what is PageRank and how it is useful to SEO

PageRank คืออะไร ปัจจัยการจัดอันดับที่ Google ยังคงปรับใช้อยู่ในปัจจุบัน

PageRank หรือ PR คืออัลกอริทึมที่ใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพของผลการค้นหา ซึ่งลิงก์เป็นเหมือนการโหวตเพื่อจัดลำดับความสำคัญของเว็บไซต์ โดยมีข้อสันนิษฐานว่าหน้าเว็บที่มีความสำคัญมากกว่าย่อมมีแนวโน้มที่จะได้รับลิงก์มากกว่านั่นเอง

อัลกอริทึมนี้ถูกสร้างขึ้นโดย co-founder ของ Google 2 คน นั่นคือ Sergey Brin and Larry Page ในปี 1997 ตอนที่พวกเขากำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดยชื่อของมันอ้างอิงมาจาก Larry Page และ Webpage จนได้ชื่อว่าเป็น PageRank นั่นเอง

ซึ่งตัว PageRank มีความคล้ายคลึงกับตัวชี้วัดที่เรียกว่า “impact factor” หรือ จำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่บทความของวารสารนั้นได้รับการอ้างอิงในแต่ละปีจากหลาย ๆ ด้าน และถือว่าจำนวนการอ้างอิงที่มากกว่าเท่ากับมีความสำคัญกว่านั่นเอง แต่มีจุดแตกต่างกันเล็กน้อยตรงที่ PageRank จะถือคะแนนโหวตบางส่วนสำคัญกว่าคะแนนอื่น ๆ

หากใช้ทั้งจำนวนลิงก์ ควบคู่ไปกับการทำคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ ผลการจัดอันดับที่ออกมาย่อมดีกว่าคู่แข่งอย่างแน่นอน โดยลิงก์จะกลายเป็นเหมือนสกุลเงินที่มีค่ามหาศาลต่อเว็บไซต์

สารบัญ

Google ยังคงใช้ PageRank เป็นปัจจัยสำหรับการจัดอันดับ

ในแง่ของ SEO สมัยใหม่ PageRank ถือเป็นหนึ่งในอัลกอริทึมที่ประกอบไปด้วยหลักเกณฑ์ Experience Expertise Authoritativeness Trustworthiness (E-E-A-T) อย่างครบถ้วน

อัลกอริทีมของ Google เป็นตัวระบุสัญญาณเพื่อบ่งบอกความน่าเชื่อถือ และอำนาจการถือครองของเว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อของ PageRank ที่ประเมินค่าจากลิงก์ของเว็บไซต์เพื่อบ่งบอกระดับความน่าเชื่อถือของเว็บนั้น ๆ

นอกจากนี้ยังได้รับการยืนยันจากตัวแทนของ Google ได้แก่ Gary Illyes แล้วเรียบร้อย โดยเขากล่าวว่า Google ยังคงมีการใช้ เพจแรงก์อยู่ และลิงก์เหล่านั้นก็เป็นเหมือนปัจจัย และหลักเกณฑ์ E-E-A-T ที่นำมาใช้พิจารณาคุณภาพของเว็บไซต์

เมื่อได้ลองทำการศึกษาเพื่อวัดผลกระทบของลิงก์ และทำการลบลิงก์ออกอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้เครื่องมือ จะเห็นว่าตัวเลขลดลงอย่างเห็นได้ชัด จึงแสดงให้เห็นว่าลิงก์ยังคงมีความสำคัญต่อการจัดอันดับอยู่นั่นเอง

impact of disavowing links

นอกจากนี้ PageRank ยังได้รับการยืนยันว่ามีผลต่อการจัดอันดับเนื่องจากถูกนับรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายการรวบรวมข้อมูลด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลเนื่องจาก Google มักรวบรวมข้อมูลจากหน้าเว็บที่มีความสำคัญบ่อยครั้งกว่านั่นเอง

อีกทั้งยังเป็นสัญญาณของการกำหนดรูปแบบมาตรฐาน หรือ canonicalization signal โดยหน้าที่มีเพจแรงก์มักได้รับคัดเลือกให้เป็นหน้าหลักที่ได้รับการจัดทำตัวชี้วัด และแสดงต่อผู้ใช้งานมากขึ้น

เพราะเหตุใด…ทำไมสูตร PageRank ถึงผิดพลาด

มีข้อเท็จจริงที่น่าเหลือเชื่ออย่างหนึ่งคือ สูตรที่ตีพิมพ์ในรายงานต้นฉบับของ PageRank นั้นผิด มาดูต่อกันว่าทำไม และเกิดจากอะไร

PageRank ได้รับการอธิบายในเอกสารต้นฉบับว่าเป็นการกระจายความน่าจะเป็น หรือแนวโน้มที่ตัวเราจะอยู่ในหน้าต่าง ๆ บนเว็บ ซึ่งหมายความว่า หากเรานำผลรวมเพจแรงก์ของทุกหน้าบนเว็บไซต์มารวมกัน ก็ควรที่จะเท่ากับ 1 นั่นเอง

ด้านล่างนี้คือ สูตร PageRank ฉบับสมบูรณ์จากรายงานต้นฉบับที่ตีพิมพ์ขึ้นในปี 1997 :

PR(A) = (1-d) + d (PR(T1)/C(T1) + … + PR(Tn)/C(Tn))

อาจทำให้ง่ายขึ้นเล็กน้อย โดยการกำหนดค่า damping factor (d) ให้เป็น 0.85 ตามที่ Google ระบุในรายงาน ดังนั้นจะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น

PageRank = 0.15 + 0.85 (สัดส่วนเพจแรงก์ของหน้าเว็บที่เชื่อมต่อกันแต่ละหน้า จะถูกแยกออกตาม Outbound links หรือ การส่งลิงก์ที่เราต้องการให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงออกไปยังนอกเว็บไซต์)

ในรายงานยังบอกอีกว่า ผลรวมค่า PageRank ของหน้าเว็บทุกหน้าจะต้องเท่ากับ 1 ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้เลยหากใช้สูตรตามที่ระบุอยู่ในนั้น เนื่องจากทุกเพจจะมีค่าต่ำสุดอยู่ที่ 0.15 (1-d) ซึ่งหากนำรวมกันเพียงไม่กี่หน้าก็เกิน 1 แน่นอนอยู่แล้ว ดังนั้นจึงต้องมีอะไรผิดพลาด

ดังนั้นจากสูตรจึงควรหาร (1-d) ด้วยจำนวนหน้าเว็บที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ใช้งานได้ตามสูตรที่อธิบายไว้ ให้ออกมาเป็นดังนี้

PageRank = (0.15/จำนวนหน้าเว็บไซต์ที่มีอยู่) + 0.85 (สัดส่วนเพจแรงก์ของหน้าเว็บที่เชื่อมต่อกันแต่ละหน้า และถูกแยกออกตาม Outbound links)

หลังจากอ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจกำลังคิดว่ามันซับซ้อนเกินไป โดยเราจะมาอธิบายเพิ่มเติมให้เห็นภาพได้ดังนี้

1. ทุกหน้าเว็บจะมีค่าคะแนน PageRank เริ่มต้นตามจำนวนลิงก์ที่มีการส่งไปยังเว็บไซต์ ลองยกตัวอย่างโดยสมมุติเรามีอยู่หน้าเว็บอยู่ 5 อันที่ไม่มีลิงก์เลย ดังนั้นแต่ละหน้าจึงมีค่าอยู่ที่ (1/5) หรือ 0.2

pagerank example of 5 pages with no links

2. โดยคะแนนนี้จะมีการกระจายไปยังหน้าอื่น ๆ ผ่านทางลิงก์ ดังนั้นหากมีการเพิ่มลิงก์เข้าไปให้กับทั้ง 5 เว็บนั้น แล้วลองคำนวณใหม่จะได้เป็น

pagerank example of 5 pages after 1 iteration

ซึ่งสามารถสังเกตได้ว่าหน้าเว็บไหนที่มีจำนวนการลิงก์กลับไปมาก ก็จะมีคะแนนมากกว่า

3. การคำนวณนี้จะเกิดซ้ำก็ต่อเมื่อ Google ทำการรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ ถ้าหากลองคำนวณใหม่อีกครั้งจะเห็นได้ว่าคะแนนมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นหน้าเว็บเดิมกับการลิงก์ที่เหมือนเดิม แต่ค่า PageRank พื้นฐานของแต่ละหน้ากลับไม่เหมือนเดิม ดังนั้นค่าที่ได้จึงแตกต่างกัน

pagerank example of 5 pages after 2 iterations

ในสูตรของ PageRank ยังมีสิ่งที่เรียกว่า damping factor หรือค่า “d” ซึ่งเป็นตัวจำลองความน่าจะเป็นแบบสุ่มที่ผู้ใช้งานจะคลิกไปยังลิงก์ต่อไปขณะที่ท่องเว็บไซต์อยู่นั่นเอง

โดยความน่าจะเป็นที่จะคลิกลิงก์ในหน้าแรกที่กำลังเยี่ยมชมอยู่นั้นมีค่าสูงพอสมควร แต่โอกาสที่จะคลิกลิงก์ที่อยู่ในหน้าต่อ ๆ ไปจะลดลงเรื่อย ๆ

ดังนั้นหากเว็บไซต์ที่มีฐานผู้เยี่ยมชมแข็งแกร่งทำการลิงก์ไปยังเพจอื่น ๆ ก็จะช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับปลายทางที่ลิงก์ไปได้มาก แต่ถ้าหากลิงก์นั้นอยู่ห่างออกไปถึงลำดับที่ 4 คุณค่าที่จะได้รับการถ่ายโอนจากเว็บไซต์ก็จะลดน้อยลงมาก เนื่องจากปัจจัยของ damping factor นั่นเอง

the pagerank dunping factor

ประวัติความเป็นมาของ PageRank

history of pagerank

สิทธิบัตรแรกของ PageRank ถูกยื่นเรื่องไปเมื่อวันที่ 9 มกราคม ปี 1998 โดยใช้ชื่อว่า “วิธีการจัดอันดับ node ในฐานข้อมูลที่เชื่อมโยง” และได้หมดอายุไปตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม ปี 2018 โดยไม่มีการต่ออายุ

ต่อมา Google ได้เผยแพร่เพจแรงก์ออกสู่สาธารณะครั้งแรกตอน Google Directory ถูกเปิดตัวเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ปี 2000 ซึ่งเป็นเวอร์ชันหนึ่งของ Open Directory Project แต่มีการจัดเรียงตาม PageRank แต่ Directory ตัวนี้ก็ถูกปิดตัวลงในวันที่ 25 กรกฎาคม ปี 2011

หลังจากนั้นในวันที่ 11 ธันวาคม ปี 2000 Google ได้มีการเปิดตัว PageRank ในแถบเครื่องมือของ Google ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่มีส่วนร่วม หรือส่งผลกระทบต่อการทำ SEO มากที่สุด

โดยนี่คือ หน้าตาที่อยู่บนแถบเครื่องมือของ Google

appearance of pagerank in google tool

ซึ่งเครื่องมือนี้ได้ถูกอัปเดตครั้งล่าสุดไปเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ปี 2013 และสุดท้ายถูกนำออกไปในวันที่ 7 มีนาคม ปี 2016 นั่นเอง

PageRank ที่แสดงอยู่บนแถบเครื่องมือจะมีความแตกต่างออกไปเล็กน้อย โดยมีการใช้ระบบตัวเลข 0 – 10 อย่างง่ายเพื่อแสดงค่า ซึ่งค่านั้นถือเป็นมาตราส่วนลอการิทึม ดังนั้นการเพิ่มตัวเลขให้สูงขึ้นจึงไม่ใช่เรื่องง่าย

PageRank ได้เข้ามายัง Google Sitemaps ที่ตอนนี้รู้จักกันในชื่อ Google Search Console ด้วย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2005 ซึ่งแสดงเป็นหมวดหมู่สูง กลาง ต่ำ หรืออื่น ๆ แต่ฟีเจอร์ใช้งานนี้ก็ถูกนำออกไปเมื่อวันที่ 15 ตุลาลม ปี 2009 ที่ผ่านมานั่นเอง

Link Spam

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีวิธีต่าง ๆ มากมายที่การทำ SEO ปรับใช้ระบบค้นหาในทางที่ผิด เพื่ออันดับ และค่า PageRank ที่สูงขึ้น โดย Google มีรายการรูปแบบลิงก์ทั้งหมดอยู่ดังนี้

  • การซื้อขายลิงก์ – มีการแลกเปลี่ยนลิงก์กับเงิน สินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ
  • การแลกเปลี่ยนลิงก์ที่มากเกินไป
  • การใช้ซอฟแวร์เพื่อสร้างลิงก์อัตโนมัติ
  • การใช้ลิงก์เป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนดการให้บริการ สัญญา หรือข้อตกลงอื่น ๆ
  • ข้อความโฆษณาที่ไม่ใช้ nofollow หรือสปอนเซอร์ที่ได้รับการสนับสนุน
  • โฆษณา หรือ ads ที่ประกอบไปด้วยลิงก์ที่ผ่านเครดิตการจัดอันดับ
  • บทความ, guest posts หรือบล็อกที่มีการปรับแต่ง Anchor links
  • Directory คุณภาพต่ำ หรือลิงก์บุคมาร์ค
  • ลิงก์ที่ใส่คีย์เวิร์ดจำนวนมาก หรือมีคุณภาพต่ำ ที่ถูกนำไปลงอยู่บนเว็บไซต์อื่น
  • ลิงก์ในส่วนท้าย หรือเทมเพลตที่มีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง เช่น Hard – code ที่ลิงก์ไปยังเว็บไซต์ที่มีการขายสินค้า หรือแจกฟรี
  • คอมเมนต์ในฟอรัมที่มีการปรับปรุงลิงก์ในโพสต์ หรือการลงนามต่าง ๆ

ซึ่งระบบการจัดการลิงก์สแปมมีการพัฒนาอยู่ตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยมาดูการอัปเดตที่สำคัญบางส่วนกัน

Nofollow หรือ Backlink แบบไม่ส่งค่าคะแนนทาง SEO

เมื่อวันที่ 18 มกราคม ปี 2005 Google ได้ประกาศว่า มีการจับมือกับเครื่องมือค้นหาหลักอื่น ๆ เพื่อแนะนำคุณสมบัติของ the rel=“nofollow” ซึ่งเป็นการตั้งค่าที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มคำสั่ง Nofollow ลงไปที่บล็อก แทร็กแบ็ค และรายการอ้างอิง เพื่อบอกให้ Bot ของ Search Engine “ไม่ต้องตามไปเก็บข้อมูลในหน้าเว็บปลายทาง” เพื่อต่อสู้กับสแปม

นี่คือตัวอย่างคำแถลงอย่างเป็นทางการของ Google เกี่ยวกับ nofollow :

หากคุณเป็นเจ้าของบล็อก หรือผู้อ่าน คงคุ้นเคยกับการที่ผู้คนพยายามเพิ่มอันดับเครื่องมือค้นหาเว็บไซต์ของตัวเอง โดยการส่งความคิดเห็นไปยังเว็บ หรือบล็อกที่มีลิงก์ เช่น “เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์สินค้าลดราคาได้ที่นี่” เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะถูกเรียกว่าสแปมความคิดเห็น โดย Google ไม่เห็นด้วย และกำลังทดสอบระบบใหม่เพื่อลบมัน ดังนั้นจากนี้ไป เมื่อ Google เห็นคำสั่ง (rel=“nofollow”) บนไฮเปอร์ลิงก์ ลิงก์เหล่านั้นจะไม่ได้รับเครดิตใด ๆ เมื่อมีการจัดอันผลการค้นหานั่นเอง

ดังนั้นระบบใหม่เกือบทั้งหมดจึงมีการใช้ Nofollow ในลิงก์ความคิดเห็นของบล็อกแทบทั้งสิ้น

แต่ SEO ก็เริ่มมีการใช้ Nofollow ในทางที่ผิด เนื่องจากถูกนำไปใช้เพื่อเพิ่มค่า PageRank โดยการทำ nofollow ในบางลิงก์ของตนเอง เพื่อให้ลิงก์อื่นที่ต้องการแข็งแกร่งขึ้น จนในที่สุด Google ก็เปลี่ยนระบบเพื่อป้องกันการใช้งานแบบละเมิดนี้

ในปี 2009 Matt Cutts จากทีมงานของ Google ได้ออกมายืนยันว่า วิธีการนี้จะไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป และ PageRank จะยังคงกระจายไปยังลิงก์ต่าง ๆ ถึงแม้ว่าจะมีการทำ nofollow แล้วก็ตาม

นอกจากนี้ Google ยังได้เพิ่มคุณสมบัติของลิงก์อีกสองถึงสามรายการที่มีความเฉพาะเจาะจงกว่าเวอร์ชันของ nofollow ออกมาเมื่อวันที่ 10 กันยายน ปี 2019 ที่ผ่านมา ได้แก่ rel=“ugc” ที่มีไว้เพื่อระบุเนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้น และ rel=“sponsored” ใช้สำหรับระบุลิงก์ที่ได้รับการชำระเงิน หรือมีการทำพันธมิตรนั่นเอง

อัลกอริทึมที่กำหนดเป้าหมายลิงก์สแปม

เนื่องจากในการทำ SEO มักค้นพบวิธีโกงใหม่ ๆ อยู่เสมอ Google จึงได้มีการพัฒนาอัลกอริทึมใหม่ ๆ ออกมาเพื่อตรวจจับ และรับมือกับสแปมเหล่านั้น

เมื่ออัลกอริทึมดั้งเดิมของ Penguin เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 24 เมษายน ปี 2555 ได้สร้างความเสียหายมากมายให้แก่เว็บไซต์จำนวนมาก ดังนั้น Google จึงได้ให้โอกาสเจ้าของเว็บไซต์ในการฟื้นฟูเว็บของตัวเองกลับมาด้วยการเปิดตัว disavow tool ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งของ Google Search Console ที่อนุญาตให้เว็บไซต์ต่าง ๆ ลดลิงก์เข้า (Inbound link) เพื่อช่วยป้องกันการถูกแบนจาก Google เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ปี 2012 นั่นเอง

ต่อมาเมื่อ Penguin 4.0 เปิดตัวออกมาเมื่อวันที่ 23 กันยายน ปี 2016 ก็ทำให้เกิดผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นต่อการจัดการกับลิงก์สแปม โดยการปรับลดคุณค่าของลิงก์สแปมลง แทนที่จะไปทำร้ายตัวเว็บไซต์ ซึ่งหมายความว่าเว็บไซต์ส่วนใหญ่ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ disavow tool อีกต่อไป

นอกจากนี้ Google ยังได้เปิดตัวการอัปเดตลิงก์สแปมครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ปี 2021 ซึ่งได้รับการพัฒนาใหม่เมื่อเร็ว ๆ นี้ และอัปเดตออกมาล่าสุดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ปี 2022 ที่ผ่านมา โดยได้ประกาศการใช้ระบบ AI ในการตรวจจับ ที่เรียกว่า Spambrain เพื่อลดคุณค่าของลิงก์ที่ผิดปกตินั่นเอง

PageRank มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

PageRank เวอร์ชันดั้งเดิมไม่ได้ถูกนำมาใช้งานแล้วตั้งแต่ปี 2549 ตามคำบอกเล่าของอดีตพนักงาน Google และถูกแทนที่ด้วยอัลกอริทึมอื่นที่ใช้ทรัพยากรน้อยกว่า

“พวกเขาได้แทนที่มันในปี 2549 ด้วยอัลกอริทึมที่ให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกัน แต่คำนวณได้เร็วกว่ามาก ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่ได้มีการแสดงผลในแถบเครื่องมือ โดย Google บอกว่าตัวเลขเหล่านี้คือ PageRank นั่นเอง ซึ่งอัลกอริทึมทั้งสองจะเป็นแบบ O (N log N) หรือการวนลูปสองรอบที่จะตัดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปทีละครึ่ง แต่การแทนที่นี้ก็ยังคงมีค่าคงที่น้อยกว่ามากในส่วนของปัจจัย log N เนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีการวนซ้ำจนกว่าอัลกอริทึมจะมาบรรจบกัน ซึ่งค่อนข้างเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเว็บที่กำลังเติบโตจาก 1 – 10 ล้าน ไปจนถึง 150 พันล้าน”

จากการวนซ้ำนี้ ดูเหมือนว่า Google จะทำให้ระบบใช้งานได้ง่ายขึ้นแล้ว โดยจะมีอะไรเปลี่ยนไปอีกบ้าง มาดูไปพร้อมกันเลย

ลิงก์บางลิงก์มีค่ามากกว่าลิงก์อื่น

แทนที่จะแบ่ง PageRank อย่างเท่าเทียมกันระหว่างลิงก์ทั้งหมด แต่บางลิงก์กลับมีมูลค่ามากกว่าลิงก์อื่น ซึ่งคาดว่าเกิดจากการที่สิทธิบัตรของ Google เปลี่ยนจากโมเดลการท่องเว็บแบบสุ่มที่ผู้ใช้สามารถไปยังลิงก์ใดก็ได้ มาเป็นรูปแบบการท่องเว็บที่สมเหตุสมผล ซึ่งทำให้บางลิงก์ได้รับจำนวนคลิกมากกว่า จึงมีน้ำหนักที่มากกว่าด้วยนั่นเอง

ลิงก์บางรายการอาจถูกละเว้น

มีหลายระบบที่มีการละเว้นคุณค่าของลิงก์บางลิงก์ ซึ่งรวมถึง

  • Nofollow, User-generated Content และสปอนเซอร์ต่าง ๆ 
  • Google’s Penguin algorithm
  • disavow tool
  • การอัปเดตของลิงก์สแปม

นอกจากนี้ Google จะไม่นับลิงก์ใด ๆ บนหน้าเว็บที่ถูกบล็อกโดย robot.txt ซึ่งจะไม่สามารถรวบรวมข้อมูลเพื่อดูลิงก์ได้

ลิงก์บางส่วนถูกรวมเข้าด้วยกัน

Google มีระบบ Canonicalization ที่ช่วยกำหนดเวอร์ชันของหน้าเว็บไซต์ที่ควรจัดทำดัชนีอยู่ เพื่อทำการรวมสัญญาณจากหน้าเว็บที่ซ้ำกัน และกำหนดเกณฑ์เว็บไซต์หลักให้เหลือเพียงหน้าเดียว

the weighing canonicalization signals

โดยองค์ประกอบของลิงก์ Canonical นั้นได้เปิดตัวออกมาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ปี 2009 ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถระบุเวอร์ชันที่ต้องการได้

เดิมทีแล้วการเปลี่ยนเส้นทางจะมีการส่งผ่าน PageRank เท่ากับจำนวนลิงก์ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง ระบบนี้ก็เปลี่ยนไป และไม่มี เพจแรงก์ที่สูญหายไปเลย

มีบางส่วนที่ยังไม่ทราบข้อมูล

เมื่อหน้าเว็บถูกทำเครื่องหมายว่าเป็น noindex เราจึงไม่อาจทราบได้เลยว่า Google ปฏิบัติต่อลิงก์เหล่านั้นอย่างไร แม้แต่ในหมู่พนักงานของ Google ด้วยกันเอง ก็ยังมีการถกเถียงถึงเรื่องนี้ในมุมมองที่แตกต่างกัน

โดย John Mueller กล่าวว่า หน้าเว็บที่มีการทำ noindex จะถือว่าเป็น nofollow ซึ่งจะไม่มีการรับส่งข้อมูล หรือค่าใด ๆ

แต่จากที่ Gary ได้กล่าว จะบอกว่า Googlebot ยังคงตรวจพบ และติดตามลิงก์ต่าง ๆ ได้ครบ ตราบใดที่หน้าเว็บยังมีการลิงก์ไปยังหน้านั้นอยู่นั่นเอง

ซึ่งความจริงแล้วอาจไม่จำเป็นต้องนำมาถกเถียงกัน แต่หากเลือกทำตามคำแนะนำของ Gary นั่นก็แสดงว่าจำเป็นต้องใช้เวลานานมากเลยกว่า Google จะหยุดรวบรวมข้อมูล และนับลิงก์เหล่านี้ หรือบางทีอาจจะไม่มีวันเกิดขึ้นเลย

สามารถตรวจเช็กค่า PageRank ของตัวเองได้หรือไม่

ขณะนี้ยังไม่มีวิธีที่สามารถดู PageRank ของ Google ได้เลย

แต่ URL Rating (UR) ก็เป็นตัวชี้วัดทดแทนที่ดี เนื่องจากมีหลายอย่างที่คล้ายกันกับสูตรของเพจแรงก์ที่แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของโปรไฟล์ลิงก์ในแต่ละเว็บไซต์จากเต็ม 100 โดยตัวเลขยิ่งสูง โปรไฟล์ก็จะยิ่งแข็งแกร่งขึ้น

showing of url rating for backlink profile

เมื่อคำนวณทั้งในส่วนของ PageRank และค่า UR สำหรับลิงก์ภายใน และภายนอก จะเห็นว่ามีตัวชี้วัดจำนวนมากที่เพิกเฉยต่อลิงก์ภายในโดยสิ้นเชิง ซึ่งเราขอแนะนำว่าให้โฟกัสที่ค่า UR มากกว่า DR ซึ่งจะพิจารณาจากลิงก์ที่มาจากไซต์อื่นเพียงเท่านั้น

แต่ก็ไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด เพราะค่า UR เองก็มีการละเลยคุณค่าของบางลิงก์ รวมถึงไม่มีการติดตาม nofollow ลิงก์ด้วย เราจึงไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ลิงก์แบบไหนที่ Google ไม่สนใจ และลิงก์ใดบ้างที่ถูกปฏิเสธ หรือลดคุณค่าลง ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลต่อการคำนวณ PageRank นอกจากนี้เรายังมีการตัดสินใจที่แตกต่างกันในการปฏิบัติต่อสัญญาณของ Canonicalization เช่น องค์ประกอบของลิงก์ Canonical และการเปลี่ยนเส้นทางอีกด้วย

ดังนั้นคำแนะนำของเราคือ สามารถใช้มันได้ แต่ควรจำไว้ว่าอาจจะไม่เหมือนกับระบบของ Google เสียทีเดียว

นอกจากนี้ยังมีค่า Page Rating (PR) ในฟังก์ชัน Page Explorer ของ Site Audit ที่คล้ายกับการคำนวณ PageRank ภายใน และมีประโยชน์ในการช่วยให้รู้ว่าหน้าเว็บใดที่แข็งแกร่งที่สุดในเว็บไซต์ของตัวเอง โดยพิจารณาจากโครงสร้างลิงก์ภายใน

example of page rating in page explorer

วิธีการปรับปรุง PageRank

เนื่องจาก PageRank จะขึ้นอยู่กับจำนวนลิงก์ ดังนั้นหากต้องการเพิ่ม PageRank ก็จำเป็นต้องมีลิงก์ที่ดีซึ่งสามารถทำได้โดย

การเปลี่ยนเส้นทางหน้าที่เสียหาย

การเปลี่ยนเส้นทางหน้าเก่าบนเว็บไซต์ไปยังหน้าใหม่ที่เกี่ยวข้อง สามารถเรียกคืน และรวบรวมสัญญาณต่าง ๆ เช่น PageRank ได้ เนื่องจากเว็บไซต์จะมีการเปลี่ยนแปลง และล้าหลังไปตามกาลเวลา และดูเหมือนว่าคนส่วนใหญ่จะไม่ได้ใส่ใจในการค้นหา และเปลี่ยนเส้นทางหน้าเว็บที่เสียหายเหล่านั้นสักเท่าไหร่ ดังนั้นนี่จึงเป็นหนทางที่ง่ายที่สุด

ด้านล่างนี้คือวิธีการค้นหาเว็บไซต์เหล่านั้น

  • วางลิงก์โดเมนลงใน Site Audit (ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ฟรีใน Ahrefs Webmaster Tools)
  • ไปยังหน้ารายงานของ Best by links
  • เพิ่มตัวกรอง “404 not found” HTTP เข้าไป

ซึ่งรายการมักจะจัดเรียงตาม โดเมนอ้างอิง

best by links report

ให้นำหน้าลิงก์เหล่านั้นไปอีกขั้น และเปลี่ยนเส้นทางไปยังหน้าเว็บปัจจุบันของเรา ซึ่งหากไม่รู้ว่าต้องนำทางลิงก์เหล่านั้นไปที่ไหน หรือไม่มีเวลา สามารถทำตามคู่มือการเปลี่ยนเส้นทางอัตโนมัตินี้ได้ โดยดูเนื้อหาเก่าจาก archive.org และทำการจับคู่กับเนื้อหาปัจจุบันที่ใกล้เคียงที่สุดบนเว็บไซต์ของเราได้เลย

Internal Links

การควบคุม Backlinks อาจไม่สามารถทำได้เสมอไป เนื่องจากผู้คนสามารถลิงก์ไปยังหน้าเว็บใดก็ได้ของเราที่พวกเขาต้องการ และสามารถใช้ Anchor Text อะไรก็ได้ที่พวกเขาเลือก

แต่ internal links นั้นแตกต่าง เพราะเราสามารถควบคุมได้เต็มที่ ซึ่งตัวอย่างลิงก์ภายในที่สมเหตุสมผล คือการลิงก์ไปยังหน้าที่สำคัญ หรือหน้าที่ต้องการเน้นมากที่สุดนั่นเอง

นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือตรวจสอบเว็บไซต์ภายใน ที่เรียกว่า Internal Link Opportunities ซึ่งช่วยให้สามารถค้นหาโอกาสเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว โดยจะทำงานโดยการค้นหาการกล่าวถึงคีย์เวิร์ดที่มีการจัดอันดับไว้แล้วในเว็บไซต์ของเรา จากนั้นจะทำการแนะนำโอกาสในการเชื่อมโยงภายในตามบริบท

ยกตัวอย่างเช่น เครื่องมือนี้แสดงการกล่าวถึง “การนำทางแบบประกอบ หรือ faceted navigation” ในบทความของหัวข้อ Duplicate Content และ Site Audit รู้ว่าเรามีการทำคอนเทนต์เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ด้วย จึงแนะนำให้เราเพิ่ม internal links ไปยังหน้านั้นนั่นเอง

example of how internal link opportunities work

External Links

สามารถรับลิงก์เพิ่มเติมจากเว็บไซต์อื่นกลับมาเพื่อเพิ่ม PageRank ของตัวเองได้ โดยมีคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการสร้างลิงก์ ซึ่งเราได้ทำการดึงบางหัวข้อที่น่าสนใจมาแล้วดังนี้

สรุป

ถึงแม้ว่าหน้าตาของ PageRank จะเปลี่ยนไป แต่เราก็ยังรู้อยู่แก่ใจว่า Google ยังคงมีการใช้งานอยู่ ถึงอาจจะไม่ทราบรายละเอียด หรือข้อมูลเกี่ยวกับมันอย่างแน่ชัด แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังคงเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากลิงก์ได้

นอกจากนี้ ในการใช้งาน Google สุดท้ายแล้วดูเหมือนจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้งาน links และ PageRank ได้ ถึงแม้ว่าครั้งหนึ่ง Google จะเคยทดลองเลิกใช้ลิงก์ และต่อต้านมันอยู่บ้างก็ตาม

ซึ่งเป็นการทดลองที่ไม่ได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ และทดลองกันเองแค่ภายใน โดยผลปรากฏว่าคุณภาพของเว็บไซต์แย่ลงเป็นอย่างมาก และยังคงมี Backlinks อยู่ ถึงแม้ว่าจะมีสัญญาณรบกวน และสแปมจำนวนมาก แต่ก็ยังคงได้คุณภาพในเรื่องของผลการค้นหา

อีกทั้งยังเคยมีไอเดียเกี่ยวกับการลองปิดใช้งาน Backlink ด้วย ซึ่งอย่างน้อยในตอนนี้ก็สามารถแน่ใจได้ว่า Backlinks มีส่วนช่วยในการมอบผลลัพธ์การค้นหาที่ดีที่สุดอย่างแน่นอนนั่นเอ

ใครที่อยากหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ SEO สามารถตามอ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่ : https://thekalling.com/tkl-blog/