URL ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาตามมาได้โดยเฉพาะกับผลการค้นหา

วิธีที่ดีที่สุดคือการลบตัวเลขออกไป จะทำให้คุณไม่ตำเป็นต้องอัพเดต URL เมื่อคุณทำการเปลี่ยนแปลงในหน้าเว็บ
How to Craft the Perfect SEO Title Tag Our Process
ลบข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกไป
Google กล่าวว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการสร้าง URL เน้นเขียนให้ง่าย ไม่จำเป็นต้องสร้างให้ซับซ้อน โดยเฉพาะเรื่องของความยาวต้องพอดี เนื่องจากถ้ายาวเกินไปจะไม่เหมาะสำหรับการค้นหา

ดังนั้นแนะนำว่าควรลบข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกให้หมด เพื่อให้ได้ URL ที่กระชับ แต่ยังคงการอธิบายเนื้อหาได้ดี
How to Craft the Perfect SEO Title Tag
ต้องมีคีย์เวิร์ดหลักร่วมอยู่ด้วย
URL ที่เพอร์เฟคควรจะมีคีย์เวิร์ดหลักร่วมอยู่ด้วย แต่อย่างไรก็ตามคำเหล่านั้นอาจจะทำให้ URL มีความยาวมากเกินไป เพราะฉะนั้นต้องพยายามให้กระชับมากที่สุด สั้น และได้ใจความ ตัวอย่างเช่น เรามีโพสต์ที่มี URL เป็น slug /basic-guide-anchor-text/ ซึ่งสามารถอัพเดตได้ง่าย และเปลี่ยนแปลงได้แบบไม่ยุ่งยาก

ดังนั้นขั้นตอนสำคัญต่อมาคือการหาคีย์เวิร์ดที่ผู้คนนิยมค้นหาใส่ลงไปใน URL และชื่อเรื่องของเพจคุณ
การดำเนินขั้นตอนนี้ให้ติดตั้งและเปิดใช้งานแถบเครื่องมือ Ahrefs’ SEO toolbar จากนั้นไปที่ Google URL ดูที่มีความคล้ายคลึงกับ URL ของคุณและเลือกใช้ลิงก์ที่มีปริมาณการเข้าชมแบบออร์แกนิค มีผู้เข้าใช้งานสูง

สิ่งสำคัญ
หากหน้าผลการค้นหาไม่ได้รับการเข้าชมเลย นั่นแสดงว่าหน้าเพจของคุณอาจจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับหัวข้อที่ไม่เป็นที่นิยมสำหรับผู้คุณ การได้รับการเข้าชมแบบออร์แกนิคจึงเป็นเรื่องยาก แม้ว่าคุณจะปรับปรุง URL ให้มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดอย่างไรก็ตาม ยอดปริมาณการเข้าชมก็ยังคงต่ำอยู่ดี
จากนั้นให้กดลิงก์ “KW” เพื่อดูว่าหน้านั้นอยู่ในอันดับเท่าไหร่ใน Ahrefs’ Site Explorer

ค้นหารายการคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ซึ่งต้องเลือกให้ตรงกับเนื้อหาของคุณ

title tag
เพิ่มตัวแก้ไขคีย์เวิร์ด
การใช้คีย์เวิร์ดที่ทำงานแบบตรงไปตรงมาสำหรับURL slug จะเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ แต่อาจไม่เสมอไป เพราะจะทำให้ขาดคำอธิบายสำหรับผู้คน ทำให้ไม่เข้าใจว่า URL นี้ต้องการสื่อถืออะไรกันแน่
วิธีการแก้ไขปัญหานี้สามารถทำไ้ด้ง่าย ๆ โดยการเพิ่มตัวแก้ไขคีย์เวิร์ด ซึ่งมันคือการเพิ่มบริบทให้กับ URL ตัวอย่างเช่น หากเราดูรายงาน “Competint Page” ที่เกี่ยวกับ Title Tags เราจะเห็น “seo” และ “html” ปรากฏอยู่

ดังนั้นคุณควรต้องใส่องค์ประกอบทั้งสองนี้ลงใน URL
SEO title tag
HTML title tag
title tag SEO
HTML title tag SEO
แต่ไม่ควรใส่คำพวกนี้ลงไป
HTML meta title tag SEO
และนี่คือสื่งที่เราใส่ลงไปใน URL ของโพสต์เราเอง
title tag SEO
ต้องสร้าง URLs ให้สามารถอ่านได้ (แต่ไม่จำเป็นต้องทำก็ได้)
เช่น /seo-title-tag/ เหมาะสมกว่า /html-title-tag-seo/ เนื่องจากว่าคำว่า “seo” มันสื่อความหมายได้ดีกว่า “html” สำหรับเทคนิคการสร้างให้ URL สามารถอ่านได้ต้องเพิ่มคำสันธานหรือการทำให้เป็นรูปประโยคพหูพจน์ แต่บางครั้งก็ไม่จำเป็นเนื่องจากบางคำอาจจะสื่อความหมายได้ดีและชัดเจนด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว
เช่น บทความที่เกี่ยวกับ .”ปลั๊กอิน WordPress ที่ดีที่สุดสำหรับ SEO” คีย์เวิร์ดที่เหมาะสมที่สุดคือ “ปลั๊กอิน” นั่นเอง อ่านแล้วเข้าใจได้เลยว่าเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

จะเห็นได้ว่าURL มีความสั้นกระชับ สามารถอ่านได้อย่างเป็นธรรมชาติ และเข้าใจได้ง่าย
ต้องใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็ก
เว็บเซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่จะตอบสนองกับ URLs ที่เป็นตัวพิมพ์เล็กได้ดีกว่าตัวพิมพ์ใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามขั้นอยู่กับโดเมนใน URL ด้วย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาแนะนำว่าให้ใช้เป็นตัวพิมพ์เล็กเสมอ ซึ่งหากคุณใช้ WordPress อยู่สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย เนื่องจากมันจะสร้างเป็นอัตโนมัติของมันเอง

หรือทำไ้ด้ง่าย ๆ โดยวาง URL ของคุณใน convertcase.net แล้วเลือกให้เปลี่ยนเป็นตัวพิมพ์เล็ก
title tag seo
แทนที่ช่องว่าด้วยยัติภังค์ (เครื่องหมายขีด)
สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากคือ URLs จะต้องไม่มีช่องว่า เพราะฉะนั้นหากตรงไหนมีช่องว่างแนะนำให้ใส่เครื่องหมายขีดลงไปแทน (-)

คำแนะนำจาก Google กล่าวว่า “เราขอแนะนำให้คุณใช้เครื่องหมายยัติภังค์ (-) แทนเครื่องหมายขีดล่าง (_) ใน URL ของคุณ”
ตัวอย่างเช่น
title-tag-seo
แนวทางเพิ่มเติมสำหรับการสร้าง URL ที่ดีที่สุด เพื่อให้สมบูรณ์แบบไร้ที่ติ
ซึ่งรูปภาพด้านล่างนี้เป็นโครงสร้างองค์ประกอบของ URL ที่ต้องมี โดยเราได้กล่าวถึงส่วนของ Slug ไปแล้ว เพราะฉะนั้นมาดูส่วนที่เหลือกันเลย

ซึ่งต่อไปนี้คือขั้นตอนการสร้าง URLs ที่เป็นมิตรต่อ SEO สำหรับส่วนที่เหลือที่เรายังไม่ได้ทำกันเลย ถ้าพร้อมแล้วมาลุยไปด้วยกัน
- ใช้ HTTPS
- ใช้โดเมนย่อยเมื่อจำเป็นเท่านั้น
- เลือกโดเมนที่น่าจดจำ
- เลือก TLD ที่เหมาะสม
- ใช้โฟลเดอร์ย่อยเพื่อจัดลำดับชั้น
- สามารถใช้โฟลเดอร์ย่อยได้มากเท่าไหร่ก็ได้
- หลีกเลี่ยงการใช้คีย์เวิร์ดซ้ำ
- หลีกเลี่ยงการใส่วันที่ลงไป
- หลีกเลี่ยง URL parameters หากเป็นไปได้
ใช้ HTTPS
เนื่องจากว่า HTTPS สามารถเข้ารหัสข้อมูลที่ส่งระหว่างผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์และเซิร์ฟเวอร์ของคุณได้ โดยเป็นปัจจัยในการจัดอันดับที่ใช้ตั้งแต่ปี 2014 ดังนั้นคุณควรจะต้องใช้ HTTPS เพื่อให้เว็บมีอันดับสูงบนหน้าแรกของ Google
ใช้โดเมนย่อยเมื่อจำเป็นเท่านั้น
โดเมนย่อยมีความสำคัญมากเช่นกัน ซึ่งจะปรากฏอยู่หน้าชื่อโดเมน โดยทั่วไปจะใช้เพื่อแยกพื้นที่ต่าง ๆ ในเว็บไซต์ตามรูปแบบฟังก์ชันการใช้งาน
ตัวอย่างเช่น บล็อกของ Hubspot ที่อยู่ในโดเมนย่อย

Google กล่าวว่าพวกเขาจะตอบสนองในทางที่ดีต่อเนื้อหาที่อยู่ในโดเมนย่อยเหมือนกับเนื้อหาอื่น ๆ และไม่ยากที่จะจัดอันดับโดเมนย่อยเมื่อเทียบกับการจัดอันดับโฟลเดอร์ย่อยที่ทำได้ยากกว่า
อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญทาง SEO ไม่เห็นด้วย เนื่องจากว่ามีรายงานหลายกรณีที่มีปริมาณการเข้าชมเพิ่มขึ้นหลังจากย้ายเนื้อหาจากโดเมนย่อยไปยังโฟลเดอร์ย่อยนั่นเอง
ดังนั้นไม่มีใครที่ทราบแน่ชัดว่าเหตุใดจึงเป็นแบบนี้ ซึ่งมีทฤษฎีทั่วไปว่าบางครั้ง Google นั้นนับว่าโดเมนย่อยเป็นเว็บไซต์ที่แยกออกไปต่างหาก เพราะฉะนั้นคำแนะนำของเราคืออย่าใช้โดเมนย่อยเว้นแต่จะจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
เลือกโดเมนที่น่าจดจำ
หากคุณยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการทำเว็บไซต์ และยังไม่ได้เลือกโดเมน เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นต้องกังวลกับการได้โดเมนที่มีคีย์เวิร์ดจำนวนมาก
นี่คือสิ่งที่ John Mueller ผู้เชี่ยวชาญจาก Google ได้กล่าวถึงโดเมนที่มีคีย์เวิร์ดมากาย ซึ่งเขากล่าวว่า “…เพียงเพราะคีย์เวิร์ดอยู่ในชื่อโดเมนไม่ได้หมายความว่าคีย์เวิร์ดนั้นจะจัดอันดับโดยอัตโนมัติ”
เลือก TLD ที่เหมาะสม
ถ้าหากคุณต้องการดึงดูดผุู้เข้าชมเว็บไซต์จากทั่วโลก ให้เลือกโดเมนระดับบนสุด (generic top-level domain : gTLD) เช่น .com
Google ปฏิบัติต่อ gTLD ทั้งหมดเหมือนกันในแง่ของ SEO แต่โดยปกติแล้ว .com จะตอบสนองดีที่สุด หากคุณหาได้ TLD เช่น .biz, .info และ .name มักจะพบกับสแปมมากมายที่มีผลเสียต่อเว็บไซต์ ดังนั้นการเลือก TLD ต้องพิจารณาถึงการสร้างลิงก์ให้มีคุณภาพสูง
หากคุณกำหนดเป้าหมายลูกค้าในสถานที่เฉพาะ แนะนำให้ใช้ gTLF หรือโดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) เช่น .co.uk หรือ .fr เป็นต้น
ใช้โฟลเดอร์ย่อยเพื่อจัดลำดับชั้น
โฟลเดอร์ย่อยช่วยให้เข้าใจลำดับชั้นและให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ใช้ URL นี้:
domain.com/airpods.html
ซึ่งจะเกิดความคุมเครือเมื่อเป็น URL สำหรับหน้าการขาย AirPods และหน้ารีวิวสินค้า AirPods
ให้สังเกตดู URL ดังต่อไปนี้:
domain.com/store/earbuds/apple/airpods.html
นี่เป็น URL ของหน้าผลิตภัณฑ์ที่ขาย AirPods ที่มีความชัดเจนต่อจุดประสงค์ของเว็บไซต์
แต่อย่างไรก็ตามยังไม่ใช่โครงสร้างโฟลเดอร์ย่อยทั้งหมดที่ต้องการจะบอกให้กับคุณได้ทราบ ซึ่งคุณสามารถเพิ่มโฟลเดอร์ย่อยด้านล่างนี้เพิ่มเข้าไปได้อีก เช่น
- เอียร์บัดเป็นเพียงหนึ่งในประเภทของผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอจากร้านค้าออนไลน์
- Apple ผลิตผลิตภัณฑ์นี้ และอาจมีเอียร์บัดอื่นๆ จากแบรนด์เดียวกันนี้จำหน่ายด้วย
- มีเอียร์บัดยี่ห้ออื่นขายในร้าน
การใช้โฟลเดอร์ย่อยยังช่วยให้การรวมคีย์เวิร์ดให้เข้ากับ URL ง่ายขึ้นโดยไม่ดูเป็นลิงก์สแปม
Spammy: domain.com/buy-apple-airpods-earbuds.html
Non-spammy: domain.com/store/earbuds/apple/airpods.html
สามารถใช้โฟลเดอร์ย่อยได้มากเท่าไหร่ก็ได้
ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน SEO หลายคนเชื่อว่าการมีโฟลเดอร์ย่อยใน URL มากเกินไปจะทำให้อันดับลดลง อย่างไรก็ตาม Google ได้กล่าวหลายครั้งว่าไม่เป็นความจริง
เนื่องจากวิธีการทำงานของ CMS ที่ทันสมัยที่สุด การมีโฟลเดอร์ย่อยจำนวนมากใน URL มักจะเป็นสัญญาณว่าหน้านั้นถูกฝัง “budied” ไว้ในส่วนของ site architecture ซึ่งไม่เหมาะสมอย่างยิ่งหากคุณต้องการให้ผู้ใช้ และเครื่องมือค้นหา สามารถค้นหาหน้าดังกล่าวได้ง่าย ๆ
หากคุณสงสัยว่านี่อาจเป็นปัญหาในเว็บไซต์ของคุณ อย่าใช้โฟลเดอร์ย่อยมากเกินไป แนะนำให้รวบรวมข้อมูลไซต์ของคุณด้วยเครื่องมืออย่างอื่น เช่น Ahrefs’ Site Audit
คุณสามารถใช้ตัวกรองชุดนี้ใน Page Explorer โดยทำตามขั้นตอนดังนี้

Page Explorer ใน Ahrefs’ Site Audit
หลีกเลี่ยงการใช้คีย์เวิร์ดซ้ำ
คีย์เวิร์ดที่ใช้ซ้ำ ๆ ใน URL อาจจะทำให้ดูเหมือนสแปม ดังนั้นสามารถหลีกเลี่ยงปัญหานี้ได้ด้วยการสร้าง URL slugs แต่อาจจะเกิดความผิดพลาดได้ง่ายเมื่อทำงานกับโฟลเดอร์ย่อย
ดังนั้นลองดูตัวอย่าง URL ของหน้านี้
myer.com.au/c/men/mens-shoes/mens-sneakers
จะเห็นได้ว่า URL นี้มีคำว่า “men” ซ้ำกันสามครั้ง แนะนำว่าควรตัดออกให้เหลือคำที่ไม่ซ้ำกัน เช่น
myer.com.au/c/men/shoes/sneakers
หลีกเลี่ยงการใส่วันที่ลงไป
CMS ยอดนิยมส่วนใหญ่ เช่น WordPress จะใช้ URL ที่มีวันที่เป็นค่าเริ่มต้น ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาหากคุณเคยอัพเดตเนื้อหาไปแล้ว เนื่องจากว่า Google อาจแสดงข้อมูลที่ขัดแย้งกับผลการค้นหา

หากเว็บไซต์ของคุณตั้งค่าเริ่มต้น และได้เผยแพร่เนื้อหาไปแล้ว อย่าเปลี่ยนแปลงอะไร เนื่องจากจะเกิดความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณพังอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตามหากคุณกำลังตั้งค่าไซต์ใหม่โดยใช้ WordPress วิธีแก้ไขง่ายๆ สำหรับปัญหานี้คือเปลี่ยนการตั้งค่าลิงก์ถาวรของคุณก่อนที่จะเผยแพร่เนื้อหา

หลีกเลี่ยง URL parameters หากเป็นไปได้
URL parameters มักจะปรากฏหลังเครื่องหมายคำถามใน URL สิ่งเหล่านี้พบได้ทั่วไปในเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ แต่ควรหลีกเลี่ยงในหน้าที่จัดทำดัชนีไดเเว้นแต่จะจำเป็นจริง ๆ เนื่องจากอาจทำให้เกิดปัญหาเนื้อหาซ้ำกันได้ นั่นคือที่ที่เนื้อหาเดียวกันหรือคล้ายกันสามารถเข้าถึงได้จากหลาย URL ในไซต์อีคอมเมิร์ซ นี่อาจเป็นผลิตภัณฑ์เดียวกันที่มีสีหรือสไตล์ต่างกันนั่นเอง
ดูว่า URL เปลี่ยนไปอย่างไรในขณะที่เนื้อหาของหน้ายังคงเหมือนเดิม

หากสิ่งนี้เกิดขึ้นในไซต์ของคุณ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้บัญญัติ (canonicalize) URL ที่คล้ายกันหรือซ้ำกันให้เป็นเวอร์ชันที่ควรติดอันดับในเครื่องมือค้นหาแล้วหรือไม่
คุณสามารถค้นหาปัญหาเนื้อหาที่ซ้ำกันในไซต์ของคุณได้ในรายงานเนื้อหาที่ซ้ำกัน (duplicate content) ในการตรวจสอบไซต์ของ Ahrefs’ Site Audit

สรุป
การสร้าง SEO-Friendly URLs ถึงแม้จะใช้เวลามากเกินไป แต่ก็เป็นผลดีต่อเว็บไซต์ โดยเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการทำ SEO เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาของเครื่องมือค้นหา และเพื่อให้เว็บไซต์ของคุณมีโอกาสสูงในการปรากฏบนผลการค้นหาของ Search Engine ทั้งยังสามารถดึงดูดผู้เข้าชม ดังนั้น URL จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการทำ SEO ของเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณเป็นที่นิยมและมีอันดับพุ่งสูงขึ้นำได้