what is seo copywriting and how it work potentially

การเขียน SEO Copywriting คืออะไร ต้องทำอย่างไรให้ผลงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด

รู้หรือไม่ ? เทคนิคการผสมผสานระหว่าง SEO และ Copywriting ไม่เพียงช่วยให้เว็บไซต์ติดอันดับสูงบน Google แต่ยังกระตุ้นยอดขายได้ดีอีกด้วย โดยบทความนี้เราจะมาเรียนรู้กันว่าการเขียน SEO Copywriting คืออะไร และควรทำอย่างไรให้งานเขียนออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุดตามหัวข้อดังนี้

SEO Copywriting คืออะไร ?

SEO Copywriting คือการเขียน และสร้างสรรค์คอนเทนต์คุณภาพที่สามารถดึงดูดทั้งอัลกอริทึมของ Google และผู้ใช้งาน หรือพูดง่าย ๆ คือการออกแบบเนื้อหา และเขียนออกมาให้ตรงกับความต้องการของผู้คน เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นอยากที่จะเข้ามาดู ทำการลิงก์กลับมา หรือแชร์ออกไป โดยมีความคาดหวังว่าเนื้อหานี้จะได้รับการจัดอันดับที่ดีบน Google ในเวลาเดียวกันนั่นเอง

เพราะเหตุใดการเขียน SEO Copywriting ถึงมีความสำคัญ ?

บทความที่มียอดการค้นหาสูงแต่ไม่ส่งผลดีต่อธุรกิจนั้นไร้ความหมาย เหมือนกับเนื้อหาที่น่าสนใจแต่ไม่มีใครเข้ามาดู

แต่หากเราสามารถผสมผสานการทำ SEO พื้นฐาน บวกกับเทคนิคการเขียนที่ดีเข้ากันได้สำเร็จ การสร้างเนื้อหาที่ได้รับการจัดอันดับสูงบนเครื่องมือค้นหานั้นบอกเลยว่าไม่ใช่เรื่องยาก อีกทั้งยังสามารถดึงดูดผู้อ่านให้เข้ามาบริโภคคอนเทนต์ของเรา จนเกิดแชร์ หรือยอดการสั่งซื้อสินค้าได้นั่นเอง

โดยต่อไปจะมาพูดถึงวิธีที่เว็บไซต์ Ahrefs มีการใช้งานจริง และสามารถเพิ่มยอดการค้นหาได้ถึง 2.4 ล้านครั้งต่อเดือน พร้อมสร้างรายได้ประจำปีได้ถึง 8 หลัก ซึ่งจะมีวิธีการทำอย่างไรบ้างมาดูไปพร้อมกันเลย

overview backlink profile of ahrefs

วิธีการทำ SEO Copywriting

ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การค้นคว้า

เป็นขั้นตอนการคิดเกี่ยวกับแพลน หรือสิ่งที่อยากเขียนออกมา โดยมีเทคนิคการทำดังนี้

1. เริ่มต้นด้วยการวิจัยคีย์เวิร์ด

หากต้องการยอดค้นหา ก็จำเป็นต้องเลือกเขียนเกี่ยวกับหัวข้อที่ผู้คนกำลังสนใจ ดังนั้นก่อนจะเริ่มจับปากกา ต้องอย่าลืมทำรายการหัวข้อเพื่อกำหนดเป้าหมายเสียก่อน

วิธีการหาหัวข้อมีดังนี้

  1. เข้าไปที่ Keyword Explorer ของ Ahrefs
  2. ใส่คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องลงไป
  3. คลิกไปดูรีพอร์ตที่ Matching terms
sleep keyword matching terms

ดูรายการ และค้นหาคีย์เวิร์ดเกี่ยวข้องที่สามารถนำมาใช้ได้ ยกตัวอย่างเช่น คำหลักนี้จะเหมาะสำหรับใช้ทำคอนเทนต์สินค้าที่เกี่ยวข้องกับเครื่องนอน เป็นต้น

best keyword for making content about mattress

2. ทำเนื้อหาออกมาให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การค้นหา

Google มักจัดอันดับให้เนื้อหาที่เกี่ยวข้องเท่านั้น และคนส่วนใหญ่มักค้นหาเนื้อหาประเภทใดประเภทหนึ่งจากหัวข้อเหล่านี้

  • โพสต์บล็อก
  • วิดีโอ
  • หน้าสินค้า
  • หน้าหมวดหมู่
  • เครื่องมือต่าง ๆ

ดังนั้นหากต้องการได้รับโอกาสในการจัดอันดับที่ดี ก็ต้องทำคอนเทนต์ออกมาให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การค้นหานั่นเอง

ยกตัวอย่างเช่น หากเราดูที่ SERP overview สำหรับการค้นหา “วิธีการนอนหลับให้ดีขึ้น” จะเห็นได้ว่าเนื้อหาส่วนใหญ่ถูกจัดทำออกมาในรูปแบบโพสต์บล็อก

serp overview for how to sleep better

ดังนั้นนี่จึงเป็นสิ่งที่เราต้องโฟกัส หากต้องการทำคอนเทนต์ในหัวข้อเดียวกัน

3. สร้าง outline โดยอ้างอิงจากข้อมูล

ทุกหัวข้อหลักมักประกอบไปด้วยหัวข้อย่อยเสมอ ยิ่งรวบรวมหัวข้อย่อยที่เกี่ยวข้องได้มากเท่าใด ก็ยิ่งมีโอกาสได้รับการจัดอันดับจากคีย์เวิร์ด และจำนวนการเข้าชมที่มากขึ้นเท่านั้น

โดยสามารถค้นหาหัวข้อย่อยเหล่านี้ได้โดยดูจากการจัดอันดับคีย์เวิร์ดทั่วไปในหน้าอันดับสูงสุด ซึ่งเป็นแนวทางที่ดีสำหรับการสร้าง ouline ซึ่งมีขั้นตอนการค้นหาดังนี้

  1. ไปที่ Keyword Explorer ของ Ahrefs
  2. ใส่คีย์เวิร์ดที่ต้องการลงไป
  3. เลื่อนไปที่หน้า SERP overview
  4. ดูหน้าเว็บที่ติดอันดับ
  5. กดไปที่ Open in แล้วเลือก Content Gap
content gap in keyword explorer

เมื่อกดแล้วจะเปิดหน้ารายงาน Content Gap ขึ้นมา ซึ่งจะแสดงผลการจัดอันดับคีย์เวิร์ดในหน้าเว็บเหล่านั้น แล้วทำการมองหาหัวข้อย่อยที่คิดว่าสามารถนำไปใช้งานได้

ยกตัวอย่างเช่น หากเราต้องการทำคอนเทนต์ออกมาให้ครอบคลุมกับหัวข้อ “วิธีการนอนหลับให้ดีขึ้น” การดูจากผลลัพธ์เหล่านี้อาจช่วยให้เราได้ไอเดียที่ดีในการทำ Heading 2 ได้ เช่น

  • จำเป็นต้องนอนหลับกี่ชั่วโมง
  • สุขอนามัยที่ดีในการนอนหลับ
  • ชั่วโมงการนอนหลับตามอายุ
  • วิธีการหลับลึก
  • เคล็ดลับการนอนหลับ เป็นต้น
heading 2 for keyword how to sleep better

4. สร้างสรรค์เนื้อหาที่มีความโดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์

หากคอนเทนต์ที่ทำออกมาเหมือนกับคนอื่น ๆ ก็ไม่มีเหตุผลที่จะทำให้คนกดคลิกเข้ามาเพื่อดู หรืออ่านอะไรที่ซ้ำกันนั่นเอง

SEO Copywriting คือความสมดุลระหว่างการเขียนสิ่งที่ผู้คนต้องการค้นหา กับการใช้คำที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เนื้อหาของเราเป็นต้นฉบับ หรือเป็นเอกลักษณ์ได้มากขึ้น คือการเขียนจากประสบการณ์จริงของตัวเอง

เนื่องจากผู้คนมักต้องการคำแนะนำ และเคล็ดลับที่ผ่านการทดสอบว่าเห็นผลเเล้วในชีวิตจริง ไม่ใช่การแนะนำเพียงผิวเผินทั่วไป ซึ่ง Google เองก็เห็นด้วยกับสิ่งนี้ จึงได้เปิดตัว E-E-A-T ออกมา โดยที่อักษร E ตัวแรกหมายถึง Experience จากคำว่าประสบการณ์นั่นเอง

ดังนั้นหากต้องการทำคอนเทนต์คำแนะนำเกี่ยวกับการนอนหลับ ก็ควรทดลองเคล็ดลับเหล่านั้นดูก่อนว่าได้ผลจริงหรือไม่ ยกตัวอย่างหัวข้อเกี่ยวกับ การเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ โดยเขียนจากประสบการณ์จริง เป็นต้น

being content creator from experience

5. เข้าถึงประเด็นด้วยวิธี “พีระมิดกลับหัว”

บางคนเพียงอยากรู้ว่ากระทะที่ใช้งานแล้วไม่ติดรุ่นไหนดีที่สุด ซึ่ง Wirecutter ก็สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งนี้ได้

nonstick pan point information

แต่สำหรับคนอื่น ๆ อาจจะต้องการบริบทอะไรที่มากกว่านั้น

โดยรูปแบบนี้ถูกเรียกกันว่า พีระมิดกลับหัว ซึ่งเป็นโครงสร้างที่เราต้องให้ข้อมูลในส่วนสำคัญก่อนจุดอื่น ๆ นั่นเอง

the inverted pyramid method structure

แต่จากมุมมองของ SEO การเขียนถึงประเด็นสำคัญ และให้ข้อมูลในสิ่งที่ผู้อ่านต้องการรู้ทันที อาจลดค่า pogo-sticking และเพิ่มค่า dwell time ได้

ยกตัวอย่างเช่น มีการกำหนดคำว่า “การสร้างเนื้อหาดิจิทัล” และให้ข้อมูลสำคัญในช่วงเริ่มของบทความเลย เป็นต้น

digital content creation main point in first paragraph

6. สร้างหลักฐาน และความน่าเชื่อถือ

Google รู้ดีว่าผู้ชมส่วนใหญ่ต้องการข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญจริง จึงเป็นเหตุผลที่ Google เปิดตัว EEAT ออกมา โดย E ตัวที่สองหมายถึง Expertise หรือความเชี่ยวชาญ นั่นเอง ถึงแม้ว่าจะเป็นปัจจัยที่ไม่ได้ส่งผลต่อการจัดอันดับโดยตรง แต่ Google ก็มีการใช้ปัจจัยเหล่านี้ในการประเมินคุณภาพของผลการค้นหาด้วย

ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือการสร้างหลักฐาน และความน่าเชื่อถือให้กับเนื้อหาที่เรากำลังพูดถึง ยกตัวอย่างเช่น บทความของ Wirecutter ที่มีการเพิ่มหัวข้อ “ทำไมถึงควรเชื่อใจเรา” เข้าไปด้วย

making proof and evident

แต่ถ้าหากเราไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เขียน ก็อาจลองสัมภาษณ์ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ ได้ ยกตัวอย่าง นี่คือสิ่งที่ควรทำเมื่อเขียนเนื้อหาเกี่ยวกับบทลงโทษของ Google นั่นเอง

the google penalty information

ด้านล่าง คือวิธีค้นหาผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อต่าง ๆ

  1. ไปที่ฟังก์ชัน Content Explorer ของ Ahrefs
  2. ป้อนหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของเรา
  3. ไปที่แท็บ “ผู้เขียน”

และนี่คือตัวอย่างรายชื่อของผู้เขียนที่ได้เผยแพร่เกี่ยวกับหัวข้อนี้

example of author list

ขั้นตอนที่ 2 การเขียน Draft

นักเขียนทุกคนมักมีสไตล์การเขียนเป็นของตัวเอง แต่ก็มีเป้าหมายเดียวกัน คือการให้ความรู้ ความบันเทิง และสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้อ่าน เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นมีโอกาสเปลี่ยนมาเป็นลูกค้าของเรา

โดยนี่คือทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้ในการเขียน SEO Copywriting ได้

1. จับใจ และดึงดูดผู้อ่านด้วยสูตร PAS

บทนำจะต้องมีความน่าดึงดูด และทำให้ผู้ที่เข้ามาเห็นสนใจอยากอ่านต่อในส่วนที่เหลืออื่น ๆ ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้สูตร Problem-Agitate-Solution หรือ PAS นั่นเอง

structure of pas formula

ขั้นแรก เริ่มจากการกำหนดปัญหาก่อน

problem section in pas formula

จากนั้นให้เพิ่มประเด็นเข้าไปมากยิ่งขึ้น

agitate section in pas formula

สุดท้ายให้บอกวิธีแก้ปัญหา

solution section in pas formula

2. ใช้ “bucket brigades” เชื่อมโยงให้ผู้อ่านอ่านต่อไป

bucket brigades เป็นคำ และวลีเฉพาะที่ใช้เพื่อให้ผู้อ่านอ่านต่อไปยังส่วนอื่น โดยใช้ประโยชน์จากความอยากรู้อยากเห็น และตั้งใจปล่อยให้เกิดความสงสัยนั่นเอง

โดยนี่คือตัวอย่างจากงานเขียนชิ้นหนึ่ง

example of bucket brigades from article
second example of bucket brigades from article

3. ทำให้เนื้อหามีประโยชน์มากขึ้น จากการเพิ่มส่วนคำถามที่พบบ่อย

ทั่วไปแล้วผู้คนมักเกิดความสงสัยเมื่อค้นหาหัวข้อต่าง ๆ โดยอาจเกิดคำถามที่เกี่ยวข้องมากมาย ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องยากที่จะตอบคำถามทั้งหมด

ดังนั้นเพื่อที่จะแก้ปัญหา และข้อสงสัยเหล่านี้ จึงต้องจัดทำในส่วน FAQ ขึ้นมา เพราะการตอบคำถามยอดนิยมในหน้าเว็บต่าง ๆ สามารถเพิ่มอันดับสำหรับคีย์เวิร์ดแบบยาวให้กับเราได้ ยกตัวอย่างการจัดทำคำถามเกี่ยวกับ H1 ดังภาพ

example of FAQ about h1 tag

เนื่องจากมีการทำในส่วนถามตอบของคำถามทั่วไป ตอนนี้หน้าเว็บไซต์จึงติดอันดับใน Google เมื่อมีผู้คนค้นหาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้นั่นเอง

website ranking when people search about the information

ซึ่งมีวิธีการค้นหาคำถามที่พบบ่อยดังนี้

  1. ไปที่ฟังก์ชัน Keyword Explorer
  2. ใส่หัวข้อที่ต้องการลงไป
  3. ไปที่รายงานผลของ Matching terms
  4. สลับไปที่แถบ “คำถาม”
finding about h1 tag favourite question in keyword explorer

ขั้นตอนที่ 3 การแก้ไข

ขั้นตอนสุดท้ายคือ การปรับปรุงฉบับร่าง และตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้เขียนสิ่งที่ต้องการสื่อสารลงไปครบทุกหัวข้อแล้ว โดยมีคำแนะนำดังนี้

1. ตั้งค่าการแสดงผลอันดับ 0 หรือ Featured Snippets ให้เหมาะสม

Featured Snippets คือฟังก์ชันการให้คำตอบที่รวดเร็วในผลการค้นหา ที่ Google ดึงข้อมูลมาจากเว็บไซต์ติดอันดับท็อป 10

example of featured snippets

เป็นเหมือนทางลัดที่ช่วยให้หน้าเว็บติดอันดับอย่างรวดเร็ว หากข้อมูลจากเว็บไซต์ของเราสามารถไปปรากฏอยู่บน Featured Snippets ได้ ดังนั้นจึงควรวางแผน แล้วตรวจสอบดูว่ามี Snippets ในคำหลักที่เราใช้หรือไม่ และต้องทำอย่างไรถึงจะไปแสดงผลบนนั้นได้

ยกตัวอย่างเช่น หากค้นหาคำว่า “Marketing Funnel” เราจะพบว่า Google แสดงผลคำจำกัดความขึ้นมาดังนี้

definition of marketing funnel show in snippets

ดังนั้นหากต้องการให้ข้อมูลไปแสดงผลบน snippets ก็จำเป็นต้องใส่ความหมายเกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ ก่อน เหมือนตัวอย่างดังภาพ

marketing funnel information on website

2. เขียนตามสไตล์ของตัวเอง

ไม่มีอะไรที่ทำให้คนเลิกสนใจ หรือหยุดอ่านได้มากกว่าคอนเทนต์แห้ง ๆ ที่ใช้คำพูดน่าเบื่อ หรือจืดชืดในโทนองค์กร และคำศัพท์ที่ไร้ความหมายอีกแล้ว นอกจากนี้การใช้ภาษาที่ฟังดูซับซ้อนเข้าใจยากอาจทำให้ผู้อ่านตัดสินใจกลับออกไปได้

ดังนั้นภาษาการเขียน คือพื้นฐานของเว็บไซต์ที่ดี โดยให้ลองจินตนาการว่าเรากำลังคุย หรือสนทนากับเพื่อนผ่านทางออนไลน์อยู่

หากมีความกังวลว่าภาษาเขียนไม่มีความสละสลวย หรือดูทื่อเกินไป สามารถนำไปวางบน Hemingway เพื่อตรวจสอบคะแนน รวมถึงมีการบอกข้อควรรปรับปรุงให้รู้ด้วย

example of using hemingway

3. ทำให้อ่านง่ายขึ้นจากการแก้ไขเนื้อหาด้วยสูตร ASMR

การอ่านเปรียบเสมือนการทำธุรกรรม ที่ผู้อ่านแลกเวลากับการอ่านบทความของเรา ดังนั้นหากเข้ามาอ่านแล้วรู้สึกเบื่อ พวกเขาก็อาจกดปุ่มย้อนกลับออกไปจากหน้าเว็บของเราได้

ดังนั้นจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าคอนเทนต์ของเราอ่านได้อย่างสบายตา โดยสามารถปรับตามสูตร ASMR

ขั้นแรกให้เพิ่มคำอธิบายประกอบ รวมถึงองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น sidenote, quotes ต่าง ๆ และการแปะลิงก์โซเชียลมีเดียต่าง ๆ ลงไปเพื่อเพิ่มสีสันให้แก่บทความ

editing content by using ASMR formula

ต่อมาให้ใช้ประโยค และย่อหน้าสั้น ๆ โดยการตัดแบ่งประโยคที่ยาวด้วยคำเชื่อมต่าง ๆ เช่น ‘และ’ หรือ ‘นั่น’ ให้เป็นประโยคสั้น ๆ แทน

จากนั้นให้แทรกมัลติมีเดีย เช่น วิดีโอ รูปภาพ และ GIFs ต่าง ๆ ลงไป เพื่ออธิบายประเด็นที่อยากให้เห็นภาพมากขึ้นโดยไม่ต้องใช้การเขียน หรือคำพูดเพิ่มเติม

how to fix broken links

ขั้นตอนสุดท้ายลองอ่านสิ่งที่เขียนลงไปแบบออกเสียง ซึ่งจะช่วยให้รู้ว่าจุดไหนที่อ่านแล้วรู้สึกว่าสะดุด หรือไม่ไหลลื่นนั่นเอง

เคล็ดลับการเขียน SEO Copywriting เพิ่มเติม

ซึ่งเคล็ดลับเหล่านี้สามารถยกระดับเนื้อหาของเราได้

1. ใส่สารบัญเข้าไป

ผู้อ่านที่เข้ามามักต้องการรู้ว่าบทความของเราครอบคลุมหัวข้อที่พวกเขาต้องการค้นหาหรือไม่ ซึ่งเราสามารถช่วยให้ผู้ชมที่เข้ามารู้ได้ทันทีจากการเพิ่มสารบัญเข้าไปที่ช่วงต้นของบทความ

example of table of content

ซึ่งจะช่วยนำทางผู้อ่านไปยังส่วนที่พวกเขาต้องการ เมื่อพวกเขาเริ่มอ่านคอนเทนต์ ก็จะเริ่มติดอยู่ที่หัวข้อที่ตัวเองสนใจก่อน หลังจากนั้นก็อาจเริ่มอ่านไปยังส่วนอื่น ๆ ที่เหลือนั่นเอง

นอกจากนี้การเพิ่มสารบัญยังมีส่วนช่วยสร้าง Sitelink ให้กับเว็บไซต์ของเราด้วย ซึ่งบางครั้ง Google ก็นำไปแสดงผลบน SERPs และนำไปสู่การเพิ่มจำนวนการคลิกได้

sitelink for seo beginner guide

2. รับคลิกมากขึ้นด้วยการสร้างแท็กชื่อที่น่าสนใจ

Title tag หรือแท็กชื่อ คือสิ่งที่ผู้ค้นหาเห็นเป็นอย่างแรก ดังนั้นจึงต้องมีการคิด และใช้คำให้น่าสนใจ เพื่อดึงดูดให้คนกดคลิกเข้ามานั่นเอง

example of title tag

โดยสามารถใช้เครื่องมือในการสร้างแท็กฟรีง่าย ๆ ด้วย title tag generator จากการเพิ่มข้อความ เลือกโทน และกดคลิกที่ “สร้างชื่อเรื่อง” ได้เลย

create title tag free with AI title generator

หลังจากนั้นจะได้รับแท็กชื่อที่แนะนำมาให้ โดยสามารถปรับแต่งเพิ่มเติมได้

getting title tag

รวมเครื่องมือใช้ทำ SEO Copywriting

เครื่องมือก็เหมือนเป็นเพื่อนของ SEO Copywriting ที่ช่วยให้เราสามารถทำงานออกมาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยนี่คือเครื่องมือต่าง ๆ ที่เราอยากแนะนำ

  1. Ahrefs – เครื่องมือ SEO แบบครบวงจรที่ช่วยให้สามารถค้นหาคีย์เวิร์ดเพื่อกำหนดเป้าหมาย และแนวคิดเกี่ยวกับเนื้อหาได้ จากการค้นหาผู้อ่านที่ต้องการเข้าถึง ค้นคว้าคู่แข่ง ติดตามอันดับของเว็บไซต์ และอื่น ๆ
  2. Google Search Console – ช่วยตรวจสอบว่าเว็บไซต์ของเราถูกจัดอันดับด้วยคีย์เวิร์ดที่เลือกมา และได้รับการเข้าชมจากคำเหล่านั้นหรือไม่
  3. Ahrefs’ free AI writing tools – ชุดเครื่องมือจัดทำเนื้อหาด้วย Ai ที่ช่วยค้นหาแนวคิดเกี่ยวกับการเขียน outline, พารากราฟ, Title Tag, Meta Descriptions และส่วนอื่น ๆ
  4. Grammarly – ช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดด้านไวยากรณ์ ปรับปรุงความชัดเจนของเนื้อหา และการเขียนให้ดีขึ้น
  5. Hemingway – ช่วยให้ปรับปรุงคอนเทนต์ให้อ่านเข้าใจง่าย และสบายตามากยิ่งขึ้น
  6. ChatGPT – ช่วยให้ไอเดียในการสร้างโครงร่าง การสรุปเนื้อหา การพิสูจน์อักษร รวมถึงการสร้างชื่อแท็ก, Meta Descriptions และอื่น ๆ อีกมากมาย

FAQ คำถามที่พบบ่อย

อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างการเขียน SEO, การเขียน SEO copywriting และการเขียน Copy writing ธรรมดา ?

คำตอบ : การเขียน SEO กับ SEO copywrtiing นั้นเหมือนกัน เพราะการเขียน Copywriting คือการเขียนคำโฆษณาเพื่อโน้มน้าวให้ผู้คนเกิดการกระทำบางอย่าง เช่น การซื้อ หรือลงทะเบียนเพื่อรับจดหมายข่าวนั่นเอง

สรุป

SEO ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือเพื่อใช้ในการจัดอันดับเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทำให้ผู้อ่านที่เข้ามาเกิดความสนใจ แชร์ และลิงก์กลับมายังเว็บไซต์ของเราด้วย

นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการเขียน Copywriting ถึงมีความสำคัญ เพราะคงไม่มีใครอยากอ่านเนื้อหาที่ไร้คุณภาพ ถึงแม้ว่าจะเป็นหน้าเว็บที่ติดอันดับดีก็ตาม

ใครที่อยากหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ SEO สามารถตามอ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่ : https://thekalling.com/tkl-blog/