10 ความเชื่อผิด ๆ ของ seo ที่ไม่ควรมองข้าม

พาส่อง 10 ความเชื่อผิด ๆ ของการเขียน SEO ที่ไม่ควรมองข้าม

ตำนาน ก็คือตำนาน เป็นเพียงเรื่องเล่า หรือความเชื่ออันไร้พิษภัยที่ถูกส่งต่อมารุ่นสู่รุ่น ตัวอย่างเช่น ฉลามไม่มีวันเป็นมะเร็ง หรือสายฟ้าไม่เคยผ่าซ้ำที่เดิมสองครั้ง

แต่น่าเสียดายที่เรื่องเล่าเหล่านั้น กับความเชื่อผิด ๆ ของ SEO ต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะสิ่งนี้ไม่เพียงสร้างความเข้าใจผิดเล็กน้อย แต่อาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้สูญเสียเวลาอันมีค่า รวมถึงเงินทุน และทรัพยากรไปฟรี ๆ โดยไม่ได้ส่งผลดี หรือผลักดันศักยภาพของบทความให้ดีขึ้นเลย

ซึ่ง 10 ความเชื่อผิด ๆ ของ SEO ที่ควรรู้ มีดังนี้ :

  1. การทำ SEO ไม่จำเป็นอีกต่อไปแล้ว
  2. SEO สามารถทำแบบครั้งเดียวจบ
  3. Google มักดันหน้าเว็บที่มีคอนเทนต์สดใหม่เท่านั้น
  4. คีย์เวิร์ดที่ยาวมักติดอันดับง่ายกว่า
  5. การคัดลอกเนื้อหา หรือเขียนซ้ำจะถูกลงโทษ
  6. อิทธิพลจากโซเชียลมีเดียส่งผลต่อการจัดอันดับโดยตรง
  7. การซื้อโฆษณา PPC ไม่ช่วยให้อันดับดีขึ้น
  8. วิธีจัดอันดับเว็บไซต์ (Pagerank) ไม่จำเป็นอีกต่อไป
  9. SEO เป็นการทำเพื่อชิงอันดับเท่านั้น
  10. การวิจัยคีย์เวิร์ดไม่ใช่เรื่องสำคัญ

การทำ SEO ไม่จำเป็นอีกต่อไปแล้ว

ผู้คนส่วนใหญ่มักขี้เกียจหาข้อเท็จจริง และป่าวประกาศว่าหลายสิ่งเป็นเรื่องที่ตายแล้วตามกันไป โดยอ้างอิงจากข้อมูลตัวสำรวจคอนเทนต์ของ Ahrefs มีการทำเนื้อหาเรื่องนี้ไปแล้วกว่า 3,367 ครั้งตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2016 ที่ผ่านมา

information in content explorer show that people have done the seo is dead topic so many times

หากตีเป็นค่าเฉลี่ยก็ประมาณ 66 ครั้งต่อเดือน แต่ความจริงนั้น SEO ยังไม่ตาย ซึ่งรู้ได้จากผลการค้นหาทั่วไปโดยไม่มีโฆษณา หรือ Organic Search ในช่วงสามเดือนล่าสุด

organic search results in google search console

แสดงให้เห็นว่ามีจำนวนการคลิกเข้ามาอ่านมากกว่า 2.1 ล้านครั้ง จากการทำ SEO ซึ่งตัวเลขนี้คงเป็นไปไม่ได้ หาก SEO ได้ตายไปแล้วจริง ๆ

แต่นอกจากเรื่องนี้ก็ยังมีเหตุผลอื่นอีกที่ทำให้ผู้คนคิดว่า SEO นั้นไม่สำคัญ โดยข้อโต้แย้งที่พูดถึงกันมากที่สุด คือผลการค้นหาที่แสดงคำตอบเหมือนในภาพ

example of google answer knowledge graph

ถามว่าสิ่งนี้ส่งผลกระทบด้านลบต่อจำนวนการคลิกเข้าเว็บไซต์หรือไม่ คงต้องตอบว่ามีผลอย่างแน่นอน เพราะหากดูคำค้นหานี้ในฟังก์ชันสำรวจคีย์เวิร์ด บน Ahrefs เราจะเห็นจำนวนการกดคลิกเพียง 1,200 ครั้งเท่านั้นจากปริมาณการค้นหาต่อเดือนทั้งหมด 14,000 นั่นหมายความว่ามีการกดเข้ามาดูเพียง 8% เท่านั้น

แต่นี่ก็ไม่ใช่ประเด็นที่ทำให้ SEO หมดความสำคัญ เพราะเรายังคงได้รับการกดคลิกจากคีย์เวิร์ดเหล่านี้อยู่ อีกทั้ง Google ยังแสดงผลการค้นหาแบบนี้เฉพาะกับคีย์เวิร์ดแค่บางประเภทเท่านั้นด้วย

keyword explorer of how ols is elon musk

สรุปคือ ตราบใดที่ระบบ Search Engine ยังมีอยู่ และถูกใช้งาน ซึ่งก่อให้เกิดการค้นหาทั่วไปที่สามารถควบคุมได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง SEO ก็ไม่มีวันตาย และยังสำคัญต่อการทำบทความอยู่เช่นเดิม

SEO สามารถทำแบบครั้งเดียวจบ

การทำ SEO คล้ายกับการไปฟิตเนสที่บางครั้งเราก็มีแอบขี้เกียจบ้าง แต่หารู้ไม่ว่าสุดท้ายทุกอย่างที่ทำมาจะสูญเปล่าหากยังนั่งกินขนมอยู่บ้านต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างกราฟเมื่อเราเริ่มละเลยการดูแลคอนเทนต์ที่เคยทำมา

graph show decrease traffic after neglecting seo

ซึ่งก่อนเกิดสิ่งนี้ เราได้มีการกลับเข้ามาปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์แบบจริงจังอย่างสม่ำเสมอ แต่พอเริ่มทิ้งไปทำอย่างอื่น แล้วกลับมาดูอีกทีจะเห็นเลยว่า ค่า Traffic ค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ ในช่วงระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยเหล่านี้

  • เว็บของคู่แข่งได้แซงหน้าเราไปแล้ว จากการดูแล และปรับแต่ง SEO อย่างสม่ำเสมอ
  • Backlink ที่เคยมีใช้งานไม่ได้แล้ว
  • เนื้อหาคอนเทนต์เริ่มล้าหลัง ไม่อัปเดต

ด้วยเหตุนี้คนรับทำ SEO ส่วนใหญ่ถึงมีการคิดค่าบริการเป็นรายเดือน มากกว่าการคิดเป็นรายชั่วโมง หรือจ่ายแบบครั้งเดียว เพราะการดูแลต้องอาศัยความต่อเนื่อง และจำเป็นต้องลงทุนในระยะยาวเพื่อผลลัพธ์

หากถามว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นกับทุกเว็บไซต์หรือไม่ ตอบเลยว่า ไม่ โดยจะมีหน้าเว็บบางอันที่ไม่ดูแลมาเป็นเวลานาน แต่ก็ยังคงมียอดการเข้าชมที่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นเคสที่หาได้ยาก และนี่คือตัวอย่างเว็บที่ได้รับการอัปเดตล่าสุดตั้งแต่เมื่อปี 2554 แต่ยังมียอดการเข้าชมแบบธรรมชาติประมาณ 500 ครั้งต่อเดือน

graph show about consistent traffic

Google มักดันหน้าเว็บที่มีคอนเทนต์สดใหม่เท่านั้น

การเขียนคอนเทนต์แล้วเผยแพร่ใหม่ เป็นเรื่องที่ทำกันเป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งหากลองฟิลเตอร์หาเว็บไซต์ที่มีการโพสต์เนื้อหาใหม่ในฟังก์ชันสำรวจคอนเทนต์ Ahrefs จะพบว่ามีหน้าเว็บกว่า 136 อัน ทำการโพสต์ซ้ำไปแล้วนับตั้งแต่ปี 2016 ซึ่งหากถามว่าทำไมถึงยังต้องพยายามอัปเดตเนื้อหาอยู่ตลอด ทั้ง ๆ ที่เป็นเพียงเรื่องเข้าใจผิด

function republished in content explorer

นั่นก็เป็นเพราะว่า ความสดใหม่ ยังนับว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดอันดับอยู่ แต่จะขึ้นอยู่กับเรื่องในการค้นหาด้วย หมายความว่าในบางหัวข้อ เนื้อหาที่อัปเดตยังคงส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพคอนเทนต์ เนื่องจากตัว SEO มีการพัฒนาอยู่ตลอด เนื้อหาที่ตามทันเทรนด์จึงยังมีความจำเป็นสำหรับคำค้นหาอยู่เป็นจำนวนมาก

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ นี่คือผลลัพธ์ของการไม่ได้อัปเดตเนื้อหาในหัวข้อ “รายการค้นหายอดนิยมใน Google” มาเป็นเวลาหลายเดือน ซึ่งเป็นคอนเทนต์ที่ควรได้รับการอัปเดตตลอดเวลา

organic traffic of top google search topic that is abandoned

โดยจะเห็นได้ว่ายอดการเข้าชมเว็บไซต์ลดลงอย่างต่อเนื่อง แล้วกลับมาดีอีกครั้งหลังจากที่ได้อัปเดตเนื้อหาใหม่ลงไปแล้ว นั่นก็เป็นเพราะว่า รายการค้นหายอดนิยมของ Google เป็นคอนเทนต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และผู้เยี่ยมชมที่เข้ามาดูก็ต้องการข้อมูลที่สดใหม่นั่นเอง

ในทางกลับกัน การอัปเดตก็ไม่ได้จำเป็นสำหรับหัวข้อที่มีข้อมูลตายตัว เช่น วิธีผูกเนกไท เนื่องจากขั้นตอนในการทำยังคงเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนไป จึงเป็นเหตุผลที่ Google ยังคงดันเว็บไซต์ให้อยู่ในอันดับต้น ๆ ทั้งที่เนื้อหาอัปเดตล่าสุดก็นานมาแล้วตั้งแต่เมื่อปี 2013 นั่นเอง

example of non fresh content website

คีย์เวิร์ดที่ยาวมักติดอันดับง่ายกว่า

คนส่วนใหญ่มักคิดว่า Long-Tail Keywords หรือคีย์เวิร์ดที่เป็นกลุ่มคำ จะประกอบไปด้วยคำหลายคำทำให้ติดอันดับง่ายกว่า ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่จำเป็นเลย เพราะคีย์เวิร์ดที่ยาวหลายอันก็มี Volume การค้นหาที่น้อย ดังนั้นจำนวนคำจึงไม่ได้ส่งผลอะไรเลย

example of long tail keyword

แต่มีจุดน่าสนใจอยู่อย่างหนึ่ง คือถึงแม้ว่า Long-Tail Keyword จะมีปริมาณการค้นหาน้อยต่อเดือน แต่อันที่ได้รับความนิยมมากกว่ากลับมีค่า Keyword Difficulty หรือระดับความยากของคีย์เวิร์ดในการทำให้เว็บไซต์ติดอันดับ ที่มากกว่านั่นเอง อ้างอิงจากตัวอย่างด้านล่างนี้

keyword difficulty of two long tail keywords

จะเห็นว่าถึงแม้ปริมาณการค้นหาต่อเดือนจะต่างกันมาก แต่คะแนนความยากกลับใกล้เคียงกัน นั่นก็เป็นเพราะว่าอันที่มีการค้นหาน้อย เรามักเรียกมันว่า “คีย์เวิร์ดซัพพอร์ต” หรือพูดอีกแบบคือ เป็นวิธีค้นหาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคำหลักที่คนสนใจในอีกรูปแบบที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมนั่นเอง

ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะจัดอันดับคีย์เวิร์ดเหล่านี้ เนื่องจาก Google มักจัดอันดับคำไว้ด้วยกันโดยใช้เกณฑ์ในรูปแบบของ “คำหลัก” เหมือนกันนั่นเอง

example about content gap in same ranking

แต่ ณ ตอนนี้มีอีกประเภทหนึ่งของคีย์เวิร์ดที่จัดอันดับได้ง่ายกว่าออกมา เรียกว่า “คีย์เวิร์ดเฉพาะ” โดยสามารถทำความรู้จักกับคีย์วเวิร์ดชนิดนี้เพิ่มเติมได้ที่บทความคำแนะนำ Long-Tailed Keywords

การคัดลอกเนื้อหา หรือเขียนซ้ำจะถูกลงโทษ

คอนเทนต์ซ้ำ คือคอนเทนต์ที่มีเนื้อตรงกัน หรือคล้ายกัน แต่ปรากฏอยู่ในหน้าเว็บมากกว่าหนึ่งแห่ง ยกตัวอย่างเช่น สอง URL นี้ต่างก็นำทางไปหาบล็อกโพสต์แบบเดียวกัน :

https://buffer.com/library/social-media-manager-checklist/

https://buffer.com/resources/social-media-manager-checklist/

ซึ่ง Google เคยประกาศไว้แล้วว่าไม่มีการลงโทษสำหรับการทำเนื้อหาซ้ำ แต่ความเข้าใจผิดนี้ก็ยังคงมีมาอยู่เรื่อย ๆ

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะไม่มีบทลงโทษ แต่การเขียนซ้ำก็อาจส่งผลกระทบ และทำให้เกิดปัญหา SEO ได้ เช่น

  • เกิด URL ไม่พึงประสงค์ และไม่เป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน
  • Backlink ไม่ได้ประสิทธิภาพ
  • สิ้นเปลืองงบประมาณรวบรวมข้อมูล
  • หน้าเว็บที่คัดลอกมีอันดับสูงกว่า

ถ้าหากกังวลว่าตอนนี้เรามีหน้าเว็บที่เนื้อหาซ้ำกันอยู่หรือไม่ สามารถตรวจสอบได้ใน Ahrefs Site Audit แล้วกดไปที่ Duplicate Content เพื่อดูรีพอร์ตรายการ หากเห็นว่ามีอันไหนซ้ำ หรือใกล้เคียงกันอยู่ ก็ควรหาเวลามาปรับแก้ให้ดีขึ้น

show the result of duplicate content

อิทธิพลจากโซเชียลมีเดียส่งผลต่อการจัดอันดับโดยตรง

คนส่วนใหญ่มักสันนิษฐานว่าคอนเทนต์ที่มียอดแชร์บนโซเชียลมีเดียเยอะ เช่นใน Facebook, Twitter หรือ Pinterest เป็นเหมือนเครื่องแสดงว่าคอนเทนต์นั้นเขียนออกมาได้ดี มีคุณภาพ และน่าสนใจ จึงส่งผลให้มีการจัดอันดับสูง

แต่รู้หรือไม่ จากข้อมูลในคลิปของ John Mueller ได้บอกไว้ว่าอิทธิพลจากโซเชียลไม่ได้ส่งผลต่อการจัดอันดับขนาดนั้น ซึ่งอาจเป็นเพราะยอดการเข้าชมในโซเชียลเป็นเรื่องที่คุมง่ายมาก โดยอาจมาจากการซื้อยอดวิว หรือยอดแชร์ด้วยการจ่ายเงินเพียงไม่กี่เหรียญนั่นเอง

แต่ในทางกลับกัน หากโซเชียลมีเดียไม่ส่งผลต่อการจัดอันดับจริง แล้วทำไมถึงมีผลการศึกษาจำนวนมากที่แสดงว่ายอดแชร์ส่งผลการจัดอันดับอยู่

the study of social netword relate to site rank

จึงสรุปได้ว่ายังไม่มีข้อเท็จจริงที่แน่ชัดสำหรับเรื่องนี้ แต่ถ้าให้พูดถึงปัจจัยที่เป็นไปได้มากที่สุด ว่าทำไมอิทธิพลจากโซเชียลมีเดียถึงส่งผลต่อการจัดอันดับ จะมีอยู่ 2 อย่าง คือ

  • ยอดแชร์ที่มากขึ้น ช่วยเปิดการมองเห็น และนำไปสู่การใช้งาน Backlink ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่ออันดับ
  • หน้าเว็บที่อันดับดีบน Google จะมียอดการเยี่ยมชมมากขึ้น และบางคนในนั้นก็มีการนำไปแชร์ลงบนโซเชียลมีเดียของตัวเองด้วย

การซื้อโฆษณา PPC ไม่ช่วยให้อันดับดีขึ้น

ถ้าจะให้อธิบายอย่างชัดเจนเลยก็คือ การซื้อ ads ใน Google ไม่ส่งผลต่อการจัดอันดับโดยตรง ซึ่ง Google จะไม่ช่วยดันคอนเทนต์ของเราจากการจ่ายเงินเพียงเท่านั้น แต่ในทางกลับกันการทำ PPC ads หรือ Pay Per Click ยังแอบส่งผลทางอ้อมต่ออันดับได้อยู่ เนื่องจากช่วยเพิ่มการใช้งานตัว Backlink ได้

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น จากการลองใช้เงิน 1,246 ดอลลาร์สหรัฐซื้อ Google ads เพื่อสร้างลิงก์กลับมายังหนึ่งในบล็อกโพสต์ผลปรากฏว่าได้ Backlink มาจากเว็บไซต์ใหม่ 11 แห่งจริงตามผลลัพธ์ดังภาพ

the result of backlink after using pay per click

แต่ต้องบอกก่อนว่าการทำจำเป็นต้องอาศัยเทคนิค และกลยุทธ์ต่าง ๆ ไม่ใช่แค่ PPC ads แล้วจะได้ผลลัพธ์แบบนี้เลย ซึ่งเราได้แนบวิดีโอให้ความรู้เรื่องนี้เอาไว้เรียบร้อย ใครอยากรู้ก็สามารถไปตามกันได้ :

วิธีจัดอันดับเว็บไซต์ (Pagerank) ไม่จำเป็นอีกต่อไป

Pagerank หรือวิธีจัดลำดับความสำคัญของเว็บไซต์ทั่วโลก เปรียบเสมือนรากฐานของ Google ที่กำหนดไว้ตั้งแต่ 0 ถึง 10 โดยอ้างอิงจากคุณภาพ และปริมาณของ Backlink เพื่อวัดคุณภาพของเว็บไซต์ ยิ่งตัวเลขสูง ก็หมายความว่าหน้าเว็บนั้นมีโอกาสได้รับการจัดอันดับที่ดีกว่า ซึ่งทาง Google ก็ได้ออกมายืนยันเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า Pagerank ยังคงเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดอันดับอยู่

แต่หลังจากที่ Google ยกเลิกการแสดงคะแนน Pagerank แบบสาธารณะในปี 2016 จึงทำให้หลายคนคิดว่าการทำ SEO ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงตัวชี้วัดนี้แล้ว

example comment about pagerank

ซึ่งสามารถเข้าใจได้ว่าผู้คนมักไม่ให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดที่มองไม่เห็น แต่ในทางกลับกัน PageRank ยังคงส่งผลต่อการจัดอันดับอยู่ ซึ่งหมายความว่าการได้รับ Backlink กลับมายังเว็บไซต์อย่างมีประสิทธิภาพยังคงเป็นเรื่องที่จำเป็น

โดยข้อเท็จจริงนี้ยังสามารถอ้างอิงได้จากข้อมูลคะแนน URL (UR) บน Ahrefs ที่สัมพันธ์ต่อปริมาณการค้นหา

example of ur in ahrefs

สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคย หรือรู้จักมาก่อน UR คือตัวชี้วัดระดับของเว็บไซต์ที่ใช้บน Ahrefs โดยมีหลักการทำงานคล้ายคลึงกับ Pagerank ของ Google แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ใช่เครื่องมือเดียวกันนั่นเอง

SEO เป็นการทำเพื่อชิงอันดับเท่านั้น

ทุกคนต้องการอันดับที่ดี ซึ่งเกิดจากความเชื่อที่ว่าถ้าหน้าเว็บติดอันดับ 1 เท่ากับได้ยอดเข้าชมเว็บไซต์มากที่สุด แต่ความจริงไม่เป็นแบบนั้นเสมอไป จากผลการศึกษากว่า 10,000 เคส พบว่าหน้าเว็บอันดับสูงสุดได้ส่วนแบ่งยอดการค้นหาเพียง 49 % จากทั้งหมดเท่านั้น

the proportion of search traffic in top ranking page

ที่เป็นแบบนี้เนื่องจากหน้าเว็บส่วนใหญ่ได้ยอดการเข้าชมจากคีย์เวิร์ดหลายคำ ยกตัวอย่าง หน้าเว็บ Top อันดับของคำค้นหา “อาหารที่มีโปรตีนสูง” จะเห็นว่าเว็บไซต์ที่ได้อันดับสองมียอดการเยี่ยมชมมากกว่าอันดับ 1 เนื่องจากมีการใส่คีย์เวิร์ดที่มีความต้องการในการค้นหามากกว่านั่นเอง

the search traffic of each top ranking page

ดังนั้นบทสรุปที่ได้คือ ควรหยุดโฟกัสไปที่การทำให้หน้าเว็บติดอันดับ 1 เพียงอย่างเดียว แต่ควรหันกลับมาใส่ใจยอดการเยี่ยมชมเว็บไซต์ดีกว่า ซึ่งมีวิธีพื้นฐานดังนี้

  • เขียนเนื้อหาออกมาให้ครอบคลุมในหัวข้อที่กำหนดมากที่สุด
  • ทำ Backlink ทุกครั้ง เพื่อเพิ่มระดับให้กับเว็บไซต์
  • รู้ Search intent หรือจุดประสงค์ของผู้ใช้งานว่าต้องการค้นหาเรื่องอะไร และเพื่ออะไร

การวิจัยคีย์เวิร์ดหลักไม่ใช่เรื่องสำคัญ

เนื่องจากหน้าเว็บส่วนใหญ่มีการใช้คีย์เวิร์ดมากกว่าหนึ่ง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลายคนจะคิดว่าการวิจัยคีย์เวิร์ดหลักเพียงคำเดียวไม่ใช่เรื่องจำเป็น เพราะถึงอย่างไรก็ได้รับยอดการเยี่ยมชมจากคีย์เวิร์ดมากมายที่อยู่บนเว็บไซต์อยู่เเล้ว ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ผิด เนื่องจากค่าความนิยมของคีย์เวิร์ดหลัก สอดคล้องกับศักยภาพการค้นหาโดยรวมแบบเต็ม ๆ โดยสามารถดูตัวอย่างจากคีย์เวิร์ดสองคำด้านล่างนี้

show keyword search volume

เราจะเห็นว่าคีย์เวิร์ดที่สองมียอดการค้นหาน้อยกว่าอันแรกถึงเท่าตัว และหากมองไปถึงยอดการเยี่ยมชมโดยประมาณของเว็บไซต์อันดับต้น ๆ สำหรับคีย์เวิร์ดสองคำนี้จะเห็นว่า เว็บที่ใช้คำที่มียอดการค้นหาดีกว่าจะได้จำนวน Organic Traffic หรือยอดการเข้าชมเว็บดีกว่านั่นเอง

example of keyword research in top ranking traffic
example of keyword research in local seo

นอกจากนี้การค้นคว้าคีย์เวิร์ดที่เหมาะสมกับเนื้อหายังช่วยให้มั่นใจว่าเราได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บสำหรับการค้นหาในหัวข้อนั้น ๆ อย่างดีที่สุดแล้ว ซึ่งมีความสำคัญหากต้องการดึงดูดให้คนกดคลิกเพื่อเพิ่มยอดเข้าชมแบบ Organic ให้หน้าเว็บมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

สรุป

ถ้าถามว่าบทความนี้ได้รวบรวมหัวข้อที่ผู้คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำ SEO มาครบแล้วหรือยัง ต้องบอกก่อนว่ายังเหลือเรื่องเข้าใจผิดอยู่อีกมาก ซึ่งนี่เป็นเพียงการยกประเด็นที่พบเห็นบ่อยมาเล่าสู่กันฟังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำ SEO พื้นฐานให้ทุกคนเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากอยากให้การทำเว็บไซต์ประสบความสำเร็จและคอนเทนต์ได้รับความสนใจ แนะนำว่าต้องศึกษาข้อมูล และความรู้ด้าน SEO ให้ครบถ้วน จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ มีงานวิจัยหรือมีตัวอย่างรองรับ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด และลบล้างความเชื่อผิด ๆ ของการทำ SEO ออกไป

ใครที่อยากหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ SEO สามารถตามอ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่ : https://thekalling.com/tkl-blog/