ทำความรู้จัก SEO Voice Search เทรนด์การตลาดดิจิทัลน่าจับตามอง

ปัจจุบันผู้คนมักเริ่มมีการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ในกูเกิ้ลด้วยการใช้เสียงสั่งการ (Voice Search) กันมากขึ้น  การทำ SEO Voice Search จึงเป็นเทรนด์ใหม่ล่าสุดในปีนี้ 2023  ที่นักการตลาดหันมาให้ความสนใจมากขึ้น สำหรับบทความนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ SEO Voice Search พร้อมเทคนิคใหม่ๆ ในการปรับแต่งเว็บไซต์ที่น่าสนใจ

การค้นหาด้วยเสียง (SEO Voice Search) คืออะไร

การค้นหาด้วยเสียง หรือ “Voice Search” คือการใช้เสียงเป็นคำสั่งในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ใน Search Engine เช่น Google Voice Search แทนที่การค้นหาด้วยการพิมพ์ข้อความ ซึ่งปัจจุบันเทรนด์นี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากสะดวกสบายกว่าการพิมพ์ค้นหาข้อมูล 

ตัวอย่างการค้นหาด้วยเสียง 

“สวัสดีกูเกิ้ล ตู้เอทีเอ็มที่อยู่ใกล้ฉันมากที่สุด อยู่ที่ไหน”

วิธีนี้คือการถามข้อมูลในกูเกิ้ลด้วยคำสั่งเสียง เพื่อให้กูเกิ้ลเเสดงข้อมูลเเหล่งที่ตั้งของตู้เอทีเอ็มที่อยู่ใกล้คุณมากที่สุด

อัปเดตเทรนด์การใช้คำสั่งค้นหาด้วยเสียง (SEO Voice Search)

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Google พบว่า พฤติกรรมของผู้ใช้งานบน Google เริ่มหันมาใช้ฟีเจอร์ค้นหาด้วยคำสั่งเสียงมากขึ้น โดย 41% เป็นผู้ใหญ่ที่ชอบใช้ Voice Search ในการหาข้อมูล และอีก 55% เป็นกลุ่มวัยรุ่นที่ชื่นชอบใช้ฟีเจอร์นี้ โดยใช้งานเป็นประจำทุกวัน สอดคล้องการข้อมูลของ Microsoft ที่พบว่า

  • 68% ใช้งาน Voice Search ค้นหาข้อเท็จจริงแบบรวดเร็ว
  • 65% ใช้งาน Voice Search หา Location เดินทาง
  • 47% ใช้งาน Voice Search ค้นหาเกี่ยวกับธุรกิจ
  • 44% ใช้งาน Voice Search ค้นหาเกี่ยวกับการวิจัยผลิตภัณฑ์

Keyword ที่ควรรู้

Voice Search เป็นข้อมูลที่สามารถค้นหาบน Search engine ด้วยการใช้เสียง เเทนการพิมพ์ด้วยข้อความ

ข้อควรรู้ 3 ข้อที่เกี่ยวกับการค้นหาด้วยเสียง

ก่อนที่คุณจะเรียนรู้วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ด้วย SEO Voice Search มี 3 เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับคำสั่งการค้นหาด้วยเสียง (SEO Voice Search)

  1. ผลลัพธ์การค้นหาบน Google จะแตกต่างกันเมื่อใช้ Voice Search
  2. Google แสดงผลการค้นหาแบบ Featured Snippet ก่อน
  3. Google Voice Search จะแสดงผลเว็บไซต์ Top Ranking ก่อน

1. ผลลัพธ์การค้นหาบน Google จะแตกต่างกันเมื่อใช้ Voice Search

ถ้าคุณใช้ Voice Search ถาม Google ถึงวิธีการทำเเป้งพิซซ่าบนโทรศัพท์มือถือของคุณ คำตอบที่จะได้มักเป็นคำตอบทั่วไปแบบไม่น่าสนใจ เเต่ถ้าคุณถามในเรื่องเดียวกันบน Google Home จะได้คำตอบที่ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการ  ซึ่งกูเกิ้ลจะแนะนำสูตรอาหารเมนูต่างๆให้คุณ

2. Google แสดงผลการค้นหาแบบ Featured Snippet ก่อน

จากผลการค้นหาหน้าแรกของ Google 10,000 รายการ พบว่า เมื่อใช้คำสั่งค้นหาด้วยเสียง (Voice Search) 40.7% ของผลลัพธ์ที่แสดงผลจะเป็น แบบ Featured Snippet ก่อน

3. Google Voice Search จะแสดงผลเว็บไซต์ Top Ranking ก่อน

นอกจากการแสดงผลแบบ Featured Snippet แล้ว เมื่อคุณใช้ฟีเจอร์ Google Voice Search  91% ของผลลัพธ์การค้นหา มักจะแสดงผลเป็นเว็บไซต์ที่ติด Top Ranking 5 อันดับแรก

วิธีปรับแต่ง SEO Voice Search สำหรับเว็บไซต์

ปัจจุบันอัลกอรึทึ่มของกูเกิ้ล ยังไม่สามารถเช็กได้ว่า คนส่วนใหญ่ใช้ Voice Search ค้นหาคีย์เวิร์ดไหนบ้าง เพราะกูเกิ้ลยังไม่ได้เผยแพร่ข้อมูลส่วนนี้ นอกจากนี้ คนส่วนใหญ่ที่ใช้งาน Google Voice Search มักจะเลือกค้นหาโดยใช้คำถามทั่วไป อย่างเช่น

  • โรงยิมอยู่ไกลแค่ไหน
  • ควรรับประทานโปรตีนเวย์ปริมาณเท่าไหร่
  • ซื้อแว่นตาว่ายน้ำได้ที่ไหน
  • ติดต่อทีมงาน The Kalling โทรเบอร์โทรศัพท์อะไร

ดังนั้นการทำ SEO Voice Search จึงต้องมีการปรับแต่งเนื้อหาให้ตรงกับสิ่งที่คนกำลังค้นหาข้อมูลมากที่สุด

วิธีปรับแต่ง SEO Voice Search สำหรับเว็บไซต์มีดังนี้

  1. สร้างโปรไฟล์ Google My Business
  2. ค้นหาคำถามที่ผู้คนกำลังให้ความสนใจ
  3. เผยแพร่ข้อมูลในช่องทางที่เหมาะสม
  4. ตอบคำถามในสิ่งที่คนกำลังค้นหา
  5. ตรวจสอบความเร็วในการโหลดหน้าเพจ
  6. ได้รับ Backlinks ที่มีคุณภาพสูง
  7. เพิ่ม Schema markup

1. สร้างโปรไฟล์ Google My Business

ผู้ใช้งานส่วนใหญ่มักจะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจบนกูเกิ้ล ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดที่ทำให้ลูกค้าค้นหาหน้าเว็บไซต์ของคุณเจอ คือการสร้าง Google My Business (GMB) โดยคุณสามารถสมัครใช้งานได้ฟรี ข้อดีของเครื่องมือนี้อยู่ตรงที่จะช่วยในการตอบคำถามเกี่ยวกับธุรกิจเวลาลูกค้าเสิร์ชหา

ยกตัวอย่างเช่น

คำสั่งการค้นหาด้วยเสียง: ฉันต้องการทราบเบอร์โทรติดต่อของร้านเสริมสวยที่อยู่ใกล้ฉัน ซึ่ง Google จะทำการดึงข้อมูลเบอร์โทรติดต่อของร้านเสริมสวยที่ใกล้เคียงจากโปรไฟล์บน Google My Business มาแสดงผลลัพธ์

อีกหนึ่งเคสที่คุณค้นหาเส้นทางและสถานที่ต่างๆ ซึ่ง Google จะดึงข้อมูลบน GMB ที่คุณได้ระบุไว้มาเป็นคำตอบให้กับผู้ที่ค้นหา 

ดังนั้น Google My Business (GMB) จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ลูกค้าค้นหาธุรกิจของคุณเจอ โดยเฉพาะการค้นหาข้อมูลธุรกิจจากพื้นที่ใกล้เคียง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณลองถามกูเกิ้ลด้วยคำสั่งเสียงว่า ร้านกาแฟใกล้บ้าน ผลลัพธ์การค้นหาจะแสดงเป็นร้านกาแฟที่อยู่แถวบ้านคุณก่อน

2. ค้นหาคำถามที่ผู้คนกำลังให้ความสนใจ

นอกเหนือการใช้ Google My Business แล้ว การเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาใน Google Voice Search ด้วยวิธีการปรับเนื้อหาบนเว็บไซต์ให้ตรงกับสิ่งที่คนถามหากันบ่อยๆ ยิ่งทำให้เว็บไซต์ถูกค้นเจอได้ง่ายขึ้น

วิธีค้นหาคำถามที่ได้รับความนิยม คนถามหาบ่อยๆ

สำหรับวิธีการปรับแต่งเนื้อหาเว็บไซต์ให้ตรงกับกูเกิ้ล Voice Search เราจะเลือกใช้เครื่องมือ SEO ในการค้นหาสิ่งที่คนเสิร์ชหาข้อมูลบ่อยๆบน Google

วิธีการค้นหาคำถามที่ได้รับความนิยม สามารถทำได้ดังนี้

Site Explorer > ป้อนโดเมนของคุณ > Organic Keywords > กรองหา 5 อันดับสูงสุด > กรองคีย์เวิร์ดที่มักพบ เช่น “ใคร” “อะไร” “เมื่อไหร่” “ที่ไหน” “ทำไม” “อย่างไร” เป็นต้น

ค้นหาคำถามที่คนสนใจบนเว็บไซต์คู่แข่ง

เมื่อทำการจัดอันดับคำถามที่ได้รับความนิยมด้วยวิธีข้างบนที่เราแนะนำไป แน่นอนว่า ผลลัพธ์การวิเคราะห์ข้างบน ช่วยให้คุณรู้แนวทางการปรับแต่งคำถามแบบต่างๆ แล้วนำมาใส่ลงในเนื้อหาเว็บไซต์ธุรกิจของคุณได้ อย่างไรก็ตาม คำถามเหล่านี้อาจจะไม่ใช่สิ่งที่คนเสิร์ชหาบ่อยๆในเว็บไซต์คู่แข่ง 

หากต้องการค้นหาคำถามใหม่ๆ จากโดเมนของเว็บคู่แข่ง สามารถทำได้โดยการวางโดเมนเว็บไซต์นั้นลงในเครื่องมือ Content Gap ของ Ahrefs จากนั้นวางโดเมนของคุณลงในส่วนนั้นเช่นกัน โดยไม่ต้องตั้งค่าการจัดอันดับคำถาม

ตัวอย่างดังภาพนี้

จากนั้นก็กรองคีย์เวิร์ดประเภทคำถาม อาทิ “ใคร” “อะไร” “ทำไม” “อย่างไร” เป็นต้น

ค้นหาคำถามอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

คุณสามารถค้นหาคำถามอื่น ๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ โดยการใช้เครื่องมือ Keywords Explorer ของ Ahrefs เพียงเเค่พิมพ์คำหลักที่สนใจลงไปสักประมาณ 2 – 3 คำที่เกี่ยวกับหัวข้อเว็บไซต์ของคุณด้วย จากนั้นคลิกไปที่รายงานคำถาม

ตัวอย่างเช่น

เว็บไซต์รับทำบริการ SEO จะใช้ “SEO” “link building,” และ “keyword research” เป็นคีย์เวิร์ดเริ่มต้นการค้นหา

3. เผยแพร่ข้อมูลในช่องทางที่เหมาะสม

หลังจากที่คุณเรียนรู้วิธีการหาคำถามที่พบบ่อย คำถามยอดนิยมกันไปแล้ว สิ่งที่หนึ่งที่คุณควรรู้คือ คุณจำเป็นต้องเลือกช่องทางการเผยแพร่คำตอบที่เหมาะสม เพราะว่าบางครั้งถึงแม้ว่าคุณจะใส่คำถามที่น่าสนใจลงในเว็บไซต์ไปแล้ว กูเกิ้ลก็ยังหาเว็บไซต์คุณไม่เจออยู่ดี

เทคนิคการใส่คำถามลงในเนื้อหาเว็บไซต์ แนะนำให้คุณเริ่มจากใส่คำถามที่ได้รับความนิยมก่อน แล้วใส่คีย์เวิร์ดคู่แข่ง ต่อมาค่อยใส่คีย์เวิร์ดอื่นๆ ในเนื้อหาของคุณ

หากคุณเรียงลำดับคำถามยอดนิยม คุณจะพบว่าเว็บไซต์ที่ตอบคำถามได้ดีที่สุดจะอยู่ตำแหน่งบนๆ นั่นเป็นเหตุว่าทำไมเราจึงต้องนำคำถามที่คนเสิร์ชบ่อยๆมาใส่บนหน้าเว็บด้วย

ยกตัวอย่างคำถาม เช่น “วิธีเริ่มต้นทำ Affiliate Marketing”

จะเห็นว่ามีคนตอบคำถามเกี่ยวกับ “Affiliate Marketing” เป็นคำตอบเเบบสั้นๆ เพื่อให้คนอ่านเข้าใจง่าย เเละไม่สับสน

เราสามารถใส่คำถามที่พบบ่อยๆ ลงในหน้าเว็บเดิมได้ไหม

หากหน้าเว็บไซต์ของคุณ ยังไม่ได้มีการใส่คำถามที่พบบ่อยและคำตอบลงไปด้วย คุณสามารถนำคำถามและข้อมูลเหล่านี้มาปรับแต่งใส่หน้าเว็บไซต์เดิมที่มีอยู่ได้นะ

ยกตัวอย่างเช่น

คำถามที่คนนิยมเสิร์ชกันว่า Guest Blogging คืออะไร ซึ่งคุณสามารถนำคำอธิบายและคำตอบมาปรับใส่ลงในหน้าเว็บเดิมได้ เพื่อเว็บไซต์มีเนื้อหาตรงกับสิ่งที่คนกำลังเสิร์ชหา

ดังนั้น การตอบจีงควรอธิบายเกี่ยวกับ Guest Blogging

สิ่งสำคัญในการปรับแต่งเนื้อหาหน้าเว็บไซต์เดิม คือ คุณควรใส่ข้อมูลที่ตอบโจทย์ในเรื่องที่คนกำลังเสิร์ชอยู่ ข้อมูลไหนที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ควรนำมาใส่บนเว็บไซต์เช่นกัน หากคุณไม่แน่ใจว่า เนื้อหาที่ใส่บนเว็บเกี่ยวข้องกับคำถามยอดนิยมหรือไม่ คุณสามารถตรวจสอบใน “Parent Topic” ก่อน ถ้าเว็บไซต์มีการใส่คีย์เวิร์ดที่ตรงกับคำอธิบายของคุณ แสดงว่าคุณมาถูกทางแล้ว

ยกตัวอย่างเช่น

คำถาม : Guest Blogging คืออะไร

ดังนั้นคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับคำถามนี้ก็คือ “guest blogging” ซึ่งเป็นคำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับคำในภาพเหล่านี้

นอกจากนี้ คุณยังสามารถตรวจสอบภาพรวมของ SERP เพื่อดูว่าหน้าเพจใดคล้ายคลึงกับเว็บไซต์ของคุณ (มีการใส่คำถามที่พบบ่อยลงไปและคำตอบอธิบายลงในเว็บไซต์) ถ้าคุณเจอเว็บไซต์คู่แข่งมากกว่าหน้าเว็บหลักของคุณ แสดงว่า คุณยังต้องปรับเนื้อหาเว็บไซต์เดิมอยู่ต่อ ไปสำหรับหน้าเว็บไซต์ที่อยู่ในอันดับสูงๆ ส่วนใหญ่จะมีการตอบคำถามในรูปเเบบคำเเนะนำแบบกว้าง ๆ

เราสามารถใส่คำถามที่พบบ่อยๆ ลงในหน้าเว็บใหม่ได้ไหม

การทำหน้าเว็บไซต์ใหม่ขึ้นมาตอบโจทย์การค้นหาเฉพาะ Voice Search เท่านั้น อาจไม่เวิร์คเท่าที่ควร เพราะในบางครั้งคุณอาจจะใส่คำถามไม่ครอบคลุมในทุกแง่มุม ดังนั้น หากคุณอยากทำหน้าเว็บไซต์ขึ้นมา ควรทำ Keyword Research , ใส่คำถามที่ตรงกับสิ่งที่คนกำลังค้นหา และคำถามที่ตรงกับ Google Voice Search ไปด้วยจะดีกว่า

4. ตอบคำถามในสิ่งที่คนกำลังค้นหา

การ.ใส่คำถามไม่ว่าจะในหน้าเพจใหม่หรือหน้าเพจที่มีอยู่เเล้ว ส่วนใหญ่มักจะคำตอบแบบอธิบายสั้นๆ เท่านั้น คำถามต่อมาคือ เราจะรู้ได้อย่างไร? ว่าควรใส่รูปแบบคำถามและเล่าเรื่องอย่างไรบนเว็บไซต์ เรามีทริคการเขียนบอกคุณ

ตอบคำถามให้สั้น เเละใช้คำที่อ่านเเล้วเข้าใจง่าย เเละรู้สึกน่าอ่าน

หากคุณสังเกต จะเห็นได้ว่า Google ไม่ชอบอ่านคำตอบยาว ๆ ดังนั้น การใส่ข้อความ คำตอบสั้นๆ เฉลี่ยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 29 คำ เป็นสิ่งที่กูเกิ้ลชอบมาก เพราะกระชับ น่าอ่าน เข้าใจง่าย

อัลกอริทึมของกูเกิ้ลชื่นชอบเนื้อหาเว็บไซต์ที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย โดยไม่จำเป็นต้องเขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ เน้นอ่านแล้วเหมือนเป็นภาษาพูดเป็นหลัก

5. ตรวจสอบความเร็วในการโหลดหน้าเพจ

ความเร็วของหน้าเพจ (Page speed) มีบทบาทสำคัญในการทำ SEO ด้วยการค้นหาด้วยเสียง (Voice search)  เนื่องจากผลการค้นหาด้วยเสียง จะแสดงผลเร็วมากกว่าการค้นหาเเบบปกติ (Average page) มากถึง 52%

โดยปกติแล้ว Google จะดึงผลการค้นหาด้วยเสียง จากหน้าเว็บที่ติดอันดับ 5 อันดับ เเรกมาแสดงผลก่อน จึงทำให้การค้นหาวิธีนี้เร็วกว่าการค้นหาแบบพิมพ์ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด การมีหน้าเว็บที่โหลดได้เร็วนั้น เป็นสิ่งสำคัญในการทำ SEO เเละเเน่นอนว่าจะช่วยในการจัดอันด้บด้วยการค้นหาด้วยเสียงไ้ด้อีกเช่นกัน

6. ได้รับ Backlinks ที่มีคุณภาพสูง

Backlinks เป็นหนึ่งในปัจจัยการจัดอันดับที่สำคัญที่สุด ซึ่งหากเว็บไซต์ หรือเพจของคุณมีเเบ็คลิงก์ที่ดี เเละมีคุณภาพ การันตีได้เลยว่าจะทำให้เว็บไซต์ของคุณถูกจัดอันดับต้น ๆ บนหน้ากูเกิ้ลอย่างเเน่นอน ทั้งยังเพิ่ม Traffic ของเว็บไซต์ให้มีผู้คลิกเข้ามาเยี่ยมชมมากยิ่งขึ้น

7. เพิ่ม Schema markup

Schema markup คือ โค้ดที่ช่วยให้เสิร์ชเอนจิ้น สามารถเข้าใจเนื้อหาของคุณได้มากขึ้น และยังทำให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับในหน้าแรกๆของการค้นหา แต่อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาของ Backlinko พบว่า การค้นหาด้วยเสียงร้อยละ 63..6 ของผลลัพธ์การค้นหาด้วยเสียง มักไม่ได้ใช้ Schema markup เลย

อย่างไรก็ตาม Schema Markup ยังสำคัญเวลาใช้ปรับแต่งเนื้อหาบางประเภทให้เหมาะสมสำหรับคำสั่งการค้นหาด้วยเสียง

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณทำการค้นหาสูตรอาหารบนกูเกิ้ล

เมื่อคุณสอบถามเรื่องของสูตรอาหารบนกูเกิ้ล กูเกิ้ลถามกลับมาว่า คุณต้องการให้อ่านส่วนผสม หรือขั้นตอนทั้งหมดหรือไม่ หากคุณตอบว่า “ใช่” แน่นอนว่าทางกูเกิ้ลจะทำการดึงข้อมูลทั้งหมดนี้มาจาก markup บนหน้าเว็บไซต์

เเละไม่ได้มีเพียงเเค่สูตรอาหารเท่านั้น แต่ Schema Markup ยังมีความสำคัญต่อการค้นหาด้วยเสียงอีกด้วย บางครั้ง Google ยังอ่านข้อมูลจากกิจกรรมและหน้าเว็บไซต์อื่นใกล้เคียงเช่นกัน 

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณถาม Google ว่า “Download Festival คืออะไร” คุณจะได้รับคำตอบดังภาพนี้

คุณควรทำ SEO Voice Search บนเว็บไซต์ดีไหม

คุณสามารถที่จะเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ โดยทำ SEO Voice Search ได้หลายวิธี เเต่จะคุ้มค่ากับความพยายามหรือไม่นั้นเป็นคำถามที่ค่อนข้างตอบยากมาก เพราะขึ้นอยู่กับเป้าหมายของคุณว่าคุณต้องการอะไร สำหรับพาร์ทนี้ข้อดี – ข้อเสียในการทำ SEO Voice Search ซึ่งช่วยให้คุณตัดสินใจง่ายขึ้นว่า จะทำ SEO Voice Search บนเว็บดีไหม

1. Ranking ที่มาจาก Voice Search ไม่ได้ช่วยให้มีการเข้าชมเว็บมากขึ้นเท่าที่ควรจะเป็น

เวลาคุณค้นหาคำถามทั่วไปบนหน้ากูเกิ้ล บางครั้งไม่จำเป็นต้องคลิกเข้าสู่เว็บไซต์เลย เพราะหน้าเว็บจะแสดงผลลัพธ์การค้นหาเป็นคำตอบสั้นๆ อธิบายเข้าใจได้ง่ายอยู่แล้ว ดังนั้น คุณจึงได้รับคำตอบ เพียงเเค่อ่านจากตัวอย่างเว็บไซต์บนหน้ากูเกิ้ลได้เลย

ตัวอย่างคำถามที่สามารถพบได้โดยทั่วไป

  • คำศัพท์……..หมายถึงอะไร
  • ฉันจะทำเมนู…………ได้อย่างไร
  • เหตุการณ์………..นี้ เกิดขึ้นที่ไหน
  • ฉันจะแก้ไขปัญหา………..นี้ ได้อย่างไร

จะเห็นได้ว่าเป็นคำถามที่สามารถอ่านคำตอบได้เลยจาก Google

ดังรูปภาพด้านล่างนี้

อีกหนึ่งตัวอย่าง

เมื่อคุณถามกูเกิ้ลว่า “ฉันจะเปิดการโทรผ่าน wifi บน iPhone ต้องทำอย่างไร” คุณสามารถรับคำตอบได้จากตัวอย่างเว็บไซต์บนหน้ากูเกิ้ลเลย โดยไม่ต้องคลิกเข้าไป จึงทำให้ Traffic ของเว็บไซต์ไม่ได้เพิ่มขึ้น

2. Ranking จากที่มาจาก Voice Search ช่วยเพิ่มการรับรู้ในแบรนด์

การทำ SEO Voice Search จะทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น เนื่องจากว่าเมื่อคุณถามคำถามกับ Google คำตอบที่ได้ มักจะมีการบอกเเหล่งที่มาว่า คำตอบมาจากไหนนั่นเอง

3. Ranking จากที่มาจาก Voice Search สามารถช่วยให้คุณเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น

ไม่ใช้ทุกเว็บไซต์ที่จะสร้างรายได้นะ ยกตัวอย่างเช่น เว็บของหน่วยงานรัฐ เเละกรมสรรพากร เป็นต้น โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับประชาชน ดังนั้น เว็บไซต์สาธารณะเหล่านี้ จึงจำเป็นมากที่จะต้องทำ SEO Voice Search เพื่อเว็บไซต์เข้าถึงผู้คนได้ง่าย

เเต่อย่างไรก็ตาม การทำ SEO Voice Searchยังคงมีข้อจำกัดบางประการ เช่น Google อาจมีการดึงข้อมูลเท็จ หรือจากบุคคลที่สามที่ไม่ใช่ของรัฐมาตอบคำถามให้กับคุณ

สรุป

การค้นหาด้วยเสียง (Voice search) นับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพ และเข้าถึงผู้คนได้ง่ายขึ้น ตอบโจทย์ผู้ที่ชื่นชอบการค้นหาด้วยเสียง เเต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มประสิทธิภาพของการค้นหาด้วยเสียงไม่ได้จำเป็นสำหรับทุกเว็บไซต์ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ และเป้าหมายของผู้ทำเว็บไซต์นั่นเอง

สวัสดีค่ะทุกคน ชื่อหมูนะคะ เราเป็นอีกคนหนึ่งที่ชื่นชอบงานเขียนมาก ๆ ค่ะ เพราะงานเขียนเปรียบเสมือนกับการสร้างโลกในจินตนาการของเราขึ้นมา โลกใบนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข ความสนุกสนาน เเละความรู้มากมายที่เราสามารถผจญภัยไปได้เเบบไม่มีลิมิต มาท่องโลกของตัวหนังสือไปพร้อมกันนะคะ