9 เหตุผลทำ SEO แล้วเว็บไซต์ไม่ติดอันดับบนกูเกิ้ล พร้อมวิธีปรับแก้

เคยเป็นกันไหม ต่อให้คุณพยายามปรับแต่งเว็บไซต์ทุกวิถีทาง แต่เสิร์ชเอนจิ้นยังไม่แสดงผลลัพธ์หน้าคำค้นหาบนกูเกิ้ล นั่นแสดงว่า การทำ SEO ยังไม่เห็นประสิทธิภาพเท่าที่ควร สำหรับบทความนี้ เราจะพาทุกคนไปดูสาเหตุหลักๆ ที่เว็บไซต์ไม่ติดบนกูเกิ้ล พร้อมวิธีแก้ไขสำหรับแต่ละสาเหตุ

ก่อนที่จะเริ่มต้นกันเจาะลึกสาเหตุ

สิ่งสำคัญอันดับแรกที่คุณต้องทำความเข้าใจคือ เมื่อไหร่ที่คุณพิมพ์คีย์เวิร์ดค้นหาบางอย่างบนกูเกิ้ล โดยหวังว่าผลลัพธ์จะปรากฎหน้าเว็บไซต์ของคุณทุกครั้ง ซึ่งความจริงแล้วกูเกิ้ลไม่ได้ขึ้นหน้าเว็บธุรกิจของคุณเสมอไป

หากคุณค้นหาเฉพาะชื่อเว็บไซต์ธุรกิจของคุณไปเลย แบบนี้กูเกิ้ลจะขึ้นผลลัพธ์หน้าคำค้นหาให้ โดยปกติแล้ว เสิร์ชเอนจิ้นบนกูเกิ้ล มักจะแสดงผลลัพธ์โดยเรียงตามการจัดอันดับของเว็บไซต์ ซึ่งหากหน้าเว็บไซต์ของคุณไม่ได้ถูกจัดอันดับบนหน้าคำค้นหาช่วงหน้าแรกๆ แน่นอนว่าคุณก็จะหาหน้าเว็บธุรกิจไม่เจอนั่นเอง นั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไมใครๆถึงอยากอยู่ในอันดับสูงบนหน้าคำค้นหา

สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดอันดับ PageRank ของหน้าเว็บไซต์ มี 3 ข้อดังนี้ 

  1. เสิร์ชเอนจิ้นของกูเกิ้ลจะต้องรู้ว่า หน้าเว็บของคุณมีอยู่จริงและสามารถ โดยสามารถเข้าถึงเว็บเพจในแต่ละหน้าได้
  2. หน้าเว็บไซต์แต่ละหน้า จะต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันและใส่คีย์เวิร์ดที่เป็นคำค้นหายอดนิยม
  3. คุณต้องทำให้กูเกิ้ล เข้าใจว่าหน้าเว็บไซต์หลักของคุณตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย โดยมีคียเวิร์ดเสิร์ชที่ตรงกับปริมาณคำค้นหายอดนิยม 

นอกเหนือจาก 3 เรื่องที่กูเกิ้ลใส่ใจเป็นพิเศษแล้ว ยังมีประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวกับการทำ SEO ที่คุณควรให้ความสำคัญไม่แพ้กันนะ โดยเรามาจะพาทุกคนมาเจาะลึกสาเหตุที่ทำ SEO แล้วไม่เห็นผลกัน

1. เว็บไซต์ใหม่เกินไป

หากคุณเพิ่งเผยแพร่เว็บไซต์ออกมาใหม่ ต้องใช้เวลานานระดับหนึ่งเพื่อให้กูเกิ้ลสามารถค้นหาหน้าเว็บไซต์ของคุณเจอ โดยคุณสามารถเช็กได้ว่า กูเกิ้ลค้นหาหน้าเว็บไซต์ของคุณเจอหรือไม่ ได้โดยพิมพ์ site:yourwebsite.com ในช่องคำค้นหา

ยกตัวอย่าง เช่น

ถ้าผลลัพธ์คำค้นหาขึ้นเว็บไซต์ธุรกิจอย่างน้อย 1 หน้า นั่นแสดงว่ากูเกิ้ลรู้จักหน้าเว็บไซต์ของคุณแล้ว แต่ถ้าคุณไม่พบผลลัพธ์หน้าคำค้นหาแสดงว่า เสิร์ชเอนจิ้นหาหน้าเว็บไซต์ของคุณไม่เจอ

แต่ถึงแม้กูเกิ้ลจะรู้จักหน้าเว็บไซต์ แต่เว็บของคุณอาจจะไม่ได้ถูกจัดอันดับต้นๆบนหน้าคำค้นหา คุณสามารถเช็กการจัดอันดับบนกูเกิ้ลได้ โดยพิมพ์ site:yourwebsite.com/a-page-you-want-to-show-up-in-google/ บนช่องคำค้นหา

ยกตัวอย่าง เช่น

ผลลัพธ์ที่ปรากฏบนหน้าคำค้นหา มีเพียง 1 เว็บไซต์เท่านั้น ถ้าคุณลองเสิร์ชแล้ว ไม่เจอหน้าเว็บไซต์เลย แนะนำให้ลองสร้าง Sitemap และส่งไปที่ Google Search Console โดยไปที่ Search Console > เลือก Sitemaps > เลือก sitemap URL > ส่งไปที่ Google Search Console

หมายเหตุ :  คุณจำเป็นต้องสร้างบัญชีการใช้งานบน Google Search Console ก่อนจากนั้นให้ใส่ลิงค์ URL แบบในภาพด้านบน Sitemaps ช่วยให้กูเกิ้ลสามารถค้นหาหน้าเว็บไซต์ของคุณเจอและจดจำเว็บเพจแต่ละหน้าได้

หา Sitemaps เว็บไซต์ ทำอย่างไรดี

คลิกเข้าไปที่ [ชื่อเว็บไซต์].com/sitemap.xml. หากลองทำตามนี้แล้วไม่ปรากฏหน้าเว็บของคุณ ให้ลองใช้อีกชื่อแทน [ชื่อเว็บไซต์].com/robots.txt

2. เว็บไซต์ถูกบล็อค  Indexing Page โดยกูเกิ้ล

หากกูเกิ้ลไม่แสดงหน้าเว็บไซต์หลักของคุณในผลลัพธ์คำค้นหา แสดงว่ากูเกิ้ลไม่ได้จัดเก็บข้อมูลเว็บไซต์ในคลังข้อมูล เว็บไซต์ที่ไม่ได้รับการ Index แสดงว่าจะไม่ปรากฏบนหน้าคำเสิร์ช แนะนำให้คุณลองใส่โค้ดนี้ใน Mata tag <meta name=”robots” content=”noindex”/>

อย่างไรก็ดี เคสนี้สามารถเกิดได้ ถึงแม้ว่าคุณทำการสร้าง  Sitemaps ของหน้าเว็บเรียบร้อยแล้ว อีกกรณีหนึ่ง สำหรับเว็บไซต์ WordPress ที่ไม่ปรากฏบนหน้าคำค้นหา โดยคุณสามารถเช็กได้ที่แถบ Setting ของ Site

อีกสาเหตุที่ทำให้เว็บไซต์ถูกบล็อคจาก Indexing Page มักเกิดจาก ตอนที่นักพัฒนาเว็บไซต์ ปิด Indexing Page เว็บตัวเอง ในช่วงที่กำลังทำเว็บอยู่เพราะยังไม่อยากให้ BOT กูเกิ้ลทำการจัดเก็บข้อมูลเว็บไซต์ แล้วลืมเปิดระบบใหม่อีกรอบ

ในกรณีเว็บไซต์เปิดใหม่ ถ้ากูเกิ้ลทำการเก็บข้อมูลเว็บเพจบน Sitemap เรียบร้อยแล้ว แต่โค้ดของเว็บยังขึ้นว่า “noindexed”  แนะนำให้คุณทำการรายงานปัญหาไปที่ Google Search Console 

วิธีเช็กสามารถดูได้ดังนี้

ถ้าคุณทำการส่ง Sitemaps ไปที่กูเกิ้ลเรียบร้อย โดยกูเกิ้ลยังไม่ได้ทำการบันทึกข้อมูลลงบนฐานข้อมูลเสิร์ชเอนจิ้น ให้คุณเข้าไปแก้ไขได้ที่ Ahrefs Site Audit โดยให้ตรวจสอบแต่ละหน้าของ Site ว่าขึ้น Tag “noindex” หรือไม่ หากคุณเจอ Tag “noindex” ให้คุณทำการลบออก

3. เว็บไซต์ถูกบล็อค Crawling โดยกูเกิ้ล

เว็บไซต์ส่วนใหญ่ จะมีไฟล์ที่ชื่อว่า robots.txt file.  ซึ่งเป็นโปรแกรมรวบรวมข้อมูลของเสิร์ชเอนจิ้น ที่จะคอยเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ใหม่ๆ ทำให้กูเกิ้ลค้นหาเว็บไซต์เจอง่ายขึ้น

หากกูเกิ้ลไม่สามารถเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ใหม่ๆ (Craw) ได้ จะทำให้หน้าเว็บไซต์บนปรากฏบนหน้าคำค้นหา วิธีแก้ไขให้คุณส่ง Sitemaps ไปที่ Google Search Console โดยให้เข้าไปที่รายงาน “Coverage”  และเลือกส่งรายงานความผิดพลาด “URL blocked by robots.txt”

หากกูเกิ้ลเจอ Sitemaps ของคุณแล้ว การส่งรายงานเช่นนี้ จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เท่าที่ควร ในกรณีที่คุณไม่ต้องการรอนาน คุณสามารถเช็ก Craw ของเว็บไซต์ได้ โดยเข้าไปที่  [ชื่อโดเมน].com/robots.txt. 

คุณจะเห็นไฟล์แบบนี้:

หมายเหตุ :  ถ้าหน้าเว็บไซต์ของคุณขึ้นหน้า 404 ERROR นั่นหมายความว่าเว็บไซต์ไม่มี robots.txt file.   

นี่คือตัวอย่าง Code ที่กูเกิ้ลบล็อก Craw

Disallow: /

User-agent: *
User-agent: Googlebot

นี่คือตัวอย่าง Code ที่ไม่ต้องการให้กูเกิ้ลเห็น Blog บนเว็บไซต์ 

Disallow: /blog/

หากคุณต้องการให้กูเกิ้ลเจอหน้าบล็อกของเว็บไซต์ คุณควรลบ Code นี้ออก  

คำเตือน :  ไฟล์ robots.txt file มีความซับซ้อนและไม่ง่ายในการจัดการ ถ้าคุณไม่อยากให้กูเกิ้ลค้นหาเว็บเพจเจอและยังไม่เชี่ยวชาญเรื่องการตั้งค่าไฟล์เหล่านี้ เราแนะนำให้คุณจ้างผู้เชี่ยวชาญ 

4. เว็บไซต์ไม่มี Backlink คุณภาพ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดอันดับหน้าเว็บไซต์บนกูเกิ้ลมีมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เว็บไซต์ได้รับ backlink คุณภาพดี ผลการศึกษา พบกว่า คุณภาพ Backlink มีความสัมพันธ์ต่อ PageRank

ยิ่งเว็บไซต์ที่มีการจัดอันดับสูงๆ จะมีจำนวน Backlink ที่มาก นี่เป็นเหตุผลหลักที่กูเกิ้ลมักไม่ได้ออกมาอธิบายมาหนัก เพื่อตรวจสอบจำนวนเว็บไซต์ (Referring Domains) ที่เชื่อมโยงมายังหน้าเว็บของคุณ ให้คุณวาง URL ที่ Site Explorer

พึงระลึกไว้เสมอว่า การจัดอันดับ PageRank ของกูเกิ้ล ไม่ใช่แค่หน้าเว็บหลักอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมหน้าเว็บเพจอื่นๆที่มีการใส่คีย์เวิร์ดตรงกับสิ่งที่คนกำลังค้นหา นอกจากนี้จำนวน Referring Domains  ยังมีผลต่อการจัดอันดับของหน้าเว็บไซต์

ต่อมาให้คุณมาดูที่ Keywords Explorer ที่ช่วยค้นหาคีย์เวิร์ดเป้าหมาย ที่ทำให้หน้าเว็บปรากฎบนหน้า SERP ภาพรวม  ถ้าดูจากภาพข้างล่าง คุณจะเห็นหน้าเว็บไซต์อันดับต้นๆและ SEO metrics ที่วัดประสิทธิภาพ SEO แต่ละส่วน

ให้คุณเช็กที่คอลัมน์ “Domains”  จะเห็นจำนวนลิงก์ของเว็บไซต์นอก ที่เชื่อมโยงมาที่หน้าเว็บของคุณ

5. เว็บไซต์ไม่มีลิงก์ที่น่าเชื่อถือ (Backlink)

อัลกอริทึมของกูเกิ้ลให้ความสำคัญกับเรื่อง PageRank โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดอันดับหลักๆจะดูจาก จำนวน backlink และ Internal Linkถึงแม้ว่าคนทำ SEO หลายคนจะมองว่า PageRank เป็นเรื่องเดิมที่รู้อยู่แล้ว แต่กูเกิ้ลยืนยันแล้วว่า PageRank เป็นสิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญอันดับต้นๆ 

เครื่องมือ Ahrefs มี Metric ที่เรียกว่า URL Rating (UR) โดยใช้วัดคุณภาพของ URL ซึ่ง URL Rating (UR) จะระบุ Backlink และ Internal Link ของเว็บไซต์ ทั้ง 2 ค่านี้จะสัมพันธ์กับยอดคลิกเข้าชมเว็บไซต์ (Traffic)

URL Rating (UR) มีลำดับคะแนนตั้งแต่ 1 – 100 คะแนน โดยคะแนน UR ที่สูงจะมีความน่าเชื่อกว่าคะแนน UR ที่ต่ำ วิธีเช็ก URL Rating (UR) ของเว็บไซต์ ให้คุณคัดลอก URL ของเว็บหรือ Backlink ที่ต้องการเช็กมาใส่ในช่องค้นหา

ให้เปรียบเทียบ UR ของเว็บไซต์ที่อยู่ในอันดับต้นๆ โดยเลือกจากผลลัพธ์การจัดอันดับของคีย์เวิร์ดเป้าหมายที่ใช้ค้นหา ในช่อง Keywords Explorer

ถ้าเว็บไซต์ที่อยู่ในอันดับสูงๆ และมีคะแนน UR เยอะกว่าหน้าเว็บไซต์ของคุณ แสดงว่าหน้าเว็บของคุณขาดลิงก์ที่มีความน่าเชื่อถือ (Link Authority)

วิธีที่ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ มี 2 ทาง ดังนี้

  • เพิ่ม Backlink
  • เพิ่ม Internal Link 

การทำ Internal Link บนหน้าเว็บ มักเป็นเรื่องง่ายที่ทำได้และเหมาะสำหรับเว็บไซต์ Sale Page 

6. เว็บไซต์ไม่มีความน่าเชื่อถือ

นอกจากเรื่อง Backlink คุณภาพที่ทำให้กูเกิ้ล เข้าใจว่าเว็บไซต์นั้นๆ น่าเชื่อถือแล้ว คุณภาพของ Domain Rating  ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งต่อการจัดอันดับเว็บไซต์บนหน้าคำค้นหาของกูเกิ้ลเช่นกัน ซึ่งปัจจัยเรื่อง Domain Rating  จะสัมพันธ์กับการจัดอันดับของคีย์เวิร์ด ดังภาพด้านล่างนี้

จากภาพข้างบน จะเห็นได้ว่า ความน่าเชื่อถือของ Site มีบทบาทสำคัญต่อการจัดอันดับของคีย์เวิร์ด ยกตัวอย่างเช่นคีย์เวิร์ดที่หน้าเว็บไซต์อยู่ในอันดับสูงๆ อย่าง “designer dresses”

ค่าเฉลี่ยและค่ามัธยฐานของ DR สำหรับ 5 เว็บไซต์ที่อยู่ในอันดับสูง เท่ากับ 82 ขณะที่ คะแนน DR ต่ำที่สุด มีค่าเท่ากับ 77 

โดยปกติคะแนน DR จะอยู่ระหว่างช่วง 0 – 100 คะแนน จะเห็นได้ว่า คะแนน DR ภาพข้างบนสูงกว่าค่าเฉลี่ย แสดงว่า คีย์เวิร์ดคำมีราคาแพงและแข่งขันสูง 

หมายเหตุ:  เว็บไซต์ที่มีคะแนน DR สูง ไม่ได้การันตีว่าจะติดหน้าแรกบนกูเกิ้ลและอยู่ในอันดับสูงๆ ได้เสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคะแนน Trustworthy ของหน้าเว็บไซต์ด้วยเช่นกัน 

ยกตัวอย่างอีกหนึ่งคีย์เวิร์ดที่เราจะทำมาวิเคราะห์อย่างคำว่า “best coffee machine”

จากภาพข้างบนผลลัพธ์เว็บไซต์ 5 อันดับที่เรียงจากคะแนน DR ที่เรียงจากมากไปหาน้อย หากคุณต้องการตรวจสอบคะแนน Authority ของเว็บไซต์  ให้คุณวางชื่อโดเมนลงที่ Ahrefs Site Explorer

จากนั้นให้คุณเปรียบเทียบคะแนน DR ของเว็บไซต์ 5 อันแรก โดยเลือกดูที่คีย์เวิร์ดเป้าหมายของแต่ละเว็บไซต์ วิธีนี้จะช่วยให้คุณทราบได้ว่า คีย์เวิร์ดไหนบ้างที่เว็บไซต์ของคุณไม่ขึ้นหน้า SERP 

เทคนิคระดับมือ PRO

ในบางกรณีที่เว็บไซต์บางแห่งมีคะแนน DR สูง แต่ไม่ได้จัดอยู่ใน PageRank อันดับต้นๆ  วิธีแก้ไข ให้คุณสร้าง Backlink คุณภาพ และทำลิงก์ข้างในเว็บไซต์ เฉพาะหน้าเว็บเพจที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้กูเกิ้นผลักดันหน้าเว็บของคุณได้รวดเร็วขึ้น

คุณสามารถดูตัวอย่างได้จากคีย์เวิร์ด “bitcoin mining calculator”

เว็บเพจที่อยู่ในอันดับที่ 4 มีคะแนน DR ต่ำที่สุดในไซต์ แต่เว็บเพจนี้ยังอยู่ในอันดับต้นๆ บนกูเกิ้ล ที่เป็นที่เช่นนี้ นั่นเพราะเว็บไซต์ได้รับ Backlink คุณภาพและมีโดเมนคุณภาพนั่นเอง 

7. เว็บเพจไม่สอดคล้องกับ Search Intent

กูเกิ้ลจะจัดอันดับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย นั่นเป็นเหตุผลที่ทำไมเนื้อหาบนเว็บไซต์จะต้องตรงกับสิ่งที่ลูกค้ากำลังค้นหาอยู่ หรือที่เราเรียกกันว่า Search Intent

ยกตัวอย่างเช่นเคสของเว็บไซต์ American Express ที่กูเกิ้ลแสดงหน้าเว็บที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหา “best credit card”

ถ้าคุณดูที่ผลลัพธ์คำค้นหาจาก Keywords Explorer  นี่คือผลลัพธ์ของเว็บไซต์ 5 อันดับแรกในโปรแกรม Ahrefs ซึ่งแสดงผลลัพธ์ประสิทธิภาพ ดังนี้

  • Domain Rating: 86
  • URL Rating: 49
  • Referring domains: 466

หากดูที่ Site Explorer จะเห็นว่า หน้าเว็บไซต์ของ American Express ที่มีคะแนนผลลัพธ์สูงๆ อาจไม่ได้แสดงผลคำค้นหาบนกูเกิ้ล

ทำไมถึงเป็นแบบนี้ละ นั่นเพราะหน้าเว็บไซต์ ไม่ตรงกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายกำลังค้นหาอยู่ หากคุณดูเว็บอื่นๆเพื่อเปรียบเทียบ หน้าเว็บด้วยคำค้นหา “best credit card” จะปรากฎเว็บไซต์ของธนาคารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

สาเหตุหลักของเว็บไซต์ American Express ที่ไม่ติดอันดับบน PageRank นั่นเพราะว่าหน้าเว็บนั้นเป็น Sales Page กูเกิ้ลเข้าใจดีว่า กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจหน้าเว็บที่เป็น Sales Page จึงทำให้เว็บไซต์ American Express ไม่ได้ถูกจัดอันดับบนกูเกิ้ล

8. เว็บคัดลอกเนื้อหาจากหน้าเว็บอื่น

การคัดลอกเนื้อหาเว็บไซต์ จะเกิดขึ้นเมื่อหน้าเว็บที่มี URL แตกต่างกันแต่บทความบนเว็บเหมือนกัน อย่างไรก็ดี กูเกิ้ลจะไม่ยอมรับเว็บไซต์ที่มีการคัดลอกเนื้อหามาจากหน้าเว็บอื่น โดยเว็บไซต์ที่ Copy เนื้อหามาใหม่ จะไม่ได้รับการ Index และไม่ปรากฏบนหน้าคำเสิร์ชอย่างถาวร

ยกตัวอย่างที่หน้าเว็บไซต์ Buffer.com :

หน้าเว็บไซต์ทั้ง 2 เพจได้รับการ Index อย่างไรก็ดี เว็บไซต์ทั้ง 2 หน้าถูกจัดเก็บโดยกูเกิ้ลเป็นที่เรียบร้อยนั่นเพราะ เว็บไซต์ทั้ง 2 URL มีจำนวน Backlink ที่มีคุณภาพสูง โดย URL แรกมี Backlink ทั้งหมด 115 ลิงก์และ URL ที่ 2 มี Backlink ทั้งหมด 140 ลิงก์

จากภาพ เว็บไซต์ที่อยู่ในอันดับที่ 22 มี Backlink ทั้งหมด 140 ลิงก์

หากคุณต้องการเช็กว่า หน้าเว็บไซต์ถูกคัดลอกเนื้อหา ให้คุณใช้ Ahrefs Site Audit โดยคลิกเข้าไปที่รายงาน “Content quality” แล้วคลิกเลือก duplicate และ near-duplicate pages เพื่อเช็กเนื้อหาที่ถูกคัดลอก

9. เว็บไซต์ถูกแบนโดยกูเกิ้ล

หากเว็บไซต์ธุรกิจ ถูกแบนโดนกูเกิ้ลจะส่งผลให้หน้าเว็บไม่แสดงบนผลลัพธ์หน้าคำค้นหา ซึ่งสาเหตุที่กูเกิ้ลทำการ Ban เว็บไซต์เหล่านั้นมี 2 เหตุผล คือ

  • Manual:  เกิดจากกูเกิ้ลทำการลบ Site ออกจากหน้าผลลัพธ์คำค้นหา สาเหตุหลักมาจากเว็บไซต์ทำการละเมิดกฎเกณฑ์บางข้อของกูเกิ้ล จึงทำให้โดนแบน (Webmaster Guidelines)
  • Algorithmic:  เกิดจากกูเกิ้ลอัลกอริทึมปิดกั้นการแสดงผลบนหน้าคำค้นหน้า เนื่องจากหน้าเว็บไซต์ยังไม่มีประสิทธิภาพและไม่ตอบโจทย์สิ่งที่กลุ่มเป้าหมายสนใจ 

หมายเหตุ: กรณีเว็บไซต์โดนแบนจากกูเกิ้ล เป็นเคสที่พบได้ยาก หากกูเกิ้ลจะทำการแบนเว็บไซต์ของคุณ จะมีแจ้งเตือน “Manual penalties” ที่แถบ Search Console

อย่างไรก็ดี อัลกอรึทึมของกูเกิ้ลจะไม่ทำการแจ้งเตือน หากเว็บไซต์ไม่ปรากฎบนหน้าค้นหา วิธีสังเกตง่ายๆ ว่าหน้าเว็บถูกกีดกันจาก AI ของกูเกิ้ลหรือไม่ ให้ดูจากยอด Organic Traffic ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว

Panguin เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับสิ่งนี้ สามารถแสดงวันที่เปลี่ยนแปลงของอัลกอริทึมในการเข้าชม Google Analytics ของคุณ เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจพบปัญหา

หากคุณยังคงสงสัยว่าไซต์ของคุณถูกลงโทษ ณ จุดนี้ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะดำเนินการใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดหายนะ เช่นการปฏิเสธลิงก์

สรุป

การจัดอันดับบนกูเกิ้ลเหมือนกับการเล่นวิดีโอเกมส์ ที่ยิ่งด่านสูงมากเท่าไหร่  ต้องใช้กลเม็ดเคล็ดลับขั้นสูงมากขึ้นเท่านั้น ถ้าหน้าเว็บไซต์ของคุณมีปัญหาเชิงเทคนิค แน่นอนว่าเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณสามารถแก้ไขเบื้องต้นด้วยการแก้โค้ด “noindex” ที่ Meta Tags ก่อน

หากคุณลองแก้ไขที่ Code เว็บไซต์แล้วไม่หายสักที ให้ลองใช้เทคนิคเพิ่ม Backlink คุณภาพ จากนั้นให้ลองใช้วิธีการปรับแต่งคีย์เวิร์ดเป้าหมายที่ตรงกับความสนใจของลูกค้า แนะนำให้เลือกคีย์เวิร์ดที่มีค่าความยากต่ำ (Low-Difficulty) สามารถเช็กค่า DF ได้ที่ Keywords Explorer

สิ่งสำคัญในการปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดหน้าแรกให้ได้ ควรใช้เทคนิคเชิง SEO ขั้นสูง วัดผลประสิทธิภาพหน้าเว็บอย่างสม่ำเสมอ และแก้ไขเว็บไซต์ไปในแต่ละจุดอย่างต่อเนื่อง

สวัสดี เราชื่อ พีค มีความสนใจเรื่อง SEO มาตั้งแต่ตอนอายุ 20 สมัยเข้ามหาลัยใหม่ๆ เนื่องจากเราเรียนบริหารธุรกิจ จึงได้เรียนเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ และมองว่า SEO คือหนึ่งในศาสตร์และศิลป์ที่มีความอ่อนไหว น่าสนใจ และดูมีอะไรในตัวของมันเองดี คนที่ทำต้องรอคอยเป็น เหมือนฝึกให้เรารู้จักที่จะรอคอยได้ ก็เลยศึกษา ทดลอง มาโดยตลอด มันสนุกมากนะ ได้เห็นกราฟวิ่งขึ้นวิ่งลง เติบโตไปเรื่อยๆ เปรียบเสมือนกับชีวิตที่มีสีสัน มีจังหวะที่คอยสลับไปมานั่นเอง